ภาษาลาว
ภาษาลาว (ลาว: ລາວ, [láːw] หรือ ພາສາລາວ, [pʰáː.sǎː láːw]) เป็นภาษาตระกูลขร้า-ไทของชาวลาว โดยมีผู้พูดในประเทศลาว ซึ่งมีสถานะเป็นภาษาทางการของประชากรประมาณ 7 ล้านคน และในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่มีผู้พูดประมาณ 23 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เรียกเป็นภาษาอีสาน ภาษาลาวเป็นภาษากลางของพลเมืองในประเทศลาวที่มีภาษาอื่น ๆ ประมาณ 90 ภาษา โดยภาษาส่วนใหญ่ไม่มีความเกี่ยวโยงกับภาษานี้[3]
ภาษาลาว | |
---|---|
ພາສາລາວ | |
ออกเสียง | pʰáː.sǎː láːw |
ประเทศที่มีการพูด | ลาว ไทย (ภาคอีสาน) กัมพูชา (สตึงแตรง, พระวิหาร และรัตนคีรี) พม่า (เชียงลาบ) |
ชาติพันธุ์ | ชาวลาว ชาวอีสาน |
จำนวนผู้พูด | 30 ล้านคน[1] (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | ขร้า-ไท
|
ภาษาถิ่น | ลาวเหนือ (ลาวหลวงพระบาง)
ลาวตะวันออกเฉียงเหนือ
ลาวกลาง (พวน)
ลาวใต้
ลาวตะวันตก
|
ระบบการเขียน | อักษรลาวในประเทศลาว อักษรไทยในประเทศไทย อักษรเบรลล์ไทยและลาว |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ลาว
อาเซียน[2] |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ไทย กัมพูชา |
ผู้วางระเบียบ | สถาบันค้นคว้าวิทยาศาสตร์การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา และ สถาบันสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | lo |
ISO 639-2 | lao |
ISO 639-3 | อย่างใดอย่างหนึ่ง:lao – ภาษาลาวtts – ภาษาอีสาน |
Linguasphere | 47-AAA-c |
ภาษาลาวเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์และแยกหน่วยคำเหมือนกับภาษาตระกูลขร้า-ไทอื่น ๆ และภาษาจีนกับภาษาเวียดนาม[4] ภาษานี้สามารถเข้าใจระหว่างกันกับภาษาไทยและภาษาอีสาน ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้เช่นกัน จนถึงขั้นที่ว่าผู้พูดสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ ภาษาเหล่านี้เขียนด้วยอักษรที่ต่างกันแต่มีความคล้ายคลึงทางภาษาและก่อให้เกิดความต่อเนื่องของภาษา[5]
ถึงแม้ว่าภาษาลาวยังไม่มีรูปแบบมาตรฐานก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 สำเนียงเวียงจันทน์กลายเป็นรูปแบบมาตรฐานโดยพฤตินัยในประเทศลาว และสำเนียงขอนแก่นกลายเป็นรูปแบบมาตรฐานโดยพฤตินัยในภาคอีสาน[6]
การจำแนก
แก้ขร้า-ไท |
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สำเนียงภาษาถิ่น
แก้สำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวสามารถแบ่งได้ 6 สำเนียงใหญ่ คือ:
- ภาษาลาวเวียงจันทน์ (เวียงจันทน์, แขวงบอลิคำไซ; จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดหนองคาย, จังหวัดบึงกาฬ, จังหวัดหนองบัวลำภู, และบางส่วนของจังหวัดขอนแก่น,จังหวัดอุดรธานี,จังหวัดกาฬสินธุ์)
- ภาษาลาวเหนือ (แขวงหลวงพระบาง, แขวงไชยบุรี, แขวงอุดมไซ, แขวงหลวงน้ำทา,แขวงบ่อแก้ว; จังหวัดเลย และบางส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์,จังหวัดพิษณุโลก , จังหวัดเพชรบูรณ์ , จังหวัดขอนแก่น , จังหวัดชัยภูมิ , จังหวัดหนองคาย , จังหวัดอุดรธานี )
- ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ (แขวงเชียงขวาง, แขวงหัวพัน บางส่วนของจังหวัดอุดรธานี,จังหวัดสกลนคร)
- ภาษาลาวกลาง (แขวงคำม่วน, แขวงสุวรรณเขต; จังหวัดสกลนคร, จังหวัดนครพนม, จังหวัดมุกดาหาร และบางส่วนของจังหวัดบึงกาฬ)
- ภาษาลาวใต้ (แขวงจำปาศักดิ์, แขวงสาละวัน, แขวงเซกอง, แขวงอัตตะปือ; จังหวัดสตึงแตรง; จังหวัดอุบลราชธานี, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดยโสธร, จังหวัดอำนาจเจริญ และบางส่วนของจังหวัดสุรินทร์)
- ภาษาลาวร้อยเอ็ดหรือภาษาอีสาน (ไม่มีใช้ในประเทศลาว) จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดกาฬสินธุ์, จังหวัดอุดรธานี, จังหวัดบุรีรัมย์ และบางส่วนของจังหวัดหนองคาย, จังหวัดสุรินทร์, จังหวัดนครราชสีมา)
ทางการประเทศลาวไม่ได้กำหนดให้สำเนียงถิ่นใดเป็นสำเนียงภาษากลาง แต่การใช้ภาษาลาวอย่างเป็นทางการ เช่น ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศลาว สถานีวิทยุแห่งประเทศลาว จะใช้สำเนียงเวียงจันทน์ซึ่งเป็นสำเนียงของคนเมืองหลวง สามารถเข้าใจกันได้ทั่วประเทศ การเรียนภาษาลาวในประเทศลาวนั้น รัฐบาลลาวไม่ได้บังคับให้ใช้สำเนียงเวียงจันทน์ แต่ให้สามารถใช้สำเนียงท้องถิ่นต่าง ๆ ได้ แต่การเรียนภาษาลาวสำหรับชาวต่างประเทศ รัฐบาลลาวแนะนำให้ใช้สำเนียงเวียงจันทน์ ฉะนั้นประชาชนในประเทศลาวจึงพูดอ่านภาษาลาวเป็นสำเนียงท้องถิ่นของตน แต่ประชาชนก็สามารถฟังเข้าใจได้ทุกสำเนียงทั่วประเทศ แม้จะพูดภาษาต่างสำเนียงกันก็ตาม
ส่วนในประเทศลาว นอกจากสำเนียงถิ่นใหญ่แล้วยังมีสำเนียงแตกออกไปอีกหลายสำเนียงย่อย เช่น ภาษาลาวใต้ถิ่นสาละวัน ภาษาลาวกลางถิ่นสุวรรณเขต สำเนียงย่อยถิ่นเมืองอาดสะพังทอง ถิ่นเมืองจำพอน ภาษาเวียงจันทน์ถิ่นเมืองปากงึม ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษาลาวใต้ถิ่นจำปาศักดิ์ในจังหวัดพระวิหาร สตึงแตรง และรัตนคีรีของประเทศกัมพูชาด้วย
ในประเทศไทยจะพบภาษาลาวถิ่นอีสาน หรือถิ่นร้อยแก่นสารสินในฐานะภาษากลาง โดยสื่อส่วนใหญ่จะมาจากภาษาลาวถิ่นนี้
ระบบเสียง
แก้พยัญชนะ
แก้พยัญชนะต้น
แก้พยัญชนะต้นภาษาลาวสำเนียงเวียงจันทน์มี 21 เสียงดังนี้
ริมฝีปากทั้งสอง | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||
---|---|---|---|---|---|---|
เสียงนาสิก | [m] ມ, ໝ |
[n] ນ, ໜ |
[ɲ] ຫຍ |
[ŋ] ງ |
||
เสียงกัก | ก้อง | [b] ບ |
[d] ດ |
|||
ไม่ก้อง ไม่มีลม | [p] ປ |
[t] ຕ |
[k] ກ |
[ʔ] ອ* | ||
ไม่ก้อง พ่นลม | [pʰ] ຜ, ພ |
[tʰ] ຖ, ທ |
[kʰ] ຂ, ຄ |
|||
เสียงระเบิด | [tɕ] ຈ |
|||||
เสียงแทรก | [f] ຝ, ຟ |
[s] ສ, ຊ |
[h] ຫ, ຮ | |||
เสียงเปิด | [r] ຫຼ[7] |
[j] ຢ |
[w] ວ |
|||
เสียงเปิดข้างลิ้น | [l] ລ, ຫຼ |
- * ອ /ʔ/ ที่เป็นพยัญชนะต้นหมายถึงเสียงเงียบ และดังนั้นมันจึงถูกพิจารณาว่าเป็นเสียงกัก เส้นเสียง
- - ຫຼ ส่วนใหญ่คือเสียง ຫລ แต่สามารถใช้กับ ຫຣ ได้
- ทั้งนี้จะไม่มีเสียงในพยัญชนะบางตัวเพราะไม่มีปรากฏใช้คำเหล่านั้น เช่น ຮ , ຍ
- - ຣ ไม่ค่อยมีปรากฏใช้เป็นทางการ ออกเสียงเหมือน ລ ทั้งนี้ยังใช้แทนเสียง ຮ ได้
- - ຍ ในที่นี้จะไม่มีเสียงของ แต่เป็นแทนรูปเป็น ຢ เพราะเสียงเหมือน ຢ จึงไม่ค่อยปรากฏและไม่ใช่เป็นทางการ เทียบได้กับเสียง ย หรือ ญ ภาษาไทย
พยัญชนะต้นภาษาลาวสำเนียงขอนแก่นมี 20 เสียงดังนี้
ริมฝีปากทั้งสอง | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||
---|---|---|---|---|---|---|
เสียงนาสิก | [m] ม |
[n] น |
[ɲ] ญ |
[ŋ] ง |
||
เสียงกัก | ก้อง | [b] บ |
[d] ด |
|||
ไม่ก้อง ไม่มีลม | [p] ป |
[t] ต |
[k] ก |
[ʔ] อ* | ||
ไม่ก้อง พ่นลม | [pʰ] ผ, พ |
[tʰ] ถ, ท |
[kʰ] ข, ค |
|||
เสียงระเบิด | [tɕ] จ |
|||||
เสียงแทรก | [f] ฝ, ฟ |
[s] ส, ซ |
[h] ห, ฮ | |||
เสียงเปิด | [w] ว |
[j] ย |
||||
เสียงเปิดข้างลิ้น | [l] ร, ล |
พยัญชนะสะกด
แก้ริมฝีปาก ทั้งสอง |
ริมฝีปากล่าง -ฟันบน |
ปุ่มเหงือก | หลังปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เสียงนาสิก | [m] ມ |
[n] ນ |
[ŋ] ງ |
|||||||
เสียงกัก | [p̚] ບ |
[t̚] ດ |
[k̚] ກ |
[ʔ] * | ||||||
เสียงเปิด | [w] ວ |
[j] ຍ |
- * เสียงกัก เส้นเสียง จะปรากฏเฉพาะหลังสระเสียงสั้นเมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด
สระ
แก้เสียงสระในภาษาลาวซึ่งคล้ายคลึงกับเสียงสระภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน
สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง
ลิ้นส่วนหน้า | ลิ้นส่วนกลาง | ลิ้นส่วนหลัง | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
ปากเหยียด | ปากเหยียด | ปากห่อ | ||||
สั้น | ยาว | สั้น | ยาว | สั้น | ยาว | |
ลิ้นยกสูง | /i/ xິ |
/iː/ xີ |
/ɯ/ xຶ |
/ɯː/ xື |
/u/ xຸ |
/uː/ xູ |
ลิ้นกึ่งสูง | /e/ ເxະ, ເxັx |
/eː/ ເx |
/ɤ/ ເxິ |
/ɤː/ ເxີ |
/o/ ໂxະ, xົx |
/oː/ ໂx |
ลิ้นกึ่งต่ำ | /ɛ/ ແxະ, ແxັx |
/ɛː/ ແx |
/ɔ/ ເxາະ, xັອx |
/ɔː/ xໍ, xອx | ||
ลิ้นลดต่ำ | /a/ xະ, xັx |
/aː/ xາ |
สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้
- ເxຍ /ia/ (มีตัวสะกด: xຽx) ประสมจากสระ อี และ อา
- ເxືອ /ɯa/ ประสมจากสระ อือ และ อา
- xົວ /ua/ (มีตัวสะกด: xວx) ประสมจากสระ อู และ อา
เสียงวรรณยุกต์
แก้ภาษาลาวเวียงจันทน์มีระดับเสียงวรรณยุกต์ 6 ระดับ: Low (เอก), Mid (สามัญ), High (ตรี), Rising (จัตวา), Falling (โท) และ Low Falling (โทต่ำ) ระดับเสียงอาจจะแตกต่างกัน ไปตามชนพื้นเมืองของผู้พูดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เช่น ชาวหลวงพระบางจะใช้ ระดับเสียงวรรณยุกต์ 5 ระดับ คือ
- กลางต่ำลงขึ้น
- ต่ำขึ้น
- กลางระดับ
- สูงขึ้น
- กลางขึ้น
วรรณยุกต์ | สัทอักษรสากล | ตัวอย่าง | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ไทย | อังกฤษ | อักษรลาว | รูปปริวรรต | สัทอักษรสากล | เทียบเสียงไทย (โดยประมาณเท่านั้น) |
ความหมาย | |
เอก | low | /◌̀/ [˨˩] หรือ [˩] | ກາ | กา | /kàː/ | ก่า | กา, นกกา |
จัตวา | rising | /◌̌/ [˨˦] หรือ [˨˩˦] | ຂາ | ขา | /kʰǎː/ | ขา | ขา, อวัยวะใช้เดิน |
สามัญ | mid | /◌̄/ [˧] | ຂ່າ, ຄ່າ | ข่า, ค่า | /kʰāː/ | คา | ข่า (หัวข่า), ค่า (คุณค่า) |
โทต่ำ | low-falling | /◌᷆/ [˧˩] | ຂ້າ | ข้า | /kʰa᷆ː/ หรือ /kʰȁː/ | ข่า, ข้า | ข้า (สรรพนาม), ฆ่า, ข้าทาส |
ตรี | high | /◌́/ [˦˥] หรือ [˥] | ຄາ | คา | /kʰáː/ | ค้า | คา (คาที่), หญ้าคา |
โท | falling | /◌̂/ [˦˩] หรือ [˥˨] | ຄ້າ | ค้า | /kʰâː/ | ค่า | ค้า, ค้าขาย |
ตัวอักษร
แก้ภาษาลาวมีตัวอักษรที่ใช้เขียนอยู่สองแบบ คือ อักษรลาว ใช้เขียนเรื่องคดีทางโลกทั่วไป ปัจจุบันรัฐบาลลาวได้ปรับปรุงอักษรลาวเดิมให้ใช้เป็นอักษรทางการ (ในภาคอีสานของไทยยังคงใช้อยู่บ้างในเอกสารโบราณ เรียกชื่อว่า อักษรไทน้อย)
ตัวอย่างคำศัพท์
แก้- ຂອບໃຈຫຼາຍ ໆ ເດີ້ (ขอบ ใจ หลาย หลาย เด้อ, [kɔ᷆ːp tɕàj lǎːj lǎːj dɤ̂ː]) ขอบคุณมาก ๆ ครับ/ค่ะ
- ຂ້ານ້ອຍເຮັດບໍ່ໄດ້ດອກ (ข้า น้อย เฮ็ด บ่ ได้ ดอก, [kʰa᷆ː nɔ̂ːj hēt bɔ̄ː dâj dɔ᷆ːk]) กระผม/ดิฉันทำไม่ได้หรอก
- ໄຂປະຕູໃຫ້ແດ່ (ไข ปะ ตู ให้ แด่, [kʰǎj pā.tùː ha᷆j dɛ̄ː]) เปิดประตูให้หน่อย
- ສະບາຍດີ (สะบายดี, [sā.bàːj.dìː]) สวัสดี
อ้างอิง
แก้- ↑ "Lao (Laotien)". Inalco. 20 January 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2018. สืบค้นเมื่อ 17 October 2018.
- ↑ "Languages of ASEAN". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2019. สืบค้นเมื่อ 7 August 2017.
- ↑ "Lao". About World Languages. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-27. สืบค้นเมื่อ 2016-05-25.
- ↑ "Lao". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
- ↑ "Ausbau and Abstand languages". Ccat.sas.upenn.edu. 1995-01-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-17. สืบค้นเมื่อ 2012-07-08.
- ↑ Hays, Jeffrey. "LAO LANGUAGE: DIALECTS, GRAMMAR, NAMES, WRITING, PROVERBS AND INSULTS | Facts and Details". factsanddetails.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-02. สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
- ↑ ใช้ในคำยืมภาษาต่างประเทศเท่านั้น
อ่านเพิ่ม
แก้- Lew, Sigrid. 2013. "A linguistic analysis of the Lao writing system and its suitability for minority language orthographies".
- ANSI Z39.35-1979, System for the Romanization of Lao, Khmer, and Pali, ISBN 0-88738-968-6.
- Hoshino, Tatsuo and Marcus, Russel. (1989). Lao for Beginners: An Introduction to the Spoken and Written Language of Laos. Tuttle Publishing. ISBN 0-8048-1629-8.
- Enfield, N. J. (2007). A Grammar of Lao. Berlin and New York: Mouton de Gruyter. ISBN 3-11-018588-1.
- Cummings, Joe. (2002). Lao Phrasebook: A Language Survival Kit. Lonely Planet. ISBN 1-74059-168-2.
- Mollerup, Asger. Thai–Isan–Lao Phrasebook. White Lotus, Bangkok, 2001. ISBN 974-7534-88-6.
- Kerr, Allen. (1994). Lao–English Dictionary. White Lotus. ISBN 974-8495-69-8.
- Simmala, Buasawan and Benjawan Poomsan Becker (2003), Lao for Beginners. Paiboon Publishing. ISBN 1-887521-28-3
- สีเวียงแขก กอนนิวง (1999). หนังสือคู่มือเรียนภาษาลาวง่ายๆ เวียงจันทน์ : สำนักพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งรัฐ
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของลาว เก็บถาวร 2021-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ยูนิโคด: Lao
- Omniglot: อักษรลาว (ในภาษาอังกฤษ)
- Lao True Type Fonts