มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี (อังกฤษ: Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage Pathumthani Province) เดิมคือ โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์[2] หรือ สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ตั้งอยู่ที่ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage Pathumthani Province | |
ที่ทำการของมหาวิทยาลัย | |
ชื่อเดิม | สถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ |
---|---|
ชื่อย่อ | มรวอ. / VRU |
คติพจน์ | วิชาการเด่น เน้นคุณธรรม นำท้องถิ่นพัฒนา ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2475 |
ผู้สถาปนา | สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ |
|
งบประมาณ | 602,413,000 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | ศาสตราจารย์ วิรุณ ตั้งเจริญ |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ สมบัติ คชสิทธิ์ |
อาจารย์ | 436 คน (พ.ศ. 2566) |
บุคลากรทั้งหมด | 1,046 คน (พ.ศ. 2566) |
ผู้ศึกษา | 7,549 คน (พ.ศ. 2566) |
ที่ตั้ง |
|
วิทยาเขต | วิทยาเขต |
เพลง | มาร์ช VRU |
ต้นไม้ | ราชพฤกษ์ |
สี | ██ สีเขียว |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร มีพระเมตตาต่อการศึกษา ของกลุสตรีไทย จึงประทานอาคารพร้อมที่ดินประมาณ 4 ไร่ ให้กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2475 ปัจจุบันคือ เลขที่ 153 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยย้ายนักเรียนฝึกหัดครูและนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.7-8) มาจากโรงเรียนเบญจมราชาลัย อาจารย์ใหญ่คนแรก คือ อาจารย์นิลรัตน์ บรรณสิทธิ์วรสาสน์ โรงเรียนใช้ชื่อย่อว่า พ เป็นสัญลักษณ์ และสีเขียว เป็นสีประจำโรงเรียน เนื่องจากเป็นสีประจำวันประสูติของพระองค์
สถานศึกษาแห่งนี้ได้ปฏิบัติภารกิจด้านการศึกษาทั้งแผนกฝึกหัดครู และแผนกสามัญด้วยดีตลอดมา และได้พัฒนาปรับเปลี่ยนสถานภาพและคำนำหน้าชื่อตามความเหมาะสม ดังนี้
1 ตุลาคม 2513 เป็นวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ พ.ศ. 2515 ขยายงานการฝึกหัดครูมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน คือ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 48 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 13180 มีพื้นที่ 294 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวา ทั้งนี้อาจารย์อวยพร เปล่งวานิช ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ในขณะนั้น ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานล่วงหน้ากับผู้ว่าราชการจังหวัด ปทุมธานี (นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์) จึงได้ที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แปลงนี้มาเป็นที่ตั้งของสถาบันในปัจจุบัน 14 พฤศจิกายน 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ และสมาคมศิษย์เก่าฯไว้ "ในพระบรมราชูปถัมภ์"
9 พฤศจิกายน 2518 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 2 แสนบาท ตั้งเป็น"มูลนิธิสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
พ.ศ. 2520 เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต
พ.ศ. 2528 เปิดสอนสาขาวิชาชีพอื่นด้วยครบ 3 สาขา คือ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาศิลปศาสตร์ และสาขา วิชาวิทยาศาสตร์
14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสถาบันราชภัฏ แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ เป็นเหตุให้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
24 มกราคม 2538 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง พ.ร.บ.สถาบันราชภัฏ เป็นผลให้สถาบันราชภัฏ ทั่วประเทศเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง
6 มีนาคม 2538 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9 เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฎ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ แก่ สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
15 กุมภาพันธ์ 2542 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ วางพวงมาลาพระอนุสาวรีย์ฯ และทรงเปิดอาคารฝึกประสบการณ์วิชาชีพ "อาคารสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์" ปีการศึกษา 2542 เปิดสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2 ปี และ 4 ปี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ปีการศึกษา 2543 เปิดสอนนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา และสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน 15 กุมภาพันธ์ 2544 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จฯ วางพวงมาลาพระอนุสาวรีย์ฯ ทรงเปิดอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ และห้องประชุมราชนครินทร์ ภายในอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์
21 สิงหาคม 2545 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์"
10 มิถุนายน 2547 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พุทธศักราช 2547 และได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2547 ยังผลให้สถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี" ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
ปีการศึกษา 2549 เปิดสอนระดับปริญญาเอก สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
3 พฤษภาคม 2555 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีมติเห็นชอบให้มหาวิทยาลัยดำเนินการจัดซื้อที่ดินด้านทิศเหนือของมหาวิทยาลัย เนื้อที่ 86 ไร่ 3 งาน 19 ตารางวา ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 381 ไร่ 2 งาน 91 ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2556 เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน (หลักสูตรนานาชาติ) และโรงเรียนสาธิตวไลยอลงกรณ์ หลักสูตรนานาชาติ ที่ศูนย์จัดการศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2557 เปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป และสาขาวิชาคณิตศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ (International Program) ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ
ในปี 2559 ได้มีการจัดทำแสตมป์ 84 ปี โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ (มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์) ขึ้น[3]
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
แก้- ตรามหาวิทยาลัย เป็นรูปวงรีสองวงล้อมตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรที่พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายในวงรีด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยเขียนว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์" ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า " VALAYA ALONGKORN RAJABHAT UNIVERSITY"
- สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีเขียว ซึ่งเป็นสีประจำวันประสูติของสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ซึ่งเป็นองค์ประธานกำเนิดมหาวิทยาลัย
- อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย "บัณฑิตจิตอาสา พัฒนาท้องถิ่น"
การรับเข้าศึกษา
แก้- รับตรง รอบที่ 1 (รอบทุนการศึกษา)
- ทุนวไลยอลงกรณ์ 1 ให้ทุนการศึกษาจำนวนเต็มตลอดหลักสูตร
- ทุนวไลยอลงกรณ์ 2 ให้ทุนการศึกษาร้อยละ 50 ตลอดหลักสูตร
- ทุนกิจกรรม ให้ทุนนักศึกษากิจกรรมตลอดหลักสูตร
- รับตรงรอบ 2 (รอบทั่วไป)
- เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัย
- ระบบ Admission กลาง
- เป็นไปตามข้อกำหนดAdmissionกลาง และมหาวิทยาลัย
การศึกษา
แก้คณะวิชา
แก้
|
วิทยาลัย
แก้โรงเรียน
แก้สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
แก้- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาครู
- ศูนย์ภาษา
- ศูนย์เวชศึกษาป้องกัน
- ศูนย์วิทยาศาสตร์
- สำนักศิลปวัฒนธรรม
- สำนักส่งเสริมวิชาการ
- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
วิทยาเขต
แก้- ศูนย์กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของ โรงเรียนนานาชาติสยามสิงคโปร์ (SSIS)
- ศูนย์สระแก้ว ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว บริเวณริมถนนหมายเลข 33 ถนนสุวรรณศร เริ่มเปิดสอนในปีการศึกษา 2558 เปิดสอนหลักสูตร 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการทั่วไป) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาเกษตรศาสตร์)
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๘, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๘
- ↑ กำเนิด “มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์” กับอนุสรณ์ เจ้าฟ้าวไลยฯ ผู้ทรงอุปถัมภ์การศึกษา
- ↑ ข่าวประชาสัมพันธ์