ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012
การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 (อังกฤษ: 2012 UEFA European Football Championship) หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า ยูโร 2012 (อังกฤษ: EURO 2012) เป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งที่ 14 จัดโดยสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) โดยการแข่งขันรอบสุดท้ายจัดขึ้นที่ประเทศโปแลนด์และยูเครน ระหว่างวันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน ถึงวันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012)
Mistrzostwa Europy w Piłce Nożnej 2012 (โปแลนด์) Чемпіонат Європи з футболу 2012 (ยูเครน) | |
---|---|
ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน | |
รายละเอียดการแข่งขัน | |
ประเทศเจ้าภาพ | โปแลนด์ ยูเครน |
วันที่ | 8 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม |
ทีม | 16 |
สถานที่ | 8 (ใน 8 เมืองเจ้าภาพ) |
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน | |
ชนะเลิศ | สเปน (สมัยที่ 3) |
รองชนะเลิศ | อิตาลี |
สถิติการแข่งขัน | |
จำนวนนัดที่แข่งขัน | 31 |
จำนวนประตู | 76 (2.45 ประตูต่อนัด) |
ผู้ชม | 1,440,896 (46,481 คนต่อนัด) |
ผู้ทำประตูสูงสุด | เฟร์นันโด ตอร์เรส อะลัน ดซาโกเอฟ มาริออ มันจูกิช มารีโอ โกเมซ มารีโอ บาโลเตลลี คริสเตียโน โรนัลโด (3 ประตู) [1] |
เจ้าภาพทั้งสองประเทศผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการคัดเลือกของยูฟ่าเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ที่เมืองคาร์ดิฟฟ์ของเวลส์[2] โดยมีโครเอเชียกับฮังการี และอิตาลีเป็นผู้เข้าร่วมประมูลเป็นประเทศเจ้าภาพ นับเป็นเจ้าภาพร่วมครั้งที่ 3 ของฟุตบอลยูโร โดยก่อนหน้านี้ คือเบลเยียมกับเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) และออสเตรียกับสวิตเซอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008)
โดยในรอบคัดเลือก มีทีมชาติเข้าร่วมแข่งขัน 51 ประเทศ ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) ถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) อนึ่ง ปีนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่มีทีมชาติเข้าแข่งขันในรอบสุดท้ายจำนวน 16 ประเทศ
เมืองและสนามแข่งขัน
แก้เมืองเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ได้แก่ วอร์ซอ กดัญสก์ วรอตสวัฟ และพอซนานของโปแลนด์ กับเคียฟ ลวีฟ โดเนตสค์ และคาร์คิฟของยูเครน โดยมีการปรับปรุงระบบพื้นฐาน เช่นสร้างสนามฟุตบอลขึ้นใหม่ 6 แห่ง เพื่อใช้กับการแข่งขันครั้งนี้ ส่วนสนามเก่า 2 แห่ง คือในพอซนานและคาร์คิฟ ก็มีการปรับปรุงอย่างมาก[3][4] และมีสนาม 3 แห่งที่อยู่ในเกณฑ์ระดับสูงสุดของยูฟ่า
วอร์ซอ (Warsaw) | กดัญสก์ (Gdańsk) | วรอตสวัฟ (Wrocław) | พอซนาน (Poznań) | ||||
สนามกีฬาแห่งชาติวอร์ซอ ความจุ: 50,000 ที่นั่ง[5] |
แปกีแยแออาแรนากดัญสก์ ความจุ: 40,000 ที่นั่ง[6] |
สตาดียอมมีแยย์สกี ความจุ: 40,000 ที่นั่ง[7] |
สตาดียอมมีแยย์สกี ความจุ: 40,000 ที่นั่ง[8] | ||||
3 นัดในกลุ่มเอ นัดเปิดสนาม, รอบ 8 ทีม, รอบรองชนะเลิศ |
3 นัดในกลุ่มซี รอบ 8 ทีม |
3 นัดในกลุ่มเอ | 3 นัดในกลุ่มซี | ||||
เคียฟ (Kyiv) | โดเนตสค์ (Donetsk) | คาร์คิฟ (Kharkiv) | ลวีฟ (Lviv) | ||||
สนามโอลิมปิสกี เนชันแนล สปอร์ตส์ คอมเพล็กซ์ ความจุ: 70,050 ที่นั่ง[9] |
ดอนบัสส์อาเรนา ความจุ: 50,000 ที่นั่ง[10] |
เมตาลิสต์สเตเดียม ความจุ : 35,000 ที่นั่ง[11] |
อาเรนาลวีฟ ความจุ: 30,000 ที่นั่ง[12] | ||||
3 นัดในกลุ่มดี รอบ 8 ทีม, นัดชิงชนะเลิศ |
3 นัดในกลุ่มดี รอบ 8 ทีม, รอบรองชนะเลิศ |
3 นัดในกลุ่มบี | 3 นัดในกลุ่มบี | ||||
หมายเหตุ: ข้อมูลความจุของแต่ละสนาม แจ้งตามที่ยูฟ่าระบุไว้ แต่อาจไม่ใช่จำนวนที่นั่งจริงของสนามนั้น
การแข่งขัน
แก้รอบแบ่งกลุ่ม
แก้เวลาที่ระบุ เป็นมาตรฐานเวลาออมแสงยุโรปกลาง (เวลาสากลเชิงพิกัด+2) ในโปแลนด์ และเวลาออมแสงยุโรปตะวันออก (เวลาสากลเชิงพิกัด+3) ในยูเครน
สีที่ใช้ในตารางคะแนน |
---|
2 ทีมที่มีคะแนนมากที่สุดที่จะได้เข้ารอบต่อไป |
2 ทีมที่จะตกรอบ |
กลุ่ม A
แก้
ทีม | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | +/- | คะแนน |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เช็กเกีย | 3 | 2 | 0 | 1 | 4 | 5 | −1 | 6 |
กรีซ | 3 | 1 | 1 | 1 | 3 | 3 | 0 | 4 |
รัสเซีย | 3 | 1 | 1 | 1 | 5 | 3 | +2 | 4 |
โปแลนด์ | 3 | 0 | 2 | 1 | 2 | 3 | −1 | 2 |
8 มิถุนายน 2012 #1 | โปแลนด์ | 1 – 1 | กรีซ | วอร์ซอ |
18:00 UTC+2 | รอแบร์ต แลวันดอฟสกี 17' | รายงาน | ดีมีตริส ซัลปินจีดิส 51' | สนามกีฬา: สนามกีฬาแห่งชาติวอร์ซอ ผู้ชมในสนาม: 56,070 คน ผู้ตัดสิน: การ์โลส เบลัสโก การ์บาโย |
8 มิถุนายน 2012 #2 | รัสเซีย | 4 – 1 | เช็กเกีย | วรอตสวัฟ |
20:45 UTC+2 | อะลัน ดซาโกเอฟ 15', 79' โรมัน ชีโรคอฟ 24' โรมัน ปัฟลูย์เชนโค 82' |
รายงาน | วาตสลัฟ ปิลาร์ 52' | สนามกีฬา: สตาดียอมมีแยย์สกี (วรอตสวัฟ) ผู้ชมในสนาม: 40,803 คน ผู้ตัดสิน: ฮาวเวิร์ด เวบบ์ |
12 มิถุนายน 2012 #9 | กรีซ | 1 – 2 | เช็กเกีย | วรอตสวัฟ |
18:00 UTC+2 | เธโอฟานิส เจกัส 53' | รายงาน | เปเตอร์ ยิราเช็ก 3' วาตสลัฟ ปิลาร์ 6' |
สนามกีฬา: สตาดียอมมีแยย์สกี (วรอตสวัฟ) ผู้ชมในสนาม: 41,105 คน ผู้ตัดสิน: สเตฟาน ลานัว |
12 มิถุนายน 2012 #10 | โปแลนด์ | 1 – 1 | รัสเซีย | วอร์ซอ |
20:45 UTC+2 | ยากุป บวัชต์ชือกอฟสกี 57' | รายงาน | อะลัน ดซาโกเอฟ 37' | สนามกีฬา: สนามกีฬาแห่งชาติวอร์ซอ ผู้ชมในสนาม: 55,920 คน ผู้ตัดสิน: วอลฟ์กัง ชตาร์ค |
16 มิถุนายน 2012 #18 | โปแลนด์ | 0 – 1 | เช็กเกีย | วรอตสวัฟ |
20:45 UTC+2 | รายงาน | เปเตอร์ ยิราเช็ก 72' | สนามกีฬา: สตาดียอมมีแยย์สกี (วรอตสวัฟ) ผู้ชมในสนาม: 41,480 คน ผู้ตัดสิน: เครก ทอมสัน |
16 มิถุนายน 2012 #17 | กรีซ | 1 – 0 | รัสเซีย | วอร์ซอ |
20:45 UTC+2 | โยร์โกส การังกูนิส 45+2' | รายงาน | สนามกีฬา: สนามกีฬาแห่งชาติวอร์ซอ ผู้ชมในสนาม: 55,614 คน ผู้ตัดสิน: ยูนัส เอริกซอน |
กลุ่ม B
แก้
ทีม | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | +/- | คะแนน |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เยอรมนี | 3 | 3 | 0 | 0 | 5 | 2 | +3 | 9 |
โปรตุเกส | 3 | 2 | 0 | 1 | 5 | 4 | +1 | 6 |
เดนมาร์ก | 3 | 1 | 0 | 2 | 4 | 5 | −1 | 3 |
เนเธอร์แลนด์ | 3 | 0 | 0 | 3 | 2 | 5 | −3 | 0 |
9 มิถุนายน 2012 #3 | เนเธอร์แลนด์ | 0 – 1 | เดนมาร์ก | คาร์คิฟ |
19:00 UTC+3 | ไมเคิล โครห์น-เดห์ลี 24' | สนามกีฬา: เมตาลิสต์สเตเดียม ผู้ชมในสนาม: 35,923 คน ผู้ตัดสิน: ดามีร์ สคอมีนา |
9 มิถุนายน 2012 #4 | เยอรมนี | 1 – 0 | โปรตุเกส | ลวีฟ |
21:45 UTC+3 | มารีโอ โกเมซ 72' | สนามกีฬา: อาเรนาลวีฟ ผู้ชมในสนาม: 32,990 คน ผู้ตัดสิน: สเตฟาน ลานัว |
13 มิถุนายน 2012 #11 | เดนมาร์ก | 2 – 3 | โปรตุเกส | ลวีฟ |
19:00 UTC+3 | นิคลาส เบนท์เนอร์ 41', 80' | เปเป 24' เอลดีร์ ปุชตีกา 36' ซิลเวสตรี วาเรลา 87' |
สนามกีฬา: อาเรนาลวีฟ ผู้ชมในสนาม: 31,840 คน ผู้ตัดสิน: เครก ทอมสัน |
13 มิถุนายน 2012 #12 | เนเธอร์แลนด์ | 1 – 2 | เยอรมนี | คาร์คิฟ |
21:45 UTC+3 | โรบิน ฟาน เพอร์ซี 73' | มารีโอ โกเมซ 24', 38' | สนามกีฬา: เมตาลิสต์สเตเดียม ผู้ชมในสนาม: 37,750 คน ผู้ตัดสิน: ยูนัส เอริกซอน |
17 มิถุนายน 2012 #19 | โปรตุเกส | 2 – 1 | เนเธอร์แลนด์ | คาร์คิฟ |
21:45 UTC+3 | คริสเตียโน โรนัลโด 28', 74' | ราฟาเอล ฟาน เดอร์ ฟาร์ท 11' | สนามกีฬา: เมตาลิสต์สเตเดียม ผู้ชมในสนาม: 37,445 คน ผู้ตัดสิน: นีโกลา ริซโซลี |
17 มิถุนายน 2012 #20 | เดนมาร์ก | 1 – 2 | เยอรมนี | ลวีฟ |
21:45 UTC+3 | ไมเคิล โครห์น-เดห์ลี 24' | ลูคัส โพดอลสกี 19' ลาร์ส เบนเดอร์ 80' |
สนามกีฬา: อาเรนาลวีฟ ผู้ชมในสนาม: 32,990 คน ผู้ตัดสิน: การ์โลส เบลัสโก การ์บาโย |
กลุ่ม C
แก้
ทีม | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | +/- | คะแนน |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สเปน | 3 | 2 | 1 | 0 | 6 | 1 | +5 | 7 |
อิตาลี | 3 | 1 | 2 | 0 | 4 | 2 | +2 | 5 |
โครเอเชีย | 3 | 1 | 1 | 1 | 4 | 3 | +1 | 4 |
ไอร์แลนด์ | 3 | 0 | 0 | 3 | 1 | 9 | −8 | 0 |
10 มิถุนายน 2012 #5 | สเปน | 1 – 1 | อิตาลี | กดัญสก์ |
18:00 UTC+2 | เซสก์ ฟาเบรกัส 64' | อันโตนีโอ ดี นาตาเล 61' | สนามกีฬา: แปกีแยแออาแรนา ผู้ชมในสนาม: 38,869 คน ผู้ตัดสิน: วิกโตร์ กอชชอย |
10 มิถุนายน 2012 #6 | ไอร์แลนด์ | 1 – 3 | โครเอเชีย | พอซนาน |
20:45 UTC+2 | ฌอน เซนต์ เลดเจอร์ 19' |
มารีโอ มานจูคิช 3', 49' นีคีตซา เยลาวิช 43' |
สนามกีฬา: สตาดียอมมีแยย์สกี (พอซนาน) ผู้ชมในสนาม: 39,550 คน ผู้ตัดสิน: บเยิร์น ไคเพิร์ส |
14 มิถุนายน 2012 #13 | อิตาลี | 1 – 1 | โครเอเชีย | พอซนาน |
18:00 UTC+2 | อันเดรอา ปีร์โล 39' | มารีโอ มานจูคิช 72' | สนามกีฬา: สตาดียอมมีแยย์สกี (พอซนาน) ผู้ชมในสนาม: 37,096 คน ผู้ตัดสิน: ฮาวเวิร์ด เวบบ์ |
14 มิถุนายน 2012 #14 | สเปน | 4 – 0 | ไอร์แลนด์ | กดัญสก์ |
20:45 UTC+2 | เฟร์นันโด ตอร์เรส 4', 70' ดาบิด ซิลบา 49' เซสก์ ฟาเบรกัส 83' |
สนามกีฬา: แปกีแยแออาแรนา ผู้ชมในสนาม: 39,150 คน ผู้ตัดสิน: เปดรู ปรูเองซา |
18 มิถุนายน 2012 #21 | โครเอเชีย | 0 – 1 | สเปน | กดัญสก์ |
20:45 UTC+2 | เคซุส นาบัส 88' | สนามกีฬา: แปกีแยแออาแรนา ผู้ชมในสนาม: 39,076 คน ผู้ตัดสิน: วอลฟ์กัง ชตาร์ค |
18 มิถุนายน 2012 #22 | อิตาลี | 2 – 0 | ไอร์แลนด์ | พอซนาน |
20:45 UTC+2 | อันโตนีโอ กัสซาโน 35' มารีโอ บาโลเตลลี 90' |
สนามกีฬา: สตาดียอมมีแยย์สกี (พอซนาน) ผู้ชมในสนาม: 38,794 คน ผู้ตัดสิน: จือเนย์ต ชากือร์ |
กลุ่ม D
แก้
ทีม | แข่ง | ชนะ | แพ้ | เสมอ | ได้ | เสีย | +/- | คะแนน |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อังกฤษ | 3 | 2 | 1 | 0 | 5 | 3 | +2 | 7 |
ฝรั่งเศส | 3 | 1 | 1 | 1 | 3 | 3 | 0 | 4 |
ยูเครน | 3 | 1 | 0 | 2 | 2 | 4 | −2 | 3 |
สวีเดน | 3 | 1 | 0 | 2 | 5 | 5 | 0 | 3 |
11 มิถุนายน 2012 #7 | ฝรั่งเศส | 1 – 1 | อังกฤษ | โดเนตสค์ |
19:00 UTC+3 | ซามีร์ นัสรี 39' | โจเลียน เลสคอตต์ 30' | สนามกีฬา: ดอนบัสส์อาเรนา ผู้ชมในสนาม: 47,400 คน ผู้ตัดสิน: นีโกลา ริซโซลี |
11 มิถุนายน 2012 #8 | ยูเครน | 2 – 1 | สวีเดน | เคียฟ |
21:45 UTC+3 | อันดรีย์ เชฟเชนโค 55', 62' | ซลาตัน อีบราฮีมอวิช 52' | สนามกีฬา: สนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟ ผู้ชมในสนาม: 64,290 คน ผู้ตัดสิน: จือเนย์ต ชากือร์ |
15 มิถุนายน 2012 #15 | ยูเครน | 0 – 2 | ฝรั่งเศส | โดเนตสค์ |
19:00 UTC+3[13] | เฌเรมี เมแนซ 53' ยออาน กาบาย 56' |
สนามกีฬา: ดอนบัสส์อาเรนา ผู้ชมในสนาม: 48,000 คน ผู้ตัดสิน: บเยิร์น ไคเพิร์ส |
15 มิถุนายน 2012 #16 | สวีเดน | 2 – 3 | อังกฤษ | เคียฟ |
21:45 UTC+3[14] | เกล็น จอห์นสัน 49' (เข้าประตูทีมตัวเอง) ยูลอฟ เมลแบร์ 59' |
แอนดี แคร์โรลล์ 23' ทีโอ วอลคอตต์ 64' แดนนี เวลเบก 78' |
สนามกีฬา: สนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟ ผู้ชมในสนาม: 64,640 คน ผู้ตัดสิน: ดามีร์ สคอมีนา |
19 มิถุนายน 2012 #23 | ยูเครน | 0 - 1 | อังกฤษ | โดเนตสค์ |
21:45 UTC+3 | เวย์น รูนีย์ 48' | สนามกีฬา: ดอนบัสส์อาเรนา ผู้ชมในสนาม: 48,700 คน ผู้ตัดสิน: วิกโตร์ กอชชอย |
19 มิถุนายน 2012 #24 | สวีเดน | 2 – 0 | ฝรั่งเศส | เคียฟ |
21:45 UTC+3 | ซลาตัน อีบราฮีมอวิช 54' เซบาสเตียน ลาร์สสัน 90+1' |
สนามกีฬา: สนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟ ผู้ชมในสนาม: 63,010 คน ผู้ตัดสิน: เปดรู ปรูเองซา |
รอบแพ้คัดออก
แก้รอบก่อนรองชนะเลิศ | รอบรองชนะเลิศ | รอบชิงชนะเลิศ | ||||||||
21 มิถุนายน – วอร์ซอ | ||||||||||
เช็กเกีย | 0 | |||||||||
27 มิถุนายน – โดเนตสค์ | ||||||||||
โปรตุเกส | 1 | |||||||||
โปรตุเกส | 0 (2) | |||||||||
23 มิถุนายน – โดเนตสค์ | ||||||||||
สเปน | 0 (4) | |||||||||
สเปน | 2 | |||||||||
1 กรกฎาคม – เคียฟ | ||||||||||
ฝรั่งเศส | 0 | |||||||||
สเปน | 4 | |||||||||
22 มิถุนายน – กดัญสก์ | ||||||||||
อิตาลี | 0 | |||||||||
เยอรมนี | 4 | |||||||||
28 มิถุนายน – วอร์ซอ | ||||||||||
กรีซ | 2 | |||||||||
เยอรมนี | 1 | |||||||||
24 มิถุนายน – เคียฟ | ||||||||||
อิตาลี | 2 | |||||||||
อังกฤษ | 0 (2) | |||||||||
อิตาลี | 0 (4) | |||||||||
รอบก่อนรองชนะเลิศ
แก้21 มิถุนายน 2012 #25 | เช็กเกีย | 0 – 1 | โปรตุเกส | วอร์ซอ |
20:45 UTC+2 | รายงาน | คริสเตียโน โรนัลโด 79' | สนามกีฬา: สนามกีฬาแห่งชาติวอร์ซอ ผู้ชมในสนาม: 55,590 คน[15] ผู้ตัดสิน: ฮาวเวิร์ด เวบบ์ |
22 มิถุนายน 2012 #26 | เยอรมนี | 4 – 2 | กรีซ | กดัญสก์ |
20:45 UTC+2 | ฟิลิปป์ ลาห์ม 39' ซามี เคดีรา 61' มีโรสลัฟ โคลเซอ 68' มาร์โค รอยส์ 74' |
รายงาน | โยร์โกส ซามารัส 55' ดีมีตริส ซัลปินจีดิส 89' (จุดโทษ) |
สนามกีฬา: แปกีแยแออาแรนา ผู้ชมในสนาม: 38,751 คน[16] ผู้ตัดสิน: ดามีร์ สคอมีนา |
23 มิถุนายน 2012 #27 | สเปน | 2 – 0 | ฝรั่งเศส | โดเนตสค์ |
21:45 UTC+3 | ชาบี อาลอนโซ 19', 90+1' (จุดโทษ) | รายงาน | สนามกีฬา: ดอนบัสส์อาเรนา ผู้ชมในสนาม: 47,000 คน[17] ผู้ตัดสิน: นีโกลา ริซโซลี |
24 มิถุนายน 2012 #28 | อังกฤษ | 0 – 0 (ต่อเวลาพิเศษ) (2 – 4 ลูกโทษ) | อิตาลี | เคียฟ |
21:45 UTC+3 | รายงาน | สนามกีฬา: สนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟ ผู้ชมในสนาม: 64,340 คน[18] ผู้ตัดสิน: เปดรู ปรูเองซา | ||
ยิงลูกโทษ | ||||
สตีเวน เจอร์ราร์ด เวย์น รูนีย์ แอชลีย์ ยัง แอชลีย์ โคล |
มารีโอ บาโลเตลลี รีการ์โด มอนโตลีโว อันเดรอา ปีร์โล อันโตนีโอ โนเชรีโน อาเลสซันโดร เดียมันตี |
รอบรองชนะเลิศ
แก้27 มิถุนายน 2012 #29 | โปรตุเกส | 0 – 0 (ต่อเวลาพิเศษ) (2 – 4 ลูกโทษ) | สเปน | โดเนตสค์ |
21:45 UTC+3 | รายงาน | สนามกีฬา: ดอนบัสส์อาเรนา ผู้ชมในสนาม: 48,000 คน[19] ผู้ตัดสิน: จือเนย์ต ชากือร์ | ||
ยิงลูกโทษ | ||||
ฌูเอา โมติญญู เปเป นานี บรูนู อัลวิช |
ชาบี อาลอนโซ อันเดรส อีเนียสตา ฌาราร์ต ปิเก เซร์คีโอ ราโมส เซสก์ ฟาเบรกัส |
28 มิถุนายน 2012 #30 | เยอรมนี | 1 – 2 | อิตาลี | วอร์ซอ |
20:45 UTC+2 | เมซุท เออซิล 90+2' (จุดโทษ) | รายงาน | มารีโอ บาโลเตลลี 20', 36' | สนามกีฬา: สนามกีฬาแห่งชาติวอร์ซอ ผู้ชมในสนาม: 55,540 คน[20] ผู้ตัดสิน: สเตฟาน ลานัว |
นัดชิงชนะเลิศ
แก้1 กรกฎาคม 2012 #31 | สเปน | 4 – 0 | อิตาลี | เคียฟ |
21:45 UTC+3 | ดาบิด ซิลบา 14' ฌอร์ดี อัลบา 41' เฟร์นันโด ตอร์เรส 84' ควน มาตา 88' |
รายงาน | สนามกีฬา: สนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟ ผู้ชมในสนาม: 63,170 คน[21] ผู้ตัดสิน: เปดรู ปรูเองซา |
สถิติการแข่งขัน
แก้ผู้ทำประตู
แก้กรณีมีผู้ทำประตูในจำนวนเท่ากัน ยูฟ่าจะพิจารณาการจัดอันดับ ตามระยะเวลาที่ลงสนามจากน้อยไปหามาก[1]
- ผู้ทำประตูทีมตัวเอง
- เกล็น จอห์นสัน (1 ประตู ในนัดที่พบกับ สวีเดน)
กฎระเบียบและวินัย
แก้ต่อไปนี้เป็นรายชื่อผู้เล่น ที่ได้รับใบแดงหรือใบเหลืองสะสม จนส่งผลให้ต้องรับโทษห้ามลงแข่งขัน
ชื่อ | ในนัดที่พบกับ | จะลงสนามไม่ได้ในนัดที่พบกับ | รายละเอียด |
---|---|---|---|
เวย์น รูนีย์ | ในรอบคัดเลือกกับ มอนเตเนโกร | ในกลุ่มดีกับ ฝรั่งเศส และ สวีเดน |
ได้รับใบแดงในการแข่งขัน นัดสุดท้ายของยูโร 2012 รอบคัดเลือก กลุ่มจี |
โซกราติส ปาปัสตาโทปูโลส | ในกลุ่มเอกับ โปแลนด์ | ในกลุ่มเอกับ เช็กเกีย | |
วอสเซียค ชแซนสนือ | ในกลุ่มเอกับ กรีซ | ในกลุ่มเอกับ รัสเซีย | |
เชโรม โบอาเทง | ในกลุ่มบีกับ โปรตุเกส ในกลุ่มบีกับ เนเธอร์แลนด์ |
ในกลุ่มบีกับ เดนมาร์ก | |
โยร์โกส การังกูนิส | ในกลุ่มเอกับ โปแลนด์ ในกลุ่มเอกับ รัสเซีย |
รอบก่อนรองชนะเลิศกับ เยอรมนี | |
โคเซ โคเลบัส | ในกลุ่มเอกับ โปแลนด์ ในกลุ่มเอกับ รัสเซีย |
รอบก่อนรองชนะเลิศกับ เยอรมนี | |
คีท แอนดรูส์ | ในกลุ่มซีกับ อิตาลี | ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกกับ คาซัคสถาน | |
อะนาโตลีย์ ตีมอชชุค | ในกลุ่มดีกับ ฝรั่งเศส ในกลุ่มดีกับ อังกฤษ |
ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกกับ อังกฤษ | |
ฟีลิป แม็กแซ็ส | ในกลุ่มดีกับ ยูเครน ในกลุ่มดีกับ สวีเดน |
รอบก่อนรองชนะเลิศกับ สเปน | |
กริสเตียน มัจโจ | ในกลุ่มซีกับ สเปน ในรอบก่อนรองชนะเลิศกับ อังกฤษ |
รอบรองชนะเลิศกับ เยอรมนี |
เป็นประตู
แก้- ดีมีตริส ซัลปินจีดิส ในนัดที่ กรีซ พบกับ เยอรมนี ผู้รักษาประตู มานูเอล นอยเออร์ ป้องกันไม่ได้
- ชาบี อาลอนโซ ในนัดที่ สเปน พบกับ ฝรั่งเศส ผู้รักษาประตู อูว์โก ยอริส ป้องกันไม่ได้
- เมซุท เออซิล ในนัดที่ เยอรมนี พบกับ อิตาลี ผู้รักษาประตู จันลุยจี บุฟฟอน ป้องกันไม่ได้
ยิงพลาด
แก้- โยร์โกส การังกูนิส ในนัดที่ กรีซ พบกับ โปแลนด์ ผู้รักษาประตู ปแชมึสวัฟ ตือตอญ ป้องกันได้
ผู้ตัดสิน
แก้ประเทศ | ผู้ตัดสิน | ผู้ช่วยผู้ตัดสิน | ผู้ช่วยผู้ตัดสินเพิ่มเติม |
---|---|---|---|
อังกฤษ | ฮาวเวิร์ด เวบบ์ | ไมเคิล มัลลาร์คีย์ ปีเตอร์ เคอร์คัป สตีเฟน ไชลด์ (สำรอง) |
มาร์ติน แอตคินสัน มาร์ก แคลตเทนเบิร์ก |
ฝรั่งเศส | สเตฟาน ลานัว | เอริก ด็องโซ เฟรเดริก กาโน มีชาแอล อานอนีเย (สำรอง) |
เฟรดี โฟแทรล รัดดี บูว์แก |
เยอรมนี | วอลฟ์กัง ชตาร์ค | ยัน-เฮนดริค ซัลเวอร์ ไมค์ พิคเคิล มาร์ค บอร์ช (สำรอง) |
โฟลเรียน ไมเออร์ เดนิซ ไอเทคิน |
ฮังการี | วิกโตร์ กอชชอย | กาโบร์ เอเริช เจิร์จ ริง โรเบร์ต กิชปาล (สำรอง) |
อิชต์วาน วอด ตอมาส โบกนาร์ |
อิตาลี | นีโกลา ริซโซลี | เรนาโต ฟาเวรานี อันเดรอา สเตฟานี ลูกา มัจจานี (สำรอง) |
จันลูกา รอกกี ปาโอโล ตาลยาเวนโต |
เนเธอร์แลนด์ | บเยิร์น ไคเพิร์ส | ซันเดอร์ ฟาน รูเคิล เอร์วิน เซย์นสตรา นอร์เบอร์ทุส ซีมอนส์ (สำรอง) |
พอล ฟาน บูเคิล ริชาร์ด ลีสเวลท์ |
โปรตุเกส | เปดรู ปรูเองซา | เบร์ตีนู มีรังดา รีการ์ดู ซังตุช ตีอากู ตรีกู (สำรอง) |
ชอร์ชี โซซา ดูอาร์ตี โกมิช |
สกอตแลนด์ | เครก ทอมสัน | แอลัสเตอร์ รอสส์ เดเร็ก โรส เกรอัม เชมเบอส์ (สำรอง) |
วิลเลียม คอลลัม ยวน นอร์ริส |
สโลวีเนีย | ดามีร์ สคอมีนา | พรีมอซ อาร์ฮาร์ มาร์คอ สทันต์ซิน มาเทย์ ชูนิช (สำรอง) |
มาเทย์ ยุก สลัฟคอ วินชิช |
สเปน | การ์โลส เบลัสโก การ์บาโย | โรเบร์โต อาลอนโซ เฟร์นันเดซ ควน การ์โลส ยุสเต คีเมเนซ เคซุส กัลโบ กวาดามูโร (สำรอง) |
ดาบิด เฟร์นันเดซ บอร์บาลัน การ์โลส โกลส โกเมซ |
สวีเดน | ยูนัส เอริกซอน | สเตฟัน วิตต์เบิร์ก มาทีอัส คลาเซนีอุส เฟรดริก นิลซอน (สำรอง) |
มาร์คุส สเตริมแบร์ซอน สเตฟัน ยูฮาเนซอน |
ตุรกี | จือเนย์ต ชากือร์ | บาฮัตติน ดูรัน ตารึก โอนกุน มุสตาฟา เอมเร เอยีโซย (สำรอง) |
ฮือเซยิน เจอเชก บือเลนต์ ยึลดือรึม |
ข้อมูลทั่วไป
แก้
ลูกฟุตบอล
แก้แทงโกทเวลฟ์ (อังกฤษ: Tango Twelve) เป็นชื่อทางการของลูกฟุตบอลที่ใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ ซึ่งออกแบบโดยอาดิดาส เพื่อให้นักฟุตบอลควบคุมลูกได้ง่ายขึ้น โดยพัฒนาขึ้นจากจาบูลานีที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010[22]
บัตรเข้าชมการแข่งขัน
แก้สำหรับบัตรเข้าชมการแข่งขันทั้งหมด 31 นัด เป็นจำนวนบัตรทั้งหมด 1.4 ล้านใบ มีการจำหน่ายอย่างเป็นทางการผ่านเว็บไซต์ของยูฟ่าและสมาคมฟุตบอลของทั้ง 16 ชาติในรอบสุดท้าย ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) [23] โดยยอดจำหน่ายบัตรเข้าชมในครั้งนี้เพิ่มขึ้นจากการแข่งขันครั้งก่อนถึงร้อยละ 17 และทำลายสถิติการจำหน่ายบัตรของยูฟ่าด้วย[24] ซึ่งบัตรในแต่ละส่วนของอัฒจันทร์ มีราคาตั้งแต่ 30 ยูโร (สำหรับที่นั่งหลังประตู) จนถึง 600 ยูโร (สำหรับที่นั่งวีไอพี ในนัดชิงชนะเลิศ) โดยผู้เข้าชมสามารถเลือกซื้อบัตรรวมตลอดการแข่งขันก็ได้ หรือจะซื้อที่หน้าสนามในแต่ละนัดก็ได้เช่นกัน[25]
สัญลักษณ์และคำขวัญ
แก้คำขวัญประจำการแข่งขันครั้งนี้คือ "สร้างประวัติศาสตร์ไปด้วยกัน" (โปแลนด์: Razem tworzymy przyszłość; ยูเครน: Творимо історію разом) โดยคำขวัญนี้แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองประเทศตั้งใจจะจัดการแข่งขันให้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของการแข่งขันรายการนี้ ส่วนสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันเป็นการใช้ "วีตีนันคี" อันเป็นศิลปะการตัดกระดาษในพื้นที่ชนบทของโปแลนด์และยูเครน ซึ่งแสดงถึงความเป็นธรรมชาติ มาประกอบในส่วนต่าง ๆ ของภาพ[26][27]
โดยมีการจัดงานประกาศคำขวัญและตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันอย่างเป็นทางการไปพร้อมกันที่จัตุรัสมีไคลิฟสกาของเคียฟ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) ซึ่งในส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้ มีการฉายแสงสีเป็นภาพตราสัญลักษณ์ดังกล่าวบนพื้นผิวของอาคารสำคัญใน 8 เมืองที่ตั้งสนามแข่งขันด้วย[26]
ตุ๊กตาสัญลักษณ์
แก้สลาเวก (Slavek) และสลัฟโค (Slavko) เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันครั้งนี้ ทั้งสองเป็นฝาแฝดกันและเป็นตัวแทนของทั้งสองประเทศ มีการออกแบบให้สีเหมือนกับธงชาติโปแลนด์และยูเครน[28] โดยวอร์เนอร์บราเธอร์ส ผู้ผลิตแอนิเมชันระดับโลก ซึ่งประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) อนึ่ง ชื่อของทั้งสองตัวนี้ได้รับการลงคะแนนสูงสุดจากผู้ชมเว็บไซต์ทางการของการแข่งขัน โดยชนะชื่อ แชมกอ กับ สตริมโค และ แกลแมก กับ ลัดโค
เพลงประจำการแข่งขัน
แก้ฝ่ายประชาสัมพันธ์การแข่งขันครั้งนี้ คัดเลือกให้เพลง Endless Summer ของโอเชียนา นักร้องชาวเยอรมันเป็นเพลงประจำการแข่งขัน[29]
ของที่ระลึก
แก้ยูฟ่าลงนามในสัญญาร่วมกับวอร์เนอร์บราเธอร์สให้เป็นผู้ผลิตของที่ระลึกสำหรับประชาสัมพันธ์การแข่งขันครั้งนี้[30] ซึ่งมีมากมายเช่น อุปกรณ์กีฬา เสื้อผ้า อุปกรณ์ยานยนต์ ของใช้เด็ก กระเป๋า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รองเท้า ของฝากทั่วไป สิ่งทอ ของตกแต่งบ้าน อัญมณี สิ่งตีพิมพ์ เครื่องเขียน ของเล่น และเกม[31]
การจัดแสดงถ้วยรางวัล
แก้ถ้วยรางวัลอ็องรี เดอโลแน (อังกฤษ: Henri Delaunay Trophy) ของการแข่งขันรายการนี้ จะเดินทางไปรอบเมืองที่ตั้งสนามแข่งขัน ในระยะ 7 สัปดาห์ก่อนแข่งขัน โดยในระยะ 100 วันก่อนเปิดสนาม ถ้วยนี้จะเดินทางด้วยบอลลูนจากเมืองนียงของสวิตเซอร์แลนด์ และจะผ่าน 14 เมืองในสองประเทศเจ้าภาพ ซึ่งจะผ่าน 7 เมืองของโปแลนด์คือ วอร์ซอ, วรอตสวัฟ, กดัญสก์, พอซนาน, กรากุฟ, คาโตวีตเซ และวุช กับอีก 7 เมืองของยูเครนคือ เคียฟ, อีวาโน-ฟรันคิฟสค์, คาร์คิฟ, โดเนตสค์, ดนีโปรเปตรอฟสค์, ลวีฟ และโอเดสซา[32][33]
การกระจายเสียงและแพร่ภาพการแข่งขันในประเทศไทย
แก้มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
สมาคมฟุตบอลยุโรป ทำสัญญาจำหน่ายลิขสิทธิ์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ (Broadcasting Rights) การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ในประเทศไทยให้แก่บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) โดยประกาศเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของยูฟ่า เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ทั้งนี้ในข่าวดังกล่าวระบุว่า จีเอ็มเอ็มฯจะถ่ายทอดสดการแข่งขันทั้ง 31 นัด ผ่านช่องโทรทัศน์ดาวเทียมของตน, ออกอากาศสดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินของไทย, และบริการโดยโทรศัพท์เคลื่อนที่ กับทางเว็บไซต์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยทั้งสองระบบหลัง สามารถรับชมได้ทั้งแบบถ่ายทอดสด และแบบรายการตามสั่ง[34]
จากนั้นจีเอ็มเอ็มฯ ชี้แจงว่าจะดำเนินการถ่ายทอดสด ผ่านสองช่องโทรทัศน์ดาวเทียม ของสายงานจีเอ็มเอ็มสปอร์ต[35] ที่ออกอากาศผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียมของบริษัทลูกคือ จีเอ็มเอ็มแซต (เดิมชื่อ จีเอ็มเอ็มวันสกาย) [36] โดยใช้วิธีเข้ารหัสลับ (Encryption) เพื่อควบคุมสัญญาณดาวเทียมในช่วงเวลาที่ถ่ายทอดสดการแข่งขันครั้งนี้ ไม่ให้รับชมจากนอกอาณาเขตประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาที่ทำไว้กับยูฟ่า ซึ่งมีเพียงกล่องรับสัญญาณดาวเทียมของจีเอ็มเอ็มแซตเท่านั้น ที่สามารถถอดรหัสลับ (Decryption) ดังกล่าวได้[37] ซึ่งแม้จะใช้กล่องรับสัญญาณของจีเอ็มเอ็มแซต ก็ไม่สามารถรับชมการแข่งขันผ่านช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินได้ หากแต่จะต้องรับชมจากช่องโทรทัศน์ดาวเทียมของจีเอ็มเอ็มแซตเท่านั้น[35]
สำหรับคณะผู้บรรยายการแข่งขันรายการนี้ ประกอบด้วย สาธิต กรีกุล, สมศักดิ์ สงวนทรัพย์, พันเอกทันตแพทย์ฤทธิกร การะเวก[38], ไพโรจน์ กิ่งแก้ว, อิสรพงษ์ ผลมั่ง, สุรเดช สันติเลิศประภพ, จารุวัฒน์ พริบไหว และ โภควัฒน์ ดีเจริญ[39] ซึ่งก่อนเริ่มการแข่งขันแต่ละนัด จะมีรายการ ฟุตบอลเมเนีย ซึ่งจะเชิญบุคคลมีชื่อเสียง มาพูดคุยเกี่ยวกับการแข่งขัน โดยมีกพล ทองพลับ และสุวินัย อ่อนสอาด เป็นผู้ดำเนินรายการ[40] นอกจากนั้น ในระยะที่มีการแข่งขัน จีเอ็มเอ็มสปอร์ตยังผลิตและออกอากาศสดรายการพิเศษ โรดทูยูโรไฟนัล ดำเนินรายการโดย ฌาณวิทย์ ไชยศิริวงศ์, ยูโรทอล์ก ดำเนินรายการโดย พีรพล เอื้ออารียกูล และ ยูโรอัปเดต ดำเนินรายการโดย สุรเดช สันติเลิศประภพ ซึ่งทั้งสามรายการจะแพร่ภาพต่อทางไทยทีวีสีช่อง 3 ในเวลาเดียวกันด้วย
ทั้งนี้ จีเอ็มเอ็มฯดำเนินการเจรจาทางธุรกิจการค้า กับบริษัทเอกชนผู้ดำเนินงานสื่อสารมวลชนหลายประเภท เพื่อเผยแพร่การแข่งขันรายการนี้ผ่านช่องทางต่างๆ ดังต่อไปนี้[35]
- บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ผู้ดำเนินกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 - เป็นช่องทางหลักของสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน เนื่องจากถ่ายทอดสดการแข่งขันจำนวน 27 จาก 31 นัด และรับสัญญาณ 3 รายการพิเศษ รายงานผลพร้อมบันทึกการแข่งขัน (รีวิว - Review), วิเคราะห์วิจารณ์กับรายงานก่อนการแข่งขัน (ปรีวิว - Preview) ซึ่งผลิตโดยจีเอ็มเอ็มฯ[41] รวมถึงได้รับวีดิทัศน์บันทึกเหตุการณ์สำคัญในการแข่งขันทุกนัด เพื่อนำไปเผยแพร่ประกอบการนำเสนอข่าว
- บริษัท อาร์ทีเอเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ผู้ดำเนินกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 - ถ่ายทอดสดการแข่งขัน จำนวน 3 นัดคือ รอบแรกนัดสุดท้ายของกลุ่มเอกับกลุ่มซี และนัดชิงชนะเลิศ (ร่วมกับไทยทีวีสีช่อง 3) [41] รวมถึงได้รับวีดิทัศน์บันทึกเหตุการณ์สำคัญในการแข่งขันทุกนัด เพื่อนำไปเผยแพร่ประกอบการนำเสนอข่าว
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ - ถ่ายทอดสดการแข่งขัน จำนวน 3 นัดคือคู่เปิดสนาม (ร่วมกับช่อง 7 สี ,ไทยทีวีสีช่อง 3 และโมเดิร์นไนน์ทีวี) และรอบแรกนัดสุดท้ายของกลุ่มบีกับกลุ่มดี[41] รวมถึงได้รับวีดิทัศน์บันทึกเหตุการณ์สำคัญในการแข่งขันทุกนัด เพื่อนำไปเผยแพร่ประกอบการนำเสนอข่าว
- บริษัท ดีทีวีเซอร์วิส จำกัด ผู้ดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์ผ่านระบบดาวเทียมดีทีวี ในเครือบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) - ดำเนินการถ่ายทอดสดและบันทึกการแข่งขัน ด้วยระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง (High-Definition Television) [42] ผ่านสองช่องรายการของสถานีฯคือ ดีทีวี-เอชดี1 และ ดีทีวี-เอชดี2 ด้วยกล่องรับสัญญาณดาวเทียม ซึ่งดีทีวีพัฒนาร่วมกับจีเอ็มเอ็มแซต[43]
- ผู้ประกอบการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก จำนวนสองรายคือ บริษัท เคเบิลไทยโฮลดิง จำกัด (มหาชน) หรือซีทีเอช และ สมาคมการค้าผู้ประกอบการเคเบิลทีวี หรือซีโอเอ[44] - ด้วยวิธีเช่ากล่องรับสัญญาณดาวเทียมของจีเอ็มเอ็มแซต เพื่อรับสัญญาณจากช่องรายการของจีเอ็มเอ็มสปอร์ต ซึ่งถ่ายทอดสดการแข่งขัน แล้วนำไปออกอากาศต่ออีกทอดหนึ่ง[35]
- บริษัท โมโนเทคโนโลยี จำกัด ผู้ดำเนินกิจการเว็บไซต์เอ็มไทย (www.mthai.com) - พัฒนาเว็บไซต์ www.gmmeuro.com เก็บถาวร 2012-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ร่วมกับจีเอ็มเอ็มฯ เพื่อจัดทำระบบถ่ายทอดสดและบันทึกการแข่งขัน ทั้งรูปแบบที่ผู้ผลิตดำเนินการแพร่ภาพให้รับชม และรูปแบบที่ผู้ชมเลือกนัดแข่งขันที่ต้องการได้เอง[45]
- บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินกิจการเว็บไซต์มติชนออนไลน์และข่าวสดออนไลน์ - เผยแพร่วีดิทัศน์บันทึกเหตุการณ์สำคัญในการแข่งขันทุกนัด แบบไม่มีเสียงบรรยาย อันเป็นลักษณะเดียวกับที่สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ผู้ดำเนินการถ่ายทอดสดทั้งสามแห่งได้รับ[46]
- บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอส ในระบบจีเอสเอ็มแอดวานซ์และวันทูคอล - ให้บริการเนื้อหาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดังกล่าวประกอบด้วย ถ่ายทอดสดและวีดิทัศน์บันทึกเหตุการณ์สำคัญ (ไฮไลต์) ของการแข่งขันทุกนัด รวมถึงรายการสนทนาเชิงสันทนาการว่าด้วยการแข่งขัน พร้อมทั้งเนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับการแข่งขัน และบทวิเคราะห์วิจารณ์การแข่งขันจากผู้เชี่ยวชาญ[47]
กรณีปัญหาลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด
แก้ผู้บริหารบริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินงานสถานีโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก แถลงข่าวเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เรียกร้องให้ทรูวิชั่นส์ สามารถถ่ายทอดสัญญาณจากช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินทั้งสาม ในช่วงเวลาที่ถ่ายทอดสดการแข่งขันตามปกติ โดยอ้างว่าเป็นหลักสากลที่ไม่เคยมีการปิดกั้นสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน[48] จากนั้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ผู้บริหารบริษัท จีเอ็มเอ็มแซต จำกัด แถลงข่าวชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า ทางจีเอ็มเอ็มติดต่อกับทรูวิชั่นส์ เพื่อเจรจาธุรกิจการค้าตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 ทว่าฝ่ายทรูวิชั่นส์มิได้ตอบกลับแต่ประการใด ดังนั้นจึงไม่สามารถให้ทรูวิชั่นส์ ถ่ายทอดสัญญาณตามที่เรียกร้องได้[37]
จนกระทั่งในวันที่ 6 มิถุนายน ทรูวิชั่นส์ยื่นหนังสือด่วน ถึงคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อหารือถึงข้อกังวลของสมาชิกทรูวิชั่นส์ว่า จะสามารถรับชมการแข่งขันครั้งนี้ได้หรือไม่ และขอให้ตรวจสอบการดำเนินการของสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในกรณีดังกล่าวด้วย กสทช.จึงนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.) เป็นวาระพิเศษ โดยมีมติว่าสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ต้องปฏิบัติกับผู้ประกอบการโทรทัศน์ ระบบบอกรับสมาชิก ทุกรายอย่างเสมอภาคกัน และประชาชนต้องไม่ได้รับผลกระทบ กสทช.จึงเชิญทรูวิชั่นส์ และผู้ประกอบการโทรทัศน์ทั้งสามช่อง เข้าชี้แจงเพิ่มเติมในช่วงบ่ายวันรุ่งขึ้น[49]
ต่อมาในเวลา 13:30 น. วันที่ 7 มิถุนายน กสทช.เปิดรับฟังคำชี้แจงจากผู้แทนช่อง 3, ททบ.5,ช่อง 7 สี, โมเดิร์นไนน์ทีวี และทรูวิชั่นส์ พร้อมเอกสารสัญญาระหว่างทั้งสามช่องกับทรูวิชั่นส์ และระหว่างทั้งสามช่องกับจีเอ็มเอ็มฯ เพื่อประกอบการพิจารณา หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ระบุในสัญญา เข้าสู่การประชุมคณะอนุกรรมการ กสท.อีกครั้ง แล้วมีมติให้โทรทัศน์ภาคพื้นดิน ออกอากาศให้ประชาชนรับชม อย่างปกติตามกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ และให้ทรูวิชั่นส์ดำเนินการใดๆ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคปกติแก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการ ซึ่งทรูวิชั่นส์มีโฆษณาว่าจะแพร่ภาพให้สมาชิกได้ชม[50]
หลังจากเข้าให้ข้อมูลกับ กสทช.แล้ว ผู้บริหารทรูวิชั่นส์ให้สัมภาษณ์ว่า ก่อนหน้านี้มีการเจรจาหาทางออกมาตลอด แต่จีเอ็มเอ็มฯ มีจุดยืนชัดเจนว่า ต้องการจำหน่ายผ่านกล่องรับสัญญาณ ดังนั้น กสทช.ควรออกคำสั่งทางปกครอง บังคับให้โทรทัศน์ภาคพื้นดินทั้งสามช่อง กลับไปเจรจากับจีเอ็มเอ็มฯ เพื่อให้สามารถรับชมได้ตามปกติในทุกช่องทาง แต่หากมติ กสทช.เป็นผลให้ต้องระงับการแพร่ภาพทั้งสามช่อง ในช่วงเวลาถ่ายทอดสดการแข่งขันครั้งนี้จริง ทรูวิชั่นส์จะนำรายการกีฬาคุณภาพมาเสนอฉายทดแทน โดยทาง กสทช.เปิดเผยว่า ถ้าทรูวิชั่นส์ไม่สามารถแพร่ภาพ ช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินตามที่โฆษณาไว้ จะต้องชำระค่าปรับแก่ กสทช.วันละ 50,000-5,000,000 บาท ตามความผิดที่ระบุในพระราชบัญญัติ กสทช.พ.ศ. 2551[50]
จากนั้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ทรูวิชั่นส์เปิดสำนักงานของตน เพื่อเจรจากับจีเอ็มเอ็มฯ ในกรณีดังกล่าวตลอดทั้งวัน ทว่ายังไม่อาจสรุปได้ เนื่องจากทางจีเอ็มเอ็มฯ ต้องนำผลการเจรจา ไปแจ้งให้ยูฟ่าเป็นผู้อนุมัติ ในขั้นสุดท้ายเสียก่อน เป็นผลให้ทรูวิชั่นส์ไม่สามารถถ่ายทอดสดการแข่งขันตั้งแต่นัดแรกได้ โดยในช่วงเวลาดังกล่าว ทรูวิชั่นส์แสดงหน้าจอกราฟิก พร้อมประกาศความว่า "ทรูวิชั่นส์ ขออภัยท่านสมาชิก ที่ไม่สามารถรับชมยูโร 2012 ในช่วงนี้ได้ เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 3, 5,7, 9 ได้ตกลงกับผู้ถือลิขสิทธิ์ ไม่อนุญาตให้ทรูวิชั่นส์แพร่ภาพต่อ อย่างไรก็ดี ทรูวิชั่นส์ ก็ยังใช้ความพยายามในการเจรจากับเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อจะสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ เพื่อประโยชน์ต่อสมาชิกทรูวิชั่นส์ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุป ในวันจันทร์หรืออังคารที่จะถึงนี้" [51]
ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน กสทช.มีหนังสือถึงทรูวิชั่นส์ แจ้งมติคณะอนุกรรมการ กสท.ที่พิจารณาว่าทรูวิชั่นส์มีความผิดฐานละเว้นกระทำการ ซึ่งขัดต่อคำสั่งทางปกครอง โดยให้เร่งดำเนินการตามคำสั่ง และให้จ่ายค่าปรับแก่ กสทช.เป็นเงิน 20,000 บาทต่อวัน จนกว่าจะปฏิบัติตามที่สัญญากับสมาชิกผู้ชม ทั้งนี้หนังสือดังกล่าว กำหนดให้ทรูวิชั่นส์ดำเนินการให้แล้วเสร็จ และรายงานผลกลับมายัง กสทช.ภายในเวลา 16:30 น.ของวันที่ 12 มิถุนายน[52] ในวันเดียวกัน ทรูวิชั่นส์ออกแถลงการณ์ถึงสมาชิก ขออภัยที่ไม่สามารถดำเนินการให้สามารถรับชมการแข่งขันได้ และขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน จึงขอมอบสิทธิพิเศษ เพิ่มช่องรายการแบบให้เปล่า ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม ซึ่งช่องรายการที่เพิ่มให้ จะแตกต่างไปตามระดับของสมาชิก[53]
ทรูวิชั่นส์ทำหนังสือชี้แจงถึง กสทช.ลงวันที่ 12 มิถุนายน โดยมีความเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวของ กสทช.มีความคลาดเคลื่อน ไม่ถูกต้อง และไม่อาจรับฟังได้ เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่าทรูวิชั่นส์กระทำผิดตามกฎหมาย จึงขอเรียกร้องต่อ กสทช.เพื่อทบทวนให้ยกเลิกหรือแก้ไขคำสั่งอย่างรอบคอบอีกครั้ง ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ในเนื้อหาดังกล่าวยังยืนยันว่า ไม่ยินยอมให้เผยแพร่ทางกล่องรับสัญญาณ ผ่านสายเคเบิลของบริษัทฯ ทั้งนี้หากทรูวิชั่นส์กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยการแพร่ภาพสัญญาณออกไป ก็จะมีโทษพักใช้หรือระงับใบอนุญาต จึงขอยืนยันว่า ทรูวิชั่นส์จะใช้ความพยายามดีที่สุด เพื่อปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการและการโฆษณาของบริษัทฯ ภายใต้ขอบเขตทางกฎหมาย ทั้งขอสงวนสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง หรือมาตรการบังคับในเรื่องนี้จนถึงที่สุด[54]
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน จีเอ็มเอ็มแซตแถลงข่าวว่า ยูฟ่าส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มาแจ้งผลให้ทราบ โดยไม่อนุญาตให้ทรูวิชั่นส์ออกอากาศต่อจากช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดิน เนื่องจากพ้นระยะที่เปิดให้ร้องขอสิทธิเผยแพร่ต่อ และพึงพอใจกับช่องทางที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแล้ว[55] ส่วนผู้บริหารทรูวิชั่นส์ ให้สัมภาษณ์แสดงความผิดหวัง ที่ไม่สามารถถ่ายทอดจากทั้งสามช่องได้ แต่ขอยอมรับผลที่เกิดขึ้น และจะไม่ยื่นเรื่องไปชี้แจงแก่ยูฟ่า หรือเจรจากับจีเอ็มเอ็มฯ อีกแล้ว[56]
จากนั้นมีการเรียกผู้บริหารและผู้แทนของจีเอ็มเอ็มแกรมมี่, จีเอ็มเอ็มแซต, ทรูวิชั่นส์, ช่อง 3, ททบ.5, ช่อง 7 สี,โมเดิร์นไนน์ทีวี ไปชี้แจงกับหลายหน่วยงานเช่น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน[57], คณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม ร่วมกับคณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ซึ่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เป็นประธาน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยตำแหน่ง และร่วมฟังการชี้แจงนี้ด้วย ประกาศนัดผู้บริหารจีเอ็มเอ็มแกรมมี่และทรูวิชั่นส์ ชี้แจงกับตนในช่วงบ่ายวันที่ 15 มิถุนายน ที่ทำเนียบรัฐบาล[58] หลังจากนั้นทั้งสามฝ่ายแถลงข่าวร่วมกัน โดยระบุว่าจีเอ็มเอ็มฯ ส่งผู้แทนไปเจรจากับยูฟ่า พร้อมยื่นข้อเรียกร้องและแจ้งถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และหากยูฟ่ากำหนดให้ดำเนินการอย่างไรก็ตาม ทรูวิชั่นส์ยินดีปฏิบัติตามโดยไม่มีเงื่อนไข แม้แต่การเปิดช่องรายการเฉพาะกิจ เพื่อถ่ายทอดสดการแข่งขันรายการนี้โดยเฉพาะก็ตาม ทั้งนี้หากยูฟ่ายังไม่อนุญาต ทางจีเอ็มเอ็มฯ ก็พร้อมจะเปิดสัญญาณให้เป็นอิสระ ทั้งนี้ต้องให้ผู้มีอำนาจสั่งการมา โดยจะขอรับผิดชอบร่วมกับผู้สั่งการนั้น[59]
ในวันที่ 16 มิถุนายน ผู้บริหารระดับสูงของสมาคมฟุตบอลยุโรป จะนำกรณีปัญหาของประเทศไทย มาเป็นตัวอย่างเพื่อพิจารณาระเบียบ การจำหน่ายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลของยูฟ่า แก่ประเทศต่างๆ ในโอกาสต่อไป ทั้งนี้แต่เดิม ยูฟ่ากำหนดวิธีจำหน่ายลิขสิทธิ์ดังกล่าวอย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยไม่พบปัญหาแต่อย่างใด จนกระทั่งเกิดกรณีปัญหาจากเคเบิลทีวีทรูวิชั่นส์ดังกล่าว ซึ่งยูฟ่าไม่อนุมัติให้เชื่อมสัญญาณถ่ายทอดสดการแข่งขัน อันเป็นการให้ช่วงสิทธิต่อ เนื่องจากเป็นโทรทัศน์ที่ต้องเสียค่าบริการ ผู้บริหารของยูฟ่าจึงตระหนักว่า การบริหารจัดการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาที่มีลิขสิทธิ์ ของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน จึงเห็นควรให้ปรับปรุงระเบียบวิธีการจำหน่ายลิขสิทธิ์เสียใหม่ โดยคำนึงถึงสภาวะทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี เป็นการเฉพาะของแต่ละประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้มีการปรับเพิ่มมูลค่าในการจำหน่ายลิขสิทธิ์ดังกล่าวขึ้นอีก[60]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "UEFA EURO 2012 Top scorers". ยูฟ่า. 1 กรกฎาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "EURO joy for Poland and Ukraine". UEFA. 18 April 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-21. สืบค้นเมื่อ October 2010.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Municipal Stadium Poznan launched in style". UEFA. 21 September 2010.
- ↑ "Metalist Stadium lights up Kharkov". UEFA. 5 December 2009.
- ↑ "National Stadium Warsaw". UEFA.com. Union of European Football Associations. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
- ↑ "Arena Gdansk". UEFA.com. Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-18. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
- ↑ "Municipal Stadium Wroclaw". UEFA.com. Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-19. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
- ↑ "Municipal Stadium Poznan". UEFA.com. Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-21. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
- ↑ "Olympic Stadium, Kyiv". UEFA.com. Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-22. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
- ↑ "Donbass Arena". UEFA.com. Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-01. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
- ↑ "Metalist Stadium". UEFA.com. Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-01. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
- ↑ "Arena Lviv". UEFA.com. Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-01. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
- ↑ ผู้ตัดสินสั่งยุติการแข่งขันชั่วคราว หลังจากเริ่มไปได้ 3 นาที เนื่องจากฝนตกหนัก แล้วกลับมาแข่งต่อในเวลา 20:00 UTC+3
- ↑ เลื่อนไปเริ่มแข่งขันเวลา 22:00 UTC+3 เนื่องจากนัดที่ 15 จบช้ากว่าที่กำหนด เนื่องจากฝนตกหนัก
- ↑ "Full-time report Czech Republic-Portugal" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 21 June 2012. สืบค้นเมื่อ 21 June 2012.
- ↑ "Full-time report Germany-Greece" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 22 June 2012. สืบค้นเมื่อ 22 June 2012.
- ↑ "Full-time report Spain-France" (PDF). Union of European Football Associations. 23 June 2012. สืบค้นเมื่อ 23 June 2012.
- ↑ "Full-time report England-Italy" (PDF). Union of European Football Associations. 24 June 2012. สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.
- ↑ "Full-time report Portugal-Spain" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 27 June 2012. สืบค้นเมื่อ 27 June 2012.
- ↑ "Full-time report Germany-Italy" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 28 June 2012. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
- ↑ "Full-time report Spain-Italy" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 1 July 2012. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
- ↑ Liew, Jonathan (2 ธันวาคม 2011). "Adidas's new Tango 12 ball moves on from the World Cup Jabulani". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2012.
- ↑ "Apply now for UEFA EURO 2012 ticket sales". UEFA. 1 March 2011.
- ↑ "Massive demand for UEFA EURO 2012 tickets". UEFA. 1 April 2011.
- ↑ "Ticket prices for UEFA EURO 2012 announced". UEFA. 15 February 2011.
- ↑ 26.0 26.1 "Logo/brand". UEFA. 14 December 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-14. สืบค้นเมื่อ 2012-05-08.
- ↑ "Co-hosts in bloom for EURO 2012". UEFA. 14 December 2009.
- ↑ "EURO 2012 mascots named Slavek and Slavko". UEFA. 4 December 2010.
- ↑ "Oceana the No1 choice to sing song for EURO –". Uefa.com. 2 December 2011. สืบค้นเมื่อ 25 April 2012.
- ↑ "UEFA appoints worldwide licensing representative". UEFA.com. Union of European Football Associations. 8 June 2010. สืบค้นเมื่อ 3 April 2012.
- ↑ "Official licensed products" (PDF). uefa-euro2012-licencee.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 3 April 2012.
- ↑ ""Trophy Tour" page". uefa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-01. สืบค้นเมื่อ 27 April 2012.
- ↑ "Follow the Trophy tour under way in Warsaw". uefa.com. สืบค้นเมื่อ 27 April 2012.
- ↑ Media Rights for UEFA EURO 2012 announced in Thailand: GMM Grammy awarded exclusive rights in Thailand, UEFA News on Website, 26 April 2011.
- ↑ 35.0 35.1 35.2 35.3 'GMM' อัด 'ทรูวิชั่นส์' บิดเบือนเหตุ 'จอดำ', เว็บไซต์คมชัดลึก, 11 มิถุนายน 2555.
- ↑ แกรมมี่ ปรับโฉม"วันสกาย"ทุ่ม100ล้านเปลี่ยนโลโก้ ปั้นใหม่"จีเอ็มเอ็ม แซท"ลุยทีวีดาวเทียม, มติชนออนไลน์, 22 มีนาคม 2555.
- ↑ 37.0 37.1 แฟนทรูฯแห้ว! แกรมมี่แจงลิขสิทธิ์บอลยูโร-เปิดทางเจรจา2ฝ่ายสางปัญหาจอดำ, มติชนออนไลน์, 1 มิถุนายน 2555.
- ↑ ทำเนียบบุคลากร เก็บถาวร 2012-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, กองทันตแพทย์ กรมแพทย์ทหารบก.
- ↑ “บิ๊กจ๊ะ” นำทีมผู้บรรยาย ระเบิดความมันส์ ศึกยูโร 2012[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์จีเอ็มเอ็มสปอร์ต, 8 มิถุนายน 2555.
- ↑ จีเอ็มเอ็มสปอร์ต ประกาศยืนยันทรู ยังไม่สามารถรับชมฟุตบอลยูโร 2012 ได้[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์จีเอ็มเอ็มสปอร์ต, 8 มิถุนายน 2555.
- ↑ 41.0 41.1 41.2 “บอลยูโร สุดคึกแกรมมี่จับมือช่อง 3-5-7-9-ดีทีวี ถ่ายสดคาดเรตติ้งสูงสุด-สปอนเซอร์ล้น”[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์จีเอ็มเอ็มสปอร์ต เก็บถาวร 2012-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 26 เมษายน 2555.
- ↑ DTV News เก็บถาวร 2012-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ดีทีวี-เอชดี เก็บถาวร 2012-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ Official : ประกาศ!! ชมยูโรฟรีที่กล่องทีวีจีเอ็มเอ็มแซตเท่านั้น[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์จีเอ็มเอ็มสปอร์ต, 31 พฤษภาคม 2555.
- ↑ แกรมมี่ทุ่ม30ล้านจัดลานเชียร์บอลยูโรทั่วประเทศ, เว็บไซต์สยามสปอร์ต ยูโร 2012, 1 มิถุนายน 2555.
- ↑ จีเอ็มเอ็มสปอร์ต จับมือ MThai ถ่ายสดบอลยูโร 2012 ทางอินเทอร์เน็ตฟรี[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์จีเอ็มเอ็มสปอร์ต, 9 มิถุนายน 2555.
- ↑ อย่าพลาด!! ติดตามชมคลิปไฮไลต์ บอลยูโร ทุกแมตช์ ได้ที่นี่ ทุกวันจนจบการแข่งขัน, ข่าวสดออนไลน์, 7 มิถุนายน 2555.
- ↑ “AIS – GMM Z Sport” ชมถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโรบนมือถือ[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์จีเอ็มเอ็มสปอร์ต, 29 พฤษภาคม 2555.
- ↑ ทรูแถลงเรียกร้องคนไทยควรได้ชมยูโรผ่านฟรีทีวี, เว็บไซต์สยามสปอร์ต ยูโร 2012, 30 พฤษภาคม 2555.
- ↑ "กสทช."นัดเคลียร์ "ทรูวิชั่นส์-ฟรีทีวี" วันนี้ หาข้อสรุปถ่ายทอดบอลยูโร ขีดเส้น8มิ.ย.รายงานผล, มติชนออนไลน์, 7 มิถุนายน 2555.
- ↑ 50.0 50.1 กสทช. ฟันธง ห้ามทรูวิชั่นส์จอดำช่วงศึกยูโร ผิดสัญญาส่อปรับวันละ 5 ล้าน, มติชนออนไลน์, 7 มิถุนายน 2555.
- ↑ "ทรู วิชั่นส์"ฝันสลาย! เจรจาสิทธิ์ถ่ายทอดบอลยูโรกับแกรมมี่เหลว กลั้นใจ "จอดำ" 3 วัน ศุกร์-อาทิตย์, มติชนออนไลน์, 8 มิถุนายน 2555.
- ↑ กสทช.ส่งหนังสือไล่จี้"ทรู วิชั่นส์"เร่งแก้จอดำ เส้นตาย4โมงครึ่ง12มิ.ย.แจ้งผล-ขู่ลุยต่อปรับ2หมื่น, มติชนออนไลน์, 11 มิถุนายน 2555.
- ↑ ทรูวิชั่นส์มอบสิทธิพิเศษให้สมาชิก ชดเชยที่ไม่สามารถถ่ายทอดฟุตบอลยูโร 2012 เก็บถาวร 2012-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ทรูวิชั่นส์, 11 มิถุนายน 2555.
- ↑ "ทรูวิชั่นส์" โต้คำสั่ง "กสทช." อ้างคลาดเคลื่อน ไม่อาจรับฟัง วอนให้ทบทวน-ยกเลิก, มติชนออนไลน์, 12 มิถุนายน 2555.
- ↑ "แกรมมี่"แถลง"ยูฟ่า"ปฏิเสธส่งสัญญาณให้"ทรู"อ้างช้าไป เตรียมแจง กสทช. สมาชิกชมจอมืดจนจบการแข่งขัน, มติชนออนไลน์, 13 มิถุนายน 2555.
- ↑ ทรูฯผิดหวัง"ยูฟ่า"รับสภาพ"จอดำ"จนจบบอลยูโร, มติชนออนไลน์, 13 มิถุนายน 2555.
- ↑ รอยูฟ่าชี้-'ทรู' จอดำ, หนังสือพิมพ์ข่าวสด, 13 มิถุนายน 2555.
- ↑ "วรวัจน์" เตรียมทำหนังสือถึง "จีเอ็มเอ็มแชท" เรียกดูสัญญากับ "ยูฟ่า", มติชนออนไลน์, 14 มิถุนายน 2555.
- ↑ รบ.เรียก"แกรมมี่-ทรู"ยุติศึกจอมืดบอลยูโร "อากู๋"เผยส่งคนกล่อม"ยูฟ่า"รอบ 2 แล้ว รอลุ้นผลสัปดาห์หน้า, มติชนออนไลน์, 15 มิถุนายน 2555.
- ↑ ทรูวิชั่นส์ "จอดำ" กลายเป็นกรณีตัวอย่างระดับโลก "ยูฟ่า" รื้อใหม่กติกาขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดบอลยูโร, มติชนออนไลน์, 16 มิถุนายน 2555.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (ในภาษาอังกฤษ)