สถานีย่อย:แพทยศาสตร์

ฉันชอบวิชาปกครอง แต่ฉันไม่เรียน เพราะวิชาดังกล่าวเป็นวิชาที่ฉันมองเห็นว่าล้วนแต่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนยังความทุกข์ร้อนให้แก่ผู้อื่น ฉันเกิดเป็นคนควรจะทำตนให้มีค่า หมายถึงว่าทำตนให้เป็นที่หลั่งออกซึ่งประโยชน์ต่อผู้อื่น ให้ผู้อื่นได้รับความสุขจากเรา ฉะนั้น ฉันจึงเลือกเรียนวิชาแพทยศาสตร์

— พระราชดำรัส สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย
แก้ไข   

ส ถ า นี ย่ อ ย : แ พ ท ย ศ า ส ต ร์
P o r t a l : M e d i c i n e

ยินดีต้อนรับสู่ สถานีย่อย:แพทยศาสตร์
สารานุกรมเสรีทางการแพทย์ในภาษาไทยที่ทุกคนร่วมสร้างได้
ก่อตั้งเมื่อ 17 เมษายน 2551

แพทยศาสตร์ เป็นสาขาของวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการดูแลและรักษาสุขภาพของมนุษย์ โดยผ่านการศึกษา การวินิจฉัยและการเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย ซึ่งต้องใช้ทั้งความรู้เกี่ยวกับระบบต่างๆ ของร่างกายและความรู้เกี่ยวกับโรค รวมทั้งทักษะประยุกต์อย่างสูง

แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์เก่าแก่ที่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค


สารบัญหน้านี้: บทความแนะนำ | ภาพแนะนำ | รู้ไหมว่า... | คุณช่วยเราได้ | หัวข้อที่สำคัญ | หมวดหมู่ในแบบแผนภูมิต้นไม้ | โครงการวิกิพีเดียที่เกี่ยวข้อง | แพทยศาสตร์ในโครงการวิกิมีเดียอื่นๆ | สถานีย่อยอื่น ๆ
โครงการวิกิพีเดียที่เกี่ยวข้อง: โครงการวิกิแพทยศาสตร์ | โครงการวิกิกายวิภาคศาสตร์
สุ่มบทความและภาพแนะนำอื่นๆ/ล้างเซิร์ฟเวอร์แคช
แก้ไข   

บทความแนะนำ

ภาพกล้องจุลทรรศน์ของมะเร็งท่อน้ำดีชนิดในตับ (ซีกขวาของภาพ) เทียบกับเซลล์ตับปกติ (ซีกซ้าย) สีย้อมเอชแอนด์อี
ภาพกล้องจุลทรรศน์ของมะเร็งท่อน้ำดีชนิดในตับ (ซีกขวาของภาพ) เทียบกับเซลล์ตับปกติ (ซีกซ้าย) สีย้อมเอชแอนด์อี

มะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดกับท่อน้ำดี อาการของโรค เช่น ปวดท้อง ดีซ่าน น้ำหนักลด คันทั่วร่าง และไข้ นอกจากนี้ อาจพบว่าอุจจาระสีจางและปัสสาวะสีเข้ม มะเร็งในตำแหน่งอื่น ๆ ที่นับเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ได้แก่ มะเร็งถุงน้ำดี และมะเร็งของกระเปาะของวาเตอร์ ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งท่อน้ำดี เช่น ท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิ ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล ตับแข็ง ตับอักเสบซี ตับอักเสบบี การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับบางชนิด และการผิดรูปของตับบางชนิด การวินิจฉัยเป็นการตั้งข้อสงสัยโดยอาศัยการทดสอบเลือด การถ่ายภาพทางการแพทย์ การส่องกล้องลำไส้ และบางทีรวมถึงการสำรวจโดยผ่าตัด ยืนยันโรคโดยการตรวจสอบเซลล์จากเนื้องอกภายใต้กล้องจุลทรรศน์ มะเร็งท่อน้ำดีพบน้อยในโลกตะวันตก โดยมีอุบัติการณ์ต่อปีประมาณ 0.5–2 ต่อ 100,000 คนในโลกตะวันตก แต่อุบัติการณ์ของมะเร็งท่อน้ำดีในไทยกลับมีสูงมากที่สุดในโลก ในบางพื้นที่สูงถึง 60 ต่อ 100,000 คนต่อปี อ่านต่อ...

แก้ไข   

ภาพแนะนำ

คาริโอไทป์ของมนุษย์ โดยใช้สีเพื่อแยกโครโมโซมแต่ละคู่

ทีมาของภาพ: nih.gov

แก้ไข   

รู้ไหมว่า...

แก้ไข   

คุณช่วยเราได้


นี่คือส่วนหนึ่งที่ คุณทำได้ คุณสามารถมีส่วนร่วมพัฒนาสถานีย่อยนี้ได้ อย่าลังเล!

ดูเพิ่มเติมได้ ที่หน้าโครงการวิกิแพทยศาสตร์

แก้ไข   

หัวข้อที่สำคัญ

กายวิภาคศาสตร์

การแพทย์เฉพาะทาง

นิติเวชศาสตร์

Caduceo โรค

วิชาชีพทางด้านสาธารณสุข

การรักษาทางการแพทย์

เภสัชวิทยา

คณะแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

แก้ไข   

หมวดหมู่ในแบบแผนภูมิต้นไม้

แก้ไข   

โครงการวิกิพีเดียที่เกี่ยวข้อง


ใน สถานีย่อย:แพทยศาสตร์ แห่งนี้ มีหน้าโครงการที่ทำหน้าที่บริหารเฉพาะในการจัดการบทความเกี่ยวกับแพทยศาสตร์ ซึ่งคุณสามารถเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้ โดยการศึกษานโยบาย แนวทางการเขียนบทความที่ถูกต้อง และเข้าร่วมกิจกรรมที่คุณสามารถช่วยเหลือเราได้! ในหน้าโครงการดังนี้

แก้ไข   

แพทยศาสตร์ในโครงการวิกิมีเดียอื่นๆ

wikt: วิกิพจนานุกรม
พจนานุกรมและอรรถาภิธานการแพทย์
b: วิกิตำรา
ตำราและคู่มือวิทยาศาสตร์สุขภาพ
q: วิกิคำคม
คำคม สุภาษิตเกี่ยวกับการแพทย์
s: วิกิซอร์ซ
เอกสารต้นฉบับเกี่ยวกับการแพทย์
n: วิกิข่าว
ข่าวเกี่ยวกับสุขภาพ
commons:หน้าหลัก คอมมอนส์
สื่อเกี่ยวกับการแพทย์
แก้ไข   

สถานีย่อยอื่น ๆ

สถานีย่อยคืออะไร?