สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์
ยินดีต้อนรับ | ||||||||||
|
บทความที่คุณสุ่มได้
สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ในรัชกาลที่ ๕ หรือที่ถวายเรียกกันว่า เสด็จพระนาง เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาสำลี แห่งสกุลบุนนาค เมื่อวันศุกร์ เดือน ๗ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีระกาตรีศก จ.ศ. ๑๒๒๓ (๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๐๔) ทรงร่วมเจ้าจอมมารดากับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบงเบิกบาน และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี หรือเสด็จอธิบดี ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น พระราชเทวี ในรัชกาลที่ ๕
พระองค์เป็นพระมารดาของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ซึ่งทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก (ชั้นทูลกระหม่อม) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์แรกที่มีพระชนม์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต อ่านต่อ...
รู้หรือไม่ที่คุณสุ่มได้
ปริศนาประวัติศาสตร์
หากคุณตอบคำถามของเราได้ทุกข้อ เราขอปรบมือให้ :
พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใดทรงโปรดให้สร้างหอนาฬิกาแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น และหอนาฬิกานั้นถูกสร้างก่อนหอนาฬิกาบิกเบนกี่ปี
เรือไททานิกจมลง ก่อน หรือ หลัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก และ เหตุการณ์นั้นเกิด ก่อน หรือ หลัง ที่พระองค์เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก กี่ปี
ภาพที่คุณสุ่มได้
ภาพคณะราชทูตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2229ที่พระราชวังแวร์ซายส์ ณ กรุงปารีส คณะราชทูตกำลังเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสอยู่
ดัชนีช่วยค้นหา
- การบุกครองโปแลนด์
- จักรพรรดินโปเลียนที่ 1
- ไดโนเสาร์
- ราชวงศ์ชิง
- สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้
- สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
- สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
คุณทำได้
นี่คือส่วนหนึ่งที่คุณทำได้
- บทความที่ต้องการ ประวัติศาสตร์กรีก ^ ประวัติศาสตร์อเมริกาเหนือ ^ ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้ ^ ประวัติศาสตร์แอฟริกา ^ ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย ^ ประวัติศาสตร์แอนตาร์กติกา ^ ประวัติศาสตร์อารก์ติก ^ แฝดสยาม อิน-จัน ^
- บทความที่ควรมี พญางำเมือง
- โครง กษัตริย์แห่งยูดาห์ การชุมนุมประท้วงที่จตุรัสเทียนอันเหมิน การปฏิวัติทางวัฒนธรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติอเมริกา มหาราช ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร พระสังฆราชปาลเลอกัวซ์ พระมหาเถรศรีศรัทธา พระองค์เจ้าขุนเณร ฯลฯ
- ในชีวิตจริง ร่วมอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ไทยไม่ให้คนรุ่นหลังลืม ช่วยกันรณรงค์ให้ทุกคนที่ไม่ชอบประวัติศาสตร์หันมาเปิดใจ
- หรือดูรายละเอียดที่ สารานุกรมประวัติศาสตร์
เจ้าฟ้ามหานคร กิตติชยกร ราชสำนักหลวง
ตอบข้อสงสัย
- คำถาม : ประวัติศาสตร์ อ่านอย่างไรจึงจะถูกกันแน่ ?
- คำตอบ : คำว่า ประวัติศาสตร์ เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า ประวัติ และคำว่า ศาสตร์ ตามกฎของคำสมาสแล้ว สระอิบนต.เต่า จะต้องออกเสียงด้วย ดังเห็นได้จากคำว่า เกียรติภูมิ อ่านว่า เกียด-ติ-พูม ไม่ใช่ เกียด-พูม คำว่า อุบัตเหตุ อ่านว่า อุ-บัด-ติ-เหด ไม่ใช่ อุ-บัด-เหด ฉันใดก็ฉันนั้น คำว่า ประวัติศาสตร์จึงควรอ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด ตามหลักภาษาไทย แต่ต่อมาได้มีการอนุโลมให้อ่านว่า ประ-หวัด-สาด ได้
ในโอกาสต่อ ๆ ไป หากมีคำถามไหนน่าสนใจ จะถูกนำขึ้นมาแสดงไว้ ณ ที่นี้
วันนี้ในอดีต
11 พฤศจิกายน: วันประกาศเอกราชในโปแลนด์ (พ.ศ. 2461) และแองโกลา (พ.ศ. 2518); วันสงบศึกในทวีปยุโรป; วันทหารผ่านศึกในสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2218 (ค.ศ. 1675) – ก็อทฟรีท ไลบ์นิทซ์ (ในภาพ) ผู้รู้รอบด้านชาวเยอรมัน แสดงการคำนวณพื้นที่ใต้กราฟของฟังก์ชัน y = f(x) โดยใช้ปฏิยานุพันธ์เป็นครั้งแรก
- พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) – จักรวรรดิเยอรมันและฝ่ายสัมพันธมิตรลงนามสนธิสัญญาสงบศึกในป่ากงเปียญ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งยุติการรบบนแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) – สงครามโลกครั้งที่สอง: ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะฝ่ายอักษะที่ยุทธการที่อัลอะละมัยน์ครั้งที่สอง ประเทศอียิปต์ พลิกกระแสในการทัพแอฟริกาเหนือโดยยุติความหวังของฝ่ายอักษะในการควบคุมคลองสุเอซและเข้าถึงทุ่งน้ำมันตะวันออกกลาง
- พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) – ความพยายามรัฐประหารของกองทัพสาธารณรัฐเวียดนามต่อประธานาธิบดีโง ดิ่ญ เสี่ยม ประสบความล้มเหลว
- พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) – เอียน สมิท นายกรัฐมนตรีเซาเทิร์นโรดีเชีย ประกาศอิสรภาพฝ่ายเดียวจากสหราชอาณาจักร เป็นประเทศโรดีเชีย
ดูเพิ่ม: 10 พฤศจิกายน – 11 พฤศจิกายน – 12 พฤศจิกายน
<< | พฤศจิกายน | >> | ||||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส | ||
1 | 2 | |||||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | ||
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | ||
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | ||
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | ||
พ.ศ. 2567 |
หมวดหมู่ | ||||||||||
|
โครงการวิกิมีเดียที่เกี่ยวข้อง | ||||||||||||||||||
|