อาณาจักรพระนคร

จักรวรรดิที่ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 802–1431 ในภูมิเอเชียตะออกเฉียงใต้
(เปลี่ยนทางจาก อาณาจักรเขมร)

อาณาจักรพระนคร[3] (เขมร: ចក្រភពអង្គរ จกฺรภพองฺคร) หรือ อาณาจักรเขมร[4] (เขมร: ចក្រភពខ្មែរ จกฺรภพขฺแมร) บ้างเรียก อาณาจักรขอม[5][6] เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกประเทศกัมพูชาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9–15 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศนี้เป็นจักรวรรดิพุทธ-ฮินดูอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จักรวรรดิแห่งนี้วิวัฒนาการขึ้นจากอารยธรรมโบราณที่เรียกฟูนันและเจนละซึ่งปกครองหรือเป็นเจ้าประเทศราชอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นดินส่วนใหญ่[7] ตลอดจนบางส่วนของจีนตอนใต้ โดยมีอาณาเขตตั้งแต่ปลายคาบสมุทรอินโดจีนไปทางเหนือจนถึงมณฑลยูนนานในประเทศจีนปัจจุบัน และทางตะวันตกจากประเทศเวียดนามไปจนถึงประเทศเมียนมา[8][9]

อาณาจักรพระนคร

ค.ศ. 802–ค.ศ. 1431
ธงชาติ
ธงชาติ
อาณาจักรพระนคร ป. ค.ศ. 900
อาณาจักรพระนคร ป. ค.ศ. 900
สถานะจักรวรรดิ
เมืองหลวง
ภาษาเชิงศาสนาสันสกฤต[a]
ภาษาพูดเขมรเก่า
ภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น ๆ
ศาสนา
เดมะนิมเขมร
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบเทวราชา
พระมหากษัตริย์ 
• ค.ศ. 802–850
พระเจ้าชัยวรมันที่ 2
• ค.ศ. 1113–1150
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
• ค.ศ. 1181–1218
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
• ค.ศ. 1417–1431
เจ้าพระยาญาติ
ยุคประวัติศาสตร์สมัยกลาง
• พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ขึ้นครองราชย์
ค.ศ. 802
• สถาปนานครวัด
ค.ศ. 1113–1150
ค.ศ. 1431
พื้นที่
ค.ศ. 1290[1][2]1,000,000 ตารางกิโลเมตร (390,000 ตารางไมล์)
ก่อนหน้า
ถัดไป
เจนละ
กัมพูชาสมัยหลังพระนคร
อาณาจักรล้านช้าง
อยุธยา

ตามขนบแล้ว อาณาจักรพระนครเริ่มต้นใน ค.ศ. 802 เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงประกาศพระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิที่พนมกุเลน และสิ้นสุดลงเมื่ออาณาจักรอยุธยาเข้ายึดเมืองพระนครใน ค.ศ. 1431 แต่สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้อาณาจักรพระนครล่มลายนั้นยังคงเป็นที่สงสัยของนักวิชาการ[10] นักวิจัยเห็นว่า ปัญหาหนึ่งในอาณาจักรนี้ คือ การที่เกิดฝนมรสุมสลับไปมากับภาวะร้อนแล้งซึ่งสร้างความเสียหายแก่โครงสร้างพื้นฐาน[11]

มรดกที่โดดเด่นที่สุดของอาณาจักรพระนครคือ เมืองพระนคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรนี้ในช่วงรุ่งเรืองที่สุด โบราณสถานอลังการหลายแห่งในเมืองพระนคร เช่น นครวัดและปราสาทบายน เป็นเครื่องยืนยันถึงความมหาศาลของอำนาจ ราชทรัพย์ ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาการทางสถาปัตยกรรม และระบบความเชื่ออันหลากหลายในอาณาจักรนี้ ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11–12 ซึ่งอาณาจักรพระนครเจริญถึงขีดสุดนั้น อาณาจักรพระนครเป็นชุมชนเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกก่อนยุคอุตสาหกรรม[12][13] นักวิจัยยังเห็นว่า อาณาจักรพระนครเป็นแห่งแรกในโลกที่ก่อตั้งระบบสาธารณสุข โดยมีสถานพยาบาลสาธารณะถึง 102 แห่ง[14]

ชื่อเรียก

แก้

ขอม - เขมร (ขะแมร์)

แก้

ตามตำนานพระทอง-นางนาคได้มีการเรียกดินแดนที่อาณาจักรพระนครตั้งอยู่ว่า กัมโพชะ หรือ กัมพูชา มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนัน หลักฐานที่เรียกชาวกัมพูชาว่า เขมร เก่าที่สุด คือ ศิลาจารึก Ka. 64 ซึ่งเป็นศิลาจารึกสมัยก่อนเมืองพระนคร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวถึงชาวเขมรโบราณไว้ว่า “(๑๓) กฺญุม เกฺมร โฆ โต ๒๐. ๒๐. ๗ เทร สิ ๒” คำว่า กฺญุม ในภาษาเขมรโบราณสมัยก่อนพระนครหมายถึง "ข้า" สันนิษฐานว่า หมายถึง "ข้าพเจ้า" ใช้เรียกตนเอง เหมือนคำว่า ขยม อัญขยม ส่วนคำว่า เกฺมร (kmer) เมื่อรวมความหมายของคำว่า “กฺญุม เกฺมร” แล้ว จึงอาจแปลว่า “ข้าพเจ้า (ที่เป็น) ชาวเขมร” แสดงว่าชาวกัมพูชาเรียกตัวเองว่า เกฺมร (kmer) มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นคำว่า เขฺมร (khmer) ในช่วงเขมรสมัยเมืองพระนคร และกลายเป็น แขฺมร ออกเสียงว่า แคฺมร์ (khmaer) ดังที่ปรากฏในภาษาเขมรปัจจุบัน ส่วนบางทฤษฏีสันนิษฐานว่า เกฺมร หมายถึง ทาส เช่น บ่าว ไพร่ ซึ่งอาจตีความได้ว่าเป็นข้ารับใช้ของพระมหากษัตริย์ในยุคอาณาจักรพระนคร

โดยคำว่า เขมร ในดินแดนไทยได้มีหลักฐานปรากฏขึ้นอย่างน้อย ๆ เมื่อ พ.ศ. 1069 (ตรงกับยุคอาณาจักรพระนคร) จากจารึกคำว่า เขมร ในจารึกซับบาก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา[15]

คำว่า ขอม สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในภายหลัง ปรากฏในจารึกวัดศรีชุม สุโขทัย 2 แห่ง ระบุชื่อ ขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งคาดว่าสร้างขึ้นราว พ.ศ. 1884-1910 ปลายยุคอาณาจักรพระนคร[16] จิตร ภูมิศักดิ์ได้เสนอว่า ขอม ไม่ได้หมายถึงเชื้อชาติ แต่หมายถึงกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ที่รับวัฒนธรรมฮินดูจากชมพูทวีปแล้วภายหลังเปลี่ยนเป็นพุทธมหายาน (ต่างกับชนชาติไทย-ลาวที่นับถือผีก่อนเปลี่ยนมารับพุทธเถรวาทจากชมพูทวีป) ใช้อักษรขอมในการจดจารึก ซึ่งคนกลุ่มนี้รวมถึงชนชาติเขมรและรัฐเครือญาติทั้งหมด รวมทั้งละโว้ ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นอโยธยาศรีรามเทพนครด้วย คำว่า "ขอม" ถูกใช้เรียกกลุ่มคนโดยรวม คล้ายกับการใช้คำว่า "แขก" เรียกคนอิสลาม/ซิกข์/ฮินดูโดยรวม โดยไม่แยกว่าเป็นคนอินเดีย มลายู ชวา หรือตะวันออกกลาง สำหรับชาวเขมรนั้นไม่ได้เรียกตัวเองว่า ขอม อีกทั้งไม่ปรากฏหลักฐานว่าชาวเขมรเรียกตนเองว่า กโรม หรือ ขอม (ในความหมายว่า ชาวเขมร หรือ ชาวกัมพูชา) แต่พวกเขาเรียกตนเองอย่างชัดเจนว่า ขะแมร์ (เขมร) และเรียกดินแดนของตนว่า กัมพูชา มาตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนคร

การเปลี่ยนแปลงดินแดน

แก้

พื้นที่อาณาจักรพระนครระบายด้วยสีแดง

รายพระนามพระมหากษัตริย์พระนคร

แก้
 
รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา
พระมหากษัตริย์ ครองราชย์
รัชกาล พระรูป พระนาม ระหว่าง หมายเหตุ
อาณาจักรพระนคร
(พ.ศ. 1345 – 1974)
สถาปนา มเหนทรบรรพต เป็นเมืองหลวง
สถาปนา หริหราลัย เป็นเมืองหลวง
31   พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พ.ศ. 1345 – 1378
(33 ปี)
ประกาศอิสรภาพกัมพูชาจากการยึดครองของอาณาจักรศรีวิชัย สถาปนาอาณาจักรพระนคร และรับการอภิเษกเป็นพระเจ้าจักรพรรดิพนมกุเลนและริเริ่มลัทธิเทวราชขึ้นเป็นครั้งแรกในกัมพูชา[17]
32   พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 พ.ศ. 1378 – 1420
(42 ปี)
เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชัยวรมันที่ 2
33   พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 พ.ศ. 1420 – 1432
(12 ปี)
ภาคิไนยในพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พระองค์ได้สร้างปราสาทพระโค โดยอุทิศแด่พระราชบิดาและพระอัยกา และสร้างปราสาทบากอง
สถาปนา ยโศธรปุระ เป็นเมืองหลวง
34   พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พ.ศ. 1432 – 1453
(21 ปี)
พระราชโอรสในพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 พระองค์ได้สร้างปราสาทโลเลย ย้ายราชธานีไปตั้งที่กรุงยโศธรปุระล้อมรอบด้วยพนมบาเค็ง อีกทั้งยังทรงโปรดให้ขุดบารายตะวันออก
35   พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พ.ศ. 1453 – 1466
(13 ปี)
พระราชโอรสในพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระองค์ได้สร้างปราสาทปักษีจำกรุง
36   พระเจ้าอิศานวรมันที่ 2 พ.ศ. 1466 – 1471
(5 ปี)
พระราชโอรสในพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระเชษฐาในพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พระองค์มีบทบาทในการชิงพระราชบัลลังก์พระมาตุลาของพระองค์เอง (พระเจ้าชัยวรมันที่ 4) พระองค์โปรดให้สร้างปราสาทกระวาน
สถาปนา เกาะแกร์ เป็นเมืองหลวง
37   พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พ.ศ. 1471 – 1484
(13 ปี)
พระราชนัดดาในพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 (ประสูติแต่พระนางมเหนทรเทวี พระธิดาในพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1) พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับพระนางชยเทวี พระขนิษฐาในพระเจ้ายโศวรมันที่ 1[18] พระองค์ทรงราชาภิเษกโดยอ้างสิทธิ์ทางสายพระราชมารดา และเป็นผู้สถาปนาเกาะแกร์เป็นราชธานี
38   พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พ.ศ. 1484 – 1487
(3 ปี)
พระราชโอรสในพระเจ้าชัยวรมันที่ 4
สถาปนา ยโศธรปุระ เป็นเมืองหลวง
39   พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 พ.ศ. 1487 – 1511
(24 ปี)
เป็นพระปิตุลาและพระภาดาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระองค์ได้ชิงพระราชบัลลังก์จากพระเจ้าหรรษวรมันที่ 2และทรงย้ายราชธานีกลับมาที่เมืองพระนคร ทรงโปรดให้สร้างปราสาทแปรรูปและปราสาทแม่บุญตะวันออก, ทรงเริ่มทำสงครามกับอาณาจักรจามปาในปี ค.ศ. 946
สถาปนา พระนคร เป็นเมืองหลวง
40   พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 พ.ศ. 1511 – 1544
(33 ปี)
พระราชโอรสของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่คือเมืองชัยเยนทรนครและปราสาทตาแก้ว ให้เป็นศูนย์กลางแทนเมืองศรียโศธรปุระ
41   พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 พ.ศ. 1544 – 1549
(5 ปี)
เป็นยุคแห่งความวุ่นวาย เนื่องจากมีพระมหากษัตริย์ 3 พระองค์ครองราชย์พร้อมกันทำให้เกิดความขัดแย้ง
42   พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 พ.ศ. 1549 – 1593
(42 ปี)
ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ได้สำเร็จ ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับราชวงศ์โจฬะและสู้รบกับอาณาจักรตามพรลิงก์ โปรดให้สร้างปราสาทพระขรรค์กำปงสวาย พระองค์ได้หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน
43   พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 พ.ศ. 1593 – 1609
(16 ปี)
ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ได้สำเร็จ พระองค์สืบราชสันตติวงศ์แต่พระมเหสีในพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 โปรดให้สร้างปราสาทบาปวน โปรดให้ขุดบารายตะวันตกและโปรดให้สร้างปราสาทแม่บุญตะวันตกและปราสาทสด็อกก็อกธม
44   พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 พ.ศ. 1609 – 1623
(14 ปี)
แย่งราชบัลลังก์จากพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ตั้งศูนย์กลางพระนครที่ปราศาทบาปวน การรุกรานของอาณาจักรจามปาในปี พ.ศ. 1617 และ 1625
45   พระเจ้าชัยวรรมันที่ 6 พ.ศ. 1623 – 1650
(27 ปี)
พระองค์ชิงราชบัลลังก์จากวิมายปุระ เป็นปฐมกษัตริย์ต้นสายราชสกุลมหิธรปุระ โปรดให้สร้างปราสาทพิมาย
46   พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 พ.ศ. 1650 – 1656
(6 ปี)
ชิงราชบัลลังก์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6
47   พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พ.ศ. 1656–1688
(32 ปี)
ลอบปลงพระชนม์พระปัยกาและแย่งชิงเพื่อขึ้นครองราชสมบัติต่อ และยังโปรดให้สร้าง ปราสาทนครวัด, บันทายสำเหร่, ธรรมนนท์, เจ้าสายเทวดา และ บึงมาลา อีกทั้งยังทำศึกสงครามรุกรานกับอาณาจักรไดเวียต และ จามปา
48   พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 พ.ศ. 1693 – 1703
(10 ปี)
เป็นลูกพี่ลูกน้องของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
49   พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 พ.ศ. 1703 – 1710
(7 ปี)
ถูกยึดอำนาจโดยพระเจ้าตรีภูวนาทิตยวรมัน
50   พระเจ้าตรีภูวนาทิตยวรมัน พ.ศ. 1710 – 1720
(10 ปี)
อาณาจักรจามปาได้เข้ามารุกรานเมื่อปี พ.ศ. 1720 จนกระทั่งเสียพระนครให้แก่จามปาในรัชสมัยพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ 4 กษัตริย์แห่งอาณาจักรจามปา ในอีกหนึ่งปีต่อมา คือเมื่อปี พ.ศ. 1721
ถูกรุกรานโดยอาณาจักรจามปา (ว่างเว้นกษัตริย์ พ.ศ. 1721 – 1724)
สถาปนา นครธม เป็นเมืองหลวง
51   พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พ.ศ. 1724 – 1761
(37 ปี)
เป็นผู้นำกองทัพชาวพระนครในการกอบกู้เอกราชของอาณาจักรพระนครให้พ้นจากการปกครองของอาณาจักรจามปา จนได้รับชัยชนะและเป็นเอกราชอีกครั้งในปี พ.ศ. 1734 หลังจากประสบความสำเร็จจากการทำศึกครั้งนั้นแล้ว จึงได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญเช่น การสร้างอโรคยศาลา พระราชวัง สระน้ำหลวง รวมไปถึงปราสาทองค์สำคัญ เช่น ปราสาทตาพรหม, ปราสาทพระขรรค์, ปราสาทบายน ใน นครธม และ ปราสาทนาคพันธ์ เป็นต้น
52   พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พ.ศ. 1762 – 1786
(24 ปี)
เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในรัชสมัยของพระองค์นั้นได้สูญเสียดินแดนทางฝั่งตะวันตกโดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้ทำการฟื้นฟูอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และดินแดนทางฝั่งตะวันออกนั้น อาณาจักรจามปา ก็ยังได้ประกาศเอกราชขึ้นมาอีกในรัชสมัยเดียวกัน
53   พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พ.ศ. 1786 – 1838
(76 ปี)
ถูกชาวมองโกลนำโดยกุบไลข่าน รุกรานในปี พ.ศ. 1826 และทำสงครามกับอาณาจักรสุโขทัย
54   พระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 พ.ศ. 1838 – 1851
(13 ปี)
ลอบปลงพระชนม์พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ผู้เป็นพระสัสสุระ ทำให้พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ มีการรับนักการทูตชาวจีนหยวน โจว ต๋ากวาน (พ.ศ. 1839 – 1840)
55   พระเจ้าอินทรวรมันที่ 4 พ.ศ. 1851 – 1870
(19 ปี)
56   พระเจ้าชัยวรมันที่ 9 พ.ศ. 1870 – 1879
(9 ปี)
มีพระนามปรากฏในศิลาจารึกภาษาสันสกฤตเป็นพระองค์สุดท้าย สิ้นสุดการปกครองโดยราชสกุลมหิธรปุระหลังจากที่ได้ปกครองอาณาจักรมาอย่างยาวนานกว่า 300 ปี
57   พระเจ้าแตงหวาน พ.ศ. 1879 – 1883
(4 ปี)
ต้นสายราชสกุลตระซ็อกประแอม
58   พระบรมนิพพานบท พ.ศ. 1883 – 1889
(6 ปี)
59   พระสิทธานราชา พ.ศ. 1889 – 1890
(1 ปี)
60   พระบรมลำพงษ์ราชา พ.ศ. 1890 – 1896
(6 ปี)
อาณาจักรอยุธยา ตีนครธมแตก แต่ยังคงมีพระมหากษัตริย์ครองราชย์ต่อไป
61   พระบาสาต
(พระบากระษัตร)
พ.ศ. 1896 – 1899
(3 ปี)
62   พระบาอาต
(พระบาอัฐ)
พ.ศ. 1899 – 1900
(1 ปี)
63   พระกฎุมบงพิสี พ.ศ. 1900
(น้อยกว่า 1 ปี)
64   พระศรีสุริโยวงษ์ พ.ศ. 1900 – 1906
(6 ปี)
65   พระบรมรามา พ.ศ. 1906 – 1916
(10 ปี)
66   พระธรรมาโศกราช พ.ศ. 1916 – 1936
(20 ปี)
อาณาจักรอยุธยา นำโดยสมเด็จพระราเมศวร ตีนครธมแตกครั้งที่ 2 แต่ยังคงมีพระมหากษัตริย์ครองราชย์ต่อไป
67   พระอินทราชา
(พญาแพรก)
พ.ศ. 1931 – 1964
(33 ปี)
สถาปนา จตุรมุข เป็นเมืองหลวง
68   พระบรมราชารามาธิบดีที่ 1
(พระบรมราชาเจ้าพระยาญาติ)
พ.ศ. 1915 – 1976
(61 ปี)
ตัดสินพระทัยทิ้งเมืองนครธมในปี ค.ศ. 1974 และย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่กรุงจตุรมุข

หมายเหตุ

แก้
  1. ภาษาสันสกฤตใช้เฉพาะในทางศาสนา

อ้างอิง

แก้
  1. Turchin, Peter; Adams, Jonathan M.; Hall, Thomas D (December 2006). "East-West Orientation of Historical Empires". Journal of World-Systems Research. 12 (2): 223. ISSN 1076-156X. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2019. สืบค้นเมื่อ 16 September 2016.
  2. Rein Taagepera (September 1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 493. doi:10.1111/0020-8833.00053. ISSN 0020-8833. JSTOR 2600793. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2018. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
  3. บวรศักดิ์ อุวรรณโน (2015). "คดีปราสาทพระวิหาร: ความเป็นมาและเป็นไป". 80 ปีราชบัณฑิตยสถาน (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. p. 128. ISBN 978-616-389-003-0.
  4. ราชบัณฑิตยสภา (2015). "ประเทศกัมพูชา". สารานุกรมประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. p. 24. ISBN 978-616-389-010-8.
  5. ปิยะแสง จันทรวงศไพศาล (2023). "ลำดับประวัติศาสตร์ศิลปะเขมร". ศิลปะอาเซียน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  6. ซีเลีย ฮัตตัน (2023-02-21). "กัมพูชา: สมบัติอาณาจักรขอมที่ถูกโจรกรรมถูกพบอีกครั้งในกรุงลอนดอน". บีบีซี ไทย. บีบีซี.
  7. "Khmer Empire | Infoplease". www.infoplease.com. สืบค้นเมื่อ 15 January 2023.
  8. Reynolds, Frank. "Angkor". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2019. สืบค้นเมื่อ 17 August 2018.
  9. Plubins, Rodrigo. "Khmer Empire". World History Encyclopedia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2021. สืบค้นเมื่อ 17 August 2018.
  10. "LOVGREN, S. (2017, April 4). Angkor Wat's Collapse From Climate Change Has Lessons for Today. National Geographic. Retrieved March 30, 2022". National Geographic Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2022. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
  11. "Prasad, J. (2020, April 14). Climate change and the collapse of Angkor Wat. The University of Sydney. Retrieved March 30, 2022". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2022. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
  12. Damian Evans; และคณะ (9 April 2009). "A comprehensive archaeological map of the world's largest preindustrial settlement complex at Angkor, Cambodia". Proceedings of the National Academy of Sciences. 104 (36): 14277–82. doi:10.1073/pnas.0702525104. PMC 1964867. PMID 17717084.
  13. "Galloway, M. (2021, May 31). How Did Hydro-Engineering Help Build The Khmer Empire? The Collector. Retrieved November 12, 2021". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2021. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  14. "Bunthoeurn, O. (2022, July 21). Khmer Empire had 'world's first' system for healthcare. The Phnom Penh Post. Retrieved August 9, 2022". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2022. สืบค้นเมื่อ 10 August 2022.
  15. เยาวชนไทยกับขแมร์ ร่วมเมิลขแมร์แลไทย ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2558
  16. จารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษวิทยาสิรินธรฯ
  17. เจ้าพิธีลัทธิเทวราช อยู่สด๊กก๊อกธม จ.สระแก้ว ชุมทางเครือข่ายอำนาจ.สุจิตต์ วงษ์เทศ,มติชนสุดสัปดาห์,2562
  18. Kenneth T. So. "Preah Khan Reach and The Genealogy of Khmer Kings" (PDF). Cambosastra. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-08. สืบค้นเมื่อ February 16, 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   คู่มือการท่องเที่ยว อาณาจักรพระนคร จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Khmer Empire

13°26′N 103°50′E / 13.433°N 103.833°E / 13.433; 103.833