อันดับโลกฟีฟ่า (FIFA World Rankings) เป็นระบบการจัดอันดับทีมฟุตบอลทีมชาติที่เป็นสมาชิกของฟีฟ่า อันดับจะถูกคำนวณจากแต้มความสำเร็จของแต่ละทีมจากผลแพ้ชนะในในแต่ละทีมจากผลแพ้ชนะ ทีมที่ชนะหรือเสมอจะได้แต้มจากการแข่งขันซึ่งคำนวณจากปัจจัยต่างๆ โดยแต้มทั้งหมดจะถูกสะสมจากการแข่งขันในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งระบบใหม่ที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้ได้ถูกนำมาใช้ภายหลังจากการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2006 ที่ผ่านมา โดยใช้ครั้งแรก วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โดยใช้ทดแทนระบบเก่าที่การคำนวณซับซ้อนและการคำนวณแต้มสะสมย้อนหลังแปดปี ที่ไม่แสดงถึงความสามารถของทีมในปัจจุบัน

อันดับโลกฟีฟ่าเริ่มถูกนำมาใช้ครั้งแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) ภายใต้ชื่อ "โคคาโคล่าเวิลด์แรงกิง" สนับสนุนโดยโคคาโคล่า และใช้กันอย่างต่อเนื่องโดยมีการจัดอันดับในทุกเดือน จนกระทั่งไป ในปี 2542 ได้มีการปรับปรุงระบบการคำนวณครั้งหนึ่งและในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการปรับปรุงระบบอีกครั้งเหมือนตามที่ใช้ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามทีมที่จะถูกจัดอันดับนั้นจำเป็นต้องแข่งขันอย่างน้อย 5 นัดภายในปีนั้น ส่วนทีมชาติหญิงนั้นจะใช้การจัดอันดับในรูปแบบอื่น

การคำนวณอันดับนี้จะมีผลเฉพาะการแข่งขันฟุตบอลของทีมปกติซึ่งจะไม่นับผลการแข่งขันของทีมเยาวชน รวมไปถึงมหกรรมกีฬาที่บรรจุการแข่งขันฟุตบอลรวมอยู่ด้วย เช่น เอเชียนเกมส์ โอลิมปิก หรือซีเกมส์

การคำนวณแต้ม

แก้

การคำนวณแต้มระบบปรับปรุง 2549 นี้ได้เปลี่ยนจากระบบเดิมให้เรียบง่ายขึ้น โดยเปลี่ยนจากระบบเดิมที่มีแต้มสะสม 8 ปี เหลือเพียง 4 ปี และยกเลิกระบบเดิมที่มีการคำนวณการเล่นในบ้านและนอกบ้าน รวมถึงแต้มพิเศษที่นับจากประตูที่ทำได้ ค่าใหม่นี้จะคำนวณจากผลการแข่งขัน ความสำคัญของการแข่งขัน สมาพันธ์ และอันดับของคู่แข่ง โดยนำมาคูณกันทั้งหมดและคูณด้วย 100 ซึ่งจะเป็นคะแนนที่ได้ในการแข่งขันนั้น

ผลการแข่งขัน

แก้

ผลการแข่งขันในแต่ละครั้งจะถูกนำมาใช้ในการคำนวณหาอันดับ โดยทีมที่ชนะและเสมอการแข่งขันจะได้แต้ม ส่วนทีมที่แพ้จะไม่ได้แต้ม

ผล แต้ม
ชนะ (ไม่มีการยิงลูกโทษ) 3
ชนะ (ยิงลูกโทษ) 2
เสมอ 1
แพ้ 0
แพ้ (ยิงลูกโทษ) 1

ความสำคัญของการแข่งขัน

แก้

การแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศนั้น ความสำคัญของเกมจะถูกนำมาคิดหาอันดับฟีฟ่า โดยฟุตบอลนัดกระชับมิตรจะมีค่าความสำคัญน้อยสุด ในขณะที่ฟุตบอลโลกจะมีค่าความสำคัญมากสุด

ลักษณะ แต้ม
ฟุตบอลนัดกระชับมิตร x 1.0
ฟุตบอลโลกหรือฟุตบอลสมาพันธ์รอบคัดเลือก x 2.5
ฟุตบอลสมาพันธ์ x 3.0
ฟุตบอลโลก x 4.0

สมาพันธ์ของทั้งสองทีม

แก้

ค่าตัวเลขตัวคูณส่วนนี้จะเป็นค่าของสมาพันธ์ฟุตบอลแต่ละทวีปทั่วโลก โดยคำนวณจากผลงานในฟุตบอลโลกสามครั้งที่ผ่านมา โดยค่าตัวคูณปัจจุบันที่ใช้ เป็นค่าหลังฟุตบอลโลก 2006 ดังแสดงในตารางด้านล่าง โดยค่าที่นำมาใช้เป็นค่าเฉลี่ยของทั้งสองทีม

สมาพันธ์ ค่าตัวคูณ
ยูฟ่า (ยุโรป) x 1.00
คอนเมบอล (อเมริกาใต้) x 0.98
เอเอฟซี (เอเชีย) x 0.85
ซีเอเอฟ (แอฟริกา) x 0.85
คอนแคแคฟ - อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และแคริบเบียน x 0.85
โอเอฟซี (โอเชียเนีย) x 0.85

ผลล่าสุด

แก้

ผลล่าสุดจะแสดงถึงสถานะของทีมปัจจุบัน โดยผลของคะแนนเกินหนึ่งปีขึ้นไป จะถูกลดหลั่นลงไปตามความสำคัญ และผลแข่งที่เกิน 4 ปี จะไม่ถูกนำมาคำนวณ โดยระยะเวลาและค่าตัวคูณแสดงดังตารางด้านล่าง

ระยะเวลา ค่าตัวคูณ
ภายใน 1 ปี 100%
1-2 ปี 50%
2-3 ปี 30%
3-4 ปี 20%

อันดับของคู่แข่ง

แก้

ถ้าการแข่งขันชนะคู่แข่งที่อันดับสูงจะได้แต้มมากกว่าคู่แข่งที่อันดับต่ำ โดยคำนวณค่าตัวคูณจากสูตรด้านล่าง

ค่าตัวคูณ = (200 - อันดับคู่แข่ง) / 100

ค่าตัวคูณ = 2.0 สำหรับชนะทีมคู่แข่งอันดับ 1

ค่าตัวคูณ = 0.5 สำหรับชนะทีมคู่แข่งอันดับ 150 หรือต่ำกว่าลงไป

ตัวอย่างเช่น คู่แข่งอันดับ 5 ค่าตัวคูณ เท่ากับ (200 - 5 ) / 100 = 1.95
ตัวอย่างเช่น คู่แข่งอันดับ 125 ค่าตัวคูณ เท่ากับ (200 - 125 ) / 100 = 0.75
ตัวอย่างเช่น คู่แข่งอันดับ 194 ค่าตัวคูณ เท่ากับ 0.50 (ค่าต่ำสุดที่ใช้)

ตัวอย่างการคำนวณ

แก้

ตัวอย่างการคำนวณ (ชื่อและอันดับเป็นค่าสมมุติ) และสมมุติว่าเป็นผลการแข่งขันในปีล่าสุด (ผลคะแนน 100%)

  • ทีมชาติเนเธอร์แลนด์ อันดับโลก ที่ 5 และเป็นสมาชิกของยูฟ่า (x 1.0)
  • ทีมชาติญี่ปุ่น อันดับโลก ที่ 125 และเป็นสมาชิกของเอเอฟซี (x 0.85)
  • ทีมชาติอิหร่าน อันดับโลก ที่ 194 และเป็นสมาชิกของเอเอฟซี (x 0.85)
คู่   ทีม แต้มแพ้ชนะ ตัวคูณ แต้มที่ได้
ความสำคัญ สมาพันธ์ อันดับคู่แข่ง
เนเธอร์แลนด์-ญี่ปุ่น
2-0
(กระชับมิตร)
เนเธอร์แลนด์
ญี่ปุ่น
3
0
1.0 0.925 0.75
1.95
208
0
  • 3 แต้มของเนเธอร์แลนด์ มาจากชนะการแข่งขัน
  • 1.0 สำหรับฟุตบอลนัดกระชับมิตร
  • 0.925 เป็นค่าเฉลี่ยของสมาพันธ์ (1 และ 0.85)
  • 0.75 เป็นค่าอันดับของทีมญี่ปุ่น

(200-125)/100

  • 1.95 เป็นค่าอันดับของทีมเนเธอร์แลนด์ (200-5)/100
  • 208 เป็นแต้มรวมได้จากการนำค่า 3 x 1.0 x 0.925 x 0.75 x 100 = 208
ตัวอย่างการคำนวณอื่น
คู่   ทีม แต้มแพ้ชนะ ตัวคูณ แต้มที่ได้
ความสำคัญ สมาพันธ์ อันดับคู่แข่ง
เนเธอร์แลนด์-ญี่ปุ่น
2-2
(กระชับมิตร)
เนเธอร์แลนด์
ญี่ปุ่น
1
1
1.0 0.925 0.75
1.95
69
180
ญี่ปุ่น-อิหร่าน
4-1
(ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก)
ญี่ปุ่น
อิหร่าน
3
0
2.5 0.85 0.50
0.75
319
0
เนเธอร์แลนด์-อิหร่าน
0-0
(ฟุตบอลโลก)
เนเธอร์แลนด์
อิหร่าน
1
1
4.0 0.925 0.50
1.95
185
722
เนเธอร์แลนด์-ญี่ปุ่น
1-2
(ฟุตบอลโลก)
เนเธอร์แลนด์
ญี่ปุ่น
0
3
4.0 0.925 0.75
1.95
0
2165

รางวัล

แก้

ทีมยอดเยี่ยมแห่งปี

แก้
ปี อันดับที่ 1 อันดับที่ 2 อันดับที่ 3
2536   เยอรมนี   อิตาลี   บราซิล
2537   บราซิล   สเปน   สวีเดน
2538   บราซิล   เยอรมนี   อิตาลี
2539   บราซิล   เยอรมนี   ฝรั่งเศส
2540   บราซิล   เยอรมนี   เช็กเกีย
2541   บราซิล   ฝรั่งเศส   เยอรมนี
2542   บราซิล   เช็กเกีย   ฝรั่งเศส
2543   บราซิล   ฝรั่งเศส   อาร์เจนตินา
2544   ฝรั่งเศส   อาร์เจนตินา   บราซิล
2545   บราซิล   ฝรั่งเศส   สเปน
2546   บราซิล   ฝรั่งเศส   สเปน
2547   บราซิล   ฝรั่งเศส   อาร์เจนตินา
2548   บราซิล   เช็กเกีย   เนเธอร์แลนด์
2549   บราซิล   อิตาลี   อาร์เจนตินา
2550   อาร์เจนตินา   บราซิล   อิตาลี
2551   สเปน   เยอรมนี   เนเธอร์แลนด์
2552   สเปน   บราซิล   เนเธอร์แลนด์
2553   สเปน   เนเธอร์แลนด์   เยอรมนี
2554   สเปน   เนเธอร์แลนด์   เยอรมนี
2555   สเปน   เยอรมนี   อาร์เจนตินา
2556   สเปน   เยอรมนี   อาร์เจนตินา
2557   เยอรมนี   อาร์เจนตินา   โคลอมเบีย
2558   เบลเยียม   อาร์เจนตินา   สเปน
2559   อาร์เจนตินา   บราซิล   เยอรมนี
2560   เยอรมนี   บราซิล   โปรตุเกส
2561   เบลเยียม   ฝรั่งเศส   บราซิล
2562   เบลเยียม   ฝรั่งเศส   บราซิล
2563   เบลเยียม   ฝรั่งเศส   บราซิล
2564   เบลเยียม   บราซิล   ฝรั่งเศส
2565   บราซิล   อาร์เจนตินา   ฝรั่งเศส
2566   อาร์เจนตินา   ฝรั่งเศส   อังกฤษ


อันดับรายประเทศ

แก้
Team อันดับ 1 อันดับ 2 อันดับ 3
  บราซิล 13 (2537, 2538, 2539, 2540, 2541, 2542, 2543, 2545, 2546, 2547, 2548, 2549 และ 2565) 5 (2550, 2552, 2559, 2560 และ 2564) 5 (2536, 2544, 2561, 2562 และ 2563)
  สเปน 6 (2551, 2552, 2553, 2554, 2555 และ 2556) 1 (2537) 3 (2545, 2546 และ 2558)
  เยอรมนี 3 (2536, 2557 และ 2560) 6 (2538, 2539, 2540, 2551, 2555 และ 2556) 4 (2541, 2553, 2554 และ 2559)
  อาร์เจนตินา 2 (2550, เเละ 2559) 3 (2544, 2557 และ 2558) 5 (2543, 2547, 2549, 2555 และ 2556)
  ฝรั่งเศส 1 (2544) 5 (2541, 2543, 2545, 2546 และ 2547) 2 (2539 และ 2542)
  เบลเยียม 1 (2558) 0 0
  เนเธอร์แลนด์ 0 2 (2553 และ 2554) 3 (2548, 2551 และ 2552)
  อิตาลี 0 2 (2536 และ 2549) 2 (2538 และ 2550)
  เช็กเกีย 0 2 (2542 และ 2548) 1 (2540)
  สวีเดน 0 0 1 (2537)
  โคลอมเบีย 0 0 1 (2557)
  โปรตุเกส 0 0 1 (2560)

Best Mover of the Year

แก้
ปี อันดับที่ 1 อันดับที่ 2 อันดับที่ 3
1993   บราซิล   โปรตุเกส   โมร็อกโก
1994   บราซิล   เช็กเกีย   โปรตุเกส
1995   บราซิล   ตรินิแดดและโตเบโก   เช็กเกีย
1996   บราซิล   ปารากวัย   แคนาดา
1997   บราซิล   บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา   อิหร่าน
1998   บราซิล   ฝรั่งเศส   อาร์เจนตินา
1999   บราซิล   คิวบา   อุซเบกิสถาน
2000   บราซิล   ฮอนดูรัส   แคเมอรูน
2001   บราซิล   ออสเตรเลีย   ฮอนดูรัส
2002   บราซิล   เวลส์   บราซิล
2003   บราซิล   โอมาน   เติร์กเมนิสถาน
2004   บราซิล   อุซเบกิสถาน   โกตดิวัวร์
2005   บราซิล   เอธิโอเปีย   สวิตเซอร์แลนด์
2006   บราซิล   เยอรมนี   ฝรั่งเศส
2007   บราซิล   นอร์เวย์   นิวแคลิโดเนีย
2008   บราซิล   มอนเตเนโกร   รัสเซีย
2009   บราซิล   แอลจีเรีย   สโลวีเนีย
2010   บราซิล   มอนเตเนโกร   บอตสวานา
2011   บราซิล   เซียร์ราลีโอน   บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
2012   บราซิล   เอกวาดอร์   มาลี
2013[1]   บราซิล   อาร์มีเนีย   สหรัฐ
2014[2]   บราซิล   สโลวาเกีย   เบลเยียม
2015[3]   บราซิล   ฮังการี   นิการากัว

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Spain on top, Ukraine highest climber". fifa.com. 19 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-29. สืบค้นเมื่อ 19 December 2013.
  2. "Germany conquer 2014, Belgium, Slovakia impress". fifa.com. 18 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 18 December 2014.
  3. "Belgium and Turkey claim awards, Hungary return". fifa.com. 3 December 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-21. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้