แอร์ไชนา

สายการบินแห่งชาติของประเทศจีน
(เปลี่ยนทางจาก Air China)

แอร์ไชนา (อังกฤษ: Air China; จีน: 中国国际航空公司; พินอิน: Zhōngguó Guójì Hángkōng Gōngsī) เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน[2] เป็น 1 ใน 3 สายการบินรายใหญ่ของจีนร่วมกับสายการบินไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์และไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ โดยปฏิบัติการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งเป็นหลัก ในปี 2017 แอร์ไชนาได้ให้บริการผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวน 102 ล้านคน โดยมีอัตราการบรรทุกโดยเฉลี่ย 81%[3] และเป็นหนึ่งในพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์ตั้งแต่ปี 2007 ในปีค.ศ. 2018 เที่ยวบิน china airline flight 885 ขนส่งผู้โดยสารและสินค้า[4]ทำการบินจากปักกิ่ง–นานาชาติแวะฮิวสตันไปปานามา ส่งผลให้สายการบินแอร์ไชนาเป็นสายการบินเดียวในเอเซียที่ทำการบินไปทวีปอเมริกากลาง

แอร์ไชนา
Air China
中国国际航空公司
IATA ICAO รหัสเรียก
CA CCA AIR CHINA
ก่อตั้ง1 กรกฎาคม ค.ศ. 1988 (36 ปี)
ท่าหลัก
ท่ารองเซี่ยงไฮ้–ผู่ตง
เมืองสำคัญ
สะสมไมล์ฟีนิกซ์ไมล์
พันธมิตรการบินสตาร์อัลไลแอนซ์
บริษัทลูก
ขนาดฝูงบิน495
จุดหมาย200
บริษัทแม่แอร์ไชนากรุป (53.46%)
คาเธ่ย์แปซิฟิค (18.13%)
การซื้อขายLSEAIRC
สำนักงานใหญ่จีน เลขที่ 30 ถนนเทียนจู่ เขตชุ่นอี้ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
บุคลากรหลัก
รายได้เพิ่มขึ้น RMB¥ 121.3 พันล้าน (2560)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น RMB¥ 7.2 พันล้าน (2560)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น RMB¥ 235.7 พันล้าน (2560)
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น RMB¥ 14.5 พันล้าน (2560)
พนักงาน
50,000 (2559)
เว็บไซต์airchina.com

ประวัติ

แก้

ช่วงแรก

แก้
 
แอร์ไชนา โบอิง 747 เอสพี ที่ท่าอากาศยานซือริชในปี 2535

การพัฒนาตั้งแต่ปี 2010

แก้

กิจการองค์กร

แก้
 
ส่วนด้านหน้าของโบอิง 747-400 ของแอร์ไชนา พร้อมด้วยธงชาติจีนและข้อความอักษร "AIR CHINA" พร้อมด้วยโลโก้สตาร์อัลไลแอนซ์

สำนักงานใหญ่

แก้
 
อาคารสำนักงานใหญ่แอร์ไชนา

ผลประกอบการ

แก้

ผลประกอบการของแอร์ไชนาระหว่างปี 2010-2022 มีดังนี้:

2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 2022
รายได้สุทธิ (พันล้านหยวน) 80.4 95.9 99.6 98.2 105 110 115 121 136 136 69.5 74.5 52.8
กำไรสุทธิ (พันล้านหยวน) 11.9 7.5 4.8 3.2 3.8 7.0 6.8 7.2 7.3 6.4 −14.4 −16.6 −38,6
จำนวนผู้โดยสาร (ล้านคน) 60.0 69.6 72.4 80.8 83.0 89.8 96.6 101 109 115 68.6 69.0 38.6
อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (%) 80.0 81.4 80.4 77.6 79.8 79.9 80.6 81.1 80.6 81.0 70.3 68.6 62.7
จำนวนสินค้าบรรทุก (ตัน) 1,347 1,426 1,460 1,456 1,552 1,664 1,769 1,841 1,460 1,434 1,113 1,186 844
จำนวนฝูงบิน (ลำ) 393 432 461 497 540 590 623 655 684 699 707 746 762
อ้างอิง [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17]

อัตลักษณ์องค์กร

แก้
ประวัติลายเครื่องบินของแอร์ไชนา
โบอิง 747-200 ในลายดั้งเดิมของซีเอเอซี ภายหลังการแยกสายการบินซีเอเอซีแอร์ไลน์
โบอิง 767-200อีอาร์ ในลายแบบที่สองพร้อมโลโก้ฟีนิกซ์ที่หางเครื่อง เครื่องบินลำนี้จะตกในเวลาต่อมาในเที่ยวบินที่ 129
โบอิง 777-300อีอาร์ ในลายแบบปัจจุบันที่ใช้กับเครื่องบินโบอิง ซึ่งมีการขยายและยืดโลโก้ฟีนิกซ์ให้ตรง
แอร์บัส เอ350-900 ในลายแบบปัจจุบันที่ใช้กับเครื่องบินแอร์บัส ชื่อภาษาจีนมีขนาดเล็กกว่าแบบที่ใช้กับเครื่องบินโบอิง
แอร์บัส เอ330-300 ในลายแบบปัจจุบันที่ใช้ในเส้นทางไต้หวัน ธงชาติของจีนถูกนำออกเนื่องจากข้อพิพาทกับไต้หวัน

จุดหมายปลายทาง

แก้
 
  จีนแผ่นดินใหญ่
  จุดหมายปลายทาง
  เฉพาะฤดูกาล
  ในอนาคต
  ยกเลิก

ข้อตกลงการบินร่วม

แก้

แอร์ไชนาได้มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:[18]

ฝูงบิน

แก้

ฝูงบินปัจจุบัน

แก้
 
โบอิง 747-400ของแอร์ไชนา
 
โบอิง 777-300อีอาร์ของแอร์ไชนา

ณ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2024 แอร์ไชนามีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[19][20][21]

ฝูงบินของแอร์ไชนา
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
F B E+ E รวม
แอร์บัส เอ319-100 30 8 120 128
แอร์บัส เอ319นีโอ 13[22] รอประกาศ
แอร์บัส เอ320-200 38 8 150 158
แอร์บัส เอ320นีโอ 53 8[23][22] 8 150 158 [24]
แอร์บัส เอ321-200 61 16 161 177
12 173 185
แอร์บัส เอ321นีโอ 30 45[22] 12 182 194 [24]
แอร์บัส เอ330-200 21 30 207 237
18 247 265
12 271 283
แอร์บัส เอ330-300 28 30 16 255 301
36 20 311
แอร์บัส เอ350-900 30 32 24 256 312[25] [26]
โบอิง 737-700 18 8 120 128 B-3999 ใช้สำหรับการขนส่งแบบวีไอพี
โบอิง 737-800 88 8 159 167
168 176
12 147 159
โบอิง 737 แมกซ์ 8 20 18[27] 8 168 176
โบอิง 747-400 3 10 42 292 344 จะปลดประจำการในปี 2025
โบอิง 747-8ไอ 7 12 54 66 233 365[28] B-2479 ใช้สำหรับการขนส่งแบบวีไอพี
โบอิง 777-300อีอาร์ 28 8 42 261 311
36 356 392[29]
โบอิง 787-9 14 30 34 229 293[30]
โคแม็ก เออาร์เจ21-700 25 10[31] 90 90 ส่งมอบจนถึงปี 2024
โคแม็ก ซี919 105 รอประกาศ ส่งมอบจนถึงปี 2031[32]
รวม 495 199

แอร์ไชนามีอายุฝูงบินเฉลี่ย 9.3 ปี

แอร์ไชนาคาร์โก

แก้

แอร์ไชนาคาร์โก (อังกฤษ: Air China cargo; จีน: 中国国际货运航空公司; พินอิน: Zhōngguó Guójì Huòyùn Hángkōng gōngsī) เป็นบริษัทลูกของแอร์ไชนา มุ่งเน้นการขนส่งสินค้าเป็นหลัก ให้บริการเส้นทางทั่วเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือด้วยฝูงบินโบอิง 747-400เอฟ, โบอิง 757-200พีซีเอฟ และโบอิง 777เอฟ

บริการ

แก้

ห้องโดยสาร

แก้

ฟินิกซ์ไมล์

แก้

อุบัติการณ์และอุบัติเหตุ

แก้
 
แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 129 (B-2552) ถูกถ่ายในปี 2540
  • 16 ธันวาคม พ.ศ. 2532 - ซีเอเอซีแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 981 (ดำเนินการโดยแอร์ไชนา) เครื่องบิน โบอิง 747-200บีเอ็ม ทะเบียน B-2448 ถูกจี้ขณะกำลังบินบนเส้นทางปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้-ซานฟรานซิสโก-นครนิวยอร์ก จุดหมายปลายทางของผู้จี้คือ ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ แต่หลังจากที่ทางการเกาหลีใต้ปฏิเสธการอนุญาตให้ลงจอด เครื่องบินก็ไปลงจอดที่ท่าอากาศยานฟูกูโอกะ ในเมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ผู้จี้เครื่องบินได้รับบาดเจ็บหลังจากถูกผลักออกจากเครื่องบิน และถูกทางการญี่ปุ่นจับกุมได้ ผู้โดยสารและลูกเรือที่เหลือไม่มีใครไม่ได้รับบาดเจ็บ และเครื่องบินก็เดินทางกลับปักกิ่งในวันเดียวกัน[33]
  • 10 สิงหาคม พ.ศ. 2536 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 973 เครื่องบิน โบอิง 767 ถูกจี้หลังบินขึ้นจากกรุงปักกิ่งระหว่างทางไปจาการ์ตา ผู้จี้เป็นชายชาวจีนวัย 30 ปี ได้ส่งจดหมายด้วยลายมือถึงพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพื่อขอให้เครื่องบินไปยังไต้หวัน หากไม่ทำตาม "ผู้สมรู้ร่วมคิด" ของเขาจะทำลายเครื่องบินลำดังกล่าว เขาถือขวดแชมพูที่มีส่วนผสมของกรดไฮโดรคลอริกและกรดไนตริก และขู่ว่าจะทำให้ผู้โดยสารในบนเครื่องเสียโฉมด้วยกรด เว้นแต่จะปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของเขา ต่อมาเครื่องบินลำดังกล่าวก็ได้บินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติไทเป ซึ่งผู้จี้ได้เข้ามอบตัว[34]
  • 28 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 905 เครื่องบิน โบอิง 737-300 ทะเบียน B-2949 จากปักกิ่งไปคุนหมิงและย่างกุ้ง ถูกจี้โดยนักบิน และบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติเจียง ไคเชก ในไต้หวัน ต่อมานักบินและภรรยาถูกทางการไต้หวันจับกุม ผู้โดยสารและลูกเรือไม่ได้รับบาดเจ็บใด ๆ และเครื่องบินก็เดินทางกลับไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ในวันเดียวกัน เหตุการณ์นี้ถือเป็นการจี้เครื่องบินพลเรือนของจีนแผ่นดินใหญ่ไปยังไต้หวันครั้งสุดท้าย[35]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2542 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 9018 เครื่องบิน โบอิง 747-2J6BSF ทะเบียน B-2246 จากนครนิวยอร์กไปชิคาโก เกิดอุบัติการณ์ลงจอดล่วงล้ำทางวิ่งของโคเรียนแอร์ เที่ยวบินที่ 96 เครื่องบิน โบอิง 747-400 ขณะกำลังจะบินขึ้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ เครื่องบินทั้งสองลำไม่ได้ชนกัน[36]
  • 11 กันยายน พ.ศ. 2544 - แอร์ไชนา เครื่องบิน โบอิง 747 จากปักกิ่งไปซานฟรานซิสโก ได้รับการคุ้มกันโดยเครื่องบิน เอฟ-15 ของกองทัพอากาศสหรัฐ จำนวน 2 ลำ ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์ระหว่างปฏิบัติการเยลโลริบบิ้น เนื่องจากมีปัญหาในการสื่อสาร เครื่องบินลงจอดที่ท่าอากาศยานโดยไม่มีเหตุใด ๆ เกิดขึ้น[37][38][39]
  • 15 เมษายน พ.ศ. 2545 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 129 เครื่องบิน โบอิง 767-200อีอาร์ จากปักกิ่งไปปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ประสบอุบัติเหตุชนกับเนินเขาขณะพยายามลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติคิมแฮ ในช่วงที่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 129 ราย จากทั้งหมด 166 ราย[40][41] นับเป็นอุบัติเหตุร้ายแรงเพียงครั้งเดียวของแอร์ไชนา
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 941 เครื่องบิน โบอิง 767 ทะเบียน B-2553 จากปักกิ่งไปดูไบ เกิดอุบัติเหตุล้อหน้าของเครื่องบินพับอย่างกะทันหัน ขณะบินขึ้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง เมื่อเวลา 17.17 น. ส่งผลให้จมูกของเครื่องบินกระแทกพื้น มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 คน[42]
  • 27 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เวลา 01.45 น. - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 4174 จากปักกิ่งไปคุนหมิง ถูกบังคับให้บินกลับไปยังท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง เนื่องจากเกิดฟ้าผ่า ไม่มีผู้เสียชีวิต[43]
  • 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 934 เครื่องบิน โบอิง 777-200
  • 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 103
  • 29 มีนาคม พ.ศ. 2552 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 1666 เครื่องบิน โบอิง 737-300
  • 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 982 เครื่องบิน โบอิง 747-400
  • 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 933 เครื่องบิน โบอิง 777-300อีอาร์ ทะเบียน B-2037
  • 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 1822
  • 9 เมษายน พ.ศ. 2559 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 181
  • 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 936
  • 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 428 เครื่องบิน แอร์บัส เอ320-200 ทะเบียน B-6822
  • 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 106 เครื่องบิน โบอิง 737-800 ทะเบียน B-5851
  • 4 มีนาคม พ.ศ. 2562 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 983 เครื่องบิน โบอิง 777-300อีอาร์ ทะเบียน B-2040
  • 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 183 เครื่องบิน แอร์บัส เอ330-343เอกซ์ ทะเบียน B-5958 จากปักกิ่งไปโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เกิดอุบัติการณ์เพลิงไหม้สินค้าขณะจอดอยู่ที่ปักกิ่งก่อนออกเดินทางไม่นาน ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ[44]
  • 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 1449
  • 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 1704
  • 23 กันยายน พ.ศ. 2563 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 4230 เครื่องบิน แอร์บัส เอ321นีโอ ทะเบียน B-305G จากฝูโจวไปเฉิงตู ถูกเปลี่ยนเส้นทางบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติฉางชาหวงฮฺวา หลังพบผู้โดยสารฆ่าตัวตายในห้องน้ำของเครื่องบิน[45]
  • 7 เมษายน พ.ศ. 2564 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 8228
  • 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 1524 จากเซี่ยงไฮ้ไปปักกิ่ง ประสบกับสภาพอากาศแปรปรวนอย่างรุนแรง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย
  • 10 กันยายน พ.ศ. 2566 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 403 เครื่องบิน แอร์บัส เอ320นีโอ ทะเบียน B-305J จากท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูเทียนฟู่ไปยังท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ เกิดอุบัติการณ์เครื่องยนต์เกิดเพลิงไหม้ก่อนจะลงจอด เครื่องบินลำดังกล่าวลงจอดฉุกเฉินที่สิงคโปร์เมื่อเวลา 16.15 น. ผู้โดยสารและลูกเรือทุกคนอพยพออกไปได้อย่างปลอดภัย มีผู้โดยสาร 9 รายได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจากการสูดควันไฟและรอยถลอกระหว่างการอพยพ[46][47][48][49]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Air China 2017 Annual Report". Air China. 2011.
  2. "About Air China". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2015. สืบค้นเมื่อ 6 May 2015.
  3. "Air China Annual Report 2017" (PDF). สืบค้นเมื่อ 5 November 2018.
  4. [1]
  5. "Annual Report 2010" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
  6. "Annual Report 2011" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
  7. "Annual Report 2012" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
  8. "Annual Report 2013" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
  9. "Annual Report 2014" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
  10. "Annual Report 2015" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
  11. "Annual Report 2016" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
  12. "Annual Report 2017" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
  13. "Annual Report 2018" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
  14. "Annual Report 2019" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
  15. "Annual Report 2020" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
  16. "Annual Report 2021" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
  17. "Annual Report 2022" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
  18. "Profile on Air China". CAPA. Centre for Aviation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2016-10-29.
  19. "Air China Fleet in Planespotters.net". Planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 3 May 2022.
  20. Air China - Aircraft Information Airchina.com Retrieved 2016-11-23
  21. "Air China Fleet in Planelogger.com". Planelogger.com. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  22. 22.0 22.1 22.2 "Aircraft orders in 2022". Airbus. สืบค้นเมื่อ 4 December 2022.
  23. 27 May 2013. "Air China orders 100 Airbus A320 planes". cargonewsasia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-22. สืบค้นเมื่อ 2013-09-22.
  24. 24.0 24.1 "Air China to acquire five A320neo, 13 A321neo". Ch-Aviation. 21 March 2021.
  25. "Air China to take first A350 in early August". atwonline.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ Jul 18, 2018.
  26. "Archived copy". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2019. สืบค้นเมื่อ 11 July 2019.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  27. "Air China Fleet Details and History". www.planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 2022-03-16.
  28. Shih, Kai-Chin (30 September 2014). "Air China Boeing 747-8I Interior Information". >talkairlines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2019. สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.
  29. "Air China begins 2-class 777 service from Dec 2016". routesonline.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-03. สืบค้นเมื่อ 2016-10-01.
  30. "Air China Files Preliminary Boeing 787-9 Operational Routes in S16". 2016. สืบค้นเมื่อ 8 September 2016.
  31. "Air China orders 35 domestically-built ARJ21s". flightglobal.com. สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
  32. "Air China orders 100 C919s with extended range". Ch-Aviation. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
  33. Accident description for B-2448 at the Aviation Safety Network. Retrieved on 25 สิงหาคม 2557.
  34. "Hijacking description". Aviation Safety Network. สืบค้นเมื่อ 29 August 2013.
  35. "1998年10月28日 袁斌劫机到台湾". พิเพิลส์เดลี. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2014-03-16.
  36. "ASN Aircraft accident Boeing 747-2J6BSF B-2446 Chicago-O'Hare International Airport, IL (ORD)". เครือข่ายความปลอดภัยการบิน. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-15. สืบค้นเมื่อ 2014-04-26.
  37. Higgins, Michael; Smyth, Julie (September 12, 2001). "Military escorts jets to airports in Whitehorse, Vancouver after hijacking fears". The National Post. p. A9.
  38. Global National (television). Global TV. 2001-09-11.
  39. "NAV CANADA and the 9/11 Crisis". Nav Canada. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2012. สืบค้นเมื่อ 2009-03-19.
  40. The Evil Queen (2002-04-15). "Chinese jet hits foggy mountain - World News". TVNZ. สืบค้นเมื่อ 2013-06-30.
  41. "ASN Aircraft accident Boeing 767-2J6ER B-2552 Pusan-Kimhae Airport (PUS)". Aviation-safety.net. สืบค้นเมื่อ 2013-06-30.
  42. 新华网,国航一架客机起落架出现故障 机头触地 เก็บถาวร 2013-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  43. 陈鹏,新华时评:国航应急服务缺位令人寒心 เก็บถาวร 2012-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,新华网
  44. "Breaking: Air China Airbus A330 Suffers Huge Fire In Beijing". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-08-27. สืบค้นเมื่อ 2019-08-27.
  45. "Flight in China diverted after man found dead in aircraft toilet | The Star". www.thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 2020-09-26.
  46. "Air China plane lands safely at Changi Airport after engine catches fire; one runway closed". Elaine Lee. September 10, 2023. สืบค้นเมื่อ September 10, 2023.
  47. "Air China flight lands in Singapore after detecting smoke; all passengers safe". September 10, 2023. สืบค้นเมื่อ September 10, 2023.
  48. "Changi Airport temporarily closes runway after Air China flight catches fire". September 10, 2023. สืบค้นเมื่อ September 10, 2023.
  49. "Air China plane makes emergency landing at Changi Airport after engine catches fire". Ashley Tan. September 10, 2023. สืบค้นเมื่อ September 10, 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้