มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (อังกฤษ: King Mongkut's University of Technology Thonburi; อักษรย่อ: มจธ. – KMUTT) หรือนิยมเรียกโดยทั่วไปว่า บางมด (Bangmod) เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยที่มีชื่อเสียงทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับเลือกจากรัฐบาลให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (National Research University) รวมทั้งเป็นมหาวิทยาลัยที่ปรับเปลี่ยนสถานะจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็น สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ แห่งแรกของประเทศไทย
King Mongkut's University of Technology Thonburi | |
ตราพระมหาพิชัยมงกุฏ สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อเดิม | สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
---|---|
ชื่อย่อ | มจธ. / KMUTT |
คติพจน์ | The trained man wins ทนโต เสฏโฐ มนุสเสสุ (ในหมู่มนุษย์ ผู้ที่ฝึกตนดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด) |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ |
สถาปนา | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ |
|
งบประมาณ | 1,528,935,900 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ยงยุทธ ยุทธวงศ์ |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ สุวิทย์ แซ่เตีย |
อาจารย์ | 883 คน (พ.ศ. 2566) |
บุคลากรทั้งหมด | 2,569 คน (พ.ศ. 2566) |
ผู้ศึกษา | 14,933 คน (พ.ศ. 2566) |
ที่ตั้ง |
|
วิทยาเขต | วิทยาเขต |
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย | ดอกธรรมรักษา |
สี | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเปิดสอนใน 8 คณะ, บัณฑิตวิทยาลัย 2 แห่ง สถาบันซึ่งดูแลและจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรเฉพาะทาง 1 แห่ง และวิทยาลัย 1 แห่ง โดยเปิดสอนทั้งหลักสูตรปกติ หลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติ ครอบคลุมในระดับปริญญาตรี, โท และเอก จัดการเรียนการสอนใน 3 พื้นที่การศึกษา และ 1 อาคาร คือ มจธ.บางมด, มจธ.บางขุนเทียน, มจธ.ราชบุรี และสำนักเคเอกซ์ (KX - Knowledge Exchange for Innovation)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประกอบด้วยพระนาม "พระจอมเกล้า" ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานตามพระบรมนามาภิไธย แห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และมีพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตรา "พระมหามงกุฎ" มาเป็นสัญลักษณ์ของสถาบัน
มจธ. เป็นมหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับโลก โดยเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี 5 ปีซ้อน ในปี 2561 ถึง 2565 โดยสถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก Times Higher Education[2] และถูกจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยทางเทคโนโลยีอันดับที่ 1 ของประเทศไทย 2 ปีซ้อน ในปี 2562 และ 2563 โดยการจัดอันดับของ U.S. News & World Report[3]
ประวัติ
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เดิมใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี " ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
สาเหตุในการก่อตั้งเนื่องมาจากในช่วงปี 2500 ประเทศไทยได้มีการขยายตัวอย่างมาก ประกอบกับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปัจจุบัน) ไม่มีที่ศึกษาต่อ เพราะมีมหาวิทยาลัยอยู่เพียง 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทางกระทรวงศึกษาธิการเห็นถึงความจำเป็นในการจัดตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้จัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ณ ตำบลบางมด อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี เป็นสถาบันที่เปิดสอนระดับอุดมศึกษา (เทียบเท่าปริญาตรี) เป็นลำดับที่ 7 ในประเทศไทย รองจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และวิทยาลัยวิชาการศึกษา ตามลำดับ
ช่วงเวลา
แก้แบ่งได้เป็น 4 ช่วง ดังนี้
วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี (พ.ศ. 2503–2514)
แก้วิทยาลัยเทคนิคธนบุรีได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ในสังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งในระยะเริ่มแรก วิทยาลัยรับนักศึกษาโดยสอบตรงจากผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปัจจุบัน) เข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยมีหลักสูตร 3 ปี ใน 4 สาขาวิชา คือ
- ช่างก่อสร้าง (ปัจจุบันคือ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา)
- ช่างไฟฟ้า (ปัจจุบันคือ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า)
- ช่างยนต์ (ปัจจุบันคือ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล)
- ช่างโลหะ (ปัจจุบันคือ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ)
วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี เป็นวิทยาลัยเทคนิคแห่งที่ 5 ของประเทศ ก่อตั้งขึ้นหลังจากวิทยาลัยเทคนิค 4 แห่งแรก อันประกอบไปด้วยวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ (พ.ศ. 2495), วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ (พ.ศ. 2497), วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (พ.ศ. 2499) และวิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ (พ.ศ. 2500) ซึ่งเป็นวิทยาลัยเทคนิคแห่งแรกและแห่งเดียวที่รับเฉพาะผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ มาเรียนต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
เมื่อ พ.ศ. 2505 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรีได้รับความช่วยเหลือจากยูเนสโก (UNESCO) และกองทุนพิเศษสหประชาชาติ โครงการมีระยะเวลา 5 ปี ในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ให้มาช่วยดำเนินการสอน รวมทั้งให้ทุนการศึกษาเพิ่มเติมแก่อาจารย์ และจัดซื้ออุปกรณ์การศึกษาให้แก่วิทยาลัย รวมทั้งวิทยาลัย จะรับนักศึกษาโดยได้เข้าร่วมกับ สภาการศึกษาแห่งชาติ ในการใช้ วิธีสอบคัดเลือกรวมเพื่อรับนักศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ (การสอบเอนทรานซ์) (โดยมี สถาบันการศึกษา จำนวน 6 แห่ง คือ มหาวิทยาลัย 5 แห่ง ที่มีอยู่ในขณะนั้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ วิทยาลัย 1 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้จัดสอบร่วมกัน)
พ.ศ. 2506 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้แบ่งการบริหารเป็น 4 คณะวิชา คือ
- คณะวิชาช่างโยธา
- คณะวิชาช่างไฟฟ้า
- คณะวิชาช่างกล
- คณะวิชาสามัญ
พ.ศ. 2507 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้ปรับปรุงหลักสูตรที่เปิดสอน คือ
- หลักสูตรแผนกวิชาช่างก่อสร้าง (โยธา)
- หลักสูตรแผนกวิชาช่างก่อสร้าง (สถาปัตย์)
- หลักสูตรแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
- หลักสูตรแผนกวิชาช่างยนต์
- หลักสูตรแผนกวิชาช่างโลหะ
พ.ศ. 2508 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้รับความช่วยเหลือจาก ยูเนสโก (UNESCO) และ กองทุนพิเศษ สหประชาชาติ ต่ออีก โครงการมีระยะเวลา 4 ปี ในรูปแบบเดียวกับโครงการแรก คือมี ผู้เชี่ยวชาญ ทุนการศึกษา อบรมแก่อาจารย์ และอุปกรณ์การศึกษา ซึ่งได้ขยายเพิ่มการสอนในหลักสูตร ปทส. ต่อจาก ปวส. เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในสาขาช่างยนต์,ช่างโลหะ และปี พ.ศ. 2509 ในสาขาช่างโยธา,ช่างไฟฟ้า โดยความเห็นชอบของ กระทรวงศึกษาธิการ และ คณะรัฐมนตรี ให้ทำการเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) หลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 3 ปี รวมมีระยะเวลาศึกษา 5 ปี (เทียบเท่าปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ ใน 4 สาขา (โยธา,ไฟฟ้า,เครื่องกล,อุตสาหการ) ) รวมทั้งจัดตั้ง คณะวิชาฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง เป็นคณะที่ 5 ของ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี
พ.ศ. 2510 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี เสนอโครงการ สถาบันเทคโนโลยีธนบุรี (Thonburi Institute of Technology) หรือ ( T I T ) และกระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติในหลักการ เมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2510 ให้ขยายหลักสูตรการเรียนการสอนเป็น 5 ปี ต่อจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ (ม.ศ.5)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี (พ.ศ. 2514–2529)
แก้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าถูกสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2514 จากการรวมวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ และวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี โดยวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี มีสถานะเป็นวิทยาเขตหนึ่งของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ใช้ชื่อว่า "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี" และเปลี่ยนจากหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) มาเป็นหลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี ใน 4 สาขา (โยธา, ไฟฟ้า, เครื่องกล, อุตสาหการ) และให้เลิกรับนักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2515 และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี ได้แบ่งการบริหารเป็น 7 ภาควิชา คือ
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
- ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
- ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม
- ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
- ภาควิชาภาษาและสังคมศาสตร์
- ภาควิชาครุศาสตร์
พ.ศ. 2515 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 1 ให้กับผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2510-2514 ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2515 โดย สำนักงาน ก.พ. ได้รับรอง ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (สาขา โยธา, ไฟฟ้ากำลัง, ไฟฟ้าสื่อสาร, เครื่องกล และ อุตสาหการ) ของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี
พ.ศ. 2517 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ย้ายสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการมาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยระดับอุดมศึกษา เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นกรมสังกัด และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี ได้แบ่งการบริหารเป็น 2 คณะ 8 ภาควิชา คือ
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
- ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
- ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
- ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
- คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์
- ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
- ภาควิชาภาษาและสังคมศาสตร์
- ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (พ.ศ. 2529–2541)
แก้พ.ศ. 2529 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการสถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529
พ.ศ. 2532 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปรับหลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี มาเป็นหลักสูตร 4 ปี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (พ.ศ. 2541–ปัจจุบัน)
แก้พ.ศ. 2541 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการสถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541 และได้เปลี่ยนสภาพเป็น สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการประกาศรายชื่อจาก กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ให้เป็น 1 ใน 9 แห่ง ของ มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
-
อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX)
-
อาคารวิศววัฒนะ (ตึกแดง)
-
อาคารหอพักหญิง (D1) วิทยาเขตบางขุนเทียน
-
บรรยากาศภายในมหาวิทยาลัย วิทยาเขตบางมด
-
ศูนย์กีฬาและนันทนาการ
ลำดับการจัดตั้ง
แก้- พ.ศ. 2503 จัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2517 จัดตั้ง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
- พ.ศ. 2519 จัดตั้ง คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ
- พ.ศ. 2533 จัดตั้ง คณะวิทยาศาสตร์
- พ.ศ. 2537 จัดตั้ง คณะศิลปศาสตร์
- พ.ศ. 2537 จัดตั้ง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
- พ.ศ. 2537 จัดตั้ง คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี
- พ.ศ. 2538 จัดตั้ง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
- พ.ศ. 2538 จัดตั้ง สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม
- พ.ศ. 2545 จัดตั้ง บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม
- พ.ศ. 2559 จัดตั้ง วิทยาลัยสหวิทยาการ
พระราชวงศ์ กับมหาวิทยาลัย
แก้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การค้นพบสุริยุปราคามืดหมดดวงของพระองค์ท่าน เป็นการแสดงพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ของคนไทยให้ชาวโลกประจักษ์ว่า ทรงมีพระปรีชาสามารถในการคำนวณ ทรงกระทำตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง และการที่พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้เช่นนี้นั้น แสดงว่าประเทศไทยจะต้องมีระบบเวลามาตรฐานและมีวิธีการรักษาเวลามาตรฐานแบบอารยประเทศที่เชื่อถือได้ ถึงขั้นนำมาวัดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของโลกได้ การศึกษาในพระราชสำนัก จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ (สยามสามสมัยจากสายตาหมอบรัดเลย์) วันก่อนที่เจ้าฟ้าจะทรงลาผนวช พระองค์โปรดให้มิชชันนารีโปรเตสแตนต์ที่ทรงสนิทสนมมาเป็นปีๆ เข้าเฝ้า ในระหว่างการเข้าเฝ้า พระองค์ตรัสอย่างไม่ถือพระองค์และให้รู้เป็นการภายใน สิ่งที่พระองค์ตรัสทำให้ความหวังที่จะเห็นสยามรุ่งเรืองในอนาคตฟื้นคืนมาอีก พระราชดำรัสที่ทำให้เราหูผึ่งก็คือ พระราชดำรัสที่จะให้มีชั้นเรียนขนาดใหญ่ให้หนุ่มสยามได้ศึกษาภาษาอังกฤษอย่างดี และจะทรงโปรดให้มีโรงเรียนมัธยมขึ้นในบางกอก ที่สอนทั้งภาษาอังกฤษและวิทยาศาสตร์จากตะวันตกด้วย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานที่ดินแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ ตำบล ราชบูรณะ เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๓ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๔๗ ที่ดินเลขที่ ๑๐๘ โฉนดเลขที่ ๑๒๘๖ พื้นที่ตามโฉนด ๒๕๖ ไร่ ๑ งาน ๙๖ ตารางวา
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระนาม "พระจอมเกล้า" เป็นชื่อของสถาบัน มีนามภาษาอังกฤษว่า “ King Mongkut's Institute of Technology Thonburi” 24 ตุลาคม 2534 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ พระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 6
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ
ทรงพระเมตตามาก ได้ฉลองพระเดชพระคุณสนิทมากยิ่งกว่าพระองค์อื่น ๆ ด้วยพระปรีชาว่องไว ในราชกิจทั้งปวง และมีอัธยาศัยโอบอ้อมอารีกว้างขวางในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และทรงพระอุตสาหะดูแล บังคับบัญชาการฝ่ายใน ให้สำเร็จไปตามพระราชประสงค์ และราชประเพณี ทรงพระปรีชาสามารถในราชกิจเก่าใหม่ ตั้งพระราชหฤทัยจงรักภักดีเป็นอันมาก จึงมีพระบรมราชโองการทรงสถาปนา พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา เป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ และทรงเททองหล่อพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 4 ทรงเปิดอาคารคณะพลังงานและวัสดุ อาคารภาควิชาเคมี และอาคารห้องสมุด ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดหอบรรณสารสนเทศ ทอดพระเนตรนิทรรศการ มจธ. กับมิติด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้และอยู่อาศัย และทรงวางศิลาฤกษ์อาคาร ปฏิบัติการทางวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แขวงบางมด เขตทุ่งครุ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดอาคารคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และงานครบรอบ 20 ปี ของสถาบันฯ เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ ทรงเปิดงานนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 5 และทรงเปิดสำนักงานโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ภายใต้โครงการหลวง และโครงการพระราชดำริในความรับผิดชอบของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
18 สิงหาคม 2541 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จมาทรงเป็นประธานเปิดแพรคลุมป้าย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)
วันสำคัญของมหาวิทยาลัย
แก้วันสถาปนา
แก้- ตรงกับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ฯพณฯ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ประกาศตั้ง “ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ” เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 รับผู้จบเตรียมอุดมศึกษา (ม.6 ปัจจุบัน) เฉพาะสาย วิทยาศาสตร์ ศึกษาต่อ 3 ปี ได้วุฒิ ปว.ส. นับเป็นวิทยาลัยเทคนิค แห่งแรก ในประเทศไทย ณ ตำบลบางมด อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี
วันพระราชทานนาม
แก้- ตรงกับวันที่ 28 พฤษภาคม ของทุกปี
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระนาม “ พระจอมเกล้า ” เป็นชื่อของสถาบัน มีนามภาษาอังกฤษว่า “ King Mongkut's Institute of Technology ” เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2513
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
แก้- ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี
วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึง จ.ชุมพร พระองค์ทรงรับเอาศิลปวิทยาการ และความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์ ทั้งนี้ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์"
วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
แก้- ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม ของทุกปี
เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานในพระราชนิเวศน์เดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวราราม เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
วันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
แก้- ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี
เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พิธีวางพวงมาลา เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บวงสรวงพระอริยพรหม และพระบรมราชานุสาวรีย์ ,ถวายบังคม และวางพวงมาลา ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ ,หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยวางพวงมาลา ณ พระบรมราชานุสาวรีย์,พระสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์
สัญลักษณ์
แก้ตราสัญลักษณ์
แก้ตราประจำมหาวิทยาลัย
แก้ลักษณะของตราเชิญมาจากพระราชลัญจกรประจำพระองค์ (ตราประจำพระองค์) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
ลักษณะของตรา ประกอบด้วยลายกลางเป็นตราพระมหามงกุฎ ซึ่งนำมาจากพระบรมนามาภิไธยเดิม "มงกุฎ" และเป็นศิราภรณ์สำคัญหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ มีฉัตรบริวารขนาบอยู่บริเวณด้านข้างทั้งสอง โดยสัญลักษณ์ทั้งหมดจะอยู่ภายในวงกลม 2 ชั้น มีอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษซึ่งแสดงนามมหาวิทยาลัย กำกับอยู่ภายในโค้งด้านล่างของวงกลม
ตราสัญลักษณ์วิสัยทัศน์
แก้เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2552 ประกอบด้วยสองส่วนคือ สัญลักษณ์วิสัยทัศน์ (Vision Mark) และตัวอักษรสัญลักษณ์ (Wordmark)
สัญลักษณ์วิสัยทัศน์ (Vision Mark) สื่อถึงความชัดเจนในวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย (Framing Vision) ที่จะก้าวสู่อนาคตอย่างยั่งยืน ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาว มจธ. โดยรูปแบบของจุด หรือ Pixel ที่เรียงกันสามารถสื่อถึงความเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีได้อย่างร่วมสมัย ในขณะเดียวกันการเรียงกันเป็นเลขสี่ยังสามารถสื่อถึงความภาคภูมิใจในนามพระราชทาน
ตัวอักษรสัญลักษณ์ (Wordmark) เป็นการเรียงตัวกันอย่างสร้างสรรค์ (Creative & Constructive) สื่อถึงการไม่หยุดนิ่งและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การใช้ชื่อย่อตัวอักษรภาษาอังกฤษยังสื่อถึงวิสัยทัศน์ที่จะนำมหาวิทยาลัยก้าวไปสู่สากลอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยตราวิสัยทัศน์ เป็นตราที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดทอนรายละเอียดของตราสัญลักษณ์ (LOGO) ให้ง่ายต่อการจดจำ, สร้างเอกลักษณ์ให้กับมหาวิทยาลัย และเป็นตราสัญลักษณ์ที่สามารถใช้ได้ในทุก ๆ ที่ เช่น ขวดน้ำ มจธ., ใบปลิว, แก้วน้ำ, ของที่ระลึก รวมทั้งที่ ๆ ไม่เหมาะสมที่จะใช้ตราพระลัญจกรซึ่งเป็นตราประจำพระองค์พระมหากษัตริย์
เพลงประจำมหาวิทยาลัย
แก้- เพลงพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย ประพันธ์ในปี พ.ศ. 2542 โดยนายก่อเกียรติ ชาตะนาวิน บทเพลงมีเนื้อร้องที่ครอบคลุมถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
- เพลงมาร์ชห้ามุ่ง เป็นเพลงประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2553 โดยนายไกวัล กุลวัฒโนทัย บทเพลงที่สามารถถ่ายทอดวิสัยทัศน์ห้ามุ่ง
- เพลงลูกพระจอม เป็นเพลงประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2551 ขับร้องสู่สาธารณชนครั้งแรกในกิจกรรมถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหาพิชัยมงกุฎ ขับร้องโดยวงประสานเสียงแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT Chorus)
- เพลงสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เป็นเพลงประพันธ์ทำนองขึ้นโดยครูเอื้อ สุนทรสนานแห่งวงสุนทราภรณ์ คำร้องโดย ธาตรี เป็นบทเพลงประจำสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
สีประจำมหาวิทยาลัย
แก้สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีแสดและสีเหลือง
โดยสีแสดเป็นสีประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ของไทย พระผู้ทรงริเริ่มแนวคิดสมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย
ส่วนสีเหลืองเป็นสีประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย พระผู้ทรงพระราชทานนามมหาวิทยาลัย
และเมื่อรวมกันจึงเป็นสีที่แสดงถึงความจงรักภักดี และเป็นสีที่แสดงถึงความเคลื่อนไหว ความไม่หยุดนิ่ง ความแข็งแรง ทั้งเป็นสีที่กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นเปรียบเทียบได้กับเครื่องมือเครื่องจักรที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเครื่องมือเครื่องจักรทั้งหลาย ถือเป็นส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
ดอกธรรมรักษา
แก้ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ดอกธรรมรักษา เป็นไม้ดอกที่พบมากในบริเวณที่ตั้ง มหาวิทยาลัยนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวิทยาลัย และมีสีของดอกที่คล้องกับสีประจำมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ยังมีนามที่เป็นมงคลต่อนักศึกษาและบุคลากรในด้านจริยธรรม กล่าวคือ สอดคล้องกับคติธรรมที่ว่า "ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม"
การบริหารงาน
แก้ผู้อำนวยการ หรือ อธิการบดี
แก้ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี | |||||
---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รูป | รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง | ||
เริ่มต้น | สิ้นสุด | ระยะเวลา (วัน) | |||
1 | อาจารย์ประภา ประจักษ์ศุภนิติ | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 | 10 กันยายน พ.ศ. 2512 | 8 ปี 219 วัน | |
อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า | |||||
ลำดับ | รูป | รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | ||
เริ่มต้น | สิ้นสุด | ระยะเวลา (วัน) | |||
2 | ศาสตราจารย์ ดร.พงศ์ศักดิ์ วรสุนทโรสถ | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2514 | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 | 6 ปี 283 วัน | |
3 | ศาสตราจารย์ ดร.บุญญศักดิ์ ใจจงกิจ | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2526 | 4 ปี 292 วัน | |
อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) | |||||
ลำดับ | รูป | รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | ||
เริ่มต้น | สิ้นสุด | ระยะเวลา (วัน) | |||
4 | รองศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 | 5 ปี 365 วัน | |
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 | ||||
5 | รองศาสตราจารย์ ดร.หริส สูตะบุตร | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | 5 ปี 364 วัน | |
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 | ||||
6 | อาจารย์ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 | 8 ปี 0 วัน | |
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 | ||||
7 | รองศาสตราจารย์ ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 | 3 ปี 364 วัน | |
8 | รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 | 8 ปี 158 วัน | |
22 ธันวาคม พ.ศ. 2557 | 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | ||||
9 | รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565 | 5 ปี 330 วัน | |
18 มีนาคม พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน |
นายกสภา
แก้นายกสภา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า | |||||
---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รูป | รายนามนายกสภา | วาระการดำรงตำแหน่ง | ||
เริ่มต้น | สิ้นสุด | ระยะเวลา (วัน) | |||
1 | นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์ | 4 กุมภาพันธ์ 2514 | 16 พฤศจิกายน 2514 | 0 ปี 285 วัน | |
2 | บุญถิ่น อัตถากร | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 | 1 ปี 31 วัน | |
3 | นายอภัย จันทวิมล | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 | 1 ปี 161 วัน | |
4 | นายเกรียง กีรติกร | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 | 0 ปี 29 วัน | |
5 | นายเกษม สุวรรณกุล | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 | 25 มกราคม พ.ศ. 2518 | 0 ปี 210 วัน | |
6 | พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ | 26 มกราคม พ.ศ. 2518 | 13 มกราคม พ.ศ. 2521 | 2 ปี 352 วัน | |
7 | จำรัส ฉายะพงศ์ | 14 มกราคม พ.ศ. 2521 | 31 มกราคม พ.ศ. 2530 | 9 ปี 17 วัน |
นายกสภา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) | |||||
---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รูป | รายนามนายกสภา | วาระการดำรงตำแหน่ง | ||
เริ่มต้น | สิ้นสุด | ระยะเวลา (วัน) | |||
7 | จำรัส ฉายะพงศ์ | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2531 | 1 ปี 150 วัน | |
8 | บุญเยี่ยม มีศุข | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 | 1 กันยายน พ.ศ. 2541 | 10 ปี 62 วัน | |
9 | นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา | 2 กันยายน พ.ศ. 2541 | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 | 3 ปี 179 วัน | |
10 | ทองฉัตร หงส์ลดารมภ์ | 1 มีนาคม พ.ศ. 2545 | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | 17 ปี 87 วัน | |
11 | นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | ปัจจุบัน | 5 ปี 175 วัน |
หน่วยงานที่เปิดสอน
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเปิดสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
คณะ
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มี 12 หน่วยงานที่จัดทำการเรียนการสอน แบ่งเป็น 8 คณะ 1 สถาบัน 2 บัณฑิตวิทยาลัยและ 1 วิทยาลัยสหวิทยาการ ดังนี้
คณะวิศวกรรมศาสตร์
แก้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2503 ถือว่าเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็น 1 ใน 8 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เรียงลำดับตามการก่อตั้งดังนี้ 1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 4.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 5.มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 7.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ 8.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถือว่าเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เปิดสอนมีสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ในระดับปริญญาตรีมากที่สุด 1 ใน 3 ของประเทศไทย และในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมากที่สุดในประเทศไทย
หลักสูตรทั้งหมดของคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 57 สาขา สอนทั้งในหลักสูตรปกติ หลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตร Residential College ของมหาวิทยาลัย Cambridge และ Oxford จากประเทศอังกฤษ อีกทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. คว้าอันดับ 1 ด้านวิศวกรรมศาสตร์ของไทย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัย โดย U.S. News & World Report ประจำปี 2020 อีกด้วย
ประกอบด้วย 11 ภาควิชา
|
|
ระดับปริญญา | สาขาวิชา[4] | ||||
---|---|---|---|---|---|
อนุปริญญา |
หลักสูตรนานาชาติ
| ||||
ปริญญาตรี |
หลักสูตรปกติ
| ||||
ปริญญาโท |
หลักสูตรนานาชาติ
| ||||
ปริญญาเอก |
หลักสูตรนานาชาติ
| ||||
การขีดเส้นตัดข้อความ หมายถึง ยุติการรับนักศึกษา |
คณะวิทยาศาสตร์
แก้คณะวิทยาศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดสอนในหลักสูตรปกติ สองภาษาและนานาชาติ ในระดับปริญญาตรี โท และเอก และได้รับการจัดอันดับใหเป็น
ประกอบด้วย 4 ภาควิชา
- คณิตศาสตร์
- ฟิสิกส์
- เคมี
- จุลชีววิทยา
หลักสูตร
ระดับปริญญา | สาขาวิชา[7] | ||
---|---|---|---|
ปริญญาตรี |
| ||
ปริญญาโท |
หลักสูตรนานาชาติ
หลักสูตรภาษาอังกฤษ
| ||
ปริญญาเอก |
หลักสูตรนานาชาติ
หลักสูตรภาษาอังกฤษ
| ||
การขีดเส้นตัดข้อความ หมายถึง ยุติการรับนักศึกษา |
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
แก้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นคณะทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติทุกสาขาวิชา ในระดับปริญญาตรี โท และเอก ครอบคลุมด้านสถาปัตยกรรมหลัก สถาปัตยกรรมภายใน ภูมิสถาปัตยกรรม ออกแบบอุตสาหกรรม ออกแบบนวัตกรรม รวมถึงออกแบบนิเทศน์ศิลป์
ระดับปริญญา | สาขาวิชา[8] | ||||
---|---|---|---|---|---|
ปริญญาตรี |
หลักสูตรนานาชาติ
| ||||
ปริญญาโท |
หลักสูตรนานาชาติ
| ||||
ปริญญาเอก |
หลักสูตรนานาชาติ
| ||||
การขีดเส้นตัดข้อความ หมายถึง ยุติการรับนักศึกษา |
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
แก้คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 เดิมมีชื่อว่า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์
ภาควิชา
- ครุศาสตร์เครื่องกล
- ครุศาสตร์ไฟฟ้า
- ครุศาสตร์โยธา
- ครุศาสตร์อุตสาหการ
- เทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
- เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
- คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตร
ระดับปริญญา | สาขาวิชา[9] | ||||
---|---|---|---|---|---|
ปริญญาตรี |
หลักสูตร 5 ปี
| ||||
ปริญญาโท |
หลักสูตรนานาชาติ
| ||||
ปริญญาเอก |
| ||||
การขีดเส้นตัดข้อความ หมายถึง ยุติการรับนักศึกษา |
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
แก้คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 ซึ่งปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทยด้วย
SIT KMUTT เป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของประเทศไทย และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งแรกในประเทศไทย ที่เปิดสอนสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศครบถ้วนทั้ง ปริญญาตรี โท และเอก ทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ
ระดับปริญญา | สาขาวิชา[10] | ||
---|---|---|---|
ปริญญาตรี |
หลักสูตรภาษาอังกฤษ
| ||
ปริญญาโท |
| ||
ปริญญาเอก |
หลักสูตรภาษาอังกฤษ
| ||
การขีดเส้นตัดข้อความ หมายถึง ยุติการรับนักศึกษา |
คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ
แก้คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2519 เดิมมีชื่อว่า คณะพลังงานและวัสดุ นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้เปิดหลักสูตรที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ปัจจุบันมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก
ระดับปริญญา | สาขาวิชา[11] | ||
---|---|---|---|
ปริญญาโท |
| ||
ปริญญาเอก |
| ||
การขีดเส้นตัดข้อความ หมายถึง ยุติการรับนักศึกษา |
คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี
แก้คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก
ระดับปริญญา | สาขาวิชา[12] | ||
---|---|---|---|
ปริญญาโท |
หลักสูตรนานาชาติ
| ||
ปริญญาเอก |
หลักสูตรนานาชาติ
| ||
การขีดเส้นตัดข้อความ หมายถึง ยุติการรับนักศึกษา |
คณะศิลปศาสตร์
แก้คณะศิลปศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก
ระดับปริญญา | สาขาวิชา[13] | ||
---|---|---|---|
ปริญญาโท |
หลักสูตรนานาชาติ
| ||
ปริญญาเอก |
หลักสูตรนานาชาติ
| ||
การขีดเส้นตัดข้อความ หมายถึง ยุติการรับนักศึกษา |
สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม
แก้สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 ตามแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 7 เพื่อวิจัยพัฒนาการศึกษาระดับสูงทางด้านวิชาการหุ่นยนต์ และงานวิจัยทางด้านระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการให้บริการรับปรึกษาด้านอุตสาหกรรมต่างๆภายในประเทศ
ระดับปริญญา | สาขาวิชา[14] | ||
---|---|---|---|
ปริญญาตรี |
| ||
ปริญญาโท |
| ||
ปริญญาเอก |
| ||
การขีดเส้นตัดข้อความ หมายถึง ยุติการรับนักศึกษา |
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม
แก้บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี 2546 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ใน 4 สาขาวิชา ดังนี้
ระดับปริญญา | สาขาวิชา[15] | ||
---|---|---|---|
ปริญญาโท |
| ||
การขีดเส้นตัดข้อความ หมายถึง ยุติการรับนักศึกษา |
บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
แก้เปิดสอนระดับปริญญาโทและเอก
ระดับปริญญา | สาขาวิชา[16] | ||
---|---|---|---|
ปริญญาโท |
หลักสูตรนานาชาติ
| ||
ปริญญาเอก |
หลักสูตรนานาชาติ
| ||
การขีดเส้นตัดข้อความ หมายถึง ยุติการรับนักศึกษา |
วิทยาลัยสหวิทยาการ
แก้เปิดสอนระดับปริญญาตรี
ระดับปริญญา | สาขาวิชา[17] | ||||
---|---|---|---|---|---|
ปริญญาตรี |
หลักสูตรนานาชาติ
| ||||
ปริญญาโท |
| ||||
ปริญญาเอก |
| ||||
การขีดเส้นตัดข้อความ หมายถึง ยุติการรับนักศึกษา |
หน่วยงานทั่วไป
แก้หน่วยงานภายใน
แก้สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท) จัดตั้งขึ้นตามประกาศพระราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 114 ตอนที่ 16 ก. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ คือ ให้สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ เพื่อเป็นแหล่งดำเนินการวิจัย การพัฒนาและการวิศวกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสหวิทยบริการ เพื่อสนองนโยบายด้านการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์และเน้นนโยบายการพึ่งพาตนเอง สร้างขีดความสามารถของภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ประกอบด้วยศูนย์ต่างๆ ดังนี้
- ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง เก็บถาวร 2005-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์วิจัยและบริการอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมชีวเคมี เก็บถาวร 2005-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์นวัตกรรมระบบ เก็บถาวร 2005-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์นวัตกรรมนโยบาย เก็บถาวร 2005-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์เทคโนโลยีซ่อมบำรุงรักษา เก็บถาวร 2005-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์ส่งเสริมงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญา เก็บถาวร 2005-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์พัฒนาผลิตภาพอุตสาหกรรม (CIPD) เก็บถาวร 2005-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาจราจรและขนส่ง ( ศพจ. ) เก็บถาวร 2005-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ทางด้านอาคาร เก็บถาวร 2005-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์วิศวกรรมอุณหภาพ เก็บถาวร 2005-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สำนักงานเทคโนโลยี SMEs เก็บถาวร 2005-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อมาตรฐานและอุตสาหกรรม เก็บถาวร 2005-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ
- สถาบันการเรียนรู้ เก็บถาวร 2007-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม เก็บถาวร 2005-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
วิทยาเขต
แก้- มจธ.บางมด ตั้งอยู่เลขที่ 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 มีพื้นที่มากกว่า 134 ไร่ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 มจธ.บางมด เป็นพื้นที่หลักและศูนย์กลางในการบริหาร และการจัด การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
- มจธ. (บางขุนเทียน) สวนอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทย อยู่ห่างจาก มจธ. บางมด ประมาณ 20 กิโลเมตร มีพื้นที่รวม 80 ไร่ ประกอบด้วย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ ศูนย์พัฒนามาตรฐานและทดสอบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ และอาคารวิจัยและนวัตกรรม กระบวนการชีวภาพ นักศึกษาสามารถเดินทางไปมาระหว่าง มจธ. บางมด และ มจธ.บางขุนเทียน โดยรถโดยสารของมหาวิทยาลัยซึ่งมีให้บริการเดินรถตลอดทั้งวัน
- มจธ. (ราชบุรี) เป็นพื้นที่จัดการเรียนการสอนระบบ Residential College แห่งแรกของประเทศไทย มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาสติปัญญา และการพัฒนาคุณลักษณะการเป็นพลเมืองที่ดี ที่จะนำไปสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในด้านวิชาชีพ มีทักษะชีวิตและสังคม สามารถเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้ในโจทย์และวิชาการแขนงต่างๆได้ มจธ. ราชบุรี ก่อตั้งขึ้น ณ ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เนื้อที่ 1,200 ไร่ ในปี พ.ศ. 2538 ตามนโยบายการขยายโอกาสอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาค โดยผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี (หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล) และ ร้อยตำรวจโทเชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ พร้อมด้วยประชาชนใน อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ให้การสนับสนุนการจัดตั้งวิทยาเขต วิทยาเขตราชบุรี เปิดทำการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 ในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตร 2 ปี (ต่อเนื่อง) ในปี พ.ศ. 2556 ได้เปิดสอนหลักสูตร Liberal Arts Engineer ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้า (ระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลังและพลังงาน) และวิศวกรรมอุตสาหการ
- สำนักเคเอกซ์ หรือ KX - Knowledge Exchange for Innovation ตั้งอยู่ ถ.กรุงธนบุรี เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ โดยมีเป้าหมายคือนำความรู้และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไปใช้จริงในภาคอุตสาหกรรมทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผ่านกลไกการแลกเปลี่ยนทางความรู้เหมือนชื่ออาคาร Knowledge Exchange อาคารด้านในออกแบบโดยใช้แนวคิด Interlocking in Space คือ การเชื่อมพื้นที่แต่ละส่วนเข้าหากัน เพื่อให้ห้องกว้างขึ้น เป็นการใช้สอยพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำนักเคเอ็กซ์มีทั้งหมด 20 ชั้น ประกอบไปด้วย ห้องประชุม ห้องสัมมนา ห้องจัดงาน และ Co-Working Space ทุกส่วนถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานและเรียนรู้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ การเดินทางระหว่าง มจธ. บางมด และสำนักเคเอ็กซ์ สามารถใช้รถโดยสารของมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งมีรอบการใช้บริการตลอดทั้งวัน สำหรับประชาชนทั่วไปสามารถเดินทางมายังสำนักเคเอ็กซ์ โดยใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสโดยลงที่สถานีวงเวียนใหญ่
อันดับมหาวิทยาลัย
แก้บุคคลสำคัญ
แก้คณะวิศวกรรมศาสตร์
แก้- เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ (ศิษย์เก่า) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- ชลิต แก้วจินดา (ศิษย์เก่า) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ อดีตสมาชิกวุฒิสภา แบบสรรหา
- บุญมาก ศิริเนาวกุล (ศิษย์เก่า) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี
- สามารถ พิริยะปัญญาพร (ศิษย์เก่า) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี
- สุรเดช จิรัฐิติเจริญ (ศิษย์เก่า) อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดปราจีนบุรี
- ศ.ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภาและศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- พล.อ.ราเมศว์ ดารามาศ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ทรงคุณวฺฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย
- พล.อ.ท.พิชิต แรกชำนาญ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ทรงคุณวฺฒิพิเศษ กองทัพอากาศ
- พล.ร.ท.สมภพ เสตะรุจิ (ศิษย์เก่า) อดีตเจ้ากรมช่างโยธาทหารเรือ กองทัพเรือ
- พล.ร.ต.ปพนภพ สุวรรณวาทิน (ศิษย์เก่า) อดีตเจ้ากรมช่างโยธาทหารเรือ กองทัพเรือ
- เพชรสมร วีระพัน (ศิษย์เก่า) (สัญชาติลาว) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ประเทศลาว
- สุพจน์ ทรัพย์ล้อม (ศิษย์เก่า) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม
- ชยธรรม์ พรหมศร (ศิษย์เก่า) ปลัดกระทรวงคมนาคม
- วีระ เรืองสุขศรีวงศ์ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
- วัฒนา ช่างเหลา (ศิษย์เก่า) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น
- จำรูญ ตั้งไพศาลกิจ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม
- พีระพล สาครินทร์ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
- สมนึก บำรุงสาลี (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
- มณฑล สุดประเสริฐ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
- จุลภัทร แสงจันทร์ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
- กิตติ ทรัพย์วิสุทธิ์ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา
- วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย
- เสถียร เจริญเหรียญ (ศิษย์เก่า) ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบศีรีขันธ์
- ปริญญา ยมะสมิต (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ว่าการการประปานครหลวง
- นพรัตน์ เมธาวีกุลชัย (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค
- ปรีชา อู่ทอง (ศิษย์เก่า) อดีตผู้อำนวยการองค์การตลาด
- นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
- ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล (ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- จุมพล สำเภาพล (ศิษย์เก่า) อดีตผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
- ปราโมทย์ เอี่ยมศิริ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้อำนวยการสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงานการพลังงานแห่งชาติ
- รศ.ดร.ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ (ศิษย์เก่า) อดีตนายกสภาวิศวกร
- ผศ.ดร.ธเนศ วีระศิริ (ศิษย์เก่า) นายกสภาวิศวกร
- สุมิท แช่มประสิทธิ์ (ศิษย์เก่า) เลขาธิการสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิเศรษฐกิจพอเพียง
- ดร.บุญนาค โมกข์มงคลกุล (ศิษย์เก่า) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดานิลี่ จำกัด
- สมประสงค์ บุญยะชัย (ศิษย์เก่า) อดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
- อาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
- สมบัติ อนันตรัมพร (ศิษย์เก่า) ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่ม บริษัท อินเตอร์ลิงก์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
- บุญยง ตันสกุล (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซิงเกอร์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนวงษ์ อารีรัชชกุล (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมีคอลล์ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
- วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี. แรม จำกัด ในกลุ่ม บมจ.ซีพี ออลล์ (CP All)
- อรพงศ์ เทียนเงิน (ศิษย์เก่า) ผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Technology ธนาคารไทยพาณิชย์
- ปราโมทย์ ธีรกุล (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฟร์พัฒนา จำกัด และ นายกสมาคมรับสร้างบ้าน คนแรก
- ชูโชค ศิวะคุณากร (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด หรือ CPAC
- กวี ชูกิจเกษม (ศิษย์เก่า) รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด และ ผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด
- รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย คนแรก
- รศ.ดร.สุวิทย์ เตีย (ศิษย์เก่า) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ผศ.ดร.เฉลิม มัติโก (ศิษย์เก่า) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
- รศ.ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
- รศ.ดร.สมชาย ปฐมศิริ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
- ศ.ดร.ไพฑูรย์ ตันติเวชวุฒิกุล (ศิษย์เก่า) อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเคมี University of Regina ประเทศแคนาดา
- ศ.ดร.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ศ.ดร.สำเริง จักรใจ (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ศ.ดร.ชัยยุทธ ชินณะราศรี (ศิษย์เก่า) และ รองอธิการบดี ด้านนวัตกรรมและพัฒนาระบบบริหาร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- ศ.ดร.อาษา ประทีปเสน (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ศ.ดร.สุทัศน์ ทิพย์ปรักมาศ (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช (ศิษย์เก่า) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศ.ดร.ตรีทศ เหล่าศิริหงษ์ทอง (ศิษย์เก่า) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศ.ดร.พานิช วุฒิพฤกษ์ (ศิษย์เก่า) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว (บี้ The Star) (ศิษย์เก่า) นักร้อง และ นักแสดง
คณะวิทยาศาสตร์
แก้- เรืองวิทย์ ลิกค์ (ศิษย์เก่า) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ (ศิษย์เก่า) กรรมการ บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน)
- รศ.ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์(ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.
- ไอริณ ดำรงค์มงคลกุล (ศิษย์เก่า) พิธีกร และผู้ประกาศข่าว
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
แก้- ผศ.ดร.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
แก้- ศิริศิลป์ โชติวิจิตร (กวาง AB Nornal) (ศิษย์เก่า) นักร้อง
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
แก้- ธิดา ธัญญประเสริฐกุล (ศิษย์เก่า) นักแปล
คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ
แก้- สุพจน์ เลียดประถม (ศิษย์เก่า) อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดตราด
- อำนวย ทองสถิตย์ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
- ศ.ดร.ฐานิตย์ เมธิยานนท์ (ศิษย์เก่า) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๕, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ LeeSunbin (2 มกราคม 2020). "12 มหาลัยไทย ติดอันดับโลก ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2020 โดย THE". campus-star.com.
- ↑ https://www.thaipost.net/main/detail/48859
- ↑ "คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering)". eds.kmutt.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-29. สืบค้นเมื่อ August 19, 2022.
- ↑ "หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอัตโนมัติ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566". drive.google.com. สำนักงานพัฒนาการศึกษาและบริการ มจธ. 12 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2023.
- ↑ "รู้จัก RESIDENTIAL COLLEGE". ratchaburi.kmutt.ac.th. January 27, 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-19. สืบค้นเมื่อ August 19, 2022.
- ↑ "คณะวิทยาศาสตร์ (Faculty of Science)". eds.kmutt.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-07. สืบค้นเมื่อ September 7, 2022.
- ↑ "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ". eds.kmutt.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-05. สืบค้นเมื่อ August 5, 2023.
- ↑ "คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี". eds.kmutt.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-05. สืบค้นเมื่อ August 5, 2023.
- ↑ "คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ". eds.kmutt.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-05. สืบค้นเมื่อ August 5, 2023.
- ↑ "คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ". eds.kmutt.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-05. สืบค้นเมื่อ August 5, 2023.
- ↑ "คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี". eds.kmutt.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-05. สืบค้นเมื่อ August 5, 2023.
- ↑ "คณะศิลปศาสตร์". eds.kmutt.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-05. สืบค้นเมื่อ August 5, 2023.
- ↑ "สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม". eds.kmutt.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-05. สืบค้นเมื่อ August 5, 2023.
- ↑ "บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม". eds.kmutt.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-05. สืบค้นเมื่อ August 5, 2023.
- ↑ "บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม". eds.kmutt.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-05. สืบค้นเมื่อ August 5, 2023.
- ↑ "วิทยาลัยสหวิทยาการ". eds.kmutt.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-05. สืบค้นเมื่อ August 5, 2023.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 126) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์