โบอิง 767 (อังกฤษ: Boeing 767) เป็นรุ่นของอากาศยานขนาดกลางแบบลำตัวกว้าง ที่ผลิตและออกแบบโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 181 ถึง 245 คน เมื่อจัดที่นั่งแบบ 3 ชั้นบิน และมีพิสัยบิน 9,400 ถึง 12,200 กิโลเมตร (5,200 ถึง 6,600 ไมล์ทะเล)

โบอิง 767

โบอิง 767-300 ของเดลตาแอร์ไลน์ ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุด
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทอากาศยานไอพ่นลำตัวกว้าง
ชาติกำเนิดสหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง
สถานะในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักเดลตาแอร์ไลน์
เฟดเอกซ์ เอกซ์เพรส
ยูพีเอสแอร์ไลน์
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์
จำนวนที่ผลิต1,306 ลำ (มีนาคม ค.ศ. 2024)[1][2]
ประวัติ
สร้างเมื่อค.ศ. 1981–ปัจจุบัน
เริ่มใช้งาน8 กันยายน ค.ศ. 1982 โดยยูไนเต็ดแอร์ไลน์
เที่ยวบินแรก26 กันยายน ค.ศ. 1981 (1981-09-26)
สายการผลิต

ส่วนควบคุมการบินของ 767 มีความคล้ายคลึงกับ 757 ซึ่งเป็นเครื่องบินลำตัวแคบ ที่เริ่มผลิตในช่วงเดียว ทำให้นักบินที่ได้รับใบอนุญาตให้ขับเครื่อง 757 ได้ ก็สามารถขับเครื่อง 767 ได้โดยปริยาย

ลักษณะ

แก้

ภาพรวม

แก้
 
ภาพมุมล่างของโบอิง 767 โดยมีความยาวปีก 156 ฟุต 1 นิ้ว (47.57 เมตร) และพื้นที่ปีก 3,050 ฟุต2 (283.3 เมตร2) และทำมุม 31.5° จากลำตัวเครื่อง

โบอิง 767 เป็นอากาศยานไอพ่นลำตัวกว้าง ที่มีระบบครีบและหางเสือเดียว โดยปีกทำมุม 31.5 จากลำตัวเครื่องและมีความเร็วขณะบินปกติอยู่ที่ มัค 0.8 (553 ไมล์/ชม. หรือ 858 กม./ชม.) แต่ละปีกมีแผ่นแสลทหกแผง, แฟลปแบบหนึ่งและสองชั้น, เอละรอนภายในและภายนอก และสปอยเลอร์หกแผง[3] นอกจากนี้แล้วโบอิง 767 ยังมีพื้นผิวปีกที่มีส่วนประกอบของวัสดุผสมชนิดพอลิเมอร์เสริมคาร์บอนไฟเบอร์ แฟริ่งปีกและแผงอุปกรณ์จากวัสดุเคฟลาร์ และการใช้อลูมิเนียมอัลลอยด์ ซึ่งทั้งหมดนี้จะสามารถลดน้ำหนักเครื่องบินได้ถึง 1,900 ปอนด์ (860 กิโลกรัม) เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องบินรุ่นก่อนหน้า

เพื่อกระจายน้ำหนักของเครื่องบินบนพื้นดิน บนโบอิง 767 จะมีการจัดเรียงล้อลงจอดแบบรถสามล้อ โดยล้อลงจอดหลักจะมีสี่ล้อและล้องลงจอดส่วนหัวจะมีสองล้อ ปีกในรูปแบบแรกสามารถรองรับความยาวลำตัวเครื่องได้ถึงรุ่น -300 เท่านั้น ในรุ่น -400อีอาร์ จึงมีการปรับปรุงรูปแบบปีกและล้อลงจอดใหม่ โดยล้อลงจอดหลัก จะจัดให้อยู่ห่างกันมากขึ้น และจะเปลี่ยนล้อ ยาง และระบบเบรกเป็นชนิดเดียวกันกับบนโบอิง 777[4] เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ส่วนหางชนกับพื้นเมื่อขึ้นบิน บนรุ่น -300 และ -400อีอาร์จะมีการติดตั้งระบบเทลสกิด[4][5]

บนโบอิง 767 รุ่นโดยสารทุกลำจะมีการติดตั้งทางออกฉุกเฉินบริเวณด้าหน้าและด้านหลังของเครื่องบิน โดยรุ่น -200 และ -200อีอาร์ จะมีประตูทางออกฉุกเฉินเหนือปีก และมีตัวเลือกสำหรับประตูบานที่สองหากต้องการเพื่อความจุจาก 255 ที่นั่งเป็น 290 ที่นั่งตามกฎการบิน[6] รุ่น -300 และ -300อีอาร์จะมีประตูทางออกฉุกเฉินสองบาน และตัวเลือกที่จะไม่ติดตั้งเลย หรือประตูทางออกสามประตูพร้อมประตูขนาดเล็กหนึ่งบานบริเวณหลังปีก[6] และยังสามารถติดตั้งประตูทางออกสามบานและประตูทางออกฉุกเฉินเหนือปีกอีกหนึ่งบานเพื่อเพิ่มความจุจาก 290 ที่นั่งเป็น 351ที่นั่งได้[6] บนรุ่น -400อีอาร์ทุกลำจะมีประตูทางออกสามบานและประตูขนาดเล็กอีกหนึ่งบานบริเวณหลังปีก[6] รุ่น -300F จะมีประตูทางออกเพียงหนึ่งบานบริเวณด้านหน้าฝั่งซ้ายของเครื่องบิน[6]

นอกจากจะใช้ระบบการบินที่คล้ายกันแล้ว โบอิง 767 ยังใช้ระบบยังใช้หน่วยพลังงานเสริมระบบพลังงานไฟฟ้าและชิ้นส่วนไฮดรอลิกเดียวกับโบอิง 757[7] นอกจากนี้แล้วห้องนักบินยังมีลักษณะเดียว[8] นักบินที่มีใบอนุญาตสำหรับการบินโบอิง 767 แล้ว ยังสามารถบินเครื่องบินโบอิง 757 ได้ สิ่งนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับสายการบินมีเครื่องบินทั้งสองประจำการในฝูงบิน[9]

ผู้ให้บริการ

แก้
 
โบอิง 767-300อีอาร์ของลันแอร์ไลน์ที่ท่าอากาศยานมาดริด-บาราฆัสในปี 2009

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 มีอากาศยานใช้งานถึง 742 ลำ: รุ่น 73 -200s, 632 -300 และ 37 -400 โดยรุ่น 65 -300F ยังอยู่ในระยะสั่งซื้อon order ผู้ที่ใช้งานมากที่สุดคือเดลตาแอร์ไลน์ (77), เฟดเอกซ์เอกซ์เพรส (60; ผู้ส่งสินค้ามากที่สุด), ยูพีเอสแอร์ไลน์ (59), ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ (51), เจแปนแอร์ไลน์ (35), ออล นิปปอน แอร์เวย์ (34)[10]

ผู้ซื้อโบอิง 767 มากที่สุดตามลำดับคือเดลตาแอร์ไลน์ที่ 117 ลำ, เฟดเอกซ์เอกซ์เพรส (148), ออล นิปปอน แอร์เวย์ (96), อเมริกันแอร์ไลน์ (88) และยูไนเต็ดแอร์ไลน์ (82)[1][2] เฉพาะเดลตาและยูไนเต็ดเท่านั้นที่ซื้อรุ่น -200, -300 และ -400 ทั้งหมด[2]

คำสั่งซื้อและการส่งมอบ

แก้
ปี รวม 2022 2021 2020 2019 2018 2017 2016 2015 2014 2013 2012 2011 2010 2009 2008 2007 2006 2005 2004 2003 2002 2001
สั่งซื้อ 1,346 0 65 11 26 40 15 26 49 4 2 22 42 3 7 24 36 10 19 8 11 8 40
จัดส่ง 1,240 2 32 30 43 27 10 13 16 6 21 26 20 12 13 10 12 12 10 9 24 35 40
ปี 2000 1999 1998 1997 1996 1995 1994 1993 1992 1991 1990 1989 1988 1987 1986 1985 1984 1983 1982 1981 1980 1979 1978
สั่งซื้อ 9 30 38 79 43 22 17 54 21 65 52 100 83 57 23 38 15 20 2 5 11 45 49
จัดส่ง 44 44 47 42 43 37 41 51 63 62 60 37 53 37 27 25 29 55 20 0 0 0 0

การสั่งซื้อและจัดส่งโบอิง 767 (สะสม, ต่อปี):

สั่งซื้อ

จัดส่ง

ยอดรวม

แก้
 
โบอิง 767-300อีอาร์ของยูเครนอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์ที่ติดตั้งปลายปีกแบบวิงเล็ต
รุ่นโมเดล รหัสICAO[15] สั่งซื้อ จัดส่ง สั่งซื้อยังไม่ครบ
767-200 B762 128 128
767-200อีอาร์ B762 121 121
767-2C (เคซ-46) B762 102 59 43
767-300 B763 104 104
767-300อีอาร์ B763 583 583
767-300F B763 270 207 63
767-400อีอาร์ B764 38 38
รวม 1,346 1,240 106
  • ข้อมูลเมื่อ มกราคม 2022.[1][2]

ข้อมูลจำเพาะ

แก้
ข้อมูล 767-200 767-200ER 767-300 767-300ER 767-300F ขนส่ง 767-400ER
ความยาว 48.5 เมตร
(159 ฟุต 2 นิ้ว)
54.9 เมตร
(180 ฟุต 3 นิ้ว)
61.4 เมตร
(201 ฟุต 4 นิ้ว)
ความกว้างของปีก 47.6 เมตร
(156 ฟุต 1 นิ้ว)
51.9 เมตร
(170 ฟุต 4 นิ้ว)
ความจุผู้โดยสาร 181 (3 ชั้นบิน)
224 (2 ชั้นบิน)
255 (ชั้นประหยัด)
218 (3 ชั้นบิน)
269 (2 ชั้นบิน)
351 (ชั้นประหยัด)
- 245 (3 ชั้นบิน)
304 (2 ชั้นบิน)
375 (ชั้นประหยัด)
ความจุห้องสินค้า 81.4 ตารางเมตร (2,875 ตารางฟุต)
22 LD2s
106.8 ตารางเมตร (3,770 ตารางฟุต)
30 LD2s
454 ตารางเมตร (16,034 ตารางฟุต)
30 LD2s + 24 pallets
129.6 ตารางเมตร (4,580 ตารางฟุต)
38 LD2s
น้ำหนักบรรทุกเปล่า 80,127 กิโลกรัม
(176,650 ปอนด์)
82,377 กิโลกรัม
(181,610 ปอนด์)
86,069 กิโลกรัม
(189,750 ปอนด์)
90,011 กิโลกรัม
(198,440 ปอนด์)
86,183 กิโลกรัม
(190,000 ปอนด์)
103,872 กิโลกรัม
(229,000 ปอนด์)
น้ำหนักสูงสุดขณะนำเครื่องขึ้น 142,882 กิโลกรัม
(315,000 ปอนด์)
179,169 กิโลกรัม
(395,000 ปอนด์)
158}758 กิโลกรัม
(350,000 ปอนด์)
186,880 กิโลกรัม
(412,000 ปอนด์)
204,116 กิโลกรัม
(450,000 ปอนด์)
พิสัยบิน 9,400 กิโลเมตร
(5,200 ไมล์ทะเล)
12,200 กิโลเมตร
(6,600 ไมล์ทะเล)
9,700 กิโลเมตร
(5,230 ไมล์ทะเล)
11,305 กิโลเมตร
(6,105 ไมล์ทะเล)
6,050 กิโลเมตร
(3,270 ไมล์ทะเล)
10,450 กิโลเมตร
(5,650 ไมล์ทะเล)
ความเร็วปกติ 0.80 มัก ที่ระดับความสูง 35,000 ฟุต
ความเร็วสูงสุด 0.86 มัก ที่ระดับความสูง 35,000 ฟุต
เครื่องยนต์ (x2) P&W JT9D-7R4
P&W PW4000-94
GE CF6-80A
GE CF6-80C2
P&W PW4000-94
GE CF6-80C2
P&W JT9D-7R4
P&W PW4000-94
GE CF6-80A
GE CF6-80C2
P&W PW4000-94
GE CF6-80C2
RR RB211-524H
P&W PW4000-94
GE CF6-80C2
แรงผลักดัน (x2) GE: 222 กิโลนิวตัน PW: 281.6 กิโลนิวตัน
GE: 276.2 กิโลนิวตัน
PW: 222 กิโลนิวตัน PW: 281.6 กิโลนิวตัน
GE: 276.2 กิโลนิวตัน
RR: 264.7 กิโลนิวตัน
PW: 281.6 กิโลนิวตัน
GE: 282.5 กิโลนิวตัน

ดูเพิ่ม

แก้
 
โบอิง 767-300 ของค็อนดอร์

รุ่นที่ใกล้เคียงกัน

แก้

เครื่องบินที่คล้ายกัน

แก้

อ้างอิง

แก้

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Boeing: Orders and Deliveries (updated monthly)". The Boeing Company. January 31, 2022. สืบค้นเมื่อ February 8, 2022.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "767 Model Summary (orders and deliveries)". Boeing. July 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 31, 2015. สืบค้นเมื่อ August 11, 2020.
  3. Birtles 1999, pp. 15–16.
  4. 4.0 4.1 Norris & Wagner 1999, pp. 119, 121
  5. Sopranos, Katherine (December 2004). "Striking out tailstrikes". Frontiers. สืบค้นเมื่อ August 21, 2012.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 "Type-Certificate Data Sheet" (PDF). European Aviation Safety Agency. February 24, 2021. p. 4. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2022. สืบค้นเมื่อ September 22, 2022.
  7. Velupillai, David (January 2, 1983). "Boeing 757: introducing the big-fan narrowbody". Flight International. สืบค้นเมื่อ February 2, 2011.
  8. Norris & Wagner 1996, p. 69
  9. Wells & Clarence 2004, p. 252
  10. "World Airline Census 2018". Flightglobal (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-08-21.
  11. "Boeing Company Annual Orders Summary". Boeing. สืบค้นเมื่อ July 11, 2011.
  12. "Boeing Recent Orders". Boeing. August 2018. สืบค้นเมื่อ October 18, 2018.
  13. "Boeing Company Current Deliveries". Boeing. August 2018. สืบค้นเมื่อ October 18, 2018.
  14. "Orders and Deliveries search page". Boeing. September 2018. สืบค้นเมื่อ October 18, 2018.
  15. "ICAO Document 8643". International Civil Aviation Organization. สืบค้นเมื่อ December 10, 2011.
  16. Norris & Wagner 1999, pp. 20–21
  17. 17.0 17.1 Becher 1999, p. 175
  18. "Airbus A330-200". Flug Revue. July 18, 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 18, 2001. สืบค้นเมื่อ August 18, 2011.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้