อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

การจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ในการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยรัฐ โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 50 มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่เข้าร่วมแต่เสนอว่าไม่ต้องการอยู่ในอันดับ[ต้องการอ้างอิง] และมหาวิทยาลัยเอกชนไม่ได้ร่วมด้วยเนื่องจากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยแจ้งว่ายังไม่ให้ข้อมูลในปีนั้น[ต้องการอ้างอิง]

การจัดอันดับนี้ใช้ชื่อว่า "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย"[1] ได้แบ่งหัวข้อการจัดอันดับออกเป็น 2 ส่วนหลักคือ ด้านการวิจัย และ ด้านการเรียนการสอน ได้จัดทำออกเป็น 2 ส่วนย่อยคือ อันดับในภาพรวมแบ่งแยกตามมหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็นกลุ่ม และอันดับแบ่งแยกย่อยในแต่ละสาขาวิชา โดยแบ่งออกเป็น 7 สาขาวิชาย่อย ได้แก่ (1) สาขาวิทยาศาสตร์ (2) สาขาเทคโนโลยี (3) สาขาชีวการแพทย์ (4) สาขามานุษยวิทยาและศิลปกรรมศาสตร์ (5) สาขาสังคมศาสตร์ (6) สาขาเกษตร (7) สาขาศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์

ตัวชี้วัด

แก้

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียนการสอน และด้านวิจัย โดยอาศัยตัวชี้วัด[2] ดังต่อไปนี้

ผลการจัดอันดับ

แก้

แบบตามอันดับ

แก้

เมื่อ พ.ศ. 2549 สกอ. ได้ประกาศ 50 อันดับมหาวิทยาลัยด้านวิจัย และด้านการเรียนการสอน[3] โดย 10 อันดับแรกคือ

ด้านการเรียนการสอน (คะแนนเต็ม 80%) ด้านการวิจัย (คะแนนเต็ม 100%)
  1. มหาวิทยาลัยมหิดล 61.11%
  2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 52.78%
  3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 47.27%
  4. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 47.16%
  5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 46.12%
  6. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 45.72%
  7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 45.37%
  8. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 45.07%
  9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 43.59%
  10. มหาวิทยาลัยศิลปากร 43.46%
  1. มหาวิทยาลัยมหิดล 100.00%
  2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 92.24%
  3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 81.49%
  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 81.36%
  5. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 78.68%
  6. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 75.70%
  7. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 74.10%
  8. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 73.61%
  9. มหาวิทยาลัยนเรศวร 72.04%
  10. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 71.26%

แบบแบ่งกลุ่ม

แก้

ได้มีการแบ่งออกเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม ตามระดับคะแนน ได้แก่

  • กลุ่ม 1 ดีเลิศ (ร้อยละ 75 ขึ้นไป)
  • กลุ่ม 2 ดีเยี่ยม (ร้อยละ 70-75)
  • กลุ่ม 3 ดี (ร้อยละ 65-69)
  • กลุ่ม 4 ดีพอใช้ (ร้อยละ 55-64)
  • กลุ่ม 5 ต้องปรับปรุง (ร้อยละ 55 ลงไป)

โดยในแต่ละกลุ่ม เรียงตามลำดับตัวอักษร (มรภ. = มหาวิทยาลัยราชภัฏ, มทร. = มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล)

กลุ่ม ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย
1 จุฬาลงกรณ์, เชียงใหม่, มหิดล,ขอนแก่น จุฬาลงกรณ์, เชียงใหม่, มหิดล, เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, เทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
2 เกษตรศาสตร์, เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, เทคโนโลยีสุรนารี, เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เกษตรศาสตร์, ขอนแก่น, นเรศวร, นิด้า สวนสุนันทา
3 ทักษิณ, แม่ฟ้าหลวง, วลัยลักษณ์, ศิลปากร, สงขลานครินทร์, อุบลราชธานี, เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, นิด้า บูรพา, ศรีนครินทรวิโรฒ, ศิลปากร, สงขลานครินทร์, เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
4 ม.นเรศวร, ม.บูรพา, ม.มหาสารคาม, ม.แม่โจ้, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, มทร.ธัญบุรี, มทร.พระนคร, มทร.สุวรรณภูมิ, มรภ.นครปฐม, มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ, มรภ.สวนดุสิต, สจ.ลาดกระบัง, สจ.พระนครเหนือ ม.ทักษิณ, ม.แม่โจ้, ม.แม่ฟ้าหลวง, ม.มหาสารคาม, ม.วลัยลักษณ์, ม.อุบลราชธานี, สจ.พระนครเหนือ, มรภ.นครราชสีมา, มรภ.เลย, มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ, มรภ.สวนดุสิต, มรภ.อุดรธานี
5 มรภ.จันทรเกษม, มรภ.เชียงใหม่, มรภ.เทพสตรี, มรภ.ธนบุรี, มรภ.นครราชสีมา, มรภ.นครศรีธรรมราช, มรภ.นครสวรรค์, มรภ.บุรีรัมย์, มรภ.พระนคร, มรภ.พิบูลสงคราม, มรภ.ยะลา, มรภ.ราชนครินทร์, มรภ.เลย, มรภ.สกลนคร, มรภ.สุราษฎร์ธานี, มรภ.หมู่บ้านจอมบึง, มรภ.อุดรธานี, มรภ.อุตรดิตถ์, ว.บัณฑิตบริหารธุรกิจ, ว.ตาปี มทร.กรุงเทพ, มทร.ธัญบุรี, มทร.พระนคร, มทร.ศรีวิชัย, มทร.สุวรรณภูมิ, มรภ.จันทรเกษม, มรภ.เชียงใหม่, มรภ.เทพสตรี, มรภ.ธนบุรี, มรภ.นครปฐม, มรภ.นครศรีธรรมราช, มรภ.นครสวรรค์, มรภ.บุรีรัมย์, มรภ.พระนคร, มรภ.พิบูลสงคราม, มรภ.ยะลา, มรภ.ราชนครินทร์, มรภ.สกลนคร, มรภ.สุราษฎร์ธานี, มรภ.หมู่บ้านจอมบึง, มรภ.อุตรดิตถ์, ว.บัณฑิตบริหารธุรกิจ, ว.ตาปี

แบ่งตามสาขา

แก้

การจัดอันดับนี้จัดเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐ 50 อันดับแรก แยกตามสาขา ในด้านการวิจัย และด้านการเรียนการสอน[4][5][6] โดย 5 อันดับแรกของแต่ละด้านคือ

สาขา ด้านการสอน ด้านการวิจัย
วิทยาศาสตร์
  1. คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล
  2. วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  4. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  5. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล
  1. วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล
  3. สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ ม.มหิดล
  4. คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  5. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยี
  1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. คณะพลังงานและวัสดุ มจ.ธนบุรี
  3. คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มจ.ธนบุรี
  4. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.กรุงเทพ
  5. คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
  1. บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มจ.ธนบุรี
  2. คณะพลังงานและวัสดุ มจ.ธนบุรี
  3. สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.มหิดล
  4. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  5. สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มจ.ธนบุรี
ชีวการแพทย์
  1. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  5. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  1. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  4. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  5. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
มนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์
  1. คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร
  2. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล
  3. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  4. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท ม.มหิดล
  1. คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
  2. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล
  3. โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นิด้า
  4. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  5. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สังคมศาสตร์
  1. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  2. สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  4. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  1. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  3. คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  4. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  5. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์
  1. คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  2. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  3. สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  4. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  5. คณะเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตปทุมธานี มทร.ธัญบุรี
  1. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  2. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  4. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  5. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์
  1. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ
    คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  2. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  3. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  4. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  5. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  1. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  3. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  4. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  5. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

การวิพากษ์วิจารณ์

แก้

หลังจากที่ สกอ. ได้มีการประชุมโครงการ และประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย ครั้งที่ 1 (ปี 2549) เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2549 แล้วนั้น ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากบุคคลหลายกลุ่ม รวมถึงผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ และประชาชนทั่วไป ในข้อดี-ข้อเสียของการจัดอันดับครั้งแรกนี้ ในประเด็นเกี่ยวกับ ตัวชี้วัด ที่เลือกใช้ การกรอกข้อมูลที่ทำโดยแต่ละมหาวิทยาลัยเองนั้นมีความน่าเชื่อถือว่าครบถ้วนหรือไม่ การยอมรับข้อมูลและการนำไปใช้ได้จริงหรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้ สกอ.มีวัตถุประสงค์ที่จะให้การจัดอันดับช่วยให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการเลือกคณะและมหาวิทยาลัยในการสอบเอนทรานซ์ ผู้บริหารจากหลายมหาวิทยาลัยออกมากล่าวถึงปัญหาว่าการจัดอันดับนี้อาจนำมาซึ่งการทำลายขวัญและกำลังใจ เป็น "ตราบาป" ให้กับมหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่ง[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากมหาวิทยาลัย มีงบประมาณและโครงสร้างพื้นฐาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียม ทำให้ไม่ควรนำมาเปรียบเทียบกัน[ต้องการอ้างอิง] หลายคนวิจารณ์ว่าการทำการจัดอันดับอาจซ้ำซ้อนกับที่ สมศ.ทำอยู่ แต่เร่งประกาศออกมาโดยไม่พร้อม ผู้นำในการแสดงความคิดเห็นไม่เห็นด้วยกับการจัดอันดับของ สกอ. คือ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธชีวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า "การจัดอันดับมหาวิทยาลัยเป็นผลงานชิ้นโบว์ดำของ ดร.ภาวิช ก่อนเกษียณอายุราชการในเดือน กย. ปี 2549 นี้"[ต้องการอ้างอิง] ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ตนคิดว่าการที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่ยอมรับผลการจัดอันดับในครั้งนี้ ไม่ถือเป็นความขัดแย้งของมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่แน่ใจในตัวชี้วัดของ สกอ. เพราะเห็นว่าไม่สามารถประเมินคุณภาพที่สอดคล้องกับธรรมชาติของมหาวิทยาลัยได้ นอกจากนี้ ยังมี ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งออกมากล่าวถึงการคิดคะแนนที่ผิดพลาดของการจัดอันดับ และเรียกร้องให้ สกอ. ออกมายอมรับความผิดพลาดของการจัดอันดับครั้งนี้[7]

นอกจากนี้ยังถูกแย้งว่าการจัดอันดับมุ่งเน้นไปที่คณะการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะแพทยศาสตร์ มีผู้ให้ข้อสังเกตว่ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับที่ต่ำกว่ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงน้อยกว่าเนื่องจากไม่มีคณะแพทยศาสตร์[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งมักมีโรงพยาบาลในสังกัดและทำให้ได้รับเงินประมาณแผ่นดินที่สูง ทั้งที่อาจจะไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยตรง แต่เป็นบริการสังคมซึ่งเป็นอีกหนึ่งพันธกิจของมหาวิทยาลัย จึงไม่น่าแปลกใจที่มหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งเน้นทางด้านสาธารณสุขศาสตร์จะได้รับการจัดอันดับเป็นที่หนึ่ง ทั้งๆ ที่คณะวิชาด้านอื่นๆ อาจไม่เป็นที่รู้จักของสังคมนัก[ต้องการอ้างอิง] มหาวิทยาลัยที่เน้นผลิตบัณฑิตทางด้านสังคมศาสตร์ เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการจัดอันดับตั้งแต่ต้น เพราะศาสตร์และผลงานวิจัยไม่เอื้อให้ได้รับคะแนนประเมินสูง ทั้งๆ ที่บัณฑิตทางสายสังคมศาสตร์กลับเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและได้รับค่าจ้างแรงงานที่ดีกว่า ตลอดจนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก็ให้ความสนใจในจำนวนสูงมากกว่าคณะทางสายวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชื่อดัง เช่น มหิดล เกษตรศาสตร์ หลายร้อยเท่าตัว [ต้องการอ้างอิง]

ส่วนข้อดีของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยนั้น น่าจะอยู่ที่เป็นการกระตุ้นให้มหาวิทยาลัยได้พิจารณาตนเอง และพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับได้ในระดับนานาชาติ[8][9]

อ้างอิง

แก้
  1. "ฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-20. สืบค้นเมื่อ 2011-01-23.
  2. การวัดศักยภาพสถาบันอุดมศึกษาไทย ประจำปี 2548 โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา[ลิงก์เสีย]
  3. "เปิด 50 อันดับมหาวิทยาลัยไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
  4. เปิด 50 อันดับสาขาด้าย "วิจัย-สอน" เก็บถาวร 2008-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก หนังสือพิมพ์มติชน 1 ก.ย. 2549
  5. อันดับมหาวิทยาลัยแบ่งตามสาขาวิชา ตามงานวิจัย หนังสือพิมพ์ข่าวสดวันที่ 1 กย. 2549
  6. ฉะอันดับมหาวิทยาลัยมั่ว สกอ.ทำผ่านเวบ-ข้อมูลไม่ครบ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก 1 ก.ย. 2549
  7. "จัดอันดับ ม.ไทยยังวุ่นไม่เลิก สจพ.บุกศธ.ร้อง สกอ.โละทิ้ง จี้"ภาวิช"รับผิดชอบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2011-01-23.
  8. ข่าวมติชน อธิการฯรุมโต้จัดอันดับมหา"ลัย โวยสกอ.เก็บข้อมูลไม่ครบถ้วน 2 กย.49
  9. ศึกจัดอันดับมหา"ลัยเดือด 2 อธิการบดีไม่ยอมรับ อ้างสกอ.ไม่พร้อม ข่าวมติชน 1 กย.

ดูเพิ่ม

แก้