ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

ผู้บริหารสูงสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยตำแหน่งผู้ว่าการยังดำรงตำแหน่งอื่นเป็น รองประธานคณะกรรมการธปท., ประธานคณะกรรมการนโยบายการเงิน, ประธานคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน และ ประธานคณะกรรมการระบบการชำระเงิน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ติดต่อกันได้ไม่เกินสองวาระ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะเป็นผู้สรรหาและเสนอชื่อไปยังคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติรับรองจึงจะทูลเกล้าฯไปยังพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งต่อไป

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ตราธนาคารแห่งประเทศไทย
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563
คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ผู้เสนอชื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระ5 ปีและไม่เกินสองวาระ
ผู้ประเดิมตำแหน่งพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย
สถาปนา27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485
เงินตอบแทน1,111,572 บาทต่อเดือน[1]
เว็บไซต์ผู้ว่าการอดีตถึงปัจจุบัน

คุณสมบัติ

แก้

ผู้มีสิทธิ์ถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องมีสัญชาติไทย สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี มีความรู้ความสามารถในด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคและสถาบันการเงิน มีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารแห่งประเทศไทย หากเคยเป็นข้าราชการการเมืองหรือมีตำแหน่งในพรรคการเมือง

หน้าที่

แก้

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายและบริหารธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเงินของประเทศ แม้โดยตำแหน่งจะต่ำกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่ก็มีความสำคัญมาก ดังข้อความเรื่อง "ศาสตร์และศิลป์แห่งการเป็นผู้ว่าการธนาคารกลาง" ของ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่ว่า

...ตำแหน่งของผู้ว่าการธนาคารชาตินี้ในทำเนียบราชการไทยเป็นตำแหน่งที่ต่ำกว่ารัฐมนตรี และเราจำเป็นที่จะต้องติดต่อกับรัฐมนตรีอยู่เฉพาะอย่างยิ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายเป็นผู้กำกับการงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ใช่เฉพาะแต่ผู้ว่าการเท่านั้น ผู้ใหญ่คนอื่นในธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย เพราะฉะนั้น การติดต่อกับรัฐมนตรีเพื่อที่จะเกลี้ยกล่อมรัฐมนตรีให้ดำเนินนโยบายอย่างใดอย่างหนึ่งที่ธนาคารเห็นสมควรก็ย่อมเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะถ้านโยบายต่างๆไม่ประสานกัน การดำเนินราชการแผ่นดินก็จะเป็นไปโดยราบรื่นมิได้

เช่น ถ้างบประมาณแผ่นดินตั้งรายจ่ายไว้เกินกำลัง จะทำให้เงินเฟ้อ ถ้าแก้ไขไม่ได้และต้องการจะรักษาเสถียรภาพไว้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็จำเป็นต้องจำกัดทางด้านการเงินด้านอื่น หมายความว่าเงินที่ปล่อยให้ชาวไร่ชาวนากับพ่อค้าอุตสาหกรที่จะต้องน้อยลงไป จะต้องไปหดเครดิตทางธนาคารพาณิชย์ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็อาจจะเสียหาย นี่เป็นเรื่องที่เราต้องพูดกับรัฐมนตรีแทบทุกปี

ถ้าเราไม่สามารถที่จะเกลี้ยกล่อมท่านได้ หน้าที่ของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะด้อยลงไป ความรับผิดชอบและประโยชน์ที่เราจะทำให้ก็จะเสียหายไปเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น ในการที่จะติดต่อกับรัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้มีความเชื่อถือให้รัฐบาลหรือบุคคลในรัฐบาลเชื่อ ถือว่าเราไม่ได้เห็นประโยชน์ของส่วนตัว ไม่ได้เห็นแก่ประโยชน์ของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่เห็นแก่ประโยชน์ของแผ่นดิน...[2]

รายพระนาม/รายนาม

แก้
ลำดับ
(สมัย)
รูป รายพระนาม/รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1
(1)
  พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 16 ตุลาคม พ.ศ. 2489
2
(1)
  เสริม วินิจฉัยกุล 17 ตุลาคม พ.ศ. 2489 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
3
(1)
  เล้ง ศรีสมวงศ์ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 2 กันยายน พ.ศ. 2491
1
(2)
  พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย 3 กันยายน พ.ศ. 2491 2 ธันวาคม พ.ศ. 2491
3
(2)
  เล้ง ศรีสมวงศ์ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2491 3 สิงหาคม พ.ศ. 2492
4   หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2492 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495
2
(2)
  เสริม วินิจฉัยกุล 1 มีนาคม พ.ศ. 2495 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2498
5   เกษม ศรีพยัคฆ์ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2501
6   โชติ คุณะเกษม 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2502
7   ป๋วย อึ๊งภากรณ์ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2502 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514
8   พิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2514 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2518
9   เสนาะ อูนากูล 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 31 ตุลาคม พ.ศ. 2522
10   นุกูล ประจวบเหมาะ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 13 กันยายน พ.ศ. 2527
11   กำจร สถิรกุล 14 กันยายน พ.ศ. 2527 5 มีนาคม พ.ศ. 2533
12   ชวลิต ธนะชานันท์ 6 มีนาคม พ.ศ. 2533 30 กันยายน พ.ศ. 2533
13   วิจิตร สุพินิจ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
14   เริงชัย มะระกานนท์ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
15   ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
16   หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2544
17   หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 7 ตุลาคม พ.ศ. 2549
18   ธาริษา วัฒนเกส 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 30 กันยายน พ.ศ. 2553
19   ประสาร ไตรรัตน์วรกุล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 30 กันยายน พ.ศ. 2558
20   วิรไท สันติประภพ[3] 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 30 กันยายน พ.ศ. 2563
21   เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563[4] ปัจจุบัน

เชิงอรรถ

แก้
  • นอกจากนั้น รายชื่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ยังใช้เป็นส่วนช่วยในการดูอายุของธนบัตรไทยด้วย

อ้างอิง

แก้
  1. "เปิดทรัพย์สิน 254 ล.! 'เศรษฐพุฒิ' ผู้ว่าฯ ธปท. สะสมพระเครื่องดังเพียบ". bangkokbiznews. กรุงเทพธุรกิจ. 27 December 2023. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024.
  2. วีรพงษ์ : การเมืองกับแบงก์ชาติ โดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย