เปรม ติณสูลานนท์
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ น.ร. ป.จ. ส.ร. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ภ. (26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) เป็นทหารบก นักการเมือง และรัฐบุรุษชาวไทย[1] เริ่มต้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ก่อนได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 16 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2531) หลังจากนั้นเป็นประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวช่วงระยะหนึ่งในปี พ.ศ. 2559
เปรม ติณสูลานนท์ | |
---|---|
เปรม ใน พ.ศ. 2527 | |
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |
ดำรงตำแหน่ง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (0 ปี 49 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี |
ประธานองคมนตรีไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 4 กันยายน พ.ศ. 2541 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (20 ปี 264 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
รักษาการแทน | ธานินทร์ กรัยวิเชียร |
ก่อนหน้า | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ถัดไป | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 16 | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 (8 ปี 154 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รอง | |
ก่อนหน้า | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ถัดไป | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 (7 ปี 73 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ตนเอง |
ก่อนหน้า | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ถัดไป | พะเนียง กานตรัตน์ |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2524 (2 ปี 329 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก เสริม ณ นคร |
ถัดไป | พลเอก ประยุทธ จารุมณี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (98 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | อิสระ |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า |
|
พระราชทานเพลิง | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2484–2529 |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก |
บังคับบัญชา | กองทัพบกไทย |
ผ่านศึก | |
บุคลิกส่วนตัวของพลเอก เปรม เป็นคนพูดน้อย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จะให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนน้อยมาก จนถูกหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นเรียกขานว่า เตมีย์ใบ้[2] และได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า นักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวาย และกบฏ 9 กันยา[3] หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอก เปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี
มีนักวิชาการและสื่อว่า พลเอก เปรม มีบทบาทในการเมืองไทย แม้รัฐบาลทหารหลังรัฐประหารปี พ.ศ. 2549 ปฏิเสธข่าวนี้
ประวัติ
แก้ชีวิตส่วนตัว
แก้พล.อ. เปรม เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 ณ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ชื่อ "เปรม" นั้น พระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ) เป็นผู้ตั้งให้ ส่วนนามสกุล "ติณสูลานนท์" พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2462[4] เป็นบุตรชายคนรองสุดท้อง จากจำนวน 8 คน ของรองอำมาตย์โท หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ กับนางออด วินิจทัณฑกรรม และตัวพลเอก เปรมมิได้สมรสกับผู้ใด
การศึกษา
แก้พลเอก เปรม สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดบ่อยาง ศึกษาต่อมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2478 ต่อมาจบมัธยมศึกษาปีที่ 7 - 8 แผนกวิทยาศาสตร์จาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2479 เข้าศึกษาต่อนักเรียนนายร้อย ที่โรงเรียนเทคนิคทหารบก (ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) รุ่นที่ 5 สังกัดเหล่าทหารม้า เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 โดยมีเพื่อนร่วมรุ่นคนหนึ่งคือ ร้อยเอก อำนวย ทวีสิน บิดาของเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 30[5]
หลังจากนั้นพล.อ. เปรม ได้สำเร็จการฝึกดังนี้
- พ.ศ. 2490 : หลักสูตรนายทหารฝึกราชการ โรงเรียนนายทหารม้า ระดับผู้บังคับบัญชา
- พ.ศ. 2496 : หลังจากนั้นก็ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ที่สหรัฐ หลักสูตรผู้บังคับกองพัน โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐ
- 23 เมษายน พ.ศ. 2498 : ได้ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์
- พ.ศ. 2503 : หลักสูตรพิเศษ วิทยาลัยการทัพบก
- พ.ศ. 2509 : หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 9
- 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555 : ยังได้วิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา[6]
เมื่อจบการศึกษาใน พ.ศ. 2484 ได้เข้าร่วมรบในสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่ปอยเปต ประเทศกัมพูชา จากนั้นเข้าสังกัดกองทัพพายัพ ภายใต้การบังคับบัญชาของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) ทำการรบในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่าง พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2488 ที่เชียงตุง[7]
ราชการทหาร
แก้ภายหลังสงคราม พลเอก เปรม รับราชการอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐ ที่ฟอร์ตน็อกซ์ รัฐเคนทักกี พร้อมกับพล.อ. พิจิตร กุลละวณิชย์ และพล.อ. วิจิตร สุขมาก เมื่อ พ.ศ. 2495 แล้วกลับมารับตำแหน่งรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ต่อมามีการจัดตั้งโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า ที่จังหวัดสระบุรี
พล.อ. เปรม ได้รับพระบรมราชโองการเป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ยศพลตรี เมื่อ พ.ศ. 2511 ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้านี้ เขามักเรียกแทนตัวเองต่อผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าว่า "ป๋า" และเรียกผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าอย่างเอ็นดูและเป็นกันเองว่า "ลูก" จนเป็นที่มาของคำว่าป๋า หรือ ป๋าเปรม และคนสนิทของท่านมักถูกเรียกว่า ลูกป๋า และเรียกติดปากกันมาจนถึงปัจจุบัน [8]
พล.อ. เปรม ย้ายไปเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสาน ใน พ.ศ. 2516 และเลื่อนเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสานเมื่อ พ.ศ. 2517 ได้เลื่อนยศเป็นพลเอก ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2520 และเลื่อนเป็นผู้บัญชาการทหารบก ใน พ.ศ. 2521
นอกจากยศพลเอกแล้ว พล.อ. เปรม ได้รับพระราชทานยศพลเรือเอกของกองทัพเรือ และพลอากาศเอกของกองทัพอากาศ ด้วย จากการพระราชทานโปรดเกล้าฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529[9]
การเข้าร่วมงานทางการเมือง
แก้มีการเสนอว่า บทความนี้หรือส่วนนี้ควรแยกเป็นหลายหน้า (อภิปราย) |
- พ.ศ. 2502 : ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในสมัยรัฐบาลของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
- พ.ศ. 2511 : ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
- พ.ศ. 2515 : ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[6] ในสมัยรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจร
การเข้าร่วมทำรัฐประหาร
แก้มีการเสนอว่า บทความนี้หรือส่วนนี้ควรแยกเป็นหลายหน้า (อภิปราย) |
พลเอก เปรม ร่วมทำรัฐประหารในประเทศไทย 2 ครั้ง ซึ่งนำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่
- วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ซึ่งในขณะนั้นเขาดำรงตำแหน่งเป็น"แม่ทัพภาคที่ 2"
- วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งในขณะนั้นเขาดำรงตำแหน่งเป็น"ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก"
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แก้พล.อ. เปรม รับตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในรัฐบาลพล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ปี 2520 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่องในรัฐบาลนั้น ในช่วงปลายรัฐบาลพล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[10] ควบคู่กับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ในปี 2522
ในช่วงนั้น พล.อ. เปรม ได้รับการยอมรับจากหลายฝ่าย หลังจากพล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 สภาผู้แทนราษฎรหยั่งเสียงเพื่อหาตัวผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเลือกพล.อ. เปรม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกตำแหน่งหนึ่ง[11]
พล.อ. เปรม เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อจากพล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 ซึ่งตลอดระยะเวลาของพลเอก เปรม ในการบริหารประเทศได้มีผลงานสำคัญมากมาย เช่น การปรับปรุงประมวลกฎหมายรัษฎากรและกฎหมายสรรพสินค้า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม การสร้างงานตามโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.) การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาล และเอกชน (กรอ.) เพื่อส่งเสริมบทบาททางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศ การดำเนินการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยอย่างได้ผล โดยนำนโยบายการใช้ "การเมืองนำการทหาร" ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 เป็นผลให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในที่สุด
สมัยที่ 1
แก้คณะรัฐมนตรี คณะที่ 42 : 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 29 เมษายน พ.ศ. 2526 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบกับการเสนอให้ยืดอายุการใช้บทเฉพาะกาลของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มีการเลือกตั้งในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526
สมัยที่ 2
แก้คณะรัฐมนตรี คณะที่ 43 : 30 เมษายน พ.ศ. 2526 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2529 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เนื่องจากรัฐบาลแพ้เสียงในสภา ในการออกพระราชกำหนดการขนส่งทางบก มีการเลือกตั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529
สมัยที่ 3
แก้คณะรัฐมนตรี คณะที่ 44 : 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2531 เนื่องจากเกิดปัญหาขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ เกิดกลุ่ม 10 มกรา ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นเอกเทศภายในพรรค กลุ่ม 10 มกรา นี้ลงมติไม่สนับสนุนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ที่รัฐบาลเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา จนทำให้พระราชบัญญัติไม่ผ่านการเห็นชอบ พรรคประชาธิปัตย์แสดงความรับผิดชอบโดยการถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เขาจึงประกาศยุบสภา มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531
ในช่วงปลายรัฐบาลพล.อ. เปรม ขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง มีกระแสการคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 จากกลุ่มนักวิชาการทั่วไป[12]
ภายหลังการเลือกตั้ง ในคืนวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคชาติไทยเป็นแกนนำ ได้เข้าพบพล.อ. เปรม ที่บ้านพัก เพื่อเชิญให้มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 แต่พล.อ. เปรม ปฏิเสธการเป็นนายกรัฐมนตรี
ต่อมาในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พล.ต. ชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17
หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พล.อ. เปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี
บทบาทในวิกฤตการณ์การเมือง
แก้หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2549 มีนักวิชาการกล่าวหาพลเอก เปรม ว่าเกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548–2549 ที่นำไปสู่รัฐประหาร[13][14] ซึ่งในเวลาพลบค่ำวันที่ 19 กันยายน ช่วงเดียวกับที่กำลังทหารหน่วยรบพิเศษจากจังหวัดลพบุรีเคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพมหานคร พลเอก เปรม เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[15]พร้อมกับ
เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลรายงานสถานการณ์บ้านเมือง สุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า พล.อ. เปรม เป็นผู้สั่งการรัฐประหารโดยนั่งบัญชาการอยู่ที่บ้านสี่เสาร์เทเวศร์[16] มีบทวิเคราะห์จากสำนักข่าว XFN-ASIA ระบุในเว็บไซต์นิตยสารฟอร์บ ว่า พล.อ. เปรม เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเมืองไทย พร้อมทั้งสนับสนุนให้คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) รัฐประหารรัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร[17] ฝ่ายรัฐบาลทหารว่า พล.อ. เปรม ไม่เคยมีบทบาททางการเมือง[18]
ในเวลาต่อมา มีการอ้างว่า พล.อ. เปรม อาจมีบทบาทสำคัญในการเชิญพล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตลูกน้อง มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมทั้งการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย จนนักวิจารณ์บางคน กล่าวว่า สภาฯ ชุดนี้เต็มไปด้วย "ลูกป๋า"[19][20][21]
วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นปก. ชุมนุมประท้วงหน้าบ้านของพล.อ. เปรม เพื่อเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี เพราะเชื่อว่ามีบทบาททางการเมือง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าสลายการชุมนุม มีการยิงแก๊สพริกไทยแล้วล้อมรถบรรทุก 6 ล้อติดเครื่องขยายเสียงของแกนนำ ผู้ชุมนุมขว้างปาขวดพลาสติก และขวดแก้วใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เกิดการปะทะกันชุลมุนวุ่นวาย เจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บหลายคน ด้านแยกสี่เสาเทเวศร์ กลุ่ม นปก.ส่วนหนึ่งทุบทำลายซุ้มตำรวจจราจรและทุบรถส่องไฟและกระจายเสียงของตำรวจที่จอดไว้ รวมทั้งปล่อยลมยางรถยนต์[22] ในวันต่อมา พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ,พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ และคณะรัฐมนตรีไปเยี่ยมพล.อ. เปรม เพื่อขอโทษที่ยอมให้มีการประท้วง[23][24]
บางกอกพันดิท (Bangkok Pundit) เขียนในเอเชียคอร์เรสปอนเดนท์ว่า พล.อ. เปรม เป็นผู้เล่นสำคัญในการเมืองไทยในหลายทศวรรษหลัง เจมส์ อ็อกคีย์ (James Ockey) ว่า "ก่อนรัฐบาลไทยรักไทยกำเนิดในปี 2544 ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบกแทบทุกคนในทศวรรษที่ผ่านมาเป็นอดีตผู้ช่วยของเปรม" แต่ "แน่นอนว่ายิ่งเปรมเกษียณนานเท่าไร อิทธิพลของเขาในกองทัพก็ยิ่งอ่อนลงเท่านั้น"[25] เขามีอำนาจและอิทธิพลสูงสุดเมื่อรัฐประหารปี 2549 และยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่างกองทัพและพระราชวัง ทว่า นับแต่ปี 2549 อำนาจของเขาและความสามารถมีอิทธิพลจางลงเมื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาและบูรพาพยัคฆ์มีเส้นสายของตัวและสามารถเลี่ยงพล.อ. เปรม ได้แล้ว Marwaan Macan-Markar เขียนว่า "ต่างกับสนธิ ประยุทธ์ยังไม่เป็นหนี้บุญคุณเครือข่ายอิทธิพลซึ่งเป็นผู้รักษาประตูสู่พระมหากษัตริย์แต่เดิม อันเป็นที่สถิตของอำนาจสูงสุดในราชอาณาจักร" และ "บูรพาพยัคฆ์คืนชีพโดยทำลายสายการบังคับบัญชาเดิมซึ่งเป็นหนี้บุญคุณต่อพลเอก เปรม เขามีสามัคคีจิตของเขาเอง"[26]
ถึงแก่อสัญกรรม
แก้พล.อ. เปรม ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09:09 น. ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในวันนั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานโกศกุดั่นน้อย และฉัตรเครื่องตั้งประดับ พร้อมแตรงอน แตรฝรั่ง ปี่กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ทรงรับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ และทรงให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และเชิญพวงมาลาหลวงวางที่หน้าโกศศพ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานในวาระครบ 7 วัน[27] นอกจากนี้ โปรดให้บำเพ็ญพระราชกุศล 15 วัน 50 วัน และ 100 วันตามลำดับ และให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก 21 วันนับตั้งแต่วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เว้นวันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี[27]
ในวันที่ 10 และ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2562 พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ รักษาการประธานองคมนตรี ร่วมพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพและวางพวงมาลา[28]
ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ,สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี, สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพพล.อ. เปรม ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[29] วันถัดมา โปรดให้ผู้แทนพระองค์ไปเก็บอัฐิ[30]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดต่าง ๆ ดังนี้
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[31]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[32]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 เสนางคะบดี (ส.ร.)[33]
- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[34]
- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[35]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[36]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[37]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[38]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[39]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[40]
- พ.ศ. 2476 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
- พ.ศ. 2498 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[41]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[42]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๑ (ว.ป.ร.๑)[43]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. 2523 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ฟิลิปปินส์ :
- พ.ศ. 2522 - ลีเจียนออฟออเนอร์ ชั้นชั้นโกมันดัน[44]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นสายสร้อย
- เกาหลีใต้ :
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2524 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1[44]
- ปากีสถาน :
- พ.ศ. 2526 - เครื่องอิสริยาภรณ์นิชาน เอ เควด เอ อาซาม[44]
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2527 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ยาง อมาตย์ มูเลีย ปังกวน เนการา ชั้นที่ 1[46]
- เยอรมนีตะวันตก :
- พ.ศ. 2527 - เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1 (พิเศษ)[47]
- เนปาล :
- พ.ศ. 2527 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตรีศักติปัตตา ชั้นที่ 1[44]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2546 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นประถมาภรณ์[48]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2547 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นสูงสุด[49]
- สเปน :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาชาวคาทอลิก ชั้นประถมาภรณ์
- ออสเตรีย :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์เงิน (พร้อมสายสะพาย)
- อิตาลี:
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นที่ 1
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
แก้เชิงอรรถ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ เปิดประวัติ 99 ปีรัฐบุรุษชาติไทย 'พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์'
- ↑ ถอดรหัสป๋า เปิดปาก 3 ฝ่ายต้องคุยกันเอง
- ↑ "เสธ.แดง เล่าให้ฟังฤทธิ์เดชขันทีนักฆ่าแห่งลุ่มเจ้าพระยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-14. สืบค้นเมื่อ 2009-09-22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 81 หน้า 1356 เล่ม 36 10 สิงหาคม 2462
- ↑ "เปิดสาแหรก "เศรษฐา ทวีสิน" สายเลือดมหาเศรษฐี 10 ตระกูลดัง". ประชาชาติธุรกิจ. 2 กันยายน 2566. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2023.
- ↑ 6.0 6.1 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, 27 พฤษภาคม 2562, "อาลัย... พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี", หน้า 28
- ↑ เผยวีรกรรมศึก ป๋าเปรม สงครามอินโดจีน-สงครามโลกครั้งที่ 2 ข่าวสดออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2562
- ↑ วีรชาติ ชุ่มสนิท, 24 นายกรัฐมนตรีไทย, ออลบุ๊คส์พับลิสชิ่ง, 2549 ISBN 974-94-55398
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหาร
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 44 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 37 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2019-10-28.
- ↑ เปิดประวัติ 99 ปีรัฐบุรุษชาติไทย 'พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ไทยโพสต์ สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2562
- ↑ Kate McGeown, Thai king remains centre stage, BBC News, 21 September 2006
- ↑ Asia Sentinel, Could Thailand be Getting Ready to Repeat History? เก็บถาวร 2012-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2 April 2007
- ↑ The Nation, Coup as it unfolds เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 20 September 2006
- ↑ onopen.com หลังฉากพันธมิตร หลังวันรัฐประหาร และหลังรัฐบาลสุรยุทธ์ กับ สุริยะใส กตะศิลา เก็บถาวร 2007-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Former Thai PM Prem Tinsulanonda had key role in coup - analysts". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-24. สืบค้นเมื่อ 2006-11-11.
- ↑ Bangkok Post, UDD aims to damage monarchy[ลิงก์เสีย], 25 July 2007
- ↑ The Australian, Thailand's post-coup cabinet unveiled เก็บถาวร 2007-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 9 October 2006
- ↑ The Nation, NLA 'doesn' t represent' all of the people เก็บถาวร 2006-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 14 October 2006
- ↑ The Nation, Assembly will not play a major role เก็บถาวร 2007-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 14 October 2006
- ↑ ไทยโพสต์, ลุยม็อบจับแกนนำนปก.ปะทะเดือดตร.สลาย3รอบหมายรวบหัวไม่สำเร็จ เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 23 กรกฎาคม 2550
- ↑ Bangkok Post, Six protesters held , 23 July 2007
- ↑ The Nation, PM says sorry to Prem over mob violence เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, July 2007
- ↑ James Ockey, “Monarch, monarchy, succession and stability in Thailand“, Asia Pacific Viewpoint, Vol. 46, No. 2, August 2005, pp 115–127 at 123 อ้างใน Bangkok Pundit. In post-coup Thailand, what is happening with Prem? เก็บถาวร 2015-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Asian Correspondent. (Sep 09, 2014). สืบค้น 11-9-2014.
- ↑ Marwaan Macan-Markar, “On top at last, in civilian clothes” in The Edge Review, edition of August 22-28. อ้างใน Bangkok Pundit. In post-coup Thailand, what is happening with Prem? เก็บถาวร 2015-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Asian Correspondent. (Sep 09, 2014). สืบค้น 11-9-2014.
- ↑ 27.0 27.1 ประกาศสำนักพระราชวัง 'พลเอก เปรม ติณสูลานนท์' ถึงแก่อสัญกรรม
- ↑ เข้าร่วมพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพ
- ↑ ในหลวง พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ พระราชทานเพลิงศพ พล.อ.เปรม
- ↑ "ในหลวง โปรดเกล้าฯ ผู้แทนพระองค์ในการเก็บอัฐิ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์". ไทยรัฐ. วัชรพล. 2019-12-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-10.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นโบราณมงคล นพรัตน์ราชวราภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 105 ตอนที่ 140 ง ฉบับพิเศษ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2531 หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 16 เล่ม 99 ตอนที่ 76 3 มิถุนายน 2525
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเล่ม 107 ตอน 55 ง 5 เมษายน พ.ศ. 2533 หน้า 2659
- ↑ ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 13 เล่ม 96 ตอนที่ 11 31 มกราคม 2522
- ↑ ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 47 เล่ม 92 ตอนที่ 263 26 มกราคม 2515
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 113, ตอน 22ข, 4 ธันวาคม 2439, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ (จำนวน 14 ราย) เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, หน้า 105, ตอน 95 ง ฉบับพิเศษ, 15 มิถุนายน พ.ศ. 2531, หน้า 2
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม 58, 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2484, หน้า 932
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม 79, ตอน 83, 8 กันยายน พ.ศ. 2505, หน้า 12
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม 95, ตอน 80, 10 สิงหาคม พ.ศ. 2521, หน้า 21
- ↑ ราชกิจจานึเบกษา,แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 306 เล่ม 72 ตอนที่ 99, 10 ธันวาคม พ.ศ. 2498
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (พลเอก เปรม ติณสูลานนท์), เล่ม 99, ตอน 60 ง, 27 เมษายน พ.ศ. 2525, หน้า 1412
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 136, ตอน 17 ข, 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 2
- ↑ 44.0 44.1 44.2 44.3 44.4 มูลนิธิรัฐบุรุษ, รัฐบุรุษชื่อเปรม, สำนักพิมพ์มติชน 2562
- ↑ 국가기록원 기록물뷰어
- ↑ "Senarai Penuh Penerima Darjah Kebesaran, Bintang dan Pingat Persekutuan Tahun 1984" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 October 2013. สืบค้นเมื่อ 15 June 2016.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 102 ตอนที่ 60 ฉบับพิเศษ หน้า 12, 16 พฤษภาคม 2528
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ , เล่ม 120 ตอนที่ 4 ข หน้า 5, 7 มีนาคม 2546
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 121 ตอนที่ 6 ข หน้า 2, 25 มีนาคม 2547
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ชีวประวัติ พลเอก เปรม เก็บถาวร 2005-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก เว็บสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ก่อนหน้า | เปรม ติณสูลานนท์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สัญญา ธรรมศักดิ์ | ประธานองคมนตรี (4 กันยายน พ.ศ. 2541 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) (2 ธันวาคม พ.ศ. 2559 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) |
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (รักษาการประธานองคมนตรี) | ||
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล อดุลเดชจรัส) | ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559) |
- | ||
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (ครม. 42, 43 และ 44) (3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531) |
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ | ||
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529) |
พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ | ||
พลเอก เสริม ณ นคร | ผู้บัญชาการทหารบก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2524) |
พลเอก ประยุทธ จารุมณี | ||
ปรีดี พนมยงค์ | รัฐบุรุษ (29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) |
- |