เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
พลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ หรือ หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์ (พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์กลาง; 24 มิถุนายน พ.ศ. 2409[1] - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2483) เป็นอดีตเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และกระทรวงคมนาคม อดีตองคมนตรี เป็นพระอัยกาฝ่ายพระชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเป็นพระปัยกาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเป็นข้าหลวงใหญ่ปักปันเขตแดนบริเวณตอนเหนือของสยามกับหลวงพระบางในแคว้นอินโดจีนของฝรั่งเศส ระหว่าง พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2450[2]
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) | |
---|---|
เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ เมื่อ พ.ศ. 2453 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรพาณิชยการ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | |
นายกรัฐมนตรี | พระยามโนปกรณ์นิติธาดา |
ก่อนหน้า | ตนเอง (ในฐานะเสนาบดี) |
ถัดไป | พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) |
เสนาบดีกระทรวงเกษตรพาณิชยการ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 มิถุนายน – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน (ในฐานะเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม) |
ถัดไป | ตนเอง (ในฐานะรัฐมนตรี) |
เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2452 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2455 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน) |
ถัดไป | พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ |
เสนาบดีกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน พ.ศ. 2455 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2468 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (ในฐานะเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ) |
ถัดไป | พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (ในฐานะเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | หม่อมราชวงศ์กลาง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2409 |
เสียชีวิต | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2483 (74 ปี) |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงตาด สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) อุบะ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา |
บุตร | 14 คน |
บุพการี |
|
ประวัติ
แก้เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เป็นพระโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ศศิสมิต)[3] พระบิดาเรียกท่านว่า "กลาง"[4]
หม่อมราชวงศ์สท้าน ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไปศึกษาวิชาทหารบกที่ประเทศเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. 2425 เป็นเวลา 11 ปี เดินทางกลับประเทศสยามเมื่อ อายุ 27 ปี และเข้ารับราชการจนได้เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก กระทั่งวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2440 จึงได้เลื่อนยศทางทหารเป็น ร้อยเอก[5]เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หม่อมราชินิกุลมีนามว่าร้อยเอก หม่อมชาติเดชอุดม ถือศักดินา 800[6] จากนั้นในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 24 พฤศจิกายน หม่อมชาติเดชอุดมได้รับพระราชทานยศทางทหารเป็น พันตรี[7] ต่อมาในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2444 ได้เลื่อนยศทางทหารเป็น พันโท[8]กระทั่งวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 ได้เลื่อนยศทางทหารเป็น พันเอก[9]และได้รับพระราชทานยศเป็น พลตรี เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2447[10]ต่อมาได้จัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหาร[2] ต่อมาได้เลื่อนเป็น พระยาวงษานุประพัทธ์ ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2452[11]และในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2452 โปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ[12] โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2452 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พลโท[13]หม่อมชาติเดชอุดม มารับตำแหน่งรองเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ [14]
ปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ รัตนพลเทพ สรรพพลเสพเสนาบดี โรปนวิธีบำรุง ผดุงธัญพืชผลาหาร พานิชการพัฒนกร สโมสรสกลยุทธศาสตร์ มหาอมาตย์ศักดิอดุลย์ พิรุณเทพมุรธาธร สรรพกิจจานุสรสวัสดิ์ วิบุลยปริวัตรเกษตราธิบดี สุนมนตรีพงษ์สนิท เมตจิตรอาชวาธยาไศรย รัตนไตรยสรณธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[15] ต่อมาดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ (กระทรวงคมนาคมในปัจจุบัน) และได้รับพระราชทานยศ พลเอก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2462[16]
ต่อมาภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้รวมกระทรวงเกษตราธิการกับกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมเป็นกระทรวงเดียวกัน เรียกว่ากระทรวงเกษตรพาณิชยการ แล้วให้เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์เป็นเสนาบดี[17]
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์และท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เป็นผู้เลี้ยงดูสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในระหว่าง พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2477 เมื่อหม่อมหลวงบัว กิติยากร ต้องติดตามหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ไปปฏิบัติราชการ ตำแหน่งเลขานุการเอก ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา [18]
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนสายปัญญา โดยเมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ สิ้นพระชนม์ ท่านเป็นต้นคิดในหมู่ทายาท ให้นำวังของบิดา มาก่อตั้งเป็นสถานศึกษาสำหรับสตรี โดยได้รับพระราชทานนามโรงเรียนจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2459
เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ด้วยไข้มาลาเรีย เบาหวาน และโรคหัวใจ[19] สิริอายุ 74 ปี
บุตร-ธิดา
แก้- เกิดแต่ท่านผู้หญิงวงษานุประพัทธ์ (ตาด สนิทวงศ์ ณ อยุธยา; สกุลเดิม สิงหเสนี)
ท่านผู้หญิงวงษานุประพัทธ์ (ตาด สนิทวงศ์ ณ อยุธยา; 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2411 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2479) เป็นธิดาพระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ (เอม สิงหเสนี) กับคุณหญิงขลิบ (ธิดาเจ้าพระยาคทาธรธรนินทร์ (เยีย อภัยวงศ์))[20] มีบุตร-ธิดา 6 คน คือ
- หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) (18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 – 30 มีนาคม พ.ศ. 2473) สมรสกับหม่อมหลวงรวง สนิทวงศ์ มีบุตร-ธิดา 5 คน ดังนี้
- กำธร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (6 กันยายน พ.ศ. 2467 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543)
- คุณหญิงนภา บุนนาค (8 กันยายน พ.ศ. 2469 – 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555)
- ท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา (24 ธันวาคม พ.ศ. 2470 – 29 กันยายน พ.ศ. 2551)
- ดำเกิง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (? – พ.ศ. 2534)
- สมัยศารท สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (22 กันยายน พ.ศ. 2473 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2529)
- หม่อมหลวงจรัญ สนิทวงศ์ (7 มกราคม พ.ศ. 2440 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2501) สมรสกับ ท่านผู้หญิงเยี่ยม จรัญสนิทวงศ์ (เดิม หม่อมหลวงเยี่ยม ราชสกุลเดิม อิศรเสนา; 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2541) มีบุตรธิดา ดังนี้
- ดนัย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2534)
- พลตรีหญิง ท่านผู้หญิงนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (29 มิถุนายน พ.ศ. 2473 – 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564)
- หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ (18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 – 8 กันยายน พ.ศ. 2518) สมรสกับท่านผู้หญิงประยงค์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 4 คน ดังนี้
- ท่านผู้หญิงวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (เกิด พ.ศ. 2472)
- พิสิษฐ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- มนูเสรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2505)
- เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (เกิด 4 ตุลาคม พ.ศ. 2481)
- หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ (6 กันยายน พ.ศ. 2443 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2525) สมรสและหย่ากับ Pia Miggie Alder และสมรสกับหม่อมหลวงนวม สนิทวงศ์ มีบุตรธิดากับบุญยิ่ง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม วิมลสูตร) 3 คน คือ
- นายแพทย์สมภพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- พลตำรวจโทณัฐพิชย์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- อมรยุพา ไกรลาศศิริ[21]
- หม่อมหลวงแส กฤดากร (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2523) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2441 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2483; พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์) มีโอรสธิดา 5 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์พูนสวาท กฤดากร (1 กันยายน พ.ศ. 2469 – 12 ตุลาคม พ.ศ. 2522)
- หม่อมราชวงศ์ยงสวาสดิ์ กฤดากร (2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552)
- หม่อมราชวงศ์ทวีสวาท กฤดากร (ถึงแก่กรรมแล้ว)
- หม่อมราชวงศ์สุทธิสวาท กฤดากร (ถึงแก่กรรมแล้ว)
- หม่อมราชวงศ์สายสวาท กฤดากร (ถึงแก่กรรมแล้ว)
- หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ (พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2538)
ท้าววนิดาพิจาริณี (หม่อมบาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) มีบุตรธิดา 4 คน ดังนี้
- หม่อมหลวงสงบ สนิทวงศ์ (ถึงแก่กรรมแต่เยาว์วัย)[22]
- หม่อมหลวงบัว กิติยากร เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) มีโอรสธิดา 4 พระองค์/คนดังนี้
- พลโท นายแพทย์ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ สมรสกับท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (หงสนันทน์) มีบุตรธิดา 3 คนดังนี้
- พลอากาศเอก จารึก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- คุณหญิงบุษยา ไกรฤกษ์
- พันตรี ภาดร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค (หม่อมหลวงมณีรัตน์ สนิทวงศ์) สมรสกับนายสุรเทิน บุนนาค มีบุตรธิดา ดังนี้
- พลตรีกรีเมศร์ บุนนาค
- พันโทสุรธัช บุนนาค
- อุบะ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
นามเดิม อุบะ เศวตะทัต บุตรี ขุนญาณอักษรนิติ (ผล) เศวตะทัต กับ หวั่น (บุญธร) เศวตะทัต มีบุตรธิดา 2 คน คือ
- หม่อมหลวงกมล สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงสารภี สนิทวงศ์ (ท่านผู้หญิงหม่อมหลวงสารภี มิ่งเมือง) สมรสกับนายวิเชียร มิ่งเมือง มีบุตร 2 คน ดังนี้
- นายกันตสรรค์ มิ่งเมือง
- นายภาสวงศ์ มิ่งเมือง
- บุตร-ธิดา ที่เกิดกับภรรยาอื่น ๆ ได้แก่ [20]
- หม่อมหลวงชื่น สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงทัยเกษม สนิทวงศ์
ยศ
แก้ยศพลเรือน
แก้- มหาอำมาตย์เอก[23]
ยศทหาร
แก้ยศเสือป่า
แก้- นายกองตรี
- นายกองโท[26]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้นายพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2457 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[27]
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[28]
- พ.ศ. 2452 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[29]
- พ.ศ. 2452 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[30]
- พ.ศ. 2462 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[31]
- พ.ศ. 2443 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[32]
- พ.ศ. 2442 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[33]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[34]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[35]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[36]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2452 – เข็มพระชนมายุสมมงคล ชั้นที่ 2 (ทองคำ)[37]
- พ.ศ. 2453 – เข็มสมุหมนตรี[38]
- พ.ศ. 2457 – เข็มพระบรมนามาภิธัยย่อ ว.ป.ร. ฝังเพ็ชร ชั้นที่ 1
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์:
- พ.ศ. 2432 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วาซา ชั้นที่ 3[39]
- เดนมาร์ก:
- พ.ศ. 2435 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 3[40]
- ญี่ปุ่น:
- พ.ศ. 2445 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 3[41]
- ฝรั่งเศส:
- พ.ศ. 2449 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 3[42]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ หนังสือ "ประวัตินายพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์)" โดยข้าราชการในกรมรถไฟ และกองทางกรมโยธาเทศบาล พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ระบุว่าเกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2409
- ↑ 2.0 2.1 เอนก นาวิกมูล. ลิ้นชักภาพเก่า ประมวลภาพ จากคอลัมน์เปิดกรุภาพเก่าในนิตยสารแพรวรายปักษ์ และคอลัมน์ลิ้นชักภาพเก่าในวิทยาจารย์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์วิญญูชน, พ.ศ. 2550. 392 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-94365-2-3
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-22. สืบค้นเมื่อ 2006-10-31.
- ↑ ข้าราชการในกรมรถไฟ และกองทางกรมโยธาเทศบาล, ประวัตินายพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์) , พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส 29 มีนาคม พ.ศ. 2484
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศ, เล่ม ๑๖, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๘, หน้า ๕๐๒
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบกิ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร เลื่อนยศหม่อมชาติเดชอุดม
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งรองเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เลื่อน แลตั้งกรม แลตั้งเจ้าพระยา เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ ง, ๑๑ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๓๐, หน้า ๕๐๒
- ↑ "พระราชทานยศทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 2020-06-21.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ผลัดเปลี่ยนเสนาบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงต่าง ๆ และรวมกระทรวง, เล่ม ๔๙, ตอน ๐ ก, ๒๙ มิถุนายน ๒๔๗๕, หน้า ๑๘๑
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-15. สืบค้นเมื่อ 2006-10-31.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-03. สืบค้นเมื่อ 2006-10-31.
- ↑ 20.0 20.1 อรวรรณ ทรัพย์พลอย. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ปราชญ์ผู้เป็นกำลังของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2552. 352 หน้า. ISBN 978-974-341-578-4
- ↑ หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์. [ม.ป.ท.] : ม.ป.พ., 2525. 126 หน้า.
- ↑ เสด็จฯ ดอย จดหมายเหตุรายวันคราประทับภูพิงคราชนิเวศน์ เชียงใหม่ พ.ศ. 2513. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชทานเพลิงศพท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ท.จ.ว., หน้า 14
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการกระทรวงเกษตราธิการ
- ↑ "พระราชทานยศทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 2020-06-21.
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๗๒, ๑๐ มกราคม ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๙๒, ๑๒ พฤศจิกายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๐๐, ๑๘ ธันวาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๓, ๑๙ มิถุนายน ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2022-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๑๙, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๔๔๖, ๑๑ พฤศจิกายน ๑๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๑๖ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๓๖๔, ๒๔ กันยายน ๑๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๓, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๒, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๒๖, ๒ มกราคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๓๓, ๖ มีนาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกรมพระอาลักษณ์ เรื่อง พระราชทานเข็มตั้งสมุหมนตรีครั้งแรก เก็บถาวร 2022-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๕, ๒๕ ธันวาคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๖ ตอนที่ ๔๕ หน้า ๓๙๑, ๙ กุมภาพันธ์ ๑๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๙ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๔๐๗, ๑๒ กุมภาพันธ์ ๑๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๓๖ หน้า ๖๓๒, ๖ ธันวาคม ๑๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๘๑๖, ๑๗ พฤศจิกายน ๑๒๖
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) |
เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ คนที่ 4 (พ.ศ. 2452 – พ.ศ. 2455) |
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ | ||
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน |
เสนาบดีกระทรวงเกษตรพาณิชยการ คนที่ 3 (10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476) |
พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) |