ปราสาทพระขรรค์ (เขมร: ប្រាសាទព្រះខ័ន ปราสาทเปรี๊ยะคัน) สร้างขึ้นใน พ.ศ. 1734 เป็นปราสาทหินในยุคท้าย ๆ ของอาณาจักรเขมร เป็นพุทธสถานสมัยบายน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างอุทิศถวายแด่พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชบิดา[1]: 383–384, 389 [2]: 174–176  ปรากฏเจดีย์ทรงระฆังคว่ำขนาดเล็กจำหลักด้วยศิลาทรายตั้งอยู่ภายในปราสาทองค์หนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่เก็บอัฐิของพระราชบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 [3]

ปราสาทพระขรรค์
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เทพพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
ที่ตั้ง
ที่ตั้งอังกอร์
ประเทศประเทศกัมพูชา
ปราสาทพระขรรค์ตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา
ปราสาทพระขรรค์
ที่ตั้งในประเทศกัมพูชา
พิกัดภูมิศาสตร์13°27′43″N 103°52′18″E / 13.4619594°N 103.8715911°E / 13.4619594; 103.8715911
สถาปัตยกรรม
ประเภทเขมร
ผู้สร้างพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
เสร็จสมบูรณ์ค.ศ. 1191
เว็บไซต์
www.wmf.org/project/preah-khan-temple
ต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นคลุมอาคารปราสาทพระขรรค์
แผนที่ภายในปราสาทพระขรรค์

ปราสาทพระขรรค์เป็นศาสนสถานที่ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง ตัวอาคารมีลักษณะเด่นที่การก่อสร้างด้วยศิลา 2 ชั้น โดยใช้เสาหินทรายกลมขนาดใหญ่รับน้ำหนักโครงสร้างและคาน ที่บานประตูแต่ละปราสาท มีรูปสลักอสูรเป็นคู่ๆ ยืนถือกระบองเสมือนคอยพิทักษ์ดูแลศาสนสถานแห่งนี้

เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาพพระพุทธรูปมักถูกทำลายหรือแก้ไข คงเหลือแต่ภาพจำหลักนูนต่ำของฤๅษี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพฤๅษีกำลังนั่งบำเพ็ญพรตในท่า "โยคาสนะ" (นั่งชันเข่าและไขว้เท้า) สลักอยู่ตามผนังหรือเสาภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว

นอกจากนี้ จารึกที่ปราสาทพระขรรค์ยังกล่าวถึงการสร้าง "ธรรมศาลา" (ที่พักคนเดินทาง) และ "อโรคยศาล" (โรงพยาบาล) ตามเส้นทางจากนครธมไปยังเมืองต่าง ๆ รอบราชอาณาจักร และจารึกยังกล่าวถึงการสร้างรูปเคารพ เพื่อประดิษฐานยังหัวเมืองต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความใส่ใจในทุกข์สุขของราษฎรและความศรัทธาในศาสนาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

อ้างอิง

แก้
  1. Higham, C., 2014, Early Mainland Southeast Asia, Bangkok: River Books Co., Ltd., ISBN 9786167339443
  2. Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  3. เสนีย์ เกษมวัฒนากุล. แอบชมลายขอม. [ม.ป.ท.] : บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539. หน้า 82-83. ISBN 9748364852

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้