วิจิตร สุขมาก
พลเอก วิจิตร สุขมาก[1] (18 มิถุนายน พ.ศ. 2476 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566) เป็นนายทหารชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
วิจิตร สุขมาก | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | พลเอก บรรจบ บุนนาค |
ถัดไป | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2476 อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (89 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คุณหญิงจินตนา สุขมาก |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
ยศ | พลเอก |
การศึกษา
แก้- โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รุ่นที่ 2)
- สถาบันการทหารแห่งสหรัฐอเมริกา (สอบได้ลำดับที่ 1 ของรุ่น)
การทำงาน
แก้- พ.ศ. 2511 - ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายข่าวกรอง ฝ่ายข่าวกรอง กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1
- พ.ศ. 2514 - นายทหารติดต่อ ประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ ณ กรุงโซล[2]
- พ.ศ. 2524 - ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[3]
- พ.ศ. 2528 - เจ้ากรมการรักษาดินแดน[4]
- พ.ศ. 2530 - หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด[5]
- พ.ศ. 2531 - ประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด[6]
- พ.ศ. 2533 - รองเสนาธิการทหาร[7]
- พ.ศ. 2535 - เสนาธิการทหาร[8] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[9]
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้พล.อ. วิจิตร สุขมาก ถึงแก่อนิจกรรมด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 15.00 น. สิริอายุ 89 ปี ต่อมาวันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจาตั้งประดับ ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และมีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเวลากลางคืน กำหนด 3 คืน ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าไตร 5 ไตรทอดถวายพระสงฆ์บังสุกุล แล้วพระราชทานเพลิงศพ ในวันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น. ณ เมรุวัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2512 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)
- พ.ศ. 2518 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)
- พ.ศ. 2526 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. 2529 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[10]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2511 - เหรียญคอมเมนเดชัน (ทหารบก)[2]
- พ.ศ. 2511 - เหรียญเนชันดิเฟนเซอวิส[2]
- พ.ศ. 2511 - เมอริโทเรียส ยูนิท คอมมันเดเชิน (ทหารบก)[2]
- พ.ศ. 2525 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นนายทหาร[11]
- เวียดนามใต้ :
- พ.ศ. 2511 - เหรียญรณรงค์เวียดนาม[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารเป็นกรณีพิเศษ และแต่งตั้งนายทหารพิเศษ เล่ม ๑๑๐ ตอน ๒๔ ราชกิจจานุเบกษา ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 ทำเนียบนายทหารติดต่อ ประจำ บก.สหประชาชาติ ณ กรุงโซล
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๙๘ ตอน ๑๕๗ ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๔
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๐๒ ตอน ๑๓๕ ราชกิจจานุเบกษา ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๐๔ ตอน ๑๘๘ ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๐๕ ตอน ๑๔๑ ราชกิจจานุเบกษา ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๐๗ ตอน ๖๐ ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๐๙ ตอน ๑๑๕ ราชกิจจานุเบกษา ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๕๐ ง หน้า ๑๘๙๕, ๑๙ มีนาคม ๒๕๓๐
- ↑ AGO 1982-25 — HQDA GENERAL ORDERS: MULTIPLE TITLES BY PARAGRAPHS