สภาขุนนาง
สภาขุนนาง[2] (อังกฤษ: House of Lords) เป็น สภาสูงในรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ขุนนางฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักรผู้ทรงเกียรติแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือในที่ประชุมรัฐสภา (the Right Honourable the Lords Spiritual and Temporal of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland in Parliament assembled) ประกอบด้วยขุนนางมีบรรดาศักดิ์จำนวนเจ็ดถึงแปดร้อยคน ทุกคนมาจากการแต่งตั้งและสืบตระกูล ทำหน้าที่ร่วมกับกับสภาสามัญชนซึ่งเป็นสภาล่างซึ่งมีสมาชิกทั้งหมดจากการเลือกตั้ง
ขุนนางผู้ทรงเกียรติ ฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักร แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ และไอร์แลนด์เหนือในที่ประชุมรัฐสภา The Right Honourable the Lords Spiritual and Temporal of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland in Parliament assembled | |
---|---|
ตราสภาขุนนาง | |
ธงสภาขุนนาง | |
ประเภท | |
ประเภท | เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร |
ผู้บริหาร | |
บารอนแมคฟาลว์ แห่งอัลคลุยธ์ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2021 | |
บารอนการ์ดิเนอร์ แห่งคิมเบิล ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2021 | |
ลอร์ดทรู, อนุรักษนิยม ตั้งแต่ 6 กันยายน 2022 | |
บารอนเนสสมิทธ์ แห่งบาซิลดอน, แรงงาน ตั้งแต่ 27 พฤษภาคม 2015 | |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 766[1][b] |
กลุ่มการเมือง | ขุนนางฝ่ายศาสนจักร
ขุนนางฝ่ายอาณาจักร
ฝ่ายค้านอันภักดีในสมเด็จฯ
ฝ่ายค้านอื่น ๆ
|
ที่ประชุม | |
พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ | |
เว็บไซต์ | |
http://www.parliament.uk/lords/ | |
หมายเหตุ | |
ก่อนมีการตราพระราชบัญญัติรัฐสภา ค.ศ. 1911 ที่ลดทอนอำนาจของสภาขุนนาง สภาขุนนางมีหน้าที่เป็นสภาสูงในรัฐสภา โดยเมื่อร่างกฎหมายใด ๆ ผ่านการลงมติจากสภาสามัญชนแล้ว จะต้องนำมาให้สภาขุนนางทำการลงมติอีกครั้ง หากสภาขุนนางมีมติไม่รับร่างกฎหมายนั้น ก็จะไม่สามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ รวมไปถึงนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี อาจเป็นสมาชิกสภาขุนนางและบริหารประเทศผ่านสภาขุนนางได้ แต่ในปัจจุบันสภาขุนนางมีอำนาจให้คำปรึกษาและตรวจสอบการทำงานของรัฐสภา โดยเฉพาะการพิจารณาเพื่อผ่านร่างกฎหมาย โดยสภาขุนนางมีอำนาจที่จะระงับการบังคับใช้กฎหมายได้ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้รัฐบาล สภาสามัญชน และประชาชนร่วมกันพิจารณาและทบทวนถึงความจำเป็นของร่างกฎหมายนั้น ๆ อย่างรอบคอบ แต่หากสภาสามัญชนเห็นว่าร่างกฎหมายนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ก็สามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธยได้ทันทีโดยไม่ต้องนำเข้าที่ประชุมสภาขุนนาง นอกจากนี้สภาขุนนางยังมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ และป้องกันมิให้มีกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ และสิทธิมนุษยชน ซึ่งในประเทศอื่น ๆ จะมีศาลรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่แทน จนกระทั่งมีการตั้งศาลสูงสุดแห่งสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 2009
สมาชิกสภาขุนนางแบ่งเป็นสี่ประเภท คือ
- ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) - มาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ผ่านการเสนอจากนายกรัฐมนตรี และจะดำรงตำแหน่งไปตลอดชีวิต ปัจจุบัน สมาชิกประเภทนี้มีจำนวนมากที่สุด
- ขุนนางสืบตระกูล (Hereditary Peers) - มาจากการสืบทอดตำแหน่งทางสายโลหิต เดิมสภาขุนนางมีแต่สมาชิกประเภทนี้เท่านั้น ในสมัยหลังๆสมาชิกประเภทนี้ลดจำนวนลง โดย "พระราชบัญญัติรัฐสภา ค.ศ. 1999" (Parliament Act 1999) กำหนดให้มีเพียงเก้าสิบสองคนเท่านั้น ในการนี้ ให้เก้าสิบคนมาจากการสรรหากันเองโดยสมาชิกสืบตระกูลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนแล้ว อีกสองคน คือ "สมุหพระราชวัง" (Lord Great Chamberlain) และ "สมุหพระราชมนเทียร" (Grand Marshal)
- ขุนนางศาสนา (Spiritual Peers) - มาจากตัวแทนของศาสนจักร เช่น บิชอปและอาร์ชบิชอปต่างๆ (โดยจะต้องมาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษเท่านั้น)
- ขุนนางกฎหมาย (Law Lords) - เป็นสมาชิกที่มีความรู้ด้านกฎหมาย และทำหน้าที่เป็นตุลาการศาลสูงสุดของสหราชอาณาจักรจนถึง ค.ศ. 2009 มียี่สิบหกคน
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Lords by party, type of peerage and gender". Parliament of the United Kingdom.
- ↑ ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พิมพ์คำว่า House of Lords