บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. (อังกฤษ: The Transport Company Limited) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัด กระทรวงคมนาคม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 จัดตั้งโดยประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ในชื่อว่า บริษัท เดินอากาศ จำกัด โดยเป็นผู้บุกเบิกริเริ่มการบินพาณิชย์ในประเทศเป็นรายแรก และเดินรถยนต์โดยสารสายกรุงเทพฯ - ลพบุรี , กรุงเทพฯ - ปราจีนบุรี ต่อมาสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเป็นรัฐวิสาหกิจและเปลี่ยนชื่อเป็น ''บริษัทขนส่ง จำกัด'' (บขส.) เมื่อปี พ.ศ. 2481

บริษัท ขนส่ง จำกัด
ชื่อท้องถิ่น
The Transport Company Limited
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
อุตสาหกรรมการเดินทาง
ก่อนหน้าบริษัท เดินอากาศ จำกัด
ก่อตั้ง13 กรกฎาคม พ.ศ. 2473; 94 ปีก่อน (2473-07-13)
สำนักงานใหญ่เลขที่ 999 ถนนกำแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
จำนวนที่ตั้ง
  • รถโดยสาร 800 คัน
  • สถานีขนส่ง 7 แห่ง
  • สถานีเดินรถ 117 สาขา
พื้นที่ให้บริการประเทศไทย
บุคลากรหลักสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ (ประธานกรรมการ)
อรรถวิท รักจำรูญ
(รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่)
ผลิตภัณฑ์รถโดยสารประจำทาง
บริการการเดินรถ
รายได้เพิ่มขึ้น 1,887,460,120 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 1,675,205,593 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
รายได้สุทธิ
ลดลง 283,186,411 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
ทรัพย์สินสุทธิลดลง 416,292,952 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
สินทรัพย์ลดลง 2,200,656,417 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง 72,387,154 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
เจ้าของกระทรวงการคลัง
(99.6855 %)
พนักงาน
2,433 คน (พ.ศ. 2566)[1]
บริษัทแม่กระทรวงคมนาคม
เว็บไซต์เว็บไซต์ของบริษัท
เชิงอรรถ / อ้างอิง
ข้อมูลรัฐวิสาหกิจ
ภาพรวมการ
งบประมาณต่อปี39,029,400 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
สัญลักษณ์แบบดั้งเดิมของบริษัท ขนส่ง จำกัด ซึ่งปัจจุบันพบเห็นได้ตามรถโดยสารที่ให้บริการโดย บขส.

ปี พ.ศ. 2490 รัฐบาลแยกกิจการการบินภายในประเทศออกจากบริษัทฯ ต่อมาปี พ.ศ. 2491 บริษัทฯ เริ่มกิจการเรือโดยมีเรือทั้งสิ้น 48 ลำ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 มีกิจการเดินเรือทั้งสิ้นจำนวน 18 สายและมี 4 สาขา คือ สาขาท่าเตียน สาขาปากน้ำโพ - นครสวรรค์ สาขาแปดริ้ว และสาขาอยุธยา อย่างไรก็ตามการสร้างเขื่อนชัยนาททำให้แม่น้ำเจ้าพระยาบางตอนต้นเขิน ทำให้การเดินเรือไม่สะดวก บริษัทฯ จึงเลิกเรือในปีนั้นเอง

การดำเนินงาน

แก้

บริษัทขนส่ง จำกัด เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดของ กระทรวงคมนาคมจัดตั้งโดยประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ และดำเนินการในด้านการบริการขนส่งผู้โดยสารรถประจำทางระหว่างกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดต่างๆ ระหว่างจังหวัดและภายในจังหวัดและให้เอกชนเข้ามามีส่วนดำเนินการในรูปของ รถร่วมเอกชนวิ่งในเส้นทางที่ บขส. ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง จากการที่รัฐบาลได้มอบหมายให้บริษัทขนส่ง จำกัด ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการจัดระเบียบรวมทั้งการให้บริการด้านสถานีขนส่งผู้โดยสารทำให้สามารถแบ่งขอบเขตการดำเนิน งานธุรกิจได้เป็น 3 ธุรกิจ คือ

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้