เขาโรไรมา
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
เขาโรไรมา (สเปน: Cerro Roraima, Tepuy Roraima) หรือ เขาโฮไรมา (โปรตุเกส: Monte Roraima, [ˈmõtʃi ʁoˈɾajmɐ]) เป็นเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาพากาไรมาของที่ราบสูงเทปุยในทวีปอเมริกาใต้[4]: 156 นักสำรวจชาวอังกฤษชื่อ เซอร์วอลเทอร์ ราเล ได้บรรยายไว้เป็นคนแรกว่า พื้นที่บนยอดเขากว่า 31 ตารางกิโลเมตร[4]: 156 ประกอบขึ้นจากหน้าผารอบด้านซึ่งสูงถึง 400 เมตร (1,300 ฟุต) เขาแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่าง 3 ประเทศอันได้แก่ประเทศเวเนซุเอลา บราซิล และกายอานา[4]: 156
เขาโรไรมา | |
---|---|
Monte Roraima (โปรตุเกส) | |
เขาโรไรมา | |
จุดสูงสุด | |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 2,810 เมตร (9,219 ฟุต) [1] |
ความสูง ส่วนยื่นจากฐาน | 2,338 เมตร (7,671 ฟุต) [1] |
รายชื่อ | จุดสูงสุดของประเทศ Ultra |
พิกัด | 5°08′36″N 60°45′45″W / 5.14333°N 60.76250°W |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ประเทศ | เวเนซุเอลา บราซิล กายอานา |
เทือกเขา | ที่ราบสูงกายอานา |
ข้อมูลทางธรณีวิทยา | |
ประเภทภูเขา | ที่ราบสูง |
การพิชิต | |
พิชิตครั้งแรก | ค.ศ. 1884 โดย Everard F. im Thurn, Harry Inniss Perkins และชาวท้องถิ่นกายอานา [2][3]: 497 |
เส้นทางง่ายสุด | เดินเขา |
เขาโรไรมาตั้งอยู่บนหินฐานทวีปกายอานา ทางมุมตะวันออกเฉียงใต้ในพื้นที่ 30,000 ตารางกิโลเมตรของอุทยานแห่งชาติคาไนมา ซึ่งก่อให้เกิดยอดสูงสุดในที่เขตที่ราบสูงกายอานา ภูเขารูปโต๊ะของอุทยานได้รับการพิจารณาว่าเป็นการก่อตัวทางธรณีวิทยาที่เก่าแก่ที่สุดบนโลกมีอายุถึง 2 พันล้านปีนับตั้งแต่พรีแคมเบรียน
จุดสูงสุดในกายอานาและรัฐโฮไรมาของบราซิล ตั้งอยู่เขตพื้นที่ที่ราบสูง แต่เวเนซุเอลาและบราซิลยังมีเขาสูงแห่งอื่นอีก พิกัดของเส้นแบ่งเขตแดนของ 3 ประเทศนี้อยู่ที่ 5°12′08″N 60°44′07″W / 5.20222°N 60.73528°W แต่จุดสูงสุดของเขาแห่งนี้คือ มาเวอริกร็อก สูงถึง 2,810 เมตร (9,219 ฟุต) ตั้งอยู่ทางใต้สุดของที่ราบสูงและทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ของเวเนซุเอลา
พรรณพืชและพันธุ์สัตว์
แก้ในเขตที่ราบสูง พืชหลายสายพันธุ์พบเฉพาะในเขาโรไรมาเท่านั้น[5] เช่น พิชเชอร์แพลนท์ (ฮีเลียมโฟรา) แคมปานูลา (เบลฟลาวเวอร์) หรือพืชหายากอย่างต้นหญ้า ราปาที ก็พบได้ทั่วไปตามสันเขาและยอดเขา[4]: 156–157 มีฝนตกเกือบทุกวัน พื้นผิวเกือบทั้งหมดบนยอดเขาเป็นหินทรายเปล่า ๆ มีพุ่มไม้ปกคลุมเพียงเล็กน้อย (บอนเนเทียโรไรโม) และพบสาหร่ายด้วย[3]: 517 [6]: 464 [7]: 63 พืชหายากอื่น ๆ สามารถพบได้ในบ่อทรายที่กระจายอยู่ทั่วไปบนพื้นหินบนยอดเขา[3]: 517 สารอาหารในดินโดนชำระล้างไปตามกระแสน้ำที่ไหลตกจากขอบผาเกิดเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง
มีตัวอย่างสัตว์หายากมากมายบนยอดเขาโรไรมา เช่น Oreophrynella quelchii เรียกกันทั่วไปว่าคางคกพุ่มไม้โรไรมา เป็นสัตว์หากินกลางวันพบได้ในพื้นหินที่เปิดโล่งหรือป่าพุ่มไม้ เป็นคางคกในตระกูล Bufonidae และสืบพันธุ์แบบ direct development[8] คางคกสายพันธุ์นี้ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องให้ความรู้กับนักท่องเที่ยวให้ทราบความสำคัญของปัญหานี้ และไม่ให้รบกวนพวกมัน การเฝ้าระวังจำนวนประชากรอย่างใกล้ชิดก็จำเป็นเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อสัตว์สายพันธุ์นี้ถูกพบแต่ที่นี่แห่งเดียว สัตว์ชนิดนี้ได้รับการคุ้มครอง Monumento Natural Los Tepuyes ในเวเนซุเอลา และ Parque Nacional Monte Roraima ในบราซิล[9]
วัฒนธรรม
แก้เป็นเวลานานก่อนนักสำรวจชาวยุโรปจะเข้ามา เขาโรไรมาเป็นถิ่นฐานสำคัญของชนพื้นเมืองในท้องถิ่น และยังเป็นศูนย์กลางแห่งความเชื่อและตำนานต่างๆ ชาวเพมอน และชาวคาพอน ชนเผ่าพื้นเมืองของแกรนซาบานา ถือเขาโรไรมาว่าเป็นตอของต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งรวมผลไม้และหน่อพืชผักทุกชนิดในโลก แต่เมื่อถูกโค่นลงโดยมาคุไนมา นักหลอกลวงตามตำนาน ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ก็ล้มลงสู่พื้นดิน ก่อให้เกิดน้ำท่วมใหญ่[10] Roroi ในภาษาเพมอนแปลว่า สีน้ำเงินเขียว ส่วน ma แปลว่ายิ่งใหญ่[ต้องการอ้างอิง]
ในปี 2006 เขาโรไรมาคือจุดหมายของสารคดีชนะรางวัล เป็นรายการที่ออกอากาศ 2 ชม.ทางโทรทัศน์ของบริษัทกริฟฟอนโปรดักชัน ชื่อเดอะเรียลลอสต์เวิร์ล รายการนี้ออกฉายทางช่อง แอนิมอลแพลเน็ต, ดิสคัฟเวอรีเอชดีเธียเตอร์ และโอแอลเอ็น (แคนาดา) กำกับโดย ปีเตอร์ วอน พัทคาเมอร์nสารคดีท่องเที่ยว/ผจญภัยชุดนี้โดดเด่นด้วยคณะนักสำรวจรุ่นใหม่ ประกอบไปด้วย ริค เวสต์, ดร.ฮาเซล บาร์ตัน,เซธ ฮีลด์, ดีน ฮอริสัน และ ปีเตอร์ สเปราต์ พวกเขาเดินตามรอยนักสำรวจชาวอังกฤษอิม เธิร์น และ แฮรี่ เพอร์คิน ผู้ออกตามหาพรรณพืช และสัตว์ในเขาโรไรมาเมื่อช่วงกลางศตวรรษที่ 19 การผจญภัยของนักสำรวจเหล่านั้นอาจเป็นแรงบันดาลใจให้อาเธอร์ โคแนน ดอยล์ เขียนหนังสือเกี่ยวกับคนและไดโนเสาร์ คือเรื่องเดอะลอสต์เวิร์ล ตีพิมพ์ในปี 1912[4]: 156 ในปี 2006 คณะถ่ายทำ เดอะเรียลลอสต์เวิร์ล เป็นคณะสำรวจแรกที่เข้าไปสำรวจถ้ำในเขาโรไรมา หลายถ้ำถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ ภายในถ้ำพวกเขาได้ค้นพบการก่อตัวของหินรูปแครอทที่งอกอยู่ในถ้ำซึ่งมีอายุกว่า 2 พันล้านปี ดร.ฮาเซล บาร์ตันกลับมาที่ถ้ำแห่งนี้อีกครั้งในปี 2007 คณะสำรวจซึ่งสนับสนุนโดยองค์การนาซ่า เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการเติบโตต่างๆ บนผนังและเพดาน เช่น หลักฐานจากจุลินทรีย์ เอกซ์ตรีมโมไฟล์ ซึ่งกัดกินกำแพงที่มีพื้นฐานเป็นซิลิกา คงเหลือไว้แต่ฝุ่นผงที่ทับถมอยู่บนใยแมงมุมดึกดำบรรพ์ และก่อตัวเป็นหินย้อยที่รูปทรงเฉพาะตัว
ในปี 2009 เขาโรไรมาเป็นแรงบันดาลใจเพื่อใช้เป็นฉากสำคัญในภาพยนตร์แอนิเมชันของค่ายดิสนีย์/พิกซาร์ เรื่อง อัพ ปู่ซ่าบ้าพลัง [11] ในภาพยนตร์เวอร์ชันแผ่นบลูเรย์ มีภาพยนตร์เบื้องหลังสั้น ๆ (ชื่อเรื่อง Adventure Is Out There) เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับคณะถ่ายทำของพิกซาร์ เดินทางขึ้นไปยังเขาโรไรมาเพื่อหาแรงบันดาลใจและความคิดเพื่อสร้างสรรค์ภาพยนตร์เรื่องนี้
การขึ้นเขา
แก้แม้ฝั่งลาดชัดของที่ราบสูงจะยากในการปีนขึ้นไป แต่มีบันทึกไว้ว่ามีผู้ที่พิชิตภูเขายอดราบนี้ได้เป็นคนแรก คือ เซอร์เอเวอราด อิม เธิน เขาเดินตามทางลาดแนวป่าเพื่อวัดขนาดที่ราบสูงแห่งนี้ในเดือนธันวาคมปี 1884 ปัจจุบันนักปีนเขาก็ใช้เส้นทางเดียวกันนี้
ทุกวันนี้ เขาโรไรมาเป็นจุดหมายของเล่านักเดินทางแบ็กแพ็ค นักเดินทางเกือบทั้งหมดจะปีนขึ้นเขาจากฝั่งประเทศเวเนซุเอล่า นักเดินทางส่วนใหญ่จะจ้างคนนำทางชาวอินเดียนเชื้อสายเพมอนจากหมู่บ้านพาไรเทปุย ซึ่งสามารถเข้าถึงโดยเดินทางผ่านถนนดินจากถนนสายหลักแกรนซาบานา ระหว่างกิโลเมตรที่ 88 และเมืองซานตาเอเลน่าเดอไวเรน แม้ว่าเส้นทางไต่เขาสู่ที่ราบสูงจะมีจุดสังเกตและเป็นเส้นทางยอดนิยม ก็สามารถหลงทางได้ง่ายเมื่อถึงยอดเขา เพราะมีร่องรอยให้สังเกตเพียงเล็กน้อย และมีเมฆปกคลุมยอดเขาอยู่ตลอด ทั้งยังมีหินรูปร่างประหลาดที่ยากต่อการคาดคะเนทางสายตา สามารถเดินทางถึงพาไรเทปุยได้อย่างง่ายดายโดยยานพาหนะขับเคลื่อนสี่ล้อ จะยากอย่างยิ่งถ้าเดินทางโดยรถยนต์ถ้าถนนซึ่งไม่มีทางลาดอยู่ในสภาพที่ไม่ปกติ และใช้เวลาเป็นวันถ้าเดินเท้า[ต้องการอ้างอิง]
จากพาไรเทปุย นักปีนเขาจะใช้เวลา 2 วันในการเดินทางถึงตีนเขา และอีก 2 วันเดินไปตาม"ลาแลมปา"หรือบันไดธรรมชาติ เพื่อขึ้นสู่ยอดเขา และมักจะต้องใช้เวลาอีก 2 วันเดินทางกลับ หลายคนจะเที่ยวอยู่บนยอดเขา 1 วัน 1คืน รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 6 วัน ถ้าเดินป่านานขึ้นจะสามารถไปถึงเทปุยทางด้านเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกายอานา ซึ่งถูกสำรวจน้อยกว่า และมีจุดท่องเที่ยวน่าสนใจ เช่น ทะเลสาบกลาดีส เส้นทางนี้จะเสี่ยงอันตรายมากกว่าเขาทางฝั่งใต้อันมีชื่อเสียง และเหมาะกับกลุ่มเดินทางที่เตรียมเสบียงไว้อย่างดีเท่านั้น ถ้าไม่ต้องการผจญภัยมากนัก และถ้าสภาพอากาศอำนวย สามารถเดินทางขึ้นเขาด้วยทัวร์เฮลิคอปเตอร์ ซึ่งมีให้บริการอยู่ไม่ไกลจากเมืองซานตาเอเลนาเดอไวเรนของเวเนซุเอลา[12]
เส้นทางเดียวสู่ยอดเขาโดยไม่ต้องพึ่งเทคนิคคือทางพาไรเทปุย แต่อาจจะต้องพึ้งอุปกรณ์ปีนเขา มีนักปีนเขาปีนขึ้นจากฝั่งประเทศกายอานาและบราซิลบ้างบางโอกาส แต่เพราะพรมแดนทั้งสองด้านล้วนเป็นหน้าผาขนาดหึมา ซึ่งประด้วยแง่งหินสูงชัน ทำให้เป็นเส้นทางที่เข้าถึงยากอย่างยิ่งและต้องชำนาญการไต่หินผา การปีนเขาแบบนี้ อาจต้องขออนุญาตเข้าพื้นที่หวงห้ามของอุทยานจากประเทศเหล่านั้นด้วย ตั้งแต่ปี 2009การปีนเขาจากฝั่งประเทศบราซิลเริ่มเกิดปัญหา เนื่องจากต้องเข้าผ่านทาง Raposa-Serra do Sol Amerindian reserve, ซึ่งมีความขัดแย้งทางระหว่างคนท้องถิ่นอยู่ บ่อยครั้งเป็นชาวนากับเจ้าหน้าที่ของรัฐ[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Monte Roraima, Venezuela". Peakbagger.com.
- ↑ From The Times (May 22, 1885), "Mr. im Thurn's Achievement" (PDF), The New York Times, New York City, United States: The New York Times Company, p. 3, ISSN 0362-4331, OCLC 1645522, สืบค้นเมื่อ November 15, 2009,
Lord Aberdare said that Mr. Perkins, who accompanied Mr. im Thurn in the ascent of the mountain, had fared little better, inasmuch as he also had been severely attacked by fever since his return, and though present that evening, was still too weak to read his notes.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 im Thurn, Everard (August 1885), "The Ascent of Mount Roraima", Proceedings of the Royal Geographical Society and Monthly Record of Geography, New Monthly Series, London, England, U.K.: Blackwell Publishing, on behalf of the Royal Geographical Society, with the Institute of British Geographers, 7 (8): 497–521, doi:10.2307/1800077, ISSN 0266-626X, JSTOR 1800077, OCLC 51205375, สืบค้นเมื่อ November 14, 2009,
For all around wore rocks and pinnacles of rocks of seemingly impossibly fantastic forms, standing in apparently impossibly fantastic ways—nay, placed one on or next to the other in positions seeming to defy every law of gravity—rocks in groups, rocks standing singly, rocks in terraces, rocks as columns, rocks as walls and rooks as pyramids, rocks ridiculous at every point with countless apparent caricatures of the faces and forms of men and animals, apparent caricatures of umbrellas, tortoises, churches, cannons, and of innumerable other most incongruous and unexpected objects.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Swan, Michael (1957), British Guiana, London, England, U.K.: Her Majesty's Stationery Office, OCLC 253238145,
Mount Roraima is the point where the boundaries of Venezuela, Brazil and British Guiana actually meet, and a stone stands on its summit, placed there by the International Commission in 1931.
- ↑ Green, Reg (July 24, 2009), "The Lost World of Venezuela's Mt. Roraima", Los Angeles Times, Los Angeles, CA, U.S.A.: Tribune Company, ISSN 0458-3035, OCLC 37745847, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-09, สืบค้นเมื่อ November 14, 2009,
The result of all that isolation: an abundance of plants and animals found nowhere else in the world, including a tiny black frog so primitive that it hasn't yet learned to hop but, when threatened, baffles its enemies by turning itself into a ball and rolling off the rocks.
- ↑ Clementi (née Eyres), Marie Penelope Rose (December 1916), "A Journey to the Summit of Mount Roraima", The Geographical Journal, London, England, U.K.: Blackwell Publishing, on behalf of the Royal Geographical Society, with the Institute of British Geographers, 48 (6): 456–473, doi:10.2307/1779816, ISSN 0016-7398, JSTOR 1779816, OCLC 1570660,
The summit is covered with enormous black boulders, weathered into the weirdest and most fantastic shapes. We were in the middle of an amphitheatre, encircled by what one might almost call waves of stone. It would be unsafe to explore this rugged plateau without white paint to mark one's way, for one would be very soon lost in the labyrinth of extraordinary rocks. There is no vegetation on Roraima save a few dampsodden bushes (Bonnetia Roraimœ), and fire sufficient for cooking can be raised only by an Indian squatting beside it and blowing all the time.
- ↑ Tate, G. H. H. (January 1930), "Notes on the Mount Roraima Region", Geographical Review, New York, New York, U.S.A.: American Geographical Society, 20 (1): 53–68, doi:10.2307/209126, ISSN 0016-7428, JSTOR 209126, OCLC 1570664,
In general the interior plateau looks flat and monotonous. Appearance is deceptive, for there are actually very few places where walking is not difficult, and these follow the joint system of the sandstone. For the most part, tumbled masses of rock, rifts, and gorges and whole acres of ten-foot mushrooms and loaves of bread formed in stone offer a maze in which one may wander long before finding better ground; while gullies many yards in depth and breadth, meandering undecidedly, force detours of sometimes half a mile.
- ↑ Hoogmoed, Marinus. "IUCN Red List of Threatened Species". Oreophrynella quelchii. IUCN 2012. สืบค้นเมื่อ 13 December 2012.
- ↑ Geographical. "A Lost World Above the Clouds". สืบค้นเมื่อ 13 December 2012.
- ↑ Abreu, Stela Azevedo de (July 1995), Aleluia: o banco de luz, Campinas, Brazil.: Thesis for a Master's in Sociocultural Anthropology, at UNICAMP, สืบค้นเมื่อ January 10, 2012
- ↑ Power, Ed (October 2, 2009), "Up and away", Irish Independent, Dublin, Ireland: Independent News and Media, ISSN 0021-1222, OCLC 60623153, สืบค้นเมื่อ November 14, 2009,
In order to make sure that they got their South American backdrops right, Docter and 11 other Pixar artists visited the famously inaccessible Monte Roraima region of Venezuela.
- ↑ "Raúl Helicópteros in Santa Elena de Uairén (Venezuela), Brazil". Lonely Planet. BBC Worldwide. n.d. สืบค้นเมื่อ 15 January 2013.
ดูเพิ่ม
แก้- Aubrecht, R., T. Lánczos, M. Gregor, J. Schlögl, B. Šmída, P. Liščák, C. Brewer-Carías & L. Vlček (15 September 2011). Sandstone caves on Venezuelan tepuis: return to pseudokarst? Geomorphology 132 (3–4) : 351–365. doi:10.1016/j.geomorph.2011.05.023
- Aubrecht, R., T. Lánczos, M. Gregor, J. Schlögl, B. Šmída, P. Liščák, C. Brewer-Carías & L. Vlček (2013). Reply to the comment on "Sandstone caves on Venezuelan tepuis: return to pseudokarst?". Geomorphology, published online on 30 November 2012. doi:10.1016/j.geomorph.2012.11.017
- (สเปน) Brewer-Carías, C. (2012). Roraima: madre de todos los ríos.PDF Río Verde 8: 77–94.
- Jaffe, K., J. Lattke & R. Perez-Hernández (January–June 1993). Ants on the tepuies of the Guiana Shield: a zoogeographic study. เก็บถาวร 2013-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Ecotropicos 6 (1) : 21–28.
- Kok, P.J.R., R.D. MacCulloch, D.B. Means, K. Roelants, I. Van Bocxlaer & F. Bossuyt (7 August 2012). Low genetic diversity in tepui summit vertebrates.PDF Current Biology 22 (15) : R589–R590. doi:10.1016/j.cub.2012.06.034 [supplementary informationPDF]
- MacCulloch, R.D., A. Lathrop, R.P. Reynolds, J.C. Senaris and G.E. Schneider. (2007). Herpetofauna of Mount Roraima, Guiana Shield region, northeastern South America. Herpetological Review 38: 24-30.
- Sauro, F., L. Piccini, M. Mecchia & J. De Waele (2013). Comment on "Sandstone caves on Venezuelan tepuis: return to pseudokarst?" by R. Aubrecht, T. Lánczos, M. Gregor, J. Schlögl, B. Smída, P. Liscák, Ch. Brewer-Carías, L. Vlcek, Geomorphology 132 (2011), 351–365. Geomorphology, published online on 29 November 2012. doi:10.1016/j.geomorph.2012.11.015
- Warren, A. (1973). Roraima: report of the 1970 British expedition to Mount Roraima in Guyana, South America. Seacourt Press, Oxford UK, 152 pp.
- Zahl, Paul, A. (1940) To the Lost World. George G. Harrap & Co. Ltd. 182 High Holborn, London, W.C.1