แซ็สก์ ฟาบรากัส

(เปลี่ยนทางจาก เชส ฟาเบรกาส)

ฟรันแซ็สก์ "แซ็สก์" ฟาบรากัส ซูเล (กาตาลา: Francesc "Cesc" Fàbregas Soler, ออกเสียง: [ˈsɛsk ˈfaβɾəɣəs]; เกิดวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1987) เป็นอดีตนักฟุตบอลชาวสเปน เล่นในตำแหน่งกองกลาง เขาเคยเล่นให้กับสโมสรที่โด่งดังอย่างอาร์เซนอล, บาร์เซโลนา และเชลซี ปัจจุบันเป็นผู้จัดการให้กับโกโม ในเซเรียอา

แซ็สก์ ฟาบรากัส
ฟาบรากัสขณะเล่นให้กับเชลซี ในปี ค.ศ. 2015
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ฟรันแซ็สก์ ฟาบรากัส ซูเล[1]
วันเกิด (1987-05-04) 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1987 (37 ปี)[1]
สถานที่เกิด อะแร็ญส์ดามาร์ สเปน
ส่วนสูง 1.75 m (5 ft 9 in)[2]
ตำแหน่ง กองกลาง
สโมสรเยาวชน
1995–1997 มาตาโร
1997–2003 บาร์เซโลนา
2003 อาร์เซนอล
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2003–2011 อาร์เซนอล 212 (35)
2011–2014 บาร์เซโลนา 96 (28)
2014–2019 เชลซี 198 (15)
2019–2022 มอนาโก 54 (3)
2022–2023 โกโม 17 (0)
ทีมชาติ
2002–2003 สเปน อายุไม่เกิน 16 ปี 8 (0)
2003–2004 สเปน อายุไม่เกิน 17 ปี 14 (7)
2005 สเปน อายุไม่เกิน 20 ปี 5 (0)
2004–2005 สเปน อายุไม่เกิน 21 ปี 12 (8)
2006–2016 สเปน 110 (15)
2004–2016 กาตาลุญญา 3 (0)
จัดการทีม
2023 โกโม (รักษาการ)
2024– โกโม
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2023
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2017

ฟาบรากัสเริ่มต้นอาชีพฟุตบอลด้วยการเป็นเด็กฝึกของบาร์เซโลนา แต่กลับเซ็นสัญญากับอาร์เซนอลเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2003 เมื่ออายุได้ 16 ปี หลังจากที่ตัวสำคัญในตำแหน่งกองกลางบาดเจ็บหลายรายในฤดูกาล 2004-05 เขาก็แจ้งเกิด โดยเริ่มเล่นในตำแหน่งกองกลางตัวกลางและตัวทำเกม เขายังสร้างสถิติหลายสถิติให้กับสโมสร และตัวเขาเองยังได้เป็นหนึ่งในนักเตะดาวรุ่งสำหรับในตำแหน่งกองกลาง

สำหรับในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ เขาร่วมกับฟุตบอลทีมชาติสเปนอายุไม่เกิน 17 ปี โดยลงแข่งในฟุตบอลโลกรุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี ในปี ค.ศ. 2003 ที่ฟินแลนด์ ผลงานกับสโมสรเขาพ้นจากผู้เล่นเยาวชนในปี ค.ศ. 2006 เขาเล่นในฟุตบอลโลก 2006 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 ฟุตบอลโลก 2010 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012ได้ทำให้ทีมชาติสเปนได้รับชัยชนะ สำหรับฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 ฟุตบอลโลก 2010 และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012

ก่อนเส้นทางอาชีพ

แก้

ฟาบรากัสเกิดที่เมืองอะแร็ญส์ดามาร์ แคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน[3][4] เป็นบุตรชายของฟรันแซ็สก์ ฟาบรากัส ที่เปิดบริษัทอสังหาริมทรัพย์ และนูริอา ซูเล เจ้าของบริษัทขนมอบ ฟาบรากัสได้ร่วมกับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาตั้งแต่ยังเด็ก และลงแข่งขันนัดแรกเมื่อเขาอายุเพียง 9 เดือนกับปู่ของเขา[5] เขาเริ่มอาชีพกับสโมสรฟุตบอลกับสโมสรกีฬามาตาโร ก่อนที่จะเซ็นสัญญากับสโมสรเยาวชนลาซีอาของบาร์เซโลนา เมื่อเขาอายุได้ 10 ปี โดยมีโค้ชคนแรกคือ เซนอร์ ไบย์ โดยมีรายงานว่าเขาไม่เลือกฟาบรากัสลงแข่งขันกับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา เพื่อพยายามซ้อนเขาจากผู้สอดแนม[6] แต่ก็ทำได้ไม่ได้นานกับบาร์เซโลนา มาตาโรให้เขาร่วมฝึกกับทีมบาร์เซโลนา 1 วันต่อสัปดาห์ จนในที่สุดฟาบรากัสก็ร่วมกับสถาบันบาร์เซโลนาเต็มเวลา

ในการฝึกเบื้องต้นเขารับตำแหน่งเป็นกองกลางรับ แต่เขาก็ยังเป็นตัวทำประตูได้มาก จนบางครั้งทำได้มากกว่า 30 ประตูใน 1 ฤดูกาลให้กับสโมสรเยาวชน ถึงอย่างไรก็ตามเขาก็ไม่ได้ร่วมแข่งกับทีมนัดแรกที่สนามกีฬากัมนอว์[7] ในช่วงเวลาที่เขาเล่นให้กับทีมเยาวชนบาร์เซโลนา ฟาบรากัสได้สร้างความประทับใจแก่แป็ป กวาร์ดิออลา ที่ต่อมาเป็นกัปตันทีมบาร์เซโลนา เขาได้มอบเสื้อให้กับฟาบรากัสเป็นเครื่องปลอบขวัญหลังจากที่พ่อแม่ของเขาหย่ากัน[8]

สโมสรอาชีพ

แก้

อาร์เซนอล

แก้

ปรับตัวกับประเทศอังกฤษ

แก้
 
ฟาบรากัส (ซ้าย) ในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลเชฟฟิลด์ยูไนเต็ด ในปี ค.ศ. 2006

เขามีความรู้สึกว่าจะได้รับโอกาสจำกัดถ้าอยู่กับบาร์เซโลนา[9] เขาได้เซ็นสัญญากับสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล สโมสรในลอนดอนเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2003[4] เริ่มแรกเขารู้สึกว่าการใช้ชีวิตในเมืองหลวงลอนดอนเป็นเรื่องลำบาก แต่ในที่สุดเขาก็พบมิตรสหาย เพื่อนร่วมทีมที่พูดภาษาสเปน คือ ฟิลิปป์ เซ็นเดอรอส ที่ช่วยเขาได้มาก[10] ด้วยวัย 16 ปี ฟาบรากัสไม่ได้รับการพิจารณาให้ร่วมเล่นกับทีมแรกโดยทันที แต่ทีมได้หาผู้เล่นอาวุโสอย่าง ปาทริค วิเอร่า และชิลเบร์ตู ซิลวา โดยเขามุ่งความสนใจไปที่การฝึกซ้อมและการเรียนภาษาอังกฤษ[10] จนในที่สุดเขาก็ได้เปิดตัวกับสโมสรอาร์เซนอลหลังจากนั้นไม่นาน เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ในลีกคัพที่บ้านของตัวเอง พบกับสโมสรฟุตบอลร็อทเทอร์แฮมยูไนเต็ด ทำให้เขาเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดของอาร์เซนอล ด้วยอายุเพียง 16 ปี กับ 177 วัน[11] และยังเป็นผู้ทำประตูที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของอาร์เซนอล ในรอบถัดมาในลีกคัป โดยทำประตูชัย 5–1 เอาชนะสโมสรฟุตบอลวูล์ฟเวอร์แฮมป์ตันแวนเดอร์เรอร์ส[12] ถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะชนะในลีกนี้ในฤดูกาล 2003-04[13] แต่ฟาบรากัสก็ไม่ได้รับเหรียญรางวัลผู้ชนะเพราะไม่ได้ร่วมเล่นกับลีกแต่ต้น[14]

จนเริ่มในฤดูกาล 2004-05 เขาได้ร่วมเล่นในทีมแรกในนัดการแข่งขันนอกเหนือจากลีกคัป เขาลงแข่งนัดแรกกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดที่สนามกีฬาคอมมูนิตีชิลด์ หลังจากที่วิเอร่าบาดเจ็บ ทำให้เขาได้เล่นในพรีเมียร์ลีกนี้ 4 ครั้งติดต่อกัน เขาได้รับคำชมเชยในการเล่นในเกมเหล่านี้ด้วย โดยสามารถทำประตูชนะสโมสรฟุตบอลแบล็กเบิร์นโรเวิร์สไปได้ 3–0 และทำให้เป็นผู้เล่นอาร์เซนอลที่อายุน้อยที่สุดที่ทำประตูในพรีเมียร์ลีก[15][16] และจากการบาดเจ็บของเอดู และชิลเบร์ตู ซิลวา ทำให้เขาได้ลงแข่งในทุกการแข่งขัน[3][9] เขาได้เซ็นสัญญาอาชีพกับสโมสรอาร์เซนอลเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2004[17] ในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2004-05 เขากลายเป็นผู้ทำประตูที่อายุน้อยที่สุดอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์การแข่งขันหลังจากทำประตูที่ 3 ในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลโรเซนบอร์ก ไปได้ 5–1[18] เมื่อจบฤดูกาล เขาได้สร้างชื่อเสียงให้กับสโมสร ด้วยชัยชนะแรกของเขา เมื่อเขาลงสนามเป็นตัวจริงกับอาร์เซนอล และสามารถเอาชนะสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดกับการดวลจุดโทษที่ เอฟเอคัป 2005 รอบตัดสิน[19]

ตัวจริงลงสนาม

แก้

หลังจากที่วิเอร่า ออกจากทีมไปสู่สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส ฟาบรากัสได้สวมเสื้อเบอร์ 4 แทนและได้ลงเล่นประจำกับอาร์เซนอล ในตำแหน่งกองกลางตัวกลาง ร่วมไปกับชิลเบร์ตู ซิลวา เขาลงสนาม 49 ครั้งในการแข่งขันในฤดูกาล 2005-06[14] ถึงอย่างไรก็ตาม เพราะด้วยอายุยังน้อย จากการลงแข่งของเขาทำให้การพิสูจน์ในตัวเขายากไปยิ่งขึ้น เนื่องจากเขาได้มีส่วนร่วมในทีมตัวจริงมากขึ้น มากไปกว่านั้นความสามารถของเขาก็ถูกจำกัดให้น้อยลงไปและด้วยการเล่นที่รุกน้อยกว่าวิเอร่า จึงเกิดการตั้งคำถามในเรื่องความสามารถในการอุดช่องโหว่หลังจากที่วิเอร่าออกไป[20] แต่อย่างไรก็ตาม ฟาบรากัสยังคงใช้สไตล์การเล่นในแบบฉบับของเขาและได้สร้างความประทับใจในการแข่งยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ในครั้งที่แข่งกับสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดและยูเวนตุส[21][22][23] ต่อมาเขาทำประตูแรก และเธียร์รี อองรีกับประตูที่ 2[21] ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าเขาสามารถรุก เข้าแย่งลูกอย่างดุดันในแบบกองกลางได้อย่างวิเอร่า[23] จากนั้นเขาได้แข่งในนัดสุดท้ายกับอดีตทีมของเขาบาร์เซโลนา แต่อาร์เซนอลแพ้ไป 2–1[24] พลาดการคว้าถ้วยรางวัลไปในฤดูกาล 2005-06 ให้กับอาร์เซนอล

 
ฟาบรากัส ฉลองชัยหลังจากทำประตูได้ กับเพื่อนร่วมทีมอาร์เซนอล

เรอัลมาดริดแสดงความต้องการที่จะเซ็นสัญญากับฟาบรากัส ทั้ง ๆ ที่เขาเซ็นสัญญายาวกับอาร์เซนอล[25] แต่ผู้จัดการทีมอาร์เซนอล อาร์แซน แวงแกร์ กล่าวว่าอาร์เซนอลจะไม่ฟังการเสนออะไรทั้งสิ้น[26] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 เป็นเวลา 6 ปีหลังเซ็นสัญญา อาร์เซนอลยื่นข้อเสนอสัญญา 5 ปี (มีสัญญาตัวเลือก ขยายเวลาไปอีก 3 ปี) ให้กับฟาบรากัส ซึ่งเขาก็เซ็นสัญญาเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2006[27] ในขณะที่สัญญาปกติจะไม่ยาวขนาดนี้ ฟาบรากัสกล่าวเกี่ยวกับการเซ็นสัญญา คือเรื่องสไตล์การเล่นของอาร์เซนอล และแวงแกร์ เป็นเหตุผลที่ทำให้เขาตกลงเซ็นสัญญาระยะยาวกับสโมสร[28][29]

 
ฟาบรากัสในตำแหน่งกัปตันทีมในฤดูกาล 2008–09

ในฤดูกาล 2006-07 ผลงานของอาร์เซนอลและฟาบรากัส ถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะพ่ายแพ้อีกครั้งให้กับสโมสรฟุตบอลเชลซี ในลีกคัพ[30] แต่อย่างไรก็ตาม ฟาบรากัสก็ได้แจ้งเกิดในฐานะหนึ่งในผู้เล่นสำคัญที่มีความคิดสร้างสรรค์ให้กับทีม เขาได้ร่วมเล่นในทุกนัดของลีก[14][31] ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2006-07 เขาทำคะแนนให้กับอาร์เซนอล 3–0 ชนะสโมสรฟุตบอลดินาโมซาเกร็บในรอบคัดเลือก[32] ในพรีเมียร์ลีก เขาเป็นตัวจ่ายบอลทำประตู 13 ครั้ง ซึ่งถือว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในลีก[14][31] เมื่อจบฤดูกาลเขาได้รับรางวัลส่วนตัว อาทิ รางวัลโกลเดนบอย มอบโดยหนังสือพิมพ์อิตาลีที่ชื่อ TuttoSport จัดโดยแบบสำรวจของผู้อ่านจากทั่วยุโรป[33] เขายังได้รับรางวัล ทีมแห่งปีจากยูฟ่า ร่วมกับทีมในปี 2006[34] และยังเป็นผู้เล่นพรีเมียร์ลีกแห่งเดือนมกราคม ค.ศ. 2007[35] นอกจากนั้นเขายังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง ทั้งรางวัลนักฟุตบอลและนักฟุตบอลดาวรุ่งยอดเยี่ยมแห่งปีของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพ แต่ทั้ง 2 รางวัล ผู้ได้รับไปในปีนั้นคือคริสเตียโน โรนัลโด จากสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[36] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 เขาได้เป็นผู้แหล่งอาร์เซนอลประจำฤดูกาล ด้วยคะแนน 60%[37]

ในฤดูกาล 2007-08 เริ่มต้นด้วยความไม่แน่นอนสำหรับทีมอาร์เซนอล อย่างแรก เดวิด ดีน รองประธานสโมสร ออกไปกลางคันจากปัญหาภายใน ตามมาด้วยการจากไปของผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของสโมสรและกัปตันทีม เธียร์รี อองรี ที่เซ็นสัญญากับบาร์เซโลนา ทำให้ฟาบรากัสกลายเป็นผู้เล่นที่สำคัญที่สุดของอาร์เซนอล แต่เขาก็พร้อมสำหรับการท้าทายนี้[38] โดยเขาเริ่มฤดูกาลได้ดี ทั้งทำประตูและจ่ายบอลทำประตู[14] นอกจากนั้นเขายังได้รางวัลผู้เล่นแห่งเดือนจากแฟน ๆ ของอาร์เซนอล ในเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม[39] ทั้งยังได้ผู้เล่นพรีเมียร์ลีกประจำเดือนสิงหาคม[40] และกับคะแนนหัวตารางของอาร์เซนอลจนถึงเดือนมีนาคม ฟาบรากัสเป็นเครื่องมือสำหรับสโมสรในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2007-08 โดยในนัดแข่งกับเอซี มิลาน เขาทำประตูในท้ายการแข่งขันและส่งผลให้ทีมเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศ[41] และถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะไม่ได้ถ้วยรางวัลไป[42] แต่ฟาบรากัสก็ได้รับรางวัลส่วนตัวไปหลายรางวัล เมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2008 เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนักฟุตบอลและนักฟุตบอลดาวรุ่งยอดเยี่ยมแห่งปีของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพ อีกครั้งเป็นปีที่ 2[43] ซึ่งเขาก็ได้รับรางวัลนักฟุตบอลดาวรุ่งยอดเยี่ยมแห่งปีไป และยังได้รับรางวัลทีมแห่งปีของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพนี้ไปอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นผู้เล่นแห่งฤดูกาล 2007-08 จากเว็บไซต์อาร์เซนอล.คอม[44]

กัปตันทีม

แก้
 
ฟาบรากัสกับตำแหน่งกัปตันทีม ในรอบรองชนะเลิศแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2008–09

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 กับ 14 นัดในฤดูกาล 2008-09 ฟาบรากัสเป็นผู้สืบทอดกัปตันทีมต่อจากวีลียาม กาลัส[45][46] อย่างไรก็ตาม อาร์เซนอลเริ่มต้นฤดูกาลได้ไม่ค่อยดีนัก ฟาบรากัสไม่สามารถลงสนามได้เป็นเวลา 4 เดือนหลังจากบาดเจ็บที่หัวเข่าในนัดพบกับสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล[47] จนจบฤดูกาลอาร์เซนอลก็ไม่สามารถรับเหรียญใด ได้อันดับ 4 ของพรีเมียร์ลีกและตกรอบในรอบรองชนะเลิศในแชมเปียนส์ลีกฤดูกาล 2008–09[48][49] ในเวลาต่อมากับนโยบายของอาร์เซนอลต่อการเตรียมการกับผู้เล่นวัยหนุ่ม ทีมที่นำโดยฟาบรากัสในฤดูกาลใหม่ประกอบด้วยผู้เล่นวัยหนุ่มเกือบทั้งหมด อย่างเช่น นิคลาส เบนท์เนอร์, กาแอล กลีชี, อาบู ดียาบี, เดนีลซง เปเรย์รา เนวิส, อเล็กซานเดอร์ ซง และ ธีโอ วัลคอตต์

เปิดฤดูกาล 2009-10 ฟาบรากัสทำประตูและยังช่วยจ่ายบอลยิง 2 ประตูในนัดที่อาร์เซนอลชนะเอฟเวอร์ตัน 6–1[50] ในรอบคัดเลือกแชมเปียนส์ลีก 2009-10 อาร์เซนอลชนะสโมสรฟุตบอลเคลติก 2 ครั้ง แต่ตอนต้นฤดูกาลก็ถูกรบกวนด้วยการพ่ายให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและแมนเชสเตอร์ซิตี ติดต่อกัน ทีมได้กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้งหลังจากทรุดลงไป โดยฟาบรากัสทำคะแนนกับทีมได้ และไม่พ่ายใคร 13 เกม และจากความที่พ่ายใน 4 ลีกก่อนกลางฤดูกาล อาร์เซนอลสามารถนำขึ้นสู่ลีกหลังผ่านไป 22 เกม เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2010 ในแชมเปียนส์ลีกนัดแรกในรอบก่อนชิงชนะเลิศที่แข่งกับบาร์เซโลนา ฟาบรากัสบาดเจ็บขาหักก่อนทำประตูเสมอในนัดนี้ จบลงด้วยประตู 2–2[51] อาร์เซนอลที่มีคะแนนตามผู้นำอย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 4 คะแนน โดยปราศจากกัปตันทีมในอีก 6 นัดของฤดูกาล[51] ท้ายสุดอาร์เซนอลก็ตกรอบไปในแชมเปียนส์ลีกหลังพ่ายบาร์เซโลนา แต่ฟาบรากัสก็ได้เป็นนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพ[52]

ก่อนเริ่มฤดูกาล 2010-11 เขาได้แรงกดดันจากสื่อเกี่ยวกับอนาคต และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 อาร์เซนอลปฏิเสธการเสนอซื้อตัวเขาจากบาร์เซโลนา 35 ล้านเหรียญยูโรไป[53][54][55] ในฤดูกาล 2010–11 เป็นฤดูกาลแห่งการแข่งขันสูงในพรีเมียร์ลีก ถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะแพ้ 5 นัดก่อนกลางฤดูกาล แต่อาร์เซนอลก็เบียดอยู่ในผู้นำในลีก พอ ๆ กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและแมนเชสเตอร์ซิตี[56] จนมาถึงช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ อาร์เซนอลก็ยังเป็นหนึ่งในสี่ของผู้นำ แต่ภายในเวลา 2 สัปดาห์หลังจากที่แพ้ในนัดชิงชนะเลิศลีกคัพ และแพ้ตกรอบในนัดรอบ 16 ทีมสุดท้ายในแชมเปียนส์ลีกเมื่อเจอกับบาร์เซโลนา และยังแพ้ในเอฟเอคัพรอบก่อนชิงชนะเลิศ[57] ฟาบรากัสไม่ได้ลงแข่งในนัดตัดสินลีกคัพ ที่เกิดจากอาการบาดเจ็บเมื่อเขาตอกส้นผิดจังหวะในนัดที่ 2 ของแชมเปียนส์ลีก กับทีมบาร์เซโลนา ส่วนในลีกอาร์เซนอลยังคงเป็นคู่แข่งที่สำคัญ แต่เมื่อเหลืออีก 1 ใน 3 ของฤดูกาล อาร์เซนอลก็มีผลเสมออย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุทำให้คะแนนตามหลังผู้นำลีก แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด อยู่มาก จนเมื่อจบฤดูกาลอาร์เซนอล ตกมาอยู่อันดับ 4 ของลีก

บาร์เซโลนา

แก้

ฤดูกาล 2011–12

แก้

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2011 ฟาบรากัสเซ็นสัญญากับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา เป็นเวลา 5 ปี ด้วยค่าตัว 35 ล้านปอนด์ ที่อาจเพิ่มอีก 5 ล้าน ขึ้นอยู่กับความสำเร็จ[58] ฟาบรากัสลงตัวนัดแรกกับบาร์เซโลนา ในนัดที่ 2 ของการแข่งขันซูเปร์โกปาเดเอสปัญญาแข่งกับเรอัลมาดริด ลงในฐานะผู้เล่นสำรอง บาร์เซโลนาชนะ 3–2 ผลประตูรวม 5–4[59] เขายิงประตูแรกในนัดที่บาร์เซโลนาชนะปอร์ตู 2–0 ในการแข่งขันยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2011[60] และประตูแรกของเขาในลีก คือนัดเปิดตัวที่แข่งกับสโมสรฟุตบอลบิยาร์เรอัล

ฤดูกาล 2012–13

แก้

ฤดูกาล 2013–14

แก้

เชลซี

แก้

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ฟาบรากัสเซ็นสัญญากับเชลซี เป็นระยะเวลา 5 ปี ด้วยค่าตัว 33 ล้านปอนด์ โดยสวมใส่เบอร์ 4 ซึ่งเป็นเบอร์เดิมของดาวิด ลุยซ์[61][62]

ทีมชาติ

แก้

ชุดเยาวชน

แก้

ในการลงแข่งฟุตบอลทีมชาติสเปน ฟาบรากัสเริ่มลงแข่งขันในระดับเยาวชน ในฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 17 ปี ปี ค.ศ. 2003 ที่จัดขึ้นที่ฟินแลนด์ จบลงด้วยการเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในการแข่งขัน แม้ว่าเขาจะเล่นตำแหน่งกองกลาง และได้รับลงคะแนนเป็น ผู้เล่นแห่งการแข่งขันนี้ด้วย[7] จบลงด้วยสเปนได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ พ่ายให้บราซิลไป[63] ต่อมาเขาร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปเยาวชนอายุไม่เกิน 17 ปี ค.ศ. 2008 ซึ่งสเปนก็ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศเช่นกัน[64] เขาได้รับตำแหน่งเป็น "ผู้เล่นทองคำ" (Golden Player) ของการแข่งขัน[64]

ชุดใหญ่

แก้

หลังจากที่เขาเป็นผู้เล่นสำคัญของอาร์เซนอลในเพียงฤดูกาลที่ 2 ของเขากับสโมสร ไม่นานนักฟาบรากัสก็ถูกเรียกตัวเข้าทีมชาติรุ่นใหญ่ โค้ชชาวสเปน ลุยส์ อาราโกเนสประทับใจในฝีมือการเล่นของฟาบรากัสในแชมเปียนส์ลีก 2006 กับทีมอาร์เซนอล ลุยส์ อาราโกเนสได้ให้เขาเล่นในนัดกระชับมิตรกับทีมโกตดิวัวร์[65] ในนัดนั้นฟาบรากัสถือเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดของทีมชาติสเปนในรอบ 70 ปี ทำลายสถิติของเซร์คีโอ ราโมส[3] เขาได้รับเสียงวิจารณ์ชมชอบในผลงานเปิดตัว และได้ทำประตูแรกให้กับสเปนโดยชนะทีมโกตดิวัวร์ไป 3–2[3][66]

ฟุตบอลโลก 2006

แก้

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 ฟาบรากัสได้รับเลือกให้เป็นผู้เล่นทีมชาติสเปนชุดฟุตบอลโลก 2006 ในระหว่างการแข่งขัน เขาได้รับการเปลี่ยนตัว ลงเล่นในครึ่งหลังของ 2 นัดแรกในรอบแบ่งกลุ่ม ได้ช่วยจ่ายบอลให้เฟร์นันโด ตอร์เรส ในนัดแข่งกับทีมชาติตูนิเซีย ทำประตู 3–1[67] จากนั้นเขาได้เป็นตัวสำรอง (เช่นเดียวกับเพื่อนร่วมทีมในอาร์เซนอล โคเซ อันโตเนียว เรเยส) ในนัดที่ 3 ของรอบแบ่งกลุ่มที่เจอกับทีมชาติซาอุดีอาระเบีย[68] เขาได้ลงเล่นกับทีมชาติสเปนอีกในนัดแรกของรอบคัดออก ที่เจอกับทีมชาติฝรั่งเศส แทนการเล่นของ มาร์กอส เซนนา แต่สเปนก็แพ้ฝรั่งเศสไป 3–1[69] ฟาบรากัสถือเป็นผู้เล่นของทีมชาติสเปนที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ร่วมเข้าแข่งขันฟุตบอลโลก โดยเขาลงเล่นเปลี่ยนตัวแทน ลุยส์ การ์ซีอา ในนาทีที่ 77 ในนัดที่สเปนชนะทีมชาติยูเครน ไป 4–0 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2006 เมื่อเขาอายุ 19 ปีกับ 41 วัน[70] ต่อมาเขายังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลผู้เล่นดาวรุ่งฟุตบอลโลก แต่ลูคัส โพดอลสกี จากเยอรมนีได้รับรางวัลนี้ไป[71]

ยูโร 2008

แก้
 
ฟาบรากัสฉลองชัยในการเป็นแชมป์ยูโร 2008 ของสเปน

ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 ฟาบรากัสได้ลงทีมชาติหมายเลข 10 แทนหมายเลข 18 เมื่อครั้งก่อน[72] ทั้ง ๆ ที่เขาจะได้เป็นตัวสำรองโดยเกือบตลอด แต่กองกลางผู้นี้ก็ยังสามารถทำประตูให้กับทีมชาติสเปนได้ โดยเป็นประตูแรกในการแข่งขันระหว่างประเทศของเขา ในนัดแข่งกับทีมชาติรัสเซีย ที่ชนะ 4–1 เขายังได้ช่วยส่งลูกทำประตูด้วยในนัดนี้[73] สเปนชนะทุกทีมในรอบแบ่งกลุ่มและได้เจอกับทีมชาติอิตาลี ในรอบก่อนรองชนะเลิศ ในนัดนี้ฟาบรากัสยิงลูกโทษ หลังจากที่ทีมชะงักอยู่ที่ 0–0 ในการต่อเวลาพิเศษ[74] ในรอบรองชนะเลิศ สเปนชนะทีมชาติรัสเซีย 3–0 โดยฟาบรากัสได้ช่วยส่งลูกทำประตู 2 ลูก[73] ฟาบรากัสเป็น 1 ใน 11 คนที่ลงสนามในนัดตัดสินที่เจอกับทีมชาติเยอรมนี โดยสเปนชนะไป 1–0 ถือเป็นแชมเปียนครั้งที่ 2 ของสเปน โดยครั้งก่อนหน้านั้นคือปี ค.ศ. 1964[75] และทีมชาติสเปนได้รับรางวัลทีมยอดเยี่ยมแห่งฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 โดยคัดเลือกโดยทีมเทคนิคของยูฟ่า[73]

คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009

แก้
 
ฟาบรากัส (หมายเลข 10) ร่วมกับเพื่อนร่วมทีมชาติสเปน ในนัดเจอกับทีมชาติออสเตรีย ในคอนเฟเดอเรชันส์คัป 2009

หลังจากบาดเจ็บไปหลายเดือน ฟาบรากัสยังคงเป็นผู้เล่นในทีมการแข่งขันของผู้จัดการทีมชาติสเปน บีเซนเต เดล โบสเก ในเดือนมิถุนายน เขาติดอยู่ในรายชื่อทีมการแข่งขันคอนเฟเดอเรชันส์คัป 2009 เขาทำประตูในการแข่งขันระหว่างประเทศเป็นลูกที่ 2 ในนัดเจอกับทีมชาตินิวซีแลนด์ โดยชนะไป 5–0 ในรอบแบ่งกลุ่ม[76] ในรอบรองชนะเลิศที่แข่งกับทีมชาติสหรัฐอเมริกา (โดยฟาบรากัสได้เป็น 1 ในผู้เล่น 11 คนลงสนาม) สเปนได้สร้างความประหลาดใจจากการพ่ายแพ้ 2–0 ทำให้สถิติทีมชาติสเปนที่ชนะใน 15 เกมรวดต้องหยุดไป[77]

ฟุตบอลโลก 2010

แก้

ฟาบรากัสได้รับเลือกโดยเดล โบสเกให้เป็นส่วนหนึ่งของผู้เล่น 23 คนของทีมชาติสเปนในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010[78] แต่เดล โบสเกพึงพอใจที่จะเลือกกองกลางอย่าง เซร์คีโอ บุสเกตส์, ชาบี อาลอนโซ, ชาบี, เปโดร และอันเดรส อีเนียสตา ในขณะที่ฟาบรากัสไม่ได้เป็น 1 ในผู้เล่น 11 คนลงสนาม เขาเป็นตัวสำรอง 4 จาก 7 นัด ที่สเปนพ่ายในนัดแรก ก่อนที่จะนำชัยชนะต่อมาอีก 6 ครั้ง โดยในนัดตัดสิน ในการต่อเวลาพิเศษ ฟาบรากัสได้ส่งลูกให้อีเนียสตาทำประตูให้สเปน เป็นผู้ชนะเลิศครั้งแรกของทีมชาติสเปนในการแข่งขันฟุตบอลโลก[79]

ยูโร 2012

แก้
 
ฟาบรากัสขณะแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 นัดชิงชนะเลิศ

ฟาบรากัสได้รับเลือกเป็นส่วนหนึ่งในชุด 23 คนของเดล โบสเก ในการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012[80] เริ่มการแข่งขันกับทีมชาติอิตาลีในกลุ่มซี ในรูปแบบการเล่น 4–3–3 ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในกองหน้า 3 คน ในนาทีที่ 64 เขายิงประตูตีเสมอหลังจากที่อิตาลีนำอยู่ก่อนหน้านี้ในนาทีที่ 61 จบเกมด้วยผลเสมอ 1–1[81] จากนั้นเขาได้ยิงประตูที่ 2 ในรอบแบ่งกลุ่มในนัดแข่งกับไอร์แลนด์ เมื่อสเปนพบกับโปรตุเกสในรอบรองชนะเลิศ ในขณะที่ยังไม่มีใครทำประตูได้ แม้ต้องต่อเวลาออกไปแล้ว จึงต้องตัดสินด้วยการดวลจุดโทษ ฟาบรากัสได้ยิงจุดโทษสุดท้ายทำให้สเปนชนะ 4–2 ในรอบตัดสินพบกับอิตาลีอีกครั้ง ฟาบรากัสช่วยส่งลูกให้ดาบิด ซิลบายิงเปิดประตูแรก ท้ายสุดสเปนชนะอิตาลี 4–0

คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013

แก้

ฟุตบอลโลก 2014

แก้

ยูโร 2016

แก้

ตารางทำประตูในการแข่งขันระหว่างประเทศ

แก้
คะแนนและผล โดยตัวเลขประตูของฟาบรากัสแสดงเป็นตัวหนา
# วันที่ สถานที่ คู่แข่ง ประตู ผล การแข่งขัน
1. 10 มิถุนายน ค.ศ. 2008 ทีโวลีนอย, อินน์บรัค, ออสเตรีย   รัสเซีย 4–1 4–1 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008
2. 14 มิถุนายน ค.ศ. 2009 สนามกีฬารอยัลบาโฟเกง, รุสเทนเบิร์ก, แอฟริกาใต้   นิวซีแลนด์ 4–0 5–0 คอนเฟเดอเรชันส์คัป 2009
3. 9 กันยายน ค.ศ. 2009 สนามกีฬาโรมาโน, เมริดา, สเปน   เอสโตเนีย 1–0 3–0 รอบคัดเลือกการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010
4. 10 ตุลาคม ค.ศ. 2009 สนามกีฬาฮันราเพทากัน, เยเรวาน, อาร์มีเนีย   อาร์มีเนีย 1–0 2–1 รอบคัดเลือกการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010
5. 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 สนามกีฬาเอิร์นสต์-ฮัพเพิล, เวียนนา, ออสเตรีย   ออสเตรีย 1–1 5–1 นัดกระชับมิตร
6. 8 มิถุนายน ค.ศ. 2010 นวยบากอนโดมีนา, เมอร์เซีย, สเปน   โปแลนด์ 4–0 6–0 นัดกระชับมิตร
7. 2 กันยายน ค.ศ. 2011 เอเอฟจีอารีนา, ซังค์กัลเลิน, สวิตเซอร์แลนด์   ชิลี 2–2 3–2 นัดกระชับมิตร
8. 2 กันยายน ค.ศ. 2011 เอเอฟจีอารีนา, ซังค์กัลเลิน, สวิตเซอร์แลนด์   ชิลี 3–2 3–2 นัดกระชับมิตร
9. 10 มิถุนายน ค.ศ. 2012 แปกีแยแออาแรนากดัญสก์, กดัญสก์, โปแลนด์   อิตาลี 1–1 1–1 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012
10. 14 มิถุนายน ค.ศ. 2012 แปกีแยแออาแรนากดัญสก์, กดัญสก์, โปแลนด์   สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 4–0 4–0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012

รูปแบบการเล่น

แก้
 
ฟาบรากัสและอันเดอร์สันจากสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในเกมฤดูกาล 2007–08

เขาได้เข้าสู่ทีมอาร์เซนอลมาตั้งแต่วัยรุ่น และค่อย ๆ พัฒนากับการเล่นในลีกคัพ ฟาบรากัสเคยเป็นกองกำลังที่อาร์เซนอลไม่ได้คาดหวังเท่าใดนัก โดยเริ่มจากการเป็นกองกลางตัวกลางของอาร์เซนอล แต่หลังจากที่กองกลางอย่าง ปาทริค วิเอร่า, ชิลเบร์ตู ซิลวา และ เอดู บาดเจ็บในการแข่งขันฤดูกาล 2004–05 ทำให้การทำหน้าที่ของฟาบรากัสถือได้ว่าเป็นตัวทำเกมและตัวส่งผ่าน เขาได้กลายเป็นผู้เล่นที่เป็นที่ต้องการตัวและดาวรุ่งที่มีความสามารถในเกม จนเขาได้เป็นผู้เล่นประจำให้กับอาร์เซนอล ยังได้รับการเรียกว่าเป็น แกนหลักของทีมแรกของอาร์เซนอล นำมาซึ่ง วิสัยทัศน์ ความคิดสร้างสรรค์ และเข้าใจถึงเวลาและสถานที่โดยแต่กำเนิดในการผ่านเกมอันซับซ้อนของอาร์เซนอล และแสดงให้เห็นวุฒิภาวะที่เกินกว่าอายุ[3][4][7][9][37][38][82][83] เขามักได้รับผิดชอบในการเตะเซ็ตพีซ เตะมุม ฟรีคิก และ ยิงลูกโทษ

ฟาบรากัสเคยให้สัมภาษณ์ว่า วิเอร่าเป็นตัวอย่างและให้คำปรึกษาของเขา[84] ขณะที่รูปแบบการเล่นตามฮีโรในวัยเด็กของเขาและสัญชาติเดียวกับเขา คือ แป็ป กวาร์ดิออลา[10] แต่เขาก็มีความแตกต่างจากผู้เล่นในตำแหน่งเดียวกับเขาก่อนหน้า โดยเขามีทักษะเหนือความแข็งแกร่ง[10][20] ซึ่งแต่เดิมเป็นเหตุให้เกิดเสียงวิจารณ์ถึงน้ำหนักตัวที่เบาและการเล่นที่ดุดันน้อยกว่า[20][23] กับอดีตเพื่อนร่วมทีม แอชลีย์ โคล วิจารณ์เขาไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติว่า "ไม่อาจบอกได้ว่าเบา"[85]

อย่างไรก็ตาม จากสถิติของฟาบรากัสที่พิสูจน์ในหลายฤดูกาล เขาได้รับความดุดันในการเล่นมากขึ้น ความสำคัญในทีมในฐานะพลังแห่งความสร้างสรรค์เกมก็อาจสะท้อนให้เห็นได้จากการเป็นผู้ช่วยส่งทำประตู 16 ประตูในการแข่งในฤดูกาล 2006–07[14] และจากการยอมรับจากตัวเขาเอง การทำประตูเป็นจุดอ่อนของเขาในช่วงฤดูกาลแรก ๆ กับอาร์เซนอล การจบสกอร์เป็นปัญหาใหญ่ของอาร์เซนอลในฤดูกาล 2005–06 และ 2006–07[82] และก็เปลี่ยนไป เมื่อเริ่มฤดูกาล 2007–08 เขายิงประตูได้ 11 ประตูใน 16 เกม จนผู้จัดการทีมอาร์เซนอล แวงแกร์ กล่าวว่า "การไม่สามารถทำประตูเมื่อก่อนนั้นได้หายไปพร้อมกับสภาพจิตใจที่ดีขึ้น" หรือแม้กระทั่งเปรียบเทียบเขากับ มิเชล พลาตินี กองกลางที่มีชื่อเสียงด้านการทำประตู[86][87] อีกเรื่องที่พูดถึงคือจำนวนนัดการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ฟาบรากัสได้ลงแข่งให้กับสโมสรและทีมชาติสเปนในหลายฤดูกาลที่ผ่านมา[65][88] โดยเขาได้พยายามหลีกเลี่ยงงานพิเศษอื่น

สถิติ

แก้
(ข้อมูลวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2012) [14]
สโมสร ฤดูกาล ลีก คัป[89] ยุโรป รวม
ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู
อาร์เซนอล 2003–04 0 0 0 3 1 0 0 0 0 3 1 0
2004–05 33 2 4 8 0 0 5 1 0 46 3 4
2005–06 35 3 5 2 1 0 13 1 2 50 5 7
2006–07 38 2 13 6 0 2 10 2 1 54 4 16
2007–08 32 7 19 3 0 1 10 6 2 45 13 22
2008–09 22 3 10 1 0 0 10 0 5 33 3 15
2009–10 27 15 15 1 0 1 8 4 3 36 19 19
2010–11 20 3 10 6 3 1 5 3 2 29 9 13
รวม 212 35 80 30 5 5 61 17 15 303 57 100
บาร์เซโลนา 2011–12 28 9 10 8 3 6 11 3 4 47 15 23
รวม 28 9 10 8 3 6 11 3 4 47 15 23
รวมทั้งหมด 240 44 92 38 8 12 72 20 19 350 72 126
ประเทศ ทีมชาติ
ปีลงเล่นประตู
2006 14 0
2007 8 0
2008 15 1
2009 10 4
2010 11 1
2011 4 2
2012 7 2
รวม 69 10

เกียรติประวัติ

แก้
 
ฟาบรากัส (กลาง) ในปี ค.ศ. 2011 ร่วมกับ โคเซ ลุยส์ โรดรีเกซ ซาปาเตโร นายกรัฐมนตรีของสเปน(ซ้าย) และเดวิด แคเมอรอน นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร

สโมสร

แก้
อาร์เซนอล
บาร์เซโลนา
เชลซี

ทีมชาติ

แก้
สเปน

งานอื่น

แก้

ฟาบรากัสได้ร่วมในรายการโทรทัศน์พิเศษของเขาเอง ซึ่งออกอากาศเพียงตอนเดียว ชื่อรายการ "The Cesc Fàbregas Show: Nike Live" ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 รายการมีผู้สนับสนุนคือไนกี้ ทางช่องสกายสปอร์ตส เป็นรายการปกิณกะ ที่มีเพื่อนร่วมทีมอาร์เซนอลอย่าง ฟิลิปป์ เซ็นเดอรอส และนิคลาส เบนท์เนอร์ รวมถึงโค้ช อาร์แซน แวงแกร์ และพ่อแม่ของฟาบรากัส รวมถึงดาราจากรายการลิตเทิลบริเตน แมตต์ ลูคัส มาร่วมในรายการนี้ด้วย[91]

ฟาบรากัสยังเป็นผู้อุปถัมภ์กิตติมศักดิ์ของโครงการการเหยียดเชื้อชาติในฟุตบอลและสังคม ทีชื่อโครงการว่า Show Racism the Red Card

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Player Profile: Cesc Fàbregas". FC Barcelona. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2013.
  2. "Player Profile: Cesc Fàbregas". Chelsea F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-04.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Francesc Fabregas profile เก็บถาวร 2007-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, accessed 27 June 2009.
  4. 4.0 4.1 4.2 Cesc Fàbregas profile, Arsenal F.C., accessed 27 June 2009.
  5. Francesc Fabregas: Spanish marvel blossoms out of the world of his mentors เก็บถาวร 2011-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Independent, accessed 31 August 2010.
  6. Cesc Fábregas faces the Barcelona Dream Team he left behind, The Guardian, 31 March 2010, accessed 18 September 2010.
  7. 7.0 7.1 7.2 Cesc Fabregas, UEFA, accessed 23 May 2007.
  8. The one that got away, BBC Sport, accessed 1 June 2010.
  9. 9.0 9.1 9.2 The Young Gunner[ลิงก์เสีย], , accessed 4 Jan 2011.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Marcotti, Gabriele and Balague, Guillem, "From Barcelona to Barnet: how a rising star learnt his trade", The Times, 28 February 2007, accessed 23 May 2007.
  11. Cesc Fabregas becomes Arsenal's youngest ever player, Arsenal F.C., 27 January 2006, accessed 22 May 2007.
  12. Arsenal youngsters thump Wolves, BBC Sport, 2 December 2003, accessed 22 May 2007.
  13. Record Scorelines, Arsenal F.C., accessed 23 May 2007.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 Francesc Fabregas history เก็บถาวร 2010-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, accessed 18 December 2007.
  15. Hughes, Ian, "Fabregas the fabulous", BBC Sport, 27 August 2004, accessed 22 May 2007.
  16. Arsenal 3–0 Blackburn เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 25 August 2004, accessed 23 May 2007.
  17. "Fabregas commits to Arsenal". BBC Sport. 2004-09-17. สืบค้นเมื่อ 2010-06-03.
  18. Haylett, Trevor, "Awesome Arsenal progress in style, UEFA, 7 December 2004, accessed 22 May 2007.
  19. Arsenal 0–0 Man Utd (aet), BBC Sport, 21 May 2005, accessed 23 May 2007.
  20. 20.0 20.1 20.2 Hubbard, Norman, "Arsenal's midfield muddle" เก็บถาวร 2012-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 22 August 2005, accessed 23 May 2007.
  21. 21.0 21.1 Arsenal 2–0 Juventus, BBC Sport, 28 March 2006, accessed 23 May 2007.
  22. Sheringham, Sam, "Spain Teenager Fabregas Sparks World Cup Rally, Wows Maradona", Bloomberg, 20 June 2006, accessed 23 May 2007.
  23. 23.0 23.1 23.2 Harrold, Michael, "Fabregas plots Arsenal revival", UEFA, 13 April 2007, accessed 23 May 2007. เก็บถาวร 2007-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  24. Haslam, Andrew, "Barca comeback denies Arsenal", UEFA, 17 May 2006, accessed 23 May 2007.
  25. Kendall, Mark, 00.html "Real confident of securing Cesc's signature", Sky Sports, 4 July 2006, accessed 22 May 2007.
  26. Wenger: Fàbregas is not for sale, he is Arsenal's future, Arsenal F.C., 12 July 2006, accessed 22 May 2007.
  27. Fàbregas signs new Arsenal deal, BBC Sport, 19 October 2006, accessed 22 May 2007.
  28. Harris, Chris, "Fabregas – Our style of play makes me so happy", Arsenal F.C., 22 October 2006, accessed 23 May 2007.
  29. Adams, Tom, 00.html "Cesc staying grounded", Sky Sports, 27 October 2006, accessed 24 May 2007.
  30. Chelsea 2–1 Arsenal, BBC Sport, 21 February 2007, accessed 23 May 2007.
  31. 31.0 31.1 Arsenal are the ultimate 'second half' team, Arsenal F.C., accessed 23 May 2007.
  32. Dinamo Zagreb 0–3 Arsenal, BBC Sport, 8 June 2006, accessed 7 September 2008.
  33. Lipton, Martin, "HE'S FAB IN POLL", Daily Mirror, 2 December 2006, accessed 22 May 2007.
  34. Your Team of 2006 revealed, UEFA, 19 January 2006, accessed 22 May 2007.
  35. Benitez and Fabregas scoop awards, BBC Sport, 9 February 2007, accessed 22 May 2007.
  36. Arsenal 3–1 Man City: Fabregas inspires revival เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 17 April 2007, accessed 18 April 2007.
  37. 37.0 37.1 'He showed he is the ultimate midfield player', Arsenal F.C., accessed 28 June 2007.
  38. 38.0 38.1 ,2156108, 00.html How Fabregas plans to save Arsenal[ลิงก์เสีย], The Guardian, 25 August 2007, accessed 17 September 2007.
  39. Fabregas scoops O2 Player of the Month award, Arsenal F.C., 5 October 2007, accessed 6 October 2007.
  40. ,12306~107729, 00.pdf GUNNERS DUO CELEBRATE AWARDS DOUBLE[ลิงก์เสีย], Premier League, 19 October 2007, accessed 5 March 2008.
  41. AC Milan 0 – Arsenal 2, BBC Sport, 5 March 2008, accessed 5 March 2008.
  42. Season Review Week: The highlights and the lowlights เก็บถาวร 2016-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Arsenal F.C., accessed 24 May 2008.
  43. Ronaldo heads shortlist for players' awards เก็บถาวร 2012-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 11 April 2008, accessed 12 April 2008.
  44. Fabregas is O2/Arsenal.com Player of the Season, Arsenal F.C., accessed 8 July 2008.
  45. Fabregas replaces Gallas as Arsenal skipper เก็บถาวร 2012-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 24 November 2008, accessed 25 November 2008.
  46. Captain Cesc's appointment is no surprise, The Sport Review, 26 November 2008, accessed 22 May 2009.
  47. Injured Fabregas ruled out for 3–4 months เก็บถาวร 2012-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 23 December 2008, accessed 24 December 2008.
  48. 2008/2009 English Premier League: Statistics เก็บถาวร 2012-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, accessed 1 July 2009.
  49. Arsenal 1 – 3 Manchester United, ESPNsoccernet, 29 April 2009, accessed 1 July 2009.
  50. Gunners crush Toffees, ESPNsoccernet, 15 August 2009, accessed 18 August 2009.
  51. 51.0 51.1 Fabregas out for six weeks with leg fracture, ESPNsoccernet, 1 April 2010, accessed 2 April 2010.
  52. Rooney scoops PFA Player of the Year Award, ESPNsoccernet, 25 April 2010, accessed 26 April 2010.
  53. Arsenal reject Barcelona's bid for Cesc Fabregas, BBC Sport, 2 June 2010, accessed 15 June 2010.
  54. Barcelona switch tactics over Cesc Fabregas in bid to get Arsenal to the negotiating table, The Daily Mail, 28 May 2010, accessed 22 June 2010.
  55. Laporta: Lines of communication open over Cesc เก็บถาวร 2012-05-25 ที่ archive.today, fcbarcelona.cat, 4 June 2010, accessed 27 June 2010.
  56. Roger, Martins, "EPL midseason surprises and disappointments", Yahoo! Sports, 29 December 2010, accessed 20 January 2011.
  57. Wenger not questioning steel เก็บถาวร 2012-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 14 March 2011, accessed 15 March 2011.
  58. Arsenal agree Cesc deal with Barca เก็บถาวร 2012-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPN Soccernet, 14 August 2011, accessed 15 August 2011.
  59. Messi wins Super Cup เก็บถาวร 2012-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 17 August 2011, accessed 17 August 2011.
  60. Ashby, Kevin, "Barcelona breeze to fourth UEFA Super Cup", UEFA, 26 August 2011, accessed 27 August 2011.
  61. "Cesc Fabregas: Chelsea sign ex-Arsenal midfielder from Barcelona". BBC Sport. 12 June 2014. สืบค้นเมื่อ 12 June 2014.
  62. "FABREGAS SIGNS FOR CHELSEA". Chelsea FC. 12 June 2014. สืบค้นเมื่อ 13 June 2014.
  63. Brazil roar past brave Spain, Argentina take third เก็บถาวร 2008-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, FIFA, 30 August 2003, accessed 23 May 2007.
  64. 64.0 64.1 Haslam, Andrew, "2004: Cesc Fabregas", UEFA, accessed 9 July 2008. เก็บถาวร 2008-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  65. 65.0 65.1 Harris, Chris, "Fabregas – Why I feel part of the Spain 'family'", Arsenal F.C., 28 March 2007, accessed 24 May 2007.
  66. Ivory Coast suffer defeat, BBC Sport, 2 March 2006, accessed 23 May 2007.
  67. Spain 3–1 Tunisia, BBC Sport, 19 June 2006, accessed 23 May 2007.
  68. Saudi Arabia 0–1 Spain, BBC Sport, 23 June 2006, accessed 23 May 2007.
  69. Spain 1–3 France, BBC Sport, 27 June 2006, accessed 23 May 2007.
  70. Spain 4–0 Ukraine, BBC Sport, 14 June 2006, accessed 22 May 2007.
  71. Germany's Podolski named top young player, CBC.ca, 7 July 2006, accessed 22 May 2007.
  72. Veysey, Wayne, "Cesc Fabregas ready to talk tough with Arsenal" เก็บถาวร 2008-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Daily Telegraph, 28 May 2008, accessed 10 June 2008.
  73. 73.0 73.1 73.2 Cesc in Euro 2008 Team of the Tournament, Arsenal F.C., accessed 6 August 2008.
  74. Spain beat Italy in penalty shootout เก็บถาวร 2008-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ESPNsoccernet, 22 June 2008, accessed 23 June 2008.
  75. Germany 0–1 Spain: Torres ends Spain's pain, ESPNsoccernet, 30 June 2008, accessed 30 June 2008.
  76. Torres stars in Spanish stroll เก็บถาวร 2009-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, FIFA, accessed 15 June 2009.
  77. Altidore's goal leads U.S. to stunning upset, ESPNsoccernet, 24 June 2009, accessed 26 June 2009.
  78. Spain omit Marcos Senna from 2010 World Cup squad, BBC Sport, 20 May 2010, accessed 22 May 2010.
  79. Iniesta sinks Dutch with late strike, ESPNsoccernet, 11 July 2010, accessed 13 July 2010.
  80. "Spain name Fernando Torres in 23-man squad". BBC Sport. 27 May 2012. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
  81. "Spain 1–1 Italy". BBC Sport. 10 June 2012. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
  82. 82.0 82.1 Smith, Alan, "Fabregas puts his skates on in chase for perfection" เก็บถาวร 2007-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Daily Telegraph, 20 January 2007, accessed 23 May 2007.
  83. McIlvanney, Hugh, ,2094-2104071, 00.html "Fàbregas a leader in waiting" เก็บถาวร 2008-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Times, 26 March 2006, accessed 22 May 2007.
  84. Townsend, Nick, "Spanish marvel blossoms", The Independent, 2 October 2005, accessed 17 September 2007. เก็บถาวร 2013-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  85. Macintosh, Iain, "Completely Fab", The New Paper, 29 September 2007.
  86. Wenger: Fabregas has the vision of Platini, Arsenal F.C., 19 September 2007, accessed 4 January 2008.
  87. Wenger: 'This team is blossoming and growing' เก็บถาวร 2016-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Arsenal F.C., 15 September 2007, accessed 17 September 2007.
  88. van Wijk, Jim, "Fabregas in need of rest after season of hard work" เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Independent, 29 March 2007, accessed 24 May 2007.
  89. รวมถึง เอฟเอคัป, ลีกคัป และ เอฟเอ คอมมูนิตีชีลด์
  90. "Barça comeback denies Arsenal". UEFA. 18 May 2006. สืบค้นเมื่อ 5 July 2015.
  91. NIKELIVE เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, NikeLiveFabregas.com, accessed 19 April 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า แซ็สก์ ฟาบรากัส ถัดไป
วีลียาม กาลัส   กัปตันทีมสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล
(2008–2011)
  โรบิน ฟัน แปร์ซี