ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ

(เปลี่ยนทางจาก Narita International Airport)

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ (ญี่ปุ่น: 成田国際空港) เป็นสนามบินนานาชาติ ตั้งอยู่ที่เมืองนาริตะ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการโดย บริษัทท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ซึ่งแปรสภาพมาจาก องค์การบริหารงานท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวแห่งใหม่

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ

成田国際空港

นาริตะ โคะกุไซ คูโก
มุมมองทางอากาศของท่าอากาศยาน ปี 2008
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
เจ้าของ-ผู้ดำเนินงานนาริตะ อินเตอร์เนชันแนล แอร์พอร์ต คอร์เปอเรชัน (NAA)
พื้นที่บริการเขตอภิมหานครโตเกียว
ที่ตั้งนาริตะ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น
เปิดใช้งาน20 พฤษภาคม 1978; 46 ปีก่อน (1978-05-20)
ฐานการบิน
ฐานปฏิบัติ
เหนือระดับน้ำทะเล41 เมตร / 135 ฟุต
พิกัด35°45′55″N 140°23′08″E / 35.76528°N 140.38556°E / 35.76528; 140.38556
เว็บไซต์www.narita-airport.jp/en
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
16R/34L 13,123 4,000[1] ยางมะตอย
16L/34RA 8,202 2,500 ยางมะตอย
ทางวิ่ง C โครงการ
สถิติ (2020)
ผู้โดยสาร32,705,995
สินค้า2,356,119 ตัน
เที่ยวบิน165,264

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะเป็นสนามบินหลักที่ให้บริการผู้โดยสารระหว่างประเทศที่เดินทางเข้าและออกจากประเทศญี่ปุ่น และเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างทวีปเอเชียและอเมริกา เป็นสนามบินที่รองรับเที่ยวบินสำหรับผู้โดยสารมากอันดับ 2 ของญี่ปุ่น (รองจากสนามบินฮะเนะดะ) เป็นสนามบินที่รองรับการขนส่งทางอากาศเป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่นและอันดับ 3 ของโลก

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะเป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ สายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ และสายการบินนอร์ธเวสต์แอร์ไลน์ และยังเป็นท่าอากาศยานรองของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ อีกด้วย

ท่าอากาศยานานาชาตินาริตะ เคยใช้ชื่อว่า ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวแห่งใหม่ (新東京国際空港 Shin-Tōkyō Kokusai Kūkō; New Tokyo International Airport) จนกระทั่ง ค.ศ. 2004 ถึงแม้สนามบินนาริตะจะให้บริการผู้โดยสารที่เดินทางเข้าออกเมืองโตเกียวเป็นหลัก แต่ตัวสนามบินเองไม่ได้อยู่ในโตเกียว (การเดินทางจากนาริตะไปยังใจกลางเมืองโตเกียวใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงโดยรถไฟที่เร็วที่สุด) ส่วนสนามบินฮะเนะดะ หรือ ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว และเป็นสนามบินที่รองรับผู้โดยสารมากเป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่นและอันดับ 4 ของโลก ให้บริการผู้โดยสารในประเทศเป็นหลัก

ในปีค.ศ. 2024 ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะทำการบินระหว่างทวีปเอเซียและสหรัฐอเมริกามากถึง 16 เมืองมีเที่ยวบินไปแคนาดา 4 เมือง และเม็กซิโกซิตี้ 1 เมืองรวมบินระหว่างทวีปเอเซียและทวีปอเมริกาเหนือ มากถึง 21 เมือง ซึ่งเยอะที่สุดในท่าอากาศยานของทวีปเอเซีย

ความขัดแย้ง

แก้

เป็นความขัดแย้งระหว่างชุมชนเกษตรกรในเมืองซันริซูกะ (ปัจจุบันคือเมืองนาริตะ) กับรัฐบาลญี่ปุ่น สาเหตุจากการตัดสินใจของรัฐบาลในก่อสร้างท่าอากาศยานในเมืองซันริซูกะโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้อยู่อาศัย เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นมองว่าพื้นที่ซันริซูกะยังเป็นการทำเกษตรกรรมที่ไม่ได้มีรายได้สูง การเวนคืนที่ดินน่าจะทำได้ง่าย [3] นำไปสู่การประท้วงและเดินขบวนขัดขวางการสร้างอย่างรุนแรง แม้กระทั้งการบุกยึดหอบังคับการบินและการลอบวางระเบิด [4]

การคมนาคม

แก้

สนามบินนาริตะมีรถไฟสองขบวน ของทาง เคเซ (Keisei) และ เจอาร์ (JR) และสายที่สามอยู่ระหว่างการก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2553 นอกจากรถไฟแล้วยังมีบริการแท็กซี่และรถเมล์

อาคารผู้โดยสารและสายการบิน

แก้

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะมีอาคารผู้โดยสาร 2 หลัง แต่ละหลังมีสถานีรถไฟใต้ดินแยกจากกัน และไม่มีทางเดินเท้าเชื่อมถึงกัน การเดินทางระหว่างอาคารทั้งสองจะใช้ชัทเทิลบัส และรถไฟ

อาคารผู้โดยสาร 1

แก้

อาคารทิศเหนือ

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
การูดาอินโดนีเซีย เดนปาร์ซา/บาหลี, จาร์ตาต้า-ซูกาโน่ฮัตต้า
แอโรฟลอต มอสโก-เชเรเมเตียโว
แอร์โรเม็กซิโก เม็กซิโกซิตี้
แอร์คาลิน นูเมอา
แอร์ฟรานซ์ ปารีส
อลิตาเลีย มิลาน-มัลเปนซา, โรม-ฟิอูมิชิโน
บริติชแอร์เวย์ ลอนดอน-ฮีทโธรว์
เดลตาแอร์ไลน์ แอตแลนต้า,ปักกิ่ง-แคปิตอล, ดีทรอยต์,กวม, ฮ่องกง,ฮอนโนลูลู, ลอสแองจาลิส,มะนิลา,มินนีแอโพลิส/เซน. พอล, นิวยอร์ก-เจเอฟเค, พอร์ตแลนด์ (โออาร์), ไซปัน, ซารฟรานซิสโก, ซีแอตเทิส/แทกโคม่า, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, สิงคโปร์, ไทเป-เทาหยวน

เฉพาะฤดูกาล: โคโรว-เกาะปาโลว์

เคแอลเอ็ม อัมสเตอร์ดัม
โคเรียนแอร์ ปูซาน, เจจู, ลอสแอนเจลิส, โซล,ลอสแองจาลิส
ทรานส์แอร์โรว์ เฉพาะฤดูกาล:มอสโก-โดโมเดโดโว,เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
เวียดนามแอร์ไลน์ ท่าอากาศยานนานาชาตินอยไบฮานอย, โฮจิมินห์ซิตี
เวอร์จิ้นกาแลคติก ลอนดอน-ฮีทโธรว์

อาคารทิศใต้

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
แอร์ปูซาน ปูซาน
แอร์นิวซีแลนด์ โอ๊กแลนด์, เฉพาะฤดูกาล:ไครส์เชริต์
แอร์แคนาดา โตรอนโต-แพร์สัน, แวนคูเวอร์
แอร์ไชนา ปักกิ่ง, เฉิงตู, ฉงชิง, ต้าเหลียน, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, เซินเจิ้น,อู่ฮั่น
ออลนิปปอนแอร์เวย์ กรุงเทพมหานคร,กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ, ปักกิ่ง-แคปิตอล, ชิคาโก้-โอแฮลร์, นิวเดลี,แฟรงเฟิรต,หังโจว, จาร์กาต้า-ซูกาโน่ ฮัตต้า, ลอนดอน-ฮีตโธรว์, ลอสแองจาลิส,มะนิลา, มิวนิก,นิวยอร์ก-เจเอฟเค, โอกินาวะ, โอซากี-อิตามิ, ปารีส-ชาลส์เดอโกล, ชิงเต่า, ซานฟรานซิลโก,ซานโจส์(CA), ซัปโปโร-ชิโตะเซะ

, ซิแอตเทล/ทาโคม่า,เซี่ยงไฮ-ผู่ตง, เสินหยาง, สิงคโปร์, วอชิงตัน-ดูเลส

ออลนิปปอนแอร์เวย์ (Air Central) นาโงยา, เซนได
ออลนิปปอนแอร์เวย์ (Air Japan) กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ,ต้าเหลียน, โฮจิมินต์ซีตี้, ฮ่องกง,ฮอนโนลูลู,สิงคโปร์, ไทเป-เถาหยวน
ออลนิปปอนแอร์เวย์ (Ibex Airlines) ฮิโรชิมะ, โคมัตสุ, โอซะกะ-อิตะมิ, ซัปโปโร-ชิโตเสะ, เซนได
ออลนิปปอนแอร์เวย์ (Air Nippon) เฉิงตู,ฟูกุโอกะ,กวางโจว, มุมไบ, นิงาตะ, โอซาก้า-อิตามิ,เซียะเหมียน, ย่างกุ้ง
เอ็กนิสแอร์เวย์ อูลานบาตาร์
เอมิเรตส์ ดูไบ
เอทิฮัดแอร์เวย์ อาบูดาบี
เอเชียนาแอร์ไลน์ โซล
ออสเตรียนแอร์ไลน์ เวียนนา
อีวีเอแอร์ ไทเป
อียิปต์แอร์ ไคโร
เอเดลเวอิสแอร์ เฉพาะฤดูกาล:ซูริค
ลุฟท์ฮันซา แฟรงค์เฟิร์ต, มิวนิก
เอ็มไอเอทีมองโกเลียนแอร์ไลน์ โซล-อินชอน, อูลานบาร์ตาร์
กาตาร์แอร์เวย์ โดฮา
สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม โคเปนเฮเกน
สิงคโปร์แอร์ไลน์ ลอสแอนเจลิส, สิงคโปร์
สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ ซูริค
การบินไทย กรุงเทพมหานคร, ภูเก็ต
สายการบินตุรกี อิสตันบูล
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ, ชิคาโก้-โอแฮลร์, เดนเวอร์,กวม,ฮ่องกง, ฮอนโนลูลู,ฮุสตัน-อินตอร์คอนติเนตอล, ลอสแองจาลิส, เนวาร์ก,ซานฟรานซิสโก, ซีแอตเทล/ทาโคม่า, โซลอินชอน, สิงคโปร์,วอชิงตัน-ดูเลส
อุซเบกิสถานแอร์เวย์ ทาชเคนต์
ยาคุตสค์แอร์เวย์ Charter:ยาคุตสค์
 
อาคาร 2
 
ทางเดินภายในอาคาร
 
ระบบเชื่อมต่อระหว่างสองอาคาร
 
บริเวณเช็คอิน, อาคาร 1 ฝั่งทิศใต้
 
ด้านนอกอาคาร 1 กับอาคารกลางฝั่งทิศเหนือ

อาคารผู้โดยสาร 2

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
บริชติชแอร์เวย์ ลอนดอน-ฮีตโธรว์
คาเธย์แปซิฟิก ฮ่องกง, ไทเป
ไชนาแอร์ไลน์ ฮอนโนลูลู, ไทเป
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ ปักกิ่ง, นานจิง, เซี่ยงไฮ้, ซีอาน
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ ชางชุน, ต้าเหลียน, กวางโจว,เซนหยาง
อีสตาร์เจ็ต โซล-อินชอน
ฟินแอร์ เฮลซิงกิ
แจแปนแอร์ไลน์ กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ, ปักกิ่ง-แคปิตอล, บอสตัน,ปูซาน, ชิคาโก้-โอแฮลร์,ต้าเหลียน,นิวเดลี,แฟรงเฟิรต์,ฟูกุโอกะ,กวม,กวางโจว, ฮานอย, เฮลซิงกิ,โฮจิมินต์ซิตี้, ฮ่องกง, ฮอนโนลูลู, จาร์กาต้า-ซูกาโน่ฮัตต้า,เกาสง,กัวลาลัมเปอร์,ลอนดอน-ฮีตโธรว์, ลอสแองจาลิส,มะนิลา, มอสโก-โดโมเดโดโว,นาโกย่า-เซ็นแทรร์, นิวยอร์ก-เจเอฟเค,โอซาก้า-อิตามิ, ปารีส-ชาลส์เดอโกล, ซานอิเดโก้,ซัปโปโร-ชิโตเซะ, โซล-อินชอน, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง,สิงคโปร์, ซิตนีย์, ไทเป-เถาหยวน,แวนคูเวอร์
แจแปนแอร์ไลน์ (Japan Transocean Air) โอกินาวะ
แจแปนแอร์ไลน์(JAL Express) นาโกย่า-เซ็นแทรร์, โอซาก้า-อิตามิ
เจ็ตสตาร์เจแปน ฟูกุโอกะ,คาโกชิมะ,มัตสึมายะ,โอกิตะ, โอกินาวะ, โอซาก้า-คันไซ, ซัปโปโร-ชิโตเซะ
เจจูแอร์ โซล-อินชอน
ไทยแอร์เอเชียเอกซ์ กรุงเทพ-ดอนเมือง
มาเลเซียแอร์ไลน์ กัวลาลัมเปอร์,ลอสแองจาลิส
ปากีสถานอินเตอร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์ ปักกิ่ง, อิสลามาบาด, การาจี, ละฮอร์
ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ เซบู, มะนิลา
แควนตัส เพิร์ธ, ซิดนีย์
เจ็ตสตาร์แอร์เวย์ แครนส์, โกล คอสต์, มะนิลา , ดาร์วิน
สกู้ต สิงคโปร์,ไทเป-เถาหยวน,ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
เอส7แอร์ไลน์ คาปารอปสกี้ วลาดีวอสต๊อก
สกายมาร์คแอร์ไลน์ อาซาชิคาว่า, ฟูกุโอกะ, โกเบ, โอกินาวะ,ซัปโปโร-ชิโตเซะ

เฉพาะฤดูกาล: คาโกชิมะ

ศรีลังกาแอร์ไลน์ โคลัมโบ
แอร์เอเชียเจแปน ปูชาน,ฟูกุโอกะ,โอกินาวะ, ซัปโปโร-ชิโตเซะ,โซล-อินชอน
แอร์มาเก๊า มาเก๊า
แอร์อินเดีย เดลี, มุมไบ
แอร์นิวกินี พอร์ตโมเลสบี้
แอร์ทาฮิติ นัว พาพิเต้
อเมริกันแอร์ไลน์ ชิคาโก, ดาลัส/ฟอร์ตเวริค์, ลอสแอนเจลิส, นิวยอร์ก

สายการบินขนส่งสินค้า

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
Aeroflot-Cargo
Air France Cargo ปารีส-Charles de Gaulle
Air Hong Kong ฮ่องกง
ANA & JP Express
Cathay Pacific
Euro Cargo Air [planned] [1] เก็บถาวร 2019-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
FedEx Express Memphis
KLM Cargo
Korean Air Cargo
Lufthansa Cargo
MASkargo กัวลาลัมเปอร์, ปีนัง
Nippon Cargo Airlines
Northwest Cargo
Polar Air Cargo
Singapore Airlines Cargo
UPS Airlines

อ้างอิง

แก้
  1. Narita's 4,000-เมตร (13,123-ฟุต) main runway shares the record for longest runway in Japan with one at Kansai International Airport that opened in 2007.
  2. "NARITA AIRPORT TRAFFIC STATISTICS -2022(JAN-DEC)" (PDF; 578 KB). naa.jp (ภาษาอังกฤษ). Narita International Airport Corporation. 2023-01-26. สืบค้นเมื่อ 2023-02-09.
  3. "[Wingtips เล่าเรื่องการบิน] รู้จักกับ "Sanrizuka" ความขมขื่นเบื้องหลังการก่อสร้างสนามบินนาริตะ สนามบินระดับโลกที่มีไร่นาขวางรันเวย์ มีเวลาห้ามเครื่องบินขึ้นลง หลายๆคนที่ติดตามการไลฟ์ผ่านเฟสบุ๊คของคุณ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าร". www.blockdit.com. สืบค้นเมื่อ 18 March 2023.
  4. "成田空港~その役割と現状~ | 成田国際空港株式会社". www.naa.jp. สืบค้นเมื่อ 18 March 2023.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้