หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์
รองอำมาตย์เอก หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ หรือ หลวงเดชสหกรณ์ (18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 – 8 กันยายน พ.ศ. 2518) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[2] อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[3] อดีตประธานองคมนตรี[4] อดีตข้าราชการ อธิบดีกรมที่ดิน/กรมทรัพยากรธรณี [5][6] และรัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพาณิชย์[7] กระทรวงเศรษฐการ ผู้วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การกสิกรรม และกิจการสหกรณ์ของไทย
เดช สนิทวงศ์ | |
---|---|
ประธานองคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม 2518 – 8 กันยายน 2518 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร |
ถัดไป | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 สิงหาคม 2484 – 7 มีนาคม 2485 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | นาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ |
ถัดไป | พลเรือโท หลวงสินธุสงครามชัย |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ 2486 – 20 กันยายน 2487 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | ควง อภัยวงศ์ |
ถัดไป | ควง อภัยวงศ์ |
ดำรงตำแหน่ง 10 พฤศจิกายน 2490 – 21 กุมภาพันธ์ 2491 (0 ปี 103 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | เดือน บุนนาค |
ถัดไป | พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ |
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 4 สิงหาคม 2492 – 29 กุมภาพันธ์ 2495 | |
ก่อนหน้า | เล้ง ศรีสมวงศ์ |
ถัดไป | เสริม วินิจฉัยกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 |
เสียชีวิต | 8 กันยายน พ.ศ. 2518 (77 ปี) |
เชื้อชาติ | ไทย |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงประยงค์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา[1] |
บุตร | ท่านผู้หญิงวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นายพิสิษฐ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นายมนูเสรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา |
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | |
ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย หลวงเดชสหกรณ์ในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยกลับไปใช้ชื่อเดิม เมื่อ พ.ศ. 2484[8]
หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ จบการศึกษาปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยกรุงแบร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในสาขาเศรษฐศาสตร์[9]
ชาติวงศ์ตระกูล
แก้หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ (หลวงเดชสหกรณ์) เป็นบุตรชายคนที่ 3 ของพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท่านผู้หญิงวงษานุประพัทธ์ (ตาด สิงหเสนี) ในสายเจ้าพระยามุขมนตรี (เกด สิงหเสนี) เกิดที่วังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ตำบลป้อมปราบศัตรูพ่าย อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 ขณะที่ท่านบิดามียศและบรรดาศักดิ์เป็นพันตรี หม่อมชาติเดชอุดม (หม่อมราชินิกุล) มีพี่น้องทั้งหมด คือ
- หม่อมหลวงชื่น สนิทวงศ์
- หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์)
- หลวงจรัญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรัญ สนิทวงศ์)
- หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ (หลวงเดชสหกรณ์)
- หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงแส กฤดากร
- หม่อมหลวงสงบ สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงบัว กิติยากร
- พลโท หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงทัยเกษม สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค (ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค)
- หม่อมหลวงกมล สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงสารภี มิ่งเมือง (ท่านผู้หญิงสารภี มิ่งเมือง)
การศึกษา
แก้ในประเทศ
แก้หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ได้เข้าศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนบ้านคุณหญิงหงษ์ ภริยาพลตรี พระยาสิงหเสนีศรีสยามเมนทร์สวามิภักดิ์ ผู้มีศักดิ์เป็นป้า ใน พ.ศ. 2449 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เป็นเวลา 5 ปี สอบไล่ได้ชั้น 2 ต่อมาเมื่อทางราชการได้ย้ายโรงเรียนราชวิทยาลัยจากโรงเลี้ยงเด็กไปเปิดใหม่เป็นโรงเรียนกินนอนโดยเฉพาะ (แบบ Public School ของอังกฤษ) สังกัดกระทรวงยุติธรรม ที่ตำบลบางขวาง จังหวัดนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2454 ท่านบิดาจึงให้หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ พร้อมกับพี่และน้องชายอีก 3 คน เข้าเรียนโรงเรียนนี้ตั้งแต่เริ่มแรกจนสอบไล่ได้ชั้น 6
ต่างประเทศ
แก้ใน พ.ศ. 2457 หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ออกไปศึกษาวิชา ณ ประเทศเยอรมนีด้วยทุนของรัฐบาลพร้อมกับหม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ ได้ออกเดินทางจากประเทศสยาม เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 เพื่อให้ได้รับการฝึกอบรมให้คุ้นเคยกับขนบธรรมเนียมชีวิตในครอบครัวของชาวเยอรมัน และเรียนภาษาเยอรมันและฝรั่งเศสเป็นการเตรียมตัวเข้าโรงเรียนมัธยมของรัฐบาลประเภท Oberrealschule ในชั้น 4 (มีทั้งหมด 4 ชั้น) ในทันปีการศึกษา 2458 สถานทูตไทยที่กรุงเบอร์ลินจึงได้จัดให้อยู่กับครอบครัวของ Prof. A. Schaeffer ที่เมือง Halberstadt ในแคว้น Saxony ในครอบครัวและโรงเรียนมัธยมของรัฐบาลนี้ ได้มีคนไทยคือ นายจรัญ บุนนาค และนายประจวบ บุนนาค บุตรพระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) อาศัยและเรียนอยู่ก่อนแล้ว
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้อุบัติขึ้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2457 และประเทศสยามยังมิได้ประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนีนั้น การศึกษาของหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ มิได้รับความกระทบกระเทือนแต่ประการใด ได้เข้าเรียนในชั้น 4 ของโรงเรียนมัธยมใน พ.ศ. 2458 ตามที่กำหนดไว้เดิม และได้เรียนจบชั้น 6 เมื่อ พ.ศ. 2460 แต่เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ประเทศสยามได้ประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี และประเทศออสเตรีย - ฮังการี โดยเข้าเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร รัฐบาลเยอรมันจึงได้จับกุมนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศเยอรมนีทั้งหมดรวม 9 คน (ยกเว้น นายปุ่น ชูเทศะ ซึ่งยังเป็นเด็กมีอายุเพียง 12 หรือ 13 ปี) ไว้เป็นเชลยและเป็นตัวประกัน สำหรับชาวเยอรมันทั้งหมดที่อยู่ในประเทศสยามและถูกทางรัฐบาลจับกุมคุมขังไว้ ณ ค่ายกักกันในวันที่ประเทศสยามประกาศสงคราม หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ถูกจับกุมที่กรุงเบอร์ลินเมื่อต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2460 พร้อมกับนักเรียนไทยอีก 4 คน คือ นายเติม บุนนาค, นายตั้ว ลพานุกรม, นายประจวบ บุนนาค และหม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ และทางราชการทหารได้นำตัวไปฝากขังไว้ในคุกแห่งหนึ่งของกรุงเบอร์ลินเป็นเวลา 15 วัน แล้วจึงย้ายไปคุมขังไว้ที่ค่ายกักกันนายทหารกองหนุน ชื่อ Celle-Schloss ที่เมือง Celle ใกล้เมือง Hannover ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2460 จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2461 เมื่อได้ย้ายมาอยู่ค่ายนี้ไม่ต้องทำงานแต่ประการใด และเมื่อได้ทราบว่าคนไทย 3 คน คือ หม่อมหลวงไพจิตร สุทัศน์, นายกระจ่าง บุนนาค และนายจรัญ บุนนาค ซึ่งถูกคุมขังอยู่ที่เมือง Holzminden ต้องทำงานหนักตลอดวัน จึงได้ร้องขอให้ย้ายมาขังรวมกันที่ Celle-Schloss และก็ได้รับความสำเร็จตามที่ร้องขอนั้น
ต่อมาเมื่อเกิดปฏิวัติขึ้นประเทศเยอรมนี ต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2461 บรรดาเชลยศึกในค่ายกักกันต่าง ๆ ได้ถูกปลดปล่อยให้กลับบ้านเมืองของตนได้ คณะนักเรียนไทยซึ่งยังมีเหลืออยู่เพียง 7 คน เพราะนายจรัญ บุนนาค ได้ป่วยเป็นวัณโรค และเสียชีวิตระหว่างถูกคุมขัง ต่อมาได้มีนายปุ่น ชูเทศะ ได้เข้ามาสมทบอีกจึงมีเป็น 8 คน ได้เดินทางโดยรถไฟผ่านประเทศเบลเยี่ยมไปกรุงปารีสเพื่อรายงานตัวต่อท่านอัครราชทูตไทย
เมื่อเสร็จสงครามโลกแล้ว นักเรียนไทยคนอื่น ๆ ได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านพร้อมกับกองทหารอาสา แต่หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ นั้น ท่านบิดาเห็นว่าได้เสียเวลามาแล้วถึง 3 ปี ไม่ควรเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านพร้อมกับกองทหารอาสาสงคราม หากแต่ควรรีบศึกษาต่อโดยไม่ชักช้า ทางราชการจึงจัดให้เรียนวิชาสามัญ (ต่อจากโรงเรียนในประเทศเยอรมนี) ที่กรุงแบร์น ประเทศสวิตเซอรแลนด์ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2462 โดยให้อยู่ในความปกครองดูแลของท่านอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร เมื่อได้ใช้เวลาเตรียมตัวประมาณ 18 เดือนแล้ว หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ได้เข้าสอบไล่เข้ามหาวิทยาลัย cantonal matriculation ได้ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2463 ต่อจากนั้นก็ได้เข้าศึกษา ณ มหาวิทยาลัยกรุงแบร์น ในวิชาเศรษฐศาสตร์จนจบชั้นดุษฎีบัณฑิต (Doktor rerum politicarum) ชั้นเกียรตินิยม (cum laude) ใน พ.ศ. 2468 หลังจากนั้นได้เดินทางไปประเทศอังกฤษ เพื่อเรียนภาษาและศึกษาค้นคว้าประวัติเศรษฐศาสตร์และการค้าระหว่างประเทศไทยกับสหราชอาณาจักรอีกประมาณ 6 เดือน แล้วจึงลงเรือเดินทางกลับประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2469 ถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2470 และได้รายงานตัวที่กระทรวงพาณิชย์ในวันรุ่งขึ้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2494 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2462 – เหรียญงานพระราชสงครามทวีปยุโรป[13]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[14]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[15]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญชัย (ร.ช.)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2501 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1[16]
- เยอรมนี :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 2
- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2507 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นที่ 2
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ประวัติ หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์เก็บถาวร 2007-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘, ตอน ๔๐ ง, ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๔, หน้า ๑๒๗๙
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- ↑ "ผู้ว่าการจากอดีตถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ "รายนามอธิบดีกรมที่ดิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-19. สืบค้นเมื่อ 2009-05-12.
- ↑ "รายนามอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2009-05-12.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ เก็บถาวร 2014-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Mom Luang Dej Snidvongs: Die Entwicklung des siamesischen Aussenhandels vom 16. bis zum 20. Jahrhundert unter Hinweis auf die schweizerisch-siamesischen Austauschmöglichkeiten. Dissertation, Univ. Bern, 1926.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๔๗ ง หน้า ๑๒๐๙, ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๕ ง หน้า ๕๖๕๕, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่นายทหารผู้มีความชอบและผู้ปฏิบัติราชการเกี่ยวเนื่องด้วยการส่งกองทหารในงานพระราชสงครามที่ยุโรป เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๓๒, ๒๑ กันยายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการภายใน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๘, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๕๔ ง หน้า ๒๙๖๗, ๑๘ สิงหาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๕๐ ง หน้า ๑๘๗๔, ๑ กรกฎาคม ๒๕๐๑
ก่อนหน้า | หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ควง อภัยวงศ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (17 กุมภาพันธ์ 2486 – 20 กันยายน 2487) |
ควง อภัยวงศ์ | ||
เดือน บุนนาค | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (10 พฤศจิกายน 2490 – 21 กุมภาพันธ์ 2491) |
มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ |