กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา

กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่บนถนนมรุพงษ์ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ในพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ กล่าวว่าสร้างในปี พ.ศ. 2377 โดยมีกรมหลวงรักษ์รณเรศร์เป็นแม่กองก่อสร้าง แต่ในหนังสือเจ้าพระยาจักรี มาถึง เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยามหาโยธา ในปี 2378 กลับให้รายละเอียดว่า เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยามหาโยธา ยังไม่ได้เริ่มลงมือก่อกำแพงเมืองและป้อมเมืองฉะเชิงเทรา และในจดหมายเหตุโหร ฉบับพระยาประมูลธนรัตน์ ได้บันทึกว่า "...ปีระกา จ.ศ.1199 ...ทำ(ป้อม)เมืองฉะเชิงเทรา..." เมื่อคำนวณตามปีปัจจุบัน จ.ศ.1199 จะตรง กับ พ.ศ. 2380 ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า กำแพงเมืองและป้อมเมืองฉะเชิงเทราเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2380 เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูรุกราน[1] และในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ใช้เป็นที่ตั้งมั่นกองทัพในการปราบกบฏอั้งยี่ ซึ่งเป็นพ่อค้าฝิ่นเถื่อนชาวจีนที่มาสร้างความเดือดร้อนและวุ่นวายปล้นสะดมภ์ชาวบ้านเมืองแปดริ้วในขณะนั้น

กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา
ซากกำแพงเมืองในสวนมรุพงษ์
ชื่ออื่นกำแพงเมืองแปดริ้ว
ที่ตั้งตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย
ประเภทระบบป้อมปราการ
ส่วนหนึ่งของสวนมรุพงษ์
ความยาว525 เมตร
ความกว้าง290 เมตร
ความสูง3 เมตร
ความเป็นมา
ผู้สร้างพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัสดุอิฐ
สร้างพ.ศ. 2380
ละทิ้งสมัยรัชกาลที่ 5
สมัยรัตนโกสินทร์
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
สภาพซากเหลือจากการรื้อถอน
ผู้บริหารจัดการเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนกำแพงเมือง
ขึ้นเมื่อ5 มกราคม พ.ศ. 2497
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา
เลขอ้างอิง0000835

ปัจจุบันบริเวณหน้าป้อมเมืองฉะเชิงเทรา ได้จัดเป็นสวนสาธารณะเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ สำหรับชมวิวทิวทัศน์บริเวณริมแม่น้ำบางปะกง และมีปืนใหญ่ให้ชมอยู่ตามกำแพงเมืองในปัจจุบัน และยังใช้เป็นที่จัดงานวันลอยกระทงของจังหวัด เป็นประจำทุกปีอีกด้วย โดยใช้ชื่องานว่า "ลอยกระทง ย้อนเวลาหาวิถีไทยเมืองฉะเชิงเทรา"

สถาปัตยกรรมบริเวณกำแพงเมือง

แก้

ตัวกำแพงตั้งเป็นแนวทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก มีความยาวโดยประมาณ 525 เมตร กว้างประมาณ 290 เมตร ตัวกำแพงหนาประมาณหนึ่งเมตรสูงสามเมตร ด้านหลังมีคูน้ำและมีปืนใหญ่ตั้งอยู่ตามกำแพงเมือง

ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติมาตั้งแต่ พ.ศ. 2497 ปัจจุบันด้านหน้าถูกปรับเป็นสวนพักผ่อนหย่อนใจ โดยตั้งชื่อว่า "สวนมรุพงษ์" ช่วงกลางคืนมีการเปิดไฟรอบกำแพงยามสีสันสวยงาม

อ้างอิง

แก้
  1. https://www.facebook.com/photo.php?fbid=853331754820359&set=pcb.1874195036194801&type=3&ifg=1&__tn__=HH-R&eid=ARB2C8Hu-K83ZFkYywKIL01KmgRX51DGSxEd9hbiueacYsou324DDeotRV-OIkHYCgAtPzBwGyngHxMT