เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร

เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Pom Prap Sattru Phai
มุมมองเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายจากพระบรมบรรพต
มุมมองเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายจากพระบรมบรรพต
ตราอย่างเป็นทางการของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
ตรา
คำขวัญ: 
ย่านธุรกิจดัง คลังแห่งความรู้
สูงเลิศหรูภูเขาทอง วงเวียน 22 กรกฎา
เสริมศาสนาบ้านบาตร เชิดชูชาติมวยไทย
รวยน้ำใจหลายมูลนิธิ
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
พิกัด: 13°45′29″N 100°30′47″E / 13.75806°N 100.51306°E / 13.75806; 100.51306
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด1.931 ตร.กม. (0.746 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด38,100[1] คน
 • ความหนาแน่น19,730.71 คน/ตร.กม. (51,102.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10100
รหัสภูมิศาสตร์1008
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 50 ถนนศุภมิตร แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/pomprapsattruphai
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อกับเขตข้างเคียง ดังนี้

ที่มาของชื่อเขต

แก้

ชื่อเขต "ป้อมปราบศัตรูพ่าย" ตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ป้อมป้องกันข้าศึกที่ตั้งอยู่ใต้ตลาดนางเลิ้งบ้านญวน[3] ใกล้สะพานนพวงศ์[4] ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดป้อมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตลอดฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม (คูพระนครใหม่ในสมัยนั้น) ต่อมาเมื่อตัวเมืองขยายออกไปมากขึ้นและความจำเป็นในการป้องกันศัตรูด้วยป้อมปราการก็หมดไป ป้อมนี้จึงถูกรื้อลงพร้อมกับป้อมอื่น ๆ

ประวัติศาสตร์

แก้

อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย ตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงนครบาลเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2458[5] (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นอำเภอชั้นในอำเภอหนึ่งของกรุงเทพพระมหานคร (เปลี่ยนชื่อมาจากมณฑลกรุงเทพ) ตั้งที่ทำการอยู่บริเวณถนนหลวง หลังวัดเทพศิรินทราวาส ตำบลป้อมปราบศัตรูพ่าย[3] ต่อมาในวันที่ 21 ตุลาคม ปีเดียวกัน ได้มีประกาศกระทรวงนครบาลกำหนดเขตการปกครองในกรุงเทพพระมหานครขึ้นใหม่ โดยกำหนดให้อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายรวมอยู่ในท้องที่จังหวัดพระนคร[6]

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2469 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทางการได้เปลี่ยนแปลงฐานะเขตการปกครองขนาดเล็กที่มีอาณาเขตติดต่อกันใกล้ชิดในจังหวัดพระนคร เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายจึงถูกลดฐานะลงเป็น กิ่งอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย ขึ้นกับอำเภอสามยอด[7] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 ทางการได้ยุบกิ่งอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายลง ย้ายที่ว่าการอำเภอสามยอดไปตั้งทำการที่กิ่งอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย และเรียกชื่อว่า อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย[8] แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 22 ตำบล[9]

ใน พ.ศ. 2481 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) ทางการได้ปรับปรุงเขตการปกครองใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยให้ยุบรวมอำเภอที่มีขนาดเนื้อที่เล็กและจำนวนประชากรไม่มากเข้าด้วยกัน สำหรับอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายได้รับโอนพื้นที่ตำบลวัดโสมนัส ตลาดนางเลิ้ง และมหานาคจากอำเภอนางเลิ้งซึ่งถูกยุบลงในคราวนี้[10] และได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่สามแยกถนนหลานหลวงตัดกับถนนพะเนียง ตำบลวัดโสมนัส ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอนางเลิ้ง[9]

ใน พ.ศ. 2483 มีประกาศเปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ตำบลมหานาคและตลาดนางเลิ้งถูกยุบรวมเข้ากับตำบลวัดโสมนัส ตำบลบ้านบาตรถูกยุบไปรวมกับตำบลวัดเทพศิรินทร์และป้อมปราบศัตรูพ่าย ตำบลโรงเลี้ยงเด็กและสวนมะลิถูกยุบรวมเข้ากับตำบลวัดเทพศิรินทร์ และตำบลวรจักรถูกยุบรวมเข้ากับตำบลป้อมปราบศัตรูพ่าย[11] จากนั้นกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองในจังหวัดพระนครใหม่อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2490 ครั้งนี้กำหนดให้อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล[12]

ต่อมามีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีใน พ.ศ. 2514[9] ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายได้ย้ายที่ว่าการจากถนนหลานหลวงไปตั้งอยู่ที่ถนนศุภมิตร ตำบลวัดโสมนัส (ที่ตั้งปัจจุบัน)[3] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) ก็มีประกาศคณะปฏิวัติเปลี่ยนรูปแบบการบริหารเมืองหลวงใหม่อีกครั้งจากนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล[9] อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย นับแต่นั้น

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่น
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
ป้อมปราบ Pom Prap
0.535
12,308
23,005.61
 
2.
วัดเทพศิรินทร์ Wat Thep Sirin
0.347
5,721
16,487.03
3.
คลองมหานาค Khlong Maha Nak
0.448
8,073
18,020.09
4.
บ้านบาตร Ban Bat
0.251
5,743
22,880.48
5.
วัดโสมนัส Wat Sommanat
0.350
6,255
17,871.43
ทั้งหมด
1.931
38,100
19,730.71

ประชากร

แก้

การคมนาคม

แก้

ถนนสายหลักในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ได้แก่

สถานที่สำคัญ

แก้
 
ภูเขาทอง

ตลาด

แก้
  • ตลาดคลองถม เป็นตลาดนัดวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งส่วนมากจะขายเกี่ยวกับชิ้นส่วนไฟฟ้าราคาถูก
  • ตลาดโบ๊เบ๊ ตลาดที่ขายเสื้อผ้าราคาถูก
  • ตลาดนางเลิ้ง ตลาดบกแห่งแรกของไทย และเป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
  2. ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. สถิติจำนวนประชากรและบ้านในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามรายแขวงและเขต ณ เดือน ธันวาคม 2550. เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 21 กันยายน 2552.
  3. 3.0 3.1 3.2 สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย. "ประวัติสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001046&strSection=aboutus&intContentID=413 เก็บถาวร 2011-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2548. สืบค้น 22 กันยายน 2552.
  4. กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 180.
  5. "ประกาศยกเลิกอำเภอชั้นใน ๗ อำเภอ และตั้งอำเภอชั้นในขึ้นใหม่ ๒๕ อำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32: 335–348. 31 ตุลาคม 2458. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2009-09-25.
  6. "ประกาศกระทรวงนครบาล เรื่อง กำหนดเขตร์ท้องที่การปกครองกรุงเทพพระมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32: 325–334. 31 ตุลาคม 2458.
  7. "ประกาศ เรื่องยุบเลิกอำเภอและลดลงเปนกิ่งในจังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42: 431–432. 31 มีนาคม 2468.
  8. "ประกาศ เรื่องยุบรวมอำเภอและเลิกกิ่งอำเภอในจังหวัดพระนครและธนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 45: 360–361. 17 มีนาคม 2471.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. "วิวัฒนาการของกรุงเทพมหานคร". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.230/passbkk/frame.asp เก็บถาวร 2009-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 22 กันยายน 2552.
  10. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยุบรวมอำเภอ และยุบอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22: 1840–1842. 29 สิงหาคม 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2009-09-25.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตต์ตำบลและอำเภอในจังหวัดพระนครและธนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57: 2598–2606. 29 ตุลาคม 2483.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตต์ตำบลในจังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (62): 3433–3469. 23 ธันวาคม 2490.
  13. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°45′29″N 100°30′47″E / 13.758°N 100.513°E / 13.758; 100.513