ทิวเขาภูพาน
ทิวเขาภูพาน เป็นระบบทิวเขาหินปูนขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ทิวเขาเริมต้นจากอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีพาดตัวยาวไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้จนถึงเขตอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีความยาว 250 กิโลเมตร มีพื้นที่กว้างสุด 90 กิโลเมตร ระหว่างภูหินปูนในอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร กับภูผานาในอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม [1]
ทิวเขาภูพาน | |
---|---|
ทิวเขาภูพาน วิวจากวัดถ้ำคำ | |
จุดสูงสุด | |
ยอด | ภูลังกา |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 624 เมตร (2,047 ฟุต) |
พิกัด | 16°46′22″N 104°21′45″E / 16.77278°N 104.36250°E |
ข้อมูลเชิงขนาด | |
ยาว | 180 กม. (112 ไมล์) NW/SE |
กว้าง | 50 กม. (31 ไมล์) NE/SW |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ประเทศ | ประเทศไทย |
รัฐ/จังหวัด | จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร |
ข้อมูลทางธรณีวิทยา | |
อายุหิน | ยุคครีเทเชียสตอนต้น |
ประเภทหิน | หินทราย และ หินทรายแป้ง |
ทิวเขาแห่งนี้ได้แบ่งที่ราบในภาคอีสานออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ ที่ราบโคราชที่ราบอุบลอยู่ทางตอนใต้ กับ ที่ราบอุดรที่ราบนครพนมอยู่ทางตอนเหนือ [1][2] อุทยานแห่งชาติภูพานเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาภูพาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอพรรณานิคม, อำเภอเมือง, อำเภอกุดบาก, อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร และอำเภอสมเด็จ, อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์
ทิวเขาภูพานเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการลักลอบตัดไม้พะยูงอย่างผิดกฎหมาย แม้ว่าจะถูดจดให้เป็นไม้หวงห้ามอย่างเป็นทางการ แต่ก็ยังมีการแอบตัดและซื้อขายต้นพะยูงใกล้สูญพันธุ์ในเขตป่าภูเขาของประเทศไทยแม้แต่ในป่าอนุรักษ์ [3][4]ประเทศไทยและประเทศจีนไม้พะยูงถือว่ามีมูลค่าสูงในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
ศัพทมูลวิทยา
แก้ชื่อของภูพานมาจากลักษณะของภูเขาที่คล้ายกับเขารูปโต๊ะ เนื่องจากคำว่า "พาน" คือภาชนะประเภทถาดซึ่งเหมือนกับภูพานที่เป็นเขายอดตัด
คำว่า "ภู" ในภาษาอีสานและภาษาลาวหมายความว่า "ภูเขา" ในภาษาไทย
ภูมิศาสตร์
แก้ทิวเขาภูพานมีลักษณะเป็นเขาขนาดใหญ่อยู่ทางด้านใต้ของจังหวัดสกลนครส่วนของทิวเขาที่พาดตัวไปทางทิศตะวันออกมีอยู่ 4 แนวคือ [1]
- แนวที่ 1 เริ่มจากแนวลำห้วยบางทรายไปจนถึงภูพระบาท ห่างจากแม่น้ำโขง 4 กิโลเมตร บริเวณทิวเขาที่พาดตัวช่วงนี้มียอดเขาสูงระหว่าง 200 - 600 เมตรและกว้างประมาณ 2 กิโลเมตร
- แนวที่ 2 เป็นแนวระหว่างห้วยบางทรายกับห้วยมุก ห่างจากแม่น้ำโขง 10 กิโลเมตร เป็นแนวที่ติดกันโดยตลอด มียอดสูงระหว่าง 300 - 500 เมตร
- แนวที่ 3 เป็นแนวระหว่างห้วยมุกกับห้วยบังอี่ในจังหวัดมุกดาหารทอดตัวไปทางตะวันออกจนถึงแม่น้ำโขงบริเวณแนวภูเขาด้านตะวันออกจะไม่ปะติดปะต่อกันมีความสูงของยอดเขา ประมาณ 200 - 400 เมตร
- แนวที่ 4 เป็นแนวที่อยู่ทางใต้แนวที่สามลงมาบริเวณด้านตะวันออกคล้ายกับแนวที่สามคือภูเขาจะไม่ปะติดปะต่อกันมีที่ราบคั่นเป็นตอน ๆ ทอดยาวลักษณะนี้ไปจนถึงแม่น้ำโขงในเขตอำเภอโขงเจียม ทิวเขานี้จะปันน้ำให้ทั้งแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูล
ยอดเขาที่สูงที่สุดของทิวเขาภูพานคือภูลังกาอยู่ในจังหวัดนครพนมมีความสูง 641 เมตร [5] โดยมียอดเขาสำคัญ ๆ อื่น ๆ ได้แก่ภูไม้เฮี๊ยะอยู่ในจังหวัดมุดดาหารมีความสูง 624 เมตร[6] เนินเขาส่วนใหญ่ถูกลักลอบตัดไม้ทำลายป่า แต่ก็ยังมีป่าเบญจพรรณกระจายอยู่ทั่วทิวเขา[7]
ในภูพานมีสถานที่เที่ยวที่โด่งดังเช่นพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เขื่อนน้ำอูน และยังมีสถานที่เที่ยวในท้องถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ทะเลสาบหนองหาน และพระธาตุภูเพ็กซึ่งเป็นเจดีย์รูปแบบขอมขนาดใหญ่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16[8][9]
ประวัติศาสตร์
แก้การเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
แก้ภูพานเป็นสัญลักษณ์และสมรภูมิการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับฝ่ายรัฐบาลไทยโดยมีเหตุการณ์ที่สำคัญคือ "วันเสียงปืนแตก" เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2508 เป็นการปะทะด้วยกำลังอาวุธครั้งแรก ที่บ้านนาบัว ตำบลเรณูนคร อำเภอพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ระหว่างปี พ.ศ. 2508 - 2509 การเคลื่อนไหวทางการเมืองและการก่อการกำเริบของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในภาคอีสานค่อนข้างชัดเจนเปิดเผยและมีความรุนแรงกว่าภาคอื่น ๆ และการเคลื่อนไหวในภาคอีสานนี้มีมวลชนเป็นแนวร่วมค่อนข้างมาก[10]
ก่อนเหตุการณ์เสียงปืนแตกที่บ้านนาบัวพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้เริ่มเคลื่อนไหวปฏิบัติงานจริงจังบริเวณทิวเขาเขาภูพานมาตั้งแต่ พ.ศ. 2504 หลังจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และมีการจับกุมผู้เห็นต่างครั้งใหญ่ด้วยข้อกล่าวหาว่า "การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์" ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ทำให้ปัญญาชนในยุคนั้นต้องปรับแนวความคิดใหม่ การตั้งข้อหาในลักษณะนี้ส่วนสำคัญในการผลักดันให้ปัญญาชนจำนวนหนึ่งมุ่งสู่ป่าบนทิวเขาภูพาน และต่อสู้อย่างต่อเนื่องยาวนานด้วยยุทธศาสตร์ "ป่านำบ้าน"[10]
เสรีไทย
แก้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองทิวเขาภูพานเคยเป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ของขบวนการเสรีไทยเพื่อใช้สำหรับต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น ปัจจุบันในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนครมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์คือถ้ำเสรีไทยอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือ 4.5 กิโลเมตร [10]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "ภูมิศาสตร์ประเทศไทย". web.archive.org. 17 July 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-17. สืบค้นเมื่อ 16 March 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Schuler, Ulrich. "NE-Thailand (Isan)". Geosciences. สืบค้นเมื่อ 23 July 2017.
- ↑ Fredrickson, Terry (2011-09-19). "Forest robbery". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 10 November 2015.
- ↑ Waewkraihong, Jakkrit (6 Feb 2013). "Cambodians caught for phayung smuggling". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 10 November 2015.
- ↑ "PHU LANGKA NATIONAL PARK". Tourism Authority of Thailand (TAT). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-23. สืบค้นเมื่อ 23 July 2017.
- ↑ "Phu Mai Hia". getamap.net. สืบค้นเมื่อ 23 July 2017.
- ↑ Phu Kao - Phu Phan Kham National Park เก็บถาวร 2012-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Nam Un Dam เก็บถาวร 2012-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "พระธาตุภูเพ็ก". Tourism Authority of Thailand (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 March 2024.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "จาก 7 สิงหา 'เสียงปืนแตก' ถึงปัจจุบันของ 'คนกับป่า' ที่ 'ภูพาน'". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 22 March 2024.