นครธม
นครธม (เขมร: អង្គរធំ) เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเป็นเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ ปัจจุบันตั้งอยู่ในจังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7[1]: 378–382 [2]: 170 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในนครมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรก ๆ และที่สร้างขึ้นต่อโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า "ปราสาทบายน" ซึ่งยังประกอบด้วยกลุ่มปราสาทและลานกลางแจ้งขนาดใหญ่โดยรอบ
អង្គរធំ | |
แผนผังนครธม | |
ชื่ออื่น | อังกอร์ธม |
---|---|
ที่ตั้ง | เสียมราฐ, กัมพูชา |
ภูมิภาค | เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ |
พิกัด | 13°26′36″N 103°51′35″E / 13.443302°N 103.859682°E |
ประเภท | โบราณสถาน |
ส่วนหนึ่งของ | เมืองพระนคร |
ความยาว | 3 km (1.9 mi) |
ความกว้าง | 3 km (1.9 mi) |
พื้นที่ | 9 ตร.กม. (3.4 ตร.ไมล์) |
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 3 km (1.9 mi) |
ปริมณฑล | 12 km (7.5 mi) |
ความเป็นมา | |
ผู้สร้าง | พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 |
วัสดุ | หินทราย, ศิลาแลง |
สร้าง | ปลายศตวรรษที่ 12 (ไม่ได้รวมโบราณบางแห่งภายใน ซึ่งสร้างหลังจากนั้น) |
ละทิ้ง | ราวต้นศตวรรษที่ 17 |
สมัย | ยุคกลาง |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
สภาพ | ได้รับการบูรณะ |
ผู้บริหารจัดการ | เอพีเอสเออาร์เอ (APSARA) |
การเปิดให้เข้าชม | เฉพาะชาวต่างชาติที่ต้องซื้อตั๋วก่อนเข้า |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบสถาปัตยกรรม | บายน (รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เด่นที่สุด; แต่ภายในนครธมก็มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย) |
โบราณสถานต่างๆ ภายในนครธม: ปราสาทบาปวน ปราสาทบายน ปราสาทคะเลียง ปราสาทมังคลารัถถะ ปราสาทพิมานอากาศ ปราสาทจรุง ปราสาทซัวปรัต ปราสาทพระป่าลิไลย์ หมู่ปราสาทปิตุ วัดเทพพนม พระลานจญดำรี พระลานเสด็จขี้เรื้อน ที่ตั้งบริเวณพระราชวังหลวงนครธม |
สัญลักษณ์สำคัญที่โดดเด่นสำหรับนครธม คือ พระพักตร์สี่หน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หรือตามแหล่งข้อมูลอื่นเชื่อว่าเป็น พระพักตร์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ซึ่งปรากฏพบตามปราสาทบายน หรือ ตามประตูเมืองทั้งสี่ด้าน นอกจากนี้ ประตูเมืองฝั่งเข้าสู่นคร จะพบถนนหลักที่ทั้งสองฝั่งเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ในทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน โดยบริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่น ๆ
นิรุกติศาสตร์
แก้นครธม (อังกฤษ: Nokor Thom, เขมร: នគរធំ) หรือตามชื่อภาษาอังกฤษเรียกว่า อังกอร์ธม (อังกฤษ: Angkor Thom, เขมร: អង្គរធំ) โดยคำว่า นคร (เขมร: នគរ) มาจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า นคร ส่วนคำว่า ธม (เขมร: ធំ) นั้นมาจากศัพท์ของเขมร แปลว่า ใหญ่, ยิ่งใหญ่[3]
ประวัติ
แก้นครธม สร้างขึ้นเพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และยังเป็นศูนย์กลางของการก่อสร้างปราสาทขนาดใหญ่ต่าง ๆ มากมาย ดั่งจารึกหนึ่งได้กล่าวว่าเปรียบเปรย พระเจ้าชัยวรมันว่าเป็นเสมือนเจ้าบ่าว ส่วนเมืองนั้นเปรียบเป็นเจ้าสาวของพระองค์[4]: 121
นครธม อาจไม่ได้กล่าวว่าเป็นเมืองหลวงแห่งแรกในบริเวณที่ตั้งแห่งนี้ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ยโศธรปุระ ในช่วงสามศตวรรษก่อนหน้านี้ เคยเป็นเมืองหลวงของเมืองพระนคร ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนครธมในเวลาต่อมา ศาสนสถานที่สำคัญที่ตั้งก่อนเป็นเมืองหลวงใหม่ภายในเมืองได้แก่ ปราสาทบาปวน และ ปราสาทพิมานอากาศ ซึ่งได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังหลวง การเรียกชื่อเมืองหลวงของชาวเขมรนั้น ไม่ได้แบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างนครธม หรือ ยโศธรปุระ จะเห็นได้จากในช่วงศตวรรษที่ 14 จารึกก็ยังคงใช้คำว่า ยโศธรปุระ อยู่แม้ว่าจะสิ้นสุดยุคยโศธรปุระ ไปแล้วก็ตาม[4]: 138 โดยคำว่า นครธม ในปัจจุบันนั้นถูกนำมาใช้ในช่วงศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา
ศาสนสถานแห่งสุดท้ายที่ก่อสร้างขึ้นในนครธม คือ ปราสาทมังคลารัถถะ ในราวปี ค.ศ. 1295 โดยศาสนสถานอื่น ๆ ในยุคหลังจากนั้นมักจะเป็นการปรับปรุง พัฒนาต่อจากปราสาทเดิม แต่วัสดุที่ใช้ในช่วงหลังนั้น มักเป็นวัสดุที่เปลื่อยสลายง่าย ทำให้ไม่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน
ในรัชสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 แห่งอาณาจักรอยุธยา ได้ขับไล่ชาวเขมรในสมัยพระบรมราชา ออกจากนครธม แล้วได้ย้ายเมืองหลวงแห่งใหม่ไปตั้งที่กรุงพนมเปญ[5]: 29
นครธม ได้ถูกทิ้งร้างในบางช่วงเวลา จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1609 เมื่อชาวตะวันตกช่วงแรก ๆ ได้เดินทางเข้ามาแล้วพบกับเมืองร้างแห่งนี้ และได้เขียนบรรยายเปรียบเทียบกับ ตำนานนครแอตแลนติสของเพลโต[4]: 140 ซึ่งเชื่อว่าอาจมีประชากรอาศัยได้มากถึง 80,000–150,000 คน
คลังภาพ
แก้-
ประตูทางเข้านครธมด้านใต้ ซึ่งเป็นประตูหลักที่เข้าสู่ปราสาทต่าง ๆ ภายในนครธม เป็นประตูที่มีความสมบูรณ์ที่สุดในบรรดาสี่ประตูรอบคูเมือง
-
ปราสาทบายน หนึ่งในโบราณสถานที่มีชื่อเสียงที่สุดในนครธม
-
ปราสาทพิมานอากาศ
อ้างอิง
แก้- ↑ Higham, C., 2014, Early Mainland Southeast Asia, Bangkok: River Books Co., Ltd., ISBN 9786167339443
- ↑ Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- ↑ word Nokor Thom and Nokor Wat in Khmer dictionary adopted from Khmer dictionary of Buddhist institute of Cambodia, p. 444 and 445, pub. 2007.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Higham, Charles. 2001. The Civilization of Angkor. Phoenix. ISBN 1-84212-584-2.
- ↑ Chakrabongse, C., 1960, Lords of Life, London: Alvin Redman Limited
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้13°26′36″N 103°51′35″E / 13.4433026°N 103.8596821°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ นครธม
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย