ฟุตซอลทีมชาติไทย
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ฟุตซอลทีมชาติไทย (อังกฤษ: Thailand national futsal team) เป็นทีมฟุตซอลตัวแทนจากประเทศไทยร่วมแข่งขันในระดับนานาชาติ ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ทีมชาติไทยได้ร่วมเล่นฟุตซอลโลก 7 ครั้งติดต่อกัน ในปี 2000, 2004, 2008, 2012, 2016, 2021 และ 2024 โดยสามารถเข้าไปถึงรอบน็อกเอาต์ได้สามครั้ง ส่วนในระดับเอเชียนั้นผลงานที่ดีสุดคือ ได้อันดับ 2 ในการแข่งขัน เอเอฟซีฟุตซอลแชมเปียนชิพ 3 ครั้ง ในปี 2008, 2012 และ 2024
ฉายา | ช้างศึกโต๊ะเล็ก | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ | ||
สมาพันธ์ย่อย | เอเอฟเอฟ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) | ||
สมาพันธ์ | เอเอฟซี (เอเชีย) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | มิเกล โรดริโก | ||
กัปตัน | จิรวัฒน์ สอนวิเชียร | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | อนุชา มั่นเจริญ (117) | ||
ทำประตูสูงสุด | ศุภวุฒิ เถื่อนกลาง (199) | ||
สนามเหย้า | บางกอกอารีนา | ||
รหัสฟีฟ่า | THA | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 9 (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567)[1] | ||
อันดับสูงสุด | 9 (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
ไทย 5–12 จีน (ฮ่องกง; 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2535) | |||
ชนะสูงสุด | |||
ไทย 29–1 ภูฏาน (อินช็อน ประเทศเกาหลีใต้; 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556) | |||
แพ้สูงสุด | |||
บราซิล 11–0 ไทย (รัฐฮิวกรังจีดูซูว ประเทศบราซิล; 24 ตุลาคม พ.ศ. 2547) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 7 (ครั้งแรกใน 2000) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบ 16 ทีม (2012, 2016, 2021, 2024) | ||
ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย | |||
เข้าร่วม | 15 (ครั้งแรกใน 1999) | ||
ผลงานดีที่สุด | รองชนะเลิศ (2008, 2012, 2024)[2] | ||
ฟุตซอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน | |||
เข้าร่วม | 16 (ครั้งแรกใน 2001) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (2001, 2003, 2005, 2006, 2007, 2008, 2009, 2012, 2013, 2014, 2015, 2016, 2017, 2018, 2019, 2022) |
ฟุตซอลทีมชาติไทยลงเล่นเกมอย่างเป็นทางการไปแล้วกว่า 250 นัด ลงเล่นเกมในระดับนานาชาติครั้งแรกในปี 1992 อันดับที่ดีที่สุดคืออันดับที่ 9 ตามการจัดอันดับคะแนนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 และเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2024
ประวัติ
แก้ฟุตซอลทีมชาติไทยก่อตั้งขึ้นในปี 1992 เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันรอบคัดเลือกของฟุตซอลชิงแชมป์โลก 1992 การแข่งขันนัดแรกอย่างเป็นทางการคือนัดที่แพ้จีน 5–12 ในวันที่ 2 พฤษภาคม[3]
หลังจบการแข่งขันรอบคัดเลือก ทีมชาติไทยก็ไม่มีการแข่งขันเป็นระยะเวลา 7 ปี ก่อนที่จะกลับมาเข้าร่วมการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 1999 ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียครั้งแรก ผลงานของทีมชาติไทยในรายการนั้นคือตกรอบแบ่งกลุ่ม
ใน ค.ศ. 2000 ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2000 ที่กรุงเทพมหานคร ในการแข่งขันครั้งนี้ ทีมชาติไทยอยู่ร่วมกลุ่มเดียวกันกับสิงคโปร์และอีก 2 ทีมที่แข็งแกร่งอย่างเกาหลีใต้และคาซัคสถาน แม้ว่าไทยจะเริ่มต้นด้วยการแพ้ให้ทีมชาติคาซัคสถาน แต่ก็สามารถเอาชนะเกาหลีใต้และสิงค์โปร์ ทำให้ไทยสามารถเข้ารอบรองชนะเลิศในฐานะทีมอันดับสองที่ดีที่สุด แต่ในรอบรองชนะเลิศ ทีมไทยแพ้ให้กับทีมชาติอิหร่านซึ่งเป็นแชมป์ในปีนั้น ต่อมาในนัดชิงอันดับที่สาม ไทยเอาชนะทีมชาติญี่ปุ่นไปได้ด้วยผล 8–6 ทำให้ทีมไทยจบอับดับที่สามในการแข่งขันครั้งนั้นและได้สิทธิ์ไปแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2000 ที่กัวเตมาลาในฐานะสามทีมที่ดีที่สุดจากทวีปเอเชีย[4]
ประวัติในการแข่งขันชิงแชมป์โลก
แก้ทีมชาติไทยได้ผ่านเข้าไปเล่นฟุตซอลชิงแชมป์โลกรอบสุดท้ายทั้งหมด 6 ครั้งจาก 9 ครั้ง ปีแรกที่ผ่านเข้าไปเล่นคือปี 2000 ที่กัวเตมาลาและล่าสุดคือในปี 2016 ที่โคลอมเบีย ทีมชาติไทยไม่เคยพลาดการเข้าแข่งชิงแชมป์โลกรอบสุดท้ายเลยนับตั้งแต่การเข้าร่วมครั้งแรก นอกจากนี้ไทยยังเคยได้รับเลือกให้เป็นประเทศเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2012ซึ่งทุกนัดจัดการแข่งขันที่กรุงเทพมหานครทั้งหมด
กัวเตมาลา 2000: เข้าร่วมแข่งขันครั้งแรก
แก้ทีมชาติไทยได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2000ในฐานะทีมอันดับที่สามจากการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2000 ในครั้งนั้นทีมชาติไทยอยู่กลุ่มบีร่วมกับทีมชาติเนเธอร์แลนด์ ทีมชาติอียิปต์ และทีมชาติอุรุกวัย ซึ่งไทยแพ้รวดทุกนัดและตกรอบแบ่งกลุ่ม
ไต้หวัน 2004: ชัยชนะครั้งแรกในรายการ
แก้การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2004 ที่จัดขึ้นที่ไต้หวันนั้น ทีมชาติไทยเริ่มต้นด้วยการแพ้ให้กับทีมชาติบราซิลและอุรุกวัย และชนะทีมชาติออสเตรเลียไปได้ 3-2 ประตู นับเป็นชัยชนะนัดแรกของทีมชาติไทยในรายการ อย่างไรก็ตาม คะแนนของทีมชาติไทยไม่เพียงพอที่จะผ่านเข้ารอบ
ไทย 2012: การลงเล่นในฐานะเจ้าภาพ
แก้ไทยชนะการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2012 เหนือจีน อิหร่าน อาเซอร์ไบจาน เช็กเกีย ศรีลังกา และกัวเตมาลา[5]
ทีมชาติไทยภายใต้การคุมทีมของวิคเตอร์ เฮอร์มันส์ ประเดิมสนามด้วยการเอาชนะทีมชาติคอสตาริกา 3–1 ซึ่งในนัดนั้นมีผู้เข้าชมกว่า 4,379 คน แม้ว่าทีมจะแพ้ในสองเกมหลังต่อทีมชาติยูเครนและปารากวัย แต่ทีมชาติไทยก็ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกได้เป็นครั้งแรกจากการเป็นหนึ่งในสี่ทีมอันดับที่สามที่ดีที่สุด ไทยตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายหลังจากที่แพ้ให้กับทีมชาติสเปน 1–7 อย่างไรก็ตาม ในการแข่งขันครั้งนี้ ศุภวุฒิ เถื่อนกลางได้รับรางวัลลูกยิงประตูยอดเยี่ยมประจำทัวร์นาเมนต์[6] โดยลูกยิงที่ได้รับรางวัลเกิดขึ้นในนัดที่พบกับคอสตาริกา[7]
โคลอมเบีย 2016
แก้ทีมชาติไทยภายใต้การคุมทีมของวิคเตอร์ เฮอร์มันส์ ได้สิทธิ์เข้าไปเล่นฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2016 ที่ประเทศโคลอมเบีย หลังจากที่จบอันดับที่สามในการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2016 อย่างไรก็ตาม ก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มขึ้น เฮอร์มันส์ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ฝึกสอน[8] ทำให้สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยแต่งตั้งมิเกล โรดริโกเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนในการแข่งขันครั้งนี้
ทีมชาติไทยอยู่กลุ่มบีร่วมกับรัสเซีย, อียิปต์ และคิวบา ไทยประเดิมสนามด้วยการแพ้รัสเซียด้วยผล 4-6[9] ก่อนที่จะชนะสองนัดรวดเหนืออียิปต์[10] และคิวบา[11] ทำให้ไทยผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายในฐานะรองแชมป์ของกลุ่มบี การแข่งขันครั้งนี้จึงถือว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ทีมไทยมีแต้มมากกว่า 3 แต้มในรอบแบ่งกลุ่ม ต่อมาในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ไทยเสมอกับอาเซอร์ไบจานในเวลา 7–7 แต่หลังช่วงทดเวลาจบ ไทยแพ้ที่ผล 8–13[12]
การแข่งขันครั้งนี้ ไทยลงเล่น 4 นัด ยิงประตูทั้งหมด 22 ประตู ซึ่งเกือบเท่าจำนวนประตูรวมที่เคยทำจากการแข่งขันชิงแชมป์โลก 4 ครั้งก่อนหน้านี้ ที่ลงเล่น 14 เกมได้ 23 ประตู ผู้ที่ทำประตูได้มากที่สุดคือศุภวุฒิ เถื่อนกลาง (6 ประตู) รองลงมาคือจิรวัฒน์ สอนวิเชียร (5 ประตู)
สนามเหย้า
แก้ฟุตซอลทีมชาติไทยมีสนามเหย้าสองสนามคือบางกอกอารีนา (ความจุ 15,000 ที่นั่ง) และอินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก (ความจุ 10,000 ที่นั่ง)
เขตหนองจอก | กรุงเทพมหานคร | เขตบางกะปิ |
---|---|---|
บางกอกอารีนา | อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก | |
ความจุ: 15,000 | ความจุ: 10,000 | |
ฟุตซอลชิงแชมป์โลก
แก้สถิติในฟุตซอลชิงแชมป์โลก | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | รอบ | เล่น | ชนะ | เสมอ* | แพ้ | ได้ | เสีย |
1989 | ไม่ได้เข้าร่วม | ||||||
1992 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | ||||||
1996 | ไม่ได้เข้าร่วม | ||||||
2000 | รอบแบ่งกลุ่ม | 3 | 0 | 0 | 3 | 2 | 17 |
2004 | รอบแบ่งกลุ่ม | 3 | 1 | 0 | 2 | 5 | 13 |
2008 | รอบแบ่งกลุ่ม | 4 | 1 | 0 | 3 | 7 | 15 |
2012 | รอบ 16 ทีม | 4 | 1 | 0 | 3 | 9 | 16 |
2016 | รอบ 16 ทีม | 4 | 2 | 0 | 2 | 22 | 25 |
2021 | รอบ 16 ทีม | 4 | 1 | 1 | 2 | 11 | 16 |
2024 | รอบ 16 ทีม | 4 | 2 | 0 | 2 | 15 | 19 |
รวม | 7/10 | 26 | 8 | 1 | 17 | 71 | 121 |
ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย
แก้เอเอฟซีฟุตซอลแชมเปียนชิพ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | รอบ | เล่น | ชนะ | เสมอ* | แพ้ | ได้ | เสีย |
1999 | รอบแรก | 4 | 2 | 0 | 2 | 43 | 22 |
2000 | อันดับที่สาม | 5 | 3 | 0 | 2 | 29 | 23 |
2001 | ก่อนรองชนะเลิศ | 4 | 2 | 0 | 2 | 24 | 14 |
2002 | อันดับที่สาม | 7 | 6 | 0 | 1 | 42 | 15 |
2003 | อันดับที่สาม | 6 | 5 | 0 | 1 | 23 | 7 |
2004 | อันดับที่สาม | 6 | 4 | 1 | 1 | 49 | 14 |
2005 | รอบสอง | 6 | 3 | 2 | 1 | 57 | 12 |
2006 | รอบแรก | 3 | 2 | 0 | 1 | 19 | 11 |
2007 | ก่อนรองชนะเลิศ | 4 | 2 | 0 | 2 | 23 | 16 |
2008 | รองชนะเลิศ | 6 | 5 | 0 | 1 | 27 | 10 |
2010 | ก่อนรองชนะเลิศ | 4 | 3 | 0 | 1 | 21 | 16 |
2012 | รองชนะเลิศ | 6 | 5 | 0 | 1 | 22 | 16 |
2014 | ก่อนรองชนะเลิศ | 4 | 2 | 1 | 1 | 17 | 9 |
2016 | อันดับที่สาม | 6 | 5 | 1 | 0 | 31 | 10 |
2018 | ก่อนรองชนะเลิศ | 4 | 2 | 0 | 2 | 16 | 16 |
2020 | ยกเลิก | ||||||
2022 | อันดับที่สี่ | 6 | 3 | 1 | 2 | 16 | 20 |
2024 | รองชนะเลิศ | 6 | 4 | 1 | 1 | 17 | 11 |
รวม | 16/17 | 87 | 58 | 7 | 22 | 476 | 242 |
ฟุตซอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน
แก้ฟุตซอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | รอบ | เล่น | ชนะ | เสมอ* | แพ้ | ได้ | เสีย |
2001 | ชนะเลิศ | 4 | 4 | 0 | 0 | 50 | 4 |
2003 | ชนะเลิศ | 6 | 6 | 0 | 0 | 53 | 11 |
2005 | ชนะเลิศ | 6 | 6 | 0 | 0 | 47 | 4 |
2006 | ชนะเลิศ | 4 | 4 | 0 | 0 | 59 | 7 |
2007 | ชนะเลิศ | 5 | 5 | 0 | 0 | 57 | 7 |
2008 | ชนะเลิศ | 5 | 4 | 0 | 1 | 22 | 10 |
2009 | ชนะเลิศ | 5 | 5 | 0 | 0 | 38 | 14 |
2010 | ไม่ได้เข้าร่วม | - | - | - | - | - | - |
2011 | ยกเลิกการแข่งขัน | - | - | - | - | - | - |
2012 | ชนะเลิศ | 6 | 6 | 0 | 0 | 94 | 9 |
2013 | ชนะเลิศ | 6 | 6 | 0 | 0 | 48 | 9 |
2014 | ชนะเลิศ | 6 | 5 | 0 | 1 | 39 | 8 |
2015 | ชนะเลิศ | 6 | 6 | 0 | 0 | 53 | 8 |
2016 | ชนะเลิศ | 4 | 4 | 0 | 0 | 41 | 8 |
2017 | ชนะเลิศ | 5 | 5 | 0 | 0 | 49 | 11 |
2018 | ชนะเลิศ | 5 | 5 | 0 | 0 | 42 | 5 |
2019 | ชนะเลิศ | 5 | 5 | 0 | 0 | 40 | 1 |
2022 | ชนะเลิศ | 6 | 4 | 2 | 0 | 40 | 7 |
2024 | อันดับที่ 3 | 6 | 4 | 0 | 2 | 30 | 10 |
รวม | 17/17 | 91 | 85 | 2 | 4 | 763 | 144 |
เอเชียนอินดอร์-มาร์เชียลอาร์ตสเกมส์
แก้เอเชียนอินดอร์-มาร์เชียลอาร์ตสเกมส์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | รอบ | เล่น | ชนะ | เสมอ* | แพ้ | ได้ | เสีย |
2005 | รองชนะเลิศ | 4 | 3 | 0 | 1 | 24 | 6 |
2007 | รองชนะเลิศ | 6 | 5 | 0 | 1 | 48 | 14 |
2009 | รองชนะเลิศ | 5 | 4 | 1 | 0 | 23 | 12 |
2013 | อันดับสาม | 5 | 4 | 0 | 1 | 53 | 16 |
2017 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | 3 | 1 | 0 | 2 | 13 | 18 |
รวม | 5/5 | 23 | 17 | 1 | 5 | 161 | 66 |
ผลงานอื่น
แก้- ซีเกมส์ - ชนะเลิศ 5 ครั้ง - 2007, 2011, 2013, 2017, 2021
- ฟุตซอล ไทยแลนด์ ไฟฟ์ ชนะเลิศ 2 ครั้ง - 2018, 2019 ,รองชนะเลิศ 3 ครั้ง - 2004, 2008, 2016
- ฟุตซอล ปรี เวิลด์คัพ - อันดับ 3 - 1 ครั้ง - 2004
- ฟุตซอล เตหะราน อินเตอร์เนชั่นแนล ทัวร์นาเมนต์ - รองชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2008
- ฟุตซอล กัวลาลัมเปอร์ เวิลด์ไฟฟ์ ทัวร์นาเมนต์ - อันดับ 3 - 1 ครั้ง - 2008 , รองชนะเลิศ Plate Final - 1 ครั้ง - 2003
- ฟุตซอล เดอะ มาเก๊า เมลโค ไฟฟ์ - รองชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2006
- ฟุตซอล ไทเกอร์ ไฟฟ์ - ชนะเลิศ Bowl Final - 1 ครั้ง - 2001
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
แก้รายชื่อผู้เล่น 14 คน สำหรับการแข่งขันฟุตซอลโลก 2024 ที่ประเทศอุซเบกิสถาน ระหว่างวันที่ 14 กันยายน – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2567[13]
หัวหน้าผู้ฝึกสอน: มิเกล โรดริโก
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | อรุษ เส็นบัตร | 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1988 (อายุ 35 ปี) | แบล็คเพิร์ล ยูไนเต็ด | ||
2 | DF | ณรงค์ศักดิ์ วิงวอน | 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 (อายุ 26 ปี) | ห้องเย็นท่าข้าม | ||
3 | MF | อลงกรณ์ จันทร์พร | 16 กันยายน ค.ศ. 1994 (อายุ 29 ปี) | การท่าเรือ | ||
4 | MF | กฤษณ์ อรัญสัญญาลักษณ์ | 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 (อายุ 26 ปี) | ชลบุรี บลูเวฟ | ||
5 | DF | อิทธิชา ประภาพันธ์ | 31 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (อายุ 32 ปี) | การท่าเรือ | ||
6 | DF | จิรวัฒน์ สอนวิเชียร | 23 ตุลาคม ค.ศ. 1988 (อายุ 35 ปี) | ธรรมศาสตร์ สแตลเลี่ยน | ||
7 | MF | กฤษดา วงษ์แก้ว | 29 เมษายน ค.ศ. 1988 (อายุ 36 ปี) | ชลบุรี บลูเวฟ | ||
8 | FW | วรศักดิ์ ศรีหรั่งไพโรจน์ | 26 ธันวาคม ค.ศ. 1992 (อายุ 31 ปี) | ห้องเย็นท่าข้าม | ||
9 | FW | ศุภวุฒิ เถื่อนกลาง | 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 (อายุ 35 ปี) | ชลบุรี บลูเวฟ | ||
10 | MF | สราวุท ผลาพฤกษ์ | 9 มิถุนายน ค.ศ. 1997 (อายุ 27 ปี) | ห้องเย็นท่าข้าม | ||
11 | FW | มูฮัมหมัด อุสมานมูซา | 19 มกราคม ค.ศ. 1998 (อายุ 26 ปี) | จิมบิ คาร์ตาเกนา | ||
12 | GK | คฑาวุธ หาญคำภา | 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 (อายุ 32 ปี) | ธรรมศาสตร์ สแตลเลี่ยน | ||
13 | DF | รณชัย จูงวงษ์สุข | 4 มีนาคม ค.ศ. 1997 (อายุ 27 ปี) | ชลบุรี บลูเวฟ | ||
14 | MF | อภิวัฒน์ แจ่มเจริญ | 31 มีนาคม ค.ศ. 1991 (อายุ 33 ปี) | ชลบุรี บลูเวฟ |
ผลการแข่งขัน
แก้ชนะ เสมอ แพ้
2023
แก้1 มีนาคม ค.ศ. 2023 เกมกระชับมิตร NSDF Futsal Championship 2023 | ไทย | 6-2 | โมซัมบิก | เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี |
18:00 UTC+7:00 | สนามกีฬา: ศูนย์กีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก |
3 มีนาคม ค.ศ. 2023 เกมกระชับมิตร NSDF Futsal Championship 2023 | ไทย | 1-4 | ญี่ปุ่น | เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี |
18:00 UTC+7:00 | สนามกีฬา: ศูนย์กีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก |
5 มีนาคม ค.ศ. 2023 เกมกระชับมิตร NSDF Futsal Championship 2023 | ไทย | 1-5 | อิหร่าน | เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี |
18:00 UTC+7:00 | สนามกีฬา: ศูนย์กีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก |
7 มีนาคม ค.ศ. 2023 เกมกระชับมิตร NSDF Futsal Championship 2023 | ไทย | 2-0 | ซาอุดีอาระเบีย | เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี |
18:00 UTC+7:00 | สนามกีฬา: ศูนย์กีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก |
2024
แก้17 เมษายน ค.ศ. 2024 ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024 | ไทย | 3–1 | จีน | กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย |
18:00 UTC+7:00 | รายงาน |
|
สนามกีฬา: อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก |
19 เมษายน ค.ศ. 2024 ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024 | พม่า | 0–5 | ไทย | กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย |
18:00 UTC+7:00 | รายงาน | สนามกีฬา: อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก |
21 เมษายน ค.ศ. 2024 ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024 | ไทย | 2–1 | เวียดนาม | กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย |
18:00 UTC+7:00 | รายงาน |
|
สนามกีฬา: อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก ผู้ตัดสิน: Eisa Abdulhoussain (คูเวต) |
24 เมษายน ค.ศ. 2024 ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024 รอบก่อนรองชนะเลิศ | ไทย | 3–2 | อิรัก | กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย |
18:00 UTC+7:00 |
|
|
สนามกีฬา: อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก ผู้ตัดสิน: Anatoliy Rubakov (อุซเบกิสถาน) |
26 เมษายน ค.ศ. 2024 ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024 รอบรองชนะเลิศ | ไทย | 3–3 (จุดโทษ 6–5) (ต่อเวลาพิเศษ) | ทาจิกิสถาน | กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย |
18:00 UTC+7:00 |
|
สนามกีฬา: อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก | ||
ยิงลูกโทษ | ||||
28 เมษายน ค.ศ. 2024 ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024 รอบชิงชนะเลิศ | ไทย | 1–4 | อิหร่าน | กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย |
18:00 UTC+7:00 |
|
|
สนามกีฬา: บางกอกอารีนา |
14 กันยายน ค.ศ. 2024 ฟุตซอลโลก 2024 | โครเอเชีย | 1–2 | ไทย | บูฆอรอ, อุซเบกิสถาน |
15:00 UTC+5:00 |
|
รายงาน | สนามกีฬา: Bukhara Universal Sports Complex ผู้ชมในสนาม: 1,250 ผู้ตัดสิน: Cristian Espíndola (Chile) |
17 กันยายน ค.ศ. 2024 ฟุตซอลโลก 2024 | ไทย | 10–5 | คิวบา | บูฆอรอ, อุซเบกิสถาน |
17:30 UTC+5:00 | รายงาน | สนามกีฬา: Bukhara Universal Sports Complex ผู้ชมในสนาม: 1,341 ผู้ตัดสิน: Cristiano Cardoso (Portugal) |
20 กันยายน ค.ศ. 2024 ฟุตซอลโลก 2024 | ไทย | 1–9 | บราซิล | บูฆอรอ, อุซเบกิสถาน |
17:30 UTC+5:00 | มูฮัมหมัด 19'18" | รายงาน | สนามกีฬา: Bukhara Universal Sports Complex ผู้ตัดสิน: Diego Molina (Costa Rica) |
27 กันยายน ค.ศ. 2024 ฟุตซอลโลก 2024 รอบ 16 ทีม | ไทย | 2–5 | ฝรั่งเศส | บูฆอรอ, อุซเบกิสถาน |
17:30 UTC+5:00 |
|
รายงาน |
|
สนามกีฬา: Bukhara Universal Sports Complex ผู้ตัดสิน: Anthony Riley (New Zealand) |
2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 ฟุตซอลชิงแชมป์อาเซียน 2024 | ไทย | 13–0 | บรูไน | นครราชสีมา, ประเทศไทย |
UTC+7:00 |
|
รายงาน | สนามกีฬา: เทอร์มินอล 21 โคราช |
ทำเนียบหัวหน้าผู้ฝึกสอน
แก้หัวหน้าผู้ฝึกสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2542–ปัจจุบัน
ณ วันที่ 26 เมษายน 2567
ชื่อ | สัญชาติ | ช่วงเวลา | สถิติ | ผลงาน | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | Win % | ||||
บงการ พรหมปุ้ย | 2542-2543 | ? | ? | ? | ? | ? | ||
ซิลวัลโญ | 2543-2544 | ? | ? | ? | ? | ? | ||
บิเซนเต้ เดอลุยเซ่ | 2546 | ? | ? | ? | ? | ? | ||
เจลาซิโอ เดคาสโตร | 2547-2549 | ? | ? | ? | ? | ? | ||
พัทยา เปี่ยมคำ | 2550 | ? | ? | ? | ? | ? | ||
ปูลปิส | 2551-2554 | ? | ? | ? | ? | ? | ||
วิกเตอร์ เฮอร์มันส์ | 2555-2559 | ? | ? | ? | ? | ? | ||
มิเกล โรดริโก | 2559-2560 | ? | ? | ? | ? | ? | ||
ปูลปิส | 2560-2564 | ? | ? | ? | ? | ? | ||
รักษ์พล สายเนตรงาม | 2564-2565 | 11 | 6 | 2 | 3 | 54.54 | ฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2021 – รอบ 16 ทีมสุดท้าย | |
คาร์ลอส เซซาร์ นูเนส กาโก | 10 กุมภาพันธ์ 2565 –1 ธันวาคม 2566 | 32 | 21 | 5 | 6 | 65.63 | อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2022 – ชนะเลิศ
ซีเกมส์ 2021 – เหรียญทอง ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2022 – อันดับ 4 | |
มิเกล โรดริโก | 2567– | 12 | 9 | 0 | 3 | 75.00 | ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024 – รองชนะเลิศ |
สถิติการพบกับชาติอื่น
แก้- ณ วันที่ 13 กันยายน 2022; นับเฉพาะเกมอย่างเป็นทางการ[14]
ทีม | สมาพันธ์ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ผลต่าง |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อัฟกานิสถาน | เอเอฟซี | 1 | 1 | 0 | 0 | 23 | 2 | +21 |
อาร์เจนตินา | คอนเมบอล | 5 | 1 | 1 | 3 | 10 | 15 | -5 |
ออสเตรเลีย | เอเอฟซี | 14 | 12 | 0 | 2 | 66 | 26 | +40 |
อาเซอร์ไบจาน | ยูฟ่า | 1 | 0 | 0 | 1 | 8 | 13 | -5 |
บาห์เรน | เอเอฟซี | 2 | 2 | 0 | 0 | 19 | 4 | +15 |
ภูฏาน | เอเอฟซี | 1 | 1 | 0 | 0 | 29 | 1 | +28 |
บราซิล | คอนเมบอล | 7 | 0 | 0 | 7 | 5 | 52 | -47 |
บรูไน | เอเอฟซี | 12 | 12 | 0 | 0 | 161 | 12 | +149 |
กัมพูชา | เอเอฟซี | 4 | 4 | 0 | 0 | 60 | 5 | +55 |
ชิลี | คอนเมบอล | 1 | 1 | 0 | 0 | 6 | 1 | +5 |
จีน | เอเอฟซี | 10 | 4 | 4 | 2 | 31 | 33 | -2 |
จีนไทเป | เอเอฟซี | 2 | 2 | 0 | 0 | 12 | 4 | +8 |
คอสตาริกา | คอนคาแคฟ | 2 | 1 | 0 | 1 | 4 | 3 | 1 |
คิวบา | คอนคาแคฟ | 1 | 1 | 0 | 0 | 8 | 5 | +3 |
เช็กเกีย | ยูฟ่า | 1 | 0 | 0 | 1 | 1 | 2 | -1 |
อียิปต์ | ซีเอเอฟ | 6 | 3 | 1 | 2 | 13 | 22 | -9 |
อังกฤษ | ยูฟ่า | 2 | 2 | 0 | 0 | 10 | 1 | +9 |
กวม | เอเอฟซี | 1 | 1 | 0 | 0 | 21 | 0 | +21 |
กัวเตมาลา | คอนคาแคฟ | 2 | 2 | 0 | 0 | 9 | 3 | +6 |
ฮังการี | ยูฟ่า | 1 | 0 | 1 | 0 | 4 | 4 | 0 |
อินโดนีเซีย | เอเอฟซี | 20 | 15 | 2 | 3 | 98 | 40 | +58 |
อิหร่าน | เอเอฟซี | 25 | 6 | 3 | 16 | 55 | 117 | -62 |
อิรัก | เอเอฟซี | 8 | 8 | 0 | 0 | 38 | 12 | +26 |
อิตาลี | ยูฟ่า | 2 | 0 | 0 | 2 | 3 | 8 | -5 |
ญี่ปุ่น | เอเอฟซี | 23 | 6 | 2 | 15 | 52 | 73 | -21 |
จอร์แดน | เอเอฟซี | 2 | 2 | 0 | 0 | 14 | 1 | +13 |
คาซัคสถาน | ยูฟ่า[1] | 4 | 0 | 1 | 3 | 7 | 16 | -9 |
คอซอวอ | ยูฟ่า | 1 | 0 | 1 | 0 | 6 | 6 | 0 |
คูเวต | เอเอฟซี | 9 | 8 | 0 | 1 | 51 | 19 | +32 |
คีร์กีซสถาน | เอเอฟซี | 8 | 7 | 0 | 1 | 46 | 19 | +27 |
ลาว | เอเอฟซี | 7 | 7 | 0 | 0 | 98 | 9 | +89 |
เลบานอน | เอเอฟซี | 6 | 4 | 1 | 1 | 31 | 19 | +12 |
มาเก๊า | เอเอฟซี | 3 | 3 | 0 | 0 | 32 | 7 | +25 |
มาเลเซีย | เอเอฟซี | 32 | 32 | 0 | 0 | 200 | 44 | +156 |
มัลดีฟส์ | เอเอฟซี | 2 | 2 | 0 | 0 | 33 | 3 | +30 |
เม็กซิโก | คอนคาแคฟ | 1 | 1 | 0 | 0 | 7 | 0 | +7 |
โมร็อกโก | ซีเอเอฟ | 3 | 0 | 2 | 1 | 4 | 8 | -4 |
โมซัมบิก | ซีเอเอฟ | 3 | 3 | 0 | 0 | 15 | 8 | +7 |
พม่า | เอเอฟซี | 18 | 18 | 0 | 0 | 172 | 40 | +132 |
เนเธอร์แลนด์ | ยูฟ่า | 3 | 0 | 1 | 2 | 5 | 12 | -7 |
โอมาน | เอเอฟซี | 3 | 2 | 1 | 0 | 19 | 1 | +18 |
ปานามา | คอนคาแคฟ | 1 | 0 | 0 | 1 | 5 | 7 | -2 |
ปารากวัย | คอนเมบอล | 2 | 0 | 0 | 2 | 2 | 11 | -9 |
ฟิลิปปินส์ | เอเอฟซี | 9 | 9 | 0 | 0 | 114 | 13 | +101 |
โปรตุเกส | ยูฟ่า | 5 | 0 | 1 | 4 | 6 | 14 | -8 |
กาตาร์ | เอเอฟซี | 1 | 1 | 0 | 0 | 4 | 3 | +1 |
โรมาเนีย | ยูฟ่า | 3 | 2 | 0 | 1 | 17 | 11 | +6 |
รัสเซีย | ยูฟ่า | 3 | 0 | 0 | 3 | 7 | 14 | -7 |
สิงคโปร์ | เอเอฟซี | 6 | 6 | 0 | 0 | 72 | 4 | +68 |
หมู่เกาะโซโลมอน | โอเอฟซี | 2 | 1 | 0 | 1 | 12 | 8 | +4 |
แอฟริกาใต้ | ซีเอเอฟ | 1 | 1 | 0 | 0 | 6 | 2 | +4 |
เกาหลีใต้ | เอเอฟซี | 7 | 6 | 0 | 1 | 46 | 21 | +25 |
สเปน | ยูฟ่า | 7 | 0 | 0 | 7 | 6 | 47 | -41 |
ทาจิกิสถาน | เอเอฟซี | 3 | 3 | 0 | 0 | 13 | 6 | +7 |
ติมอร์-เลสเต | เอเอฟซี | 6 | 6 | 0 | 0 | 89 | 8 | +81 |
เติร์กเมนิสถาน | เอเอฟซี | 4 | 3 | 0 | 1 | 36 | 5 | +31 |
ยูเครน | ยูฟ่า | 1 | 0 | 0 | 1 | 3 | 5 | -2 |
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | เอเอฟซี | 3 | 3 | 0 | 0 | 13 | 4 | +8 |
สหรัฐ | คอนคาแคฟ | 1 | 1 | 0 | 0 | 5 | 3 | +2 |
อุรุกวัย | คอนเมบอล | 1 | 0 | 0 | 1 | 1 | 4 | -3 |
อุซเบกิสถาน | เอเอฟซี | 11 | 8 | 1 | 2 | 34 | 19 | +15 |
เวียดนาม | เอเอฟซี | 21 | 20 | 0 | 1 | 122 | 27 | +95 |
62 ประเทศ | 339 | 233 | 18 | 88 | 2016 | 872 | +1144 |
- 1 คาซัคสถานยังเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ในช่วงการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2000 ที่กรุงเทพมหานคร
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ FIFA Men's Futsal Ranking
- ↑ Asian Futsal Championship Overview RSSSF
- ↑ "Futsalplanet : China 12-5 Thailand". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-27. สืบค้นเมื่อ 2021-06-09.
- ↑ "Futsalplanet : Thailand 8-6 Japan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-27. สืบค้นเมื่อ 2021-08-25.
- ↑ "Thailand Awarded the 2012 FIFA Futsal World Cup!". Futsalcanada. 19 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2010. สืบค้นเมื่อ 2 November 2012.
- ↑ กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี (11 ต.ค. 2016). "สุดยอด! ลูกยิง 'ศุภวุฒิ' ชนะโหวตประตูยอดเยี่ยมฟุตซอลโลก". Voice TV. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2021.
- ↑ "FIFA Futsal World Cup Thailand 2012 Goal of Tournament - Suphawut Thueanklang". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-27. สืบค้นเมื่อ 2021-06-10.
- ↑ "เอเอฟซีตีข่าว วิคเตอร์ เฮอร์มัน ประกาศวางมือกุนซือโต๊ะเล็ก ทีมชาติไทย หลังชิงแชมป์โลก". สืบค้นเมื่อ August 25, 2021.
- ↑ "โต๊ะเล็กไทยพ่ายรัสเซีย 4-6 นัดหน้าชนคิวบา 14 ก.ย. ศึกฟุตซอลโลก". สืบค้นเมื่อ August 25, 2021.
- ↑ ""ไทย" ชนะ "อียิปต์" 2-1 ทะลุ 16 ทีม ฟุตซอลโลก 2016". สืบค้นเมื่อ August 25, 2021.
- ↑ "FIFA Futsal 2016 : ช้างศึกพลิกสถานการณ์ชนะคิวบา 8-5". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-25. สืบค้นเมื่อ August 25, 2021.
- ↑ ""ไทย" แพ้ "อาเซอร์ไบจาน" 8-13 ร่วงฟุตซอลโลก". สืบค้นเมื่อ August 25, 2021.
- ↑ "ประกาศรายชื่อ 14 นักฟุตซอลทีมชาติไทย ลุยศึก "FIFA Futsal World Cup 2024"". Football Association of Thailand (Facebook). 2024-09-07.
- ↑ "Futsalplanet - International Matches". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-02. สืบค้นเมื่อ 2021-06-09.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เก็บถาวร 2019-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาไทย)