สงัด ชลออยู่
พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ (4 มีนาคม พ.ศ. 2459 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523) เป็นทหารเรือและนักการเมืองชาวไทย หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในปี พ.ศ. 2519 และคณะปฏิวัติในปี พ.ศ. 2520[3][4]
สงัด ชลออยู่ | |
---|---|
ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (นายกรัฐมนตรี) |
ถัดไป | ธานินทร์ กรัยวิเชียร (นายกรัฐมนตรี) |
ดำรงตำแหน่ง 20 ตุลาคม – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 | |
ก่อนหน้า | ธานินทร์ กรัยวิเชียร (นายกรัฐมนตรี) |
ถัดไป | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (นายกรัฐมนตรี) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ธานินทร์ กรัยวิเชียร |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ถัดไป | เล็ก แนวมาลี |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – 30 กันยายน พ.ศ. 2519 | |
ก่อนหน้า | พลเอก กฤษณ์ สีวะรา |
ถัดไป | พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ |
ผู้บัญชาการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 – 30 กันยายน พ.ศ. 2519 | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก เชิดชาย ถมยา |
ถัดไป | พลเรือเอก อมร ศิริกายะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 มีนาคม พ.ศ. 2459 เมืองสุพรรณบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 (64 ปี) จังหวัดระยอง ประเทศไทย |
คู่สมรส | สุคนธ์ สหัสสานนท์ |
บุตร | 2 คน |
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก[1] พลอากาศเอก[2] |
บังคับบัญชา | กองทัพเรือ (2516–2519) กองบัญชาการทหารสูงสุด (2518–2519) |
ผ่านศึก | สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเกาหลี กบฏแมนฮัตตัน |
ประวัติ
แก้พลเรือเอก สงัด เกิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2458 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2459) ที่บ้านเขาพระ หมู่ที่ 2 ตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายแปลก และนางส้มลิ้ม ชลออยู่
พลเรือเอก สงัด สมรสกับคุณหญิงสุคนธ์ ชลออยู่ (สกุลเดิม สหัสสานนท์) ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน
การศึกษา
แก้- โรงเรียนวิชัยบำรุงราษฎร์ จังหวัดชัยนาท
- โรงเรียนอุทัยทวีเวท จังหวัดอุทัยธานี
- โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- โรงเรียนนายเรือ
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 4
- วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่น 1
- ศึกษาและดูงานการปราบเรือดำน้ำที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน
แก้ในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตันระหว่างวันที่ 29–30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 พลเรือเอก สงัด ในขณะนั้นยังมียศนาวาโท เป็นผู้บังคับบัญชาเรือรบหลวงสุราษฎร์ธานี เป็นผู้ยิงปืนจากเรือไปยังรถถังของฝ่ายรัฐบาลจนเสียหาย หลังเหตุการณ์ได้ถูกควบคุมตัวและถูกคุมขังเช่นเดียวกับผู้ต้องหาคนอื่น ๆ ที่สนามกีฬาแห่งชาติด้วย[5]
ในปี พ.ศ. 2497 ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองเรือ พลเรือเอก สงัด ได้ให้ความช่วยเหลือทหารนาวิกโยธินฝรั่งเศสและหน่วยรบพิเศษในการอพยพออกจากเวียดนาม หลังจากที่กรุงฮานอยตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเวียดมินห์นอกจากนี้ เขายังดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง ได้แก่ ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ, ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือ (ฝ่ายปฏิบัติการ), ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ , รองผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารเรือ ก่อนจะก้าวขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด[6][7]
พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เป็นนายทหารที่มีบทบาทอย่างสูงในทางการเมือง โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ด้วยการเป็นทั้งผู้บัญชาการทหารเรือและผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเป็นผู้นำในการรัฐประหารถึง 2 ครั้ง คือในวันที่ 6 ตุลาคม 2519[8] และ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 จนได้รับฉายาว่า "บิ๊กจอวส์" หรือ "จอวส์ใหญ่"
ตำแหน่งสำคัญในราชการ
แก้- 12 เมษายน พ.ศ. 2501: ผู้บังคับการกองเรือปราบเรือดำน้ำ
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505: เสนาธิการกองเรือยุทธการ[9]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507: ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการ[10]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512: รองเสนาธิการทหารเรือ[11]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514: รองเสนาธิการทหาร[12]
- 29 กันยายน พ.ศ. 2515: ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ[13]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516: รองผู้บัญชาการทหารเรือ[14]
- 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516: ผู้บัญชาการทหารเรือ (อัตราจอมพลเรือ)[15]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518: ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรักษาการผู้บัญชาการทหารเรือ[16]
และเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง
แก้- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- สมาชิกวุฒิสภา
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[17]
- หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
- เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ
- ประธานสภานโยบายแห่งชาติ
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[18]
การรำลึก
แก้ทุกวันนี้ เมื่อครบรอบวันคล้ายวันถึงแก่อนิจกรรมของพลเรือเอก สงัด กองทัพเรือยังคงจัดงานรำลึกถึงพลเรือเอก สงัด อยู่เสมอ[19] บุคคลที่ใกล้ชิดและเคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของพลเรือเอก สงัด มักเรียกชื่อพลเรือเอก สงัด ด้วยความเคารพว่า "ครูหงัด" และได้มีการจัดตั้งมูลนิธิ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ขึ้น โดยมอบเงินเป็นทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนทั่วไปและนักเรียนเตรียมทหารที่มีผลการเรียนดี โดยเฉพาะนักเรียนที่เป็นบุตรหลานของข้าราชการทหาร[5]
การถึงแก่กรรม
แก้พลเรือเอก สงัด ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการหัวใจวาย เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ที่โรงพยาบาลประจำอำเภอแกลง จังหวัดระยอง รวมอายุได้ 65 ปี 264 วัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พลเรือเอก สงัด ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2515 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[20]
- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[21]
- พ.ศ. 2516 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[22]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[23]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[24]
- พ.ศ. 2497 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[25]
- พ.ศ. 2519 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[26]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[27]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[28]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[29]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
แก้- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. 2497 – เหรียญสหประชาชาติเกาหลี[30]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ไต้หวัน :
- เกาหลีใต้ :
- อินโดนีเซีย :
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2518 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชทานยศทหารเรือ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 2 ข หน้า 23 6 มกราคม พ.ศ. 2519
- ↑ "102 ปี สงัด ชลออยู่ "จอว์สใหญ่" Never Die". www.thairath.co.th. 2017-05-30. สืบค้นเมื่อ 2020-08-16.
- ↑ isranews (2014-05-24). "พลิกปูมประวัติ "ผู้นำ" รัฐประหาร 11 ครั้ง จาก "พจน์ พหลโยธิน" ถึง "ป..." สำนักข่าวอิศรา. สืบค้นเมื่อ 2020-08-16.
- ↑ 5.0 5.1 พันทิวา. จอว์สใหญ่ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่. กรุงเทพฯ : เมกาสโคป, ตุลาคม, 2553. 272 หน้า. ISBN 9786167020266
- ↑ "ใครเป็นใครในกรณี 6 ตุลา | บันทึก 6 ตุลา". 23 September 2017.
- ↑ "4 มี.ค.2458 กำเนิด 'บิ๊กจอวส์' ตำนานรัฐประหาร ต้องเบิ้ล". 4 March 2020.
- ↑ แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (แถลงการณ์การยึดอำนาจการปกครอง)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๒๖๕๐)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๓๗๙๖)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๓)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ กองทัพเรือรำลึก'จอว์สใหญ่' จากไทยโพสต์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า , เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ และเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับผู้กระทำความชอบมีบาดเจ็บหนึ่งครั้ง, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๘๘, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๐๑, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๗๔๒, ๓ สิงหาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๔ กันยายน ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๒๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๘, ๗ กรกฎาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๖๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙๑, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๐๘, ๒๔ กันยายน ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๗๒๙, ๓ สิงหาคม ๒๔๙๗
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | สงัด ชลออยู่ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก กฤษณ์ สีวะรา | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – 30 กันยายน พ.ศ. 2519) |
พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ | ||
พลเรือเอก เชิดชาย ถมยา | ผู้บัญชาการทหารเรือ (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 – 30 กันยายน พ.ศ. 2518) |
พลเรือเอก อมร ศิริกายะ |