ฟุตซอล

กีฬาประเภททีม

ฟุตซอล (อังกฤษ: futsal) ลักษณะการเล่นเหมือนฟุตบอล แต่เป็นการเล่นในร่ม โดยสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) เป็นองค์กรที่ควบคุมการเล่นฟุตซอลทั่วโลก ชื่อ ฟุตซอล มาจากวลีในภาษาโปรตุเกสว่า ฟูตึบอลดึซาเลา (futebol de salão) และในภาษาสเปนว่า ฟุตโบลซาลา (fútbol sala) ซึ่งวลีทั้งสองหมายถึง "ฟุตบอลที่เล่นในห้อง"

ฟุตซอล
การแข่งขันฟุตซอลระหว่างทีมชาติอาร์เจนตินากับทีมชาติบราซิลใน ค.ศ. 2007
สมาพันธ์สูงสุดสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
ลักษณะเฉพาะ
การปะทะใช่[1]
ผู้เล่นในทีมทีมละ 5 คน
หมวดหมู่ในร่ม
อุปกรณ์ลูกฟุตซอล
สถานที่สนามฟุตซอล
จัดแข่งขัน
โอลิมปิกไม่ (ยกเว้นโอลิมปิกเยาวชน 2018)
พาราลิมปิกไม่

การเล่นฟุตซอลจะแบ่งออกเป็นสองทีม โดยแต่ละทีมมีทั้งหมด 5 คน รวมผู้รักษาประตูข้างละ 1 คน ลูกบอลที่ใช้เล่นจะมีขนาดเล็กกว่าลูกฟุตบอลทั่วไป และจะหนักกว่า

ประวัติ

แก้

คำว่า ฟุตซอล มีรากศัพท์มาจากภาษาสเปนหรือโปรตุเกส ที่ว่า FUTbol หรือ FUTebol และภาษาสเปนหรือฝรั่งเศสเรียกคำว่า Indoor เป็นคำว่า SALa เมื่อนำมารวมกันจึงกลายเป็นคำว่า ฟุตซอล

กีฬาฟุตซอลถือกำเนิดขึ้นในประเทศแคนาดาเมื่อ ค.ศ. 1854 เนื่องจากเมื่อย่างเข้าหน้าหนาว หิมะตกคลุมทั่วบริเวณ ทำให้นักกีฬาไม่สามารถเล่นกีฬาฟุตบอลกลางแจ้งได้ จึงหันมาเล่นฟุตบอลในร่ม โดยใช้โรงยิมบาสเกตบอลเป็นสนามแข่ง ทำให้ช่วงนั้นเรียกกีฬาฟุตซอลว่า Indoor soccer (อินดอร์ซอคเกอร์) หรือ five a side soccer

ค.ศ. 1930 ฮวน คาร์ลอส เซอเรียนี จากเมืองมอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัย ได้นำกีฬาฟุตซอลไปใช้ในสมาคม YMCA (Young Man's Christian Association) โดยใช้สนามบาสเกตบอลในการเล่นทั้งภายในและภายนอกอาคาร ทำให้กีฬา Indoor soccer ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ

ค.ศ. 1932 โรเจอร์ เกรน ได้บัญญัติกฎเพื่อใช้เป็นมาตรฐานควบคุมกีฬาชนิดนี้ และใช้มาจนถึงทุกวันนี้ หลังจากนั้นไม่นาน กีฬาชนิดนี้ก็แพร่หลายไปทั่วโลก เป็นที่นิยมทั่วทั้งทวีปอเมริกาใต้ ทวีปยุโรป และแพร่กระจายไปทั่วโลก

ค.ศ. 1965 มีการจัดการแข่งขันฟุตซอลนานาชาติเป็นครั้งแรก และประเทศปารากวัยก็เป็นทีมชนะเลิศ ต่อจากนั้นก็มีการจัดแข่งขันในระดับนานาชาติมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1982 มีการจัดฟุตซอลชิงแชมป์โลกขึ้นที่ประเทศบราซิล และเจ้าภาพเองก็เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะไป จึงมีการจัดการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการอีก 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1985 และ ค.ศ. 1988 ที่มีประเทศสเปนและออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1989 สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ได้เข้ามาดูแลจัดการการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกอย่างเป็นทางการ

กติกา

แก้
 
สนามฟุตซอล
 
ลูกฟุตซอล

ในกีฬาฟุตซอลมีกติกาสากลทั้งหมด 18 ข้อ หลักที่มีการใช้ในฟุตซอลทั่วโลก สนามแข่งขันต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวเส้นข้างต้องยาวกว่าความยาวเส้นประตู โดยสนามมีความยาวต่ำสุด 25 เมตร สูงสุด 42 เมตร ความกว้างต่ำสุด 16 เมตร สูงสุด 25 เมตร

ลูกบอลต้องเป็นทรงกลม ทำด้วยหนังหรือวัสดุอื่น ๆ เส้นรอบวง ไม่น้อยกว่า 62 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 64 เซนติเมตร ขณะการแข่งขัน ลูกบอลต้องมีความดันลม ไม่น้อยกว่า 400 กรัม ไม่มากกว่า 440 กรัม ความดันลมของลูกบอลจะอยู่ผ่านเส้นประตูระหว่างเสาประตูใต้คานประตู แต่ต้องไม่มีการทำผิดกติกาโดยทีมที่ทำประตู ผู้รักษาประตูไม่สามารถทำประตูได้ด้วยมือแต่ทำด้วยการเตะได้ และผู้เล่นฝ่ายรุกไม่สามารถทำประตูได้ด้วยแขน

สรุปกติกา

แก้
ความยาวสนาม
เล็กสุด 25 x 16 เมตร ใหญ่สุด 42 x 25 เมตร
ลูกบอล
การแข่งขันรุ่นอายุมากกว่า 13 ปี ใช้ลูกบอลไซต์ 4 มีขนาดก่อนเริ่มเกมคือ เส้นรอบวงยาว 62–64 ซม. น้ำหนักระหว่าง 400–440 กรัม
การแข่งขันรุ่นอายุ 9-13 ปี ใช้ลูกบอลไซต์ 3 มีขนาดก่อนเริ่มเกมคือ เส้นรอบวงยาว 56–59 ซม. น้ำหนักระหว่าง 350–380 กรัม
มาตราฐานลูกบอลคือ เมื่อปล่อยลูกบอลลงมาจากความสูง 2 เมตร การกระเด้งครั้งแรกต้องสูงไม่ต่ำกว่า 50 ซม. หรือมากกว่า 65 ซม.
น้ำหนักที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 390-490 กรัม ไม่ควรเบากว่า 380 กรัม และ ไม่ควรหนักกว่า 500 กรัม
ระยะเวลาการแข่งขัน
การแข่งขันมีทั้งหมด 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาที และระยะเวลาการแข่งขันแต่ละครึ่งอาจเพิ่มเวลาเตะลูกโทษ ณ จุดโทษ ส่วนการขอเวลานอกนั้น ทั้งสองทีมมีสิทธิขอเวลานอก 1 นาที ในแต่ละครึ่งเวลา
จำนวนผู้เล่น
ส่งผู้เล่นลงสนามทีมละ 5 คน โดยมีผู้รักษาประตู 1 คน ตำแหน่งอื่น 4 คน ในหนึ่งเกมสามารถใช้ผู้เล่นได้สูงสุด 12 คน ไม่มีโควต้าการเปลี่ยนตัวสามารถเปลี่ยนได้เรื่อย ๆ และต้องเปลี่ยนทันที

ชิงแชมป์โลก

แก้
 
ฟุตซอลทีมชาติบราซิลตั้งแถวก่อนเริ่มการแข่งขัน

การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งแรกจัดที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีทีมที่ร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 16 ทีม ซึ่งทีมที่ได้แชมป์คือ ทีมชาติบราซิล ซึ่งชนะเนเธอร์แลนด์ 2–1 และตำแหน่งดาวยิงสูงสุดคือ Laszlo Zladany ทีมชาติฮังการี ทำได้ 7 ประตู

การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่ฮ่องกงใน ค.ศ. 1992 และบราซิลก็ได้แชมป์สมัยที่ 2 อย่างสวยงาม ด้วยการถล่มสหรัฐอเมริกา 4–1 ส่วนดาวซัลโวคือ Rajabi Shirazi ทำได้ 16 ประตู

การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 3 จัดที่ประเทศสเปนใน ค.ศ. 1996 ทีมชาติบราซิลก็ยังคงครองเจ้าสนามโต๊ะเล็กอีกครั้งด้วยการพิชิตสเปนเจ้าภาพ 6–4 และตำแหน่งดาวซัลโวคือ Manoel ทีมชาติบราซิล 14 ประตู

การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 4 จัดที่ประเทศกัวเตมาลา ค.ศ. 2000 ซึ่งในครั้งนี้ทีมชาติไทยได้ลงสังเวียนระดับโลกเป็นครั้งแรก ถึงแม้ว่าจะแพ้ทั้ง 3 นัดแต่ก็เป็นการชิมลางในระดับโลกได้เป็นอย่างดี และสเปนรองแชมป์เก่าก็กลับมาทวงแค้นด้วยการเอาชนะบราซิล 4–3 คว้าแชมป์ไปครองอย่างพลิกความคาดหมาย ส่วนดาวซัลโวคือ Manoel Tobias ทีมชาติบราซิล 19 ประตู

การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 5 ไทเป ค.ศ. 2004 ทีมชาติไทยก็ยังมีโอกาสมาโชว์ฝีเท้าอีกครั้ง และครั้งนี้ยังเก็บได้ 3 แต้ม ด้วยการชนะออสเตรเลีย 3–2 ส่วนแชมป์ตกเป็นของสเปนซึ่งเอาชนะอิตาลี 2–1

การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 6 จะจัดขึ้นที่ประเทศบราซิล ค.ศ. 2008 ทีมชาติไทยก็ได้เป็นหนึ่งในตัวแทนจากทวีปเอเชียได้เข้าแข่งขันในครั้งนี้ด้วย

ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 7 ค.ศ. 2012 และประเทศโคลัมเบียได้เป็นเจ้าภาพฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 8 ค.ศ. 2016

การแข่งขันฟุตซอล 5 คน ในประเทศไทย

แก้

ประเทศไทยได้มีการจัดการแข่งขันฟุตซอล 5 คน ขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1997 ด้วยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่ายที่ช่วยกันผลักดันกีฬาชนิดนี้ให้ได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร การกีฬาแห่งประเทศไทย และเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตซอล 5 คน ในรายการ STAR IN DOOR SOCCER 1997 เมื่อวันที่ 12–21 กรกฎาคม 2540 ณ เดอะมอลล์ บางกะปิ โดยมี 12 ทีมสโมสรชั้นนำจากไทยแลนด์ลีกเข้าร่วมการแข่งขัน และทีมการท่าเรือแห่งประเทศไทยชนะเลิศ

ในปีต่อมาได้จัดการแข่งขันฟุตซอล 5 คน ขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้ ทีมกรุงเทพมหานครชนะแชมป์เก่าการท่าเรือแห่งประเทศไทย

ในปี ค.ศ. 2000 ได้มีการจัดการแข่งขันฟุตซอลขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยมีการแข่งขันรอบคัดเลือกในแต่ละภาคเพื่อนำทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศมาแข่งขันกับทีมสโมสรชั้นนำจากไทยลีก ในการแข่งขันฟุตซอลชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย จัดแข่ง ณ โรงเรียนเทคโนโลยีดอนบอสโกบ้านโป่ง

ซึ่งจากความสำเร็จในการแข่งขันครั้งนี้ทำให้กีฬาฟุตซอลเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น

ต่อมาประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย และจากการแข่งขันดังกล่าวทำให้ประเทศไทยได้อันดับสามและได้สิทธิ์เดินทางไปแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกรอบสุดท้าย ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม ค.ศ. 2000 ณ ประเทศกัวเตมาลา

ในปัจจุบันฟุตซอล เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมและสนใจจากทุกเพศทุกวัย เนื่องจากเป็นเกมกีฬาที่ตื่นเต้น สนุกสนานในทุก ๆ วินาทีของการแข่งขัน และสามารถเล่นได้ตลอดปี ทุกสภาพอากาศ ทำให้ฟุตซอล กลายเป็นกีฬายอดนิยมรับสหัสวรรษใหม่นี้

อันดับโลก

แก้

วิธีคำนวณคะแนน

 

ซึ่ง:

  • POld: คะแนนก่อนการแข่งขัน
  • n : ค่าสัมประสิทธิ์ความสำคัญ:
    • 70 สำหรับชิงแชมป์โลก
    • 60 สำหรับชิงภายในทวีปหรือชิงระหว่างทวีปที่สำคัญ
    • 50 สำหรับฟุตซอลโลกรอบคัดเลือกและทัวร์นาเมนต์สำคัญ
    • 40 สำหรับทัวร์นาเมนต์อื่นทั้งหมด
    • 30 สำหรับนัดกระชับมิตร
  • r: ผลการแข่งขัน:
    • 1 สำหรับชนะในเวลาปกติหรือทดเวลาพิเศษ
    • 0.75 สำหรับการชนะในการดวลจุดโทษ
    • 0.5 สำหรับการเสมอหรือแพ้ในการดวลจุดโทษ
    • 0 สำหรับแพ้ในเวลาปกติหรือทดเวลาพิเศษ
  • re : ผลการแข่งขันที่คาดหวัง:
 
dR คือ ความต่างของคะแนนระหว่างทั้งสองทีม

ฟุตซอลชาย

แก้

แสดงอันดับโลกสูงสุด 25 อันดับแรกตามการจัดอันดับ ข้อมูลเมื่อ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 2022 (2022 -07-29)[2]

# ทีมชาติ คะแนน
1   บราซิล 1,796
2   สเปน 1,754
3   โปรตุเกส 1,744
4   อาร์เจนตินา 1,739
5   รัสเซีย 1,687
6   อิหร่าน 1,584
7   คาซัคสถาน 1,557
8 ไทย 1,474
9   โมร็อกโก 1,450
10   อิตาลี 1,438
11   ยูเครน 1,427
12   โคลอมเบีย 1,419
13   อาเซอร์ไบจาน 1,378
14   ญี่ปุ่น 1,358
15   โครเอเชีย 1,349
16   เซอร์เบีย 1,334
17   เช็กเกีย 1,331
18   ฟินแลนด์ 1,327
19   ฝรั่งเศส 1,307
20   ไทย 1294
21   สโลวีเนีย 1,291
22   เวเนซุเอลา 1,273
23   สโลวาเกีย 1,266
24   จอร์เจีย 1,256
25   โปแลนด์ 1,254

ฟุตซอลหญิง

แก้

แสดงอันดับโลกสูงสุด 10 อันดับแรกตามการจัดอันดับ ข้อมูลเมื่อ 11 มีนาคม ค.ศ. 2020 (2020 -03-11)[3]

# ทีมชาติ คะแนน
1   บราซิล 6,068
2   สเปน 5,909
3   โปรตุเกส 5,817
4   รัสเซีย 5,700
5   อิตาลี 5,599
6   โคลอมเบีย 5,552
7   อาร์เจนตินา 5,529
8   อิหร่าน 5,526
9   ยูเครน 5,508
10   ญี่ปุ่น 5,443

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Junge, Astrid; Dvorak, Jiri (1 December 2010). "Injury risk of playing football in Futsal World Cups". British Journal of Sports Medicine. 44 (15): 1089–1092. doi:10.1136/bjsm.2010.076752. ISSN 0306-3674. PMID 20961918. S2CID 36295797 – โดยทาง bjsm.bmj.com.
  2. "Futsal World Ranking". Futsalworldranking.com. สืบค้นเมื่อ 29 July 2022.
  3. "Women's Futsal World Ranking". theroonba.com. สืบค้นเมื่อ 11 March 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้