สนามมวยราชดำเนิน
สนามมวยราชดำเนิน หรือ เวทีมวยราชดำเนิน (อังกฤษ: Rajadamnern Stadium) เวทีมวยระดับมาตรฐานหนึ่งในสองแห่งของประเทศไทย (อีกแห่งหนึ่งคือสนามมวยเวทีลุมพินี) ก่อตั้งขึ้นโดยดำริของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างขึ้น โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง มาเสร็จสิ้นหลังสงครามสงบแล้ว ในปี พ.ศ. 2488 โดยสนามมวยราชดำเนินได้เริ่มการแข่งขันครั้งแรก ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2488[5] โดยในระยะแรกยังไม่มีหลังคามุง[6]
สนามมวยราชดําเนิน ในปี พ.ศ. 2565 | |
ที่ตั้ง | 1 ถนนราชดำเนินนอก แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร |
---|---|
พิกัด | 13°45′40″N 100°30′32″E / 13.76111°N 100.50889°E |
เจ้าของ | บริษัท เวทีราชดำเนิน จำกัด |
ผู้ดำเนินการ | บริษัท โกลเบิล สปอร์ต เวนเจอร์ส จำกัด (ในเครือ แพลน บี มีเดีย)[2] |
ความจุ | 8,000[1] |
การก่อสร้าง | |
ลงเสาเข็ม | 1 มีนาคม พ.ศ. 2484 |
ก่อสร้าง | พ.ศ. 2484-2488 |
เปิดใช้สนาม | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2488 |
ต่อเติม | พ.ศ. 2494 |
งบประมาณในการก่อสร้าง | 258,900 บาท |
ผู้รับเหมาหลัก | อิมเพรส อิตาเลียน ออลเอสเตโร-โอเรียนเต[3] คริสเตียนีและนีลเส็น[4] |
เว็บไซต์ | |
rajadamnern |
สนามมวยราชดำเนิน นับเป็นเวทีมวยระดับมาตรฐานแห่งแรกของประเทศไทย ได้ถูกยอมรับว่ามีทำเลที่ตั้งและสถาปัตยกรรมสวยงามแห่งหนึ่งของโลก มีนักมวยทั้งนักมวยไทย นักมวยสากล จำนวนมากขึ้นชกที่นี่ โดยนักมวยสากลหลายคนที่ก่อนและได้เป็นแชมป์โลกแล้วที่ทำการขึ้นชกที่นี่ ได้แก่ โผน กิ่งเพชร, ชาติชาย เชี่ยวน้อย, เวนิส บ.ข.ส., พเยาว์ พูนธรัตน์, เขาทราย แกแล็คซี่, รัตนพล ส.วรพิน, ชนะ ป.เปาอินทร์ เป็นต้น
ปัจจุบัน สนามมวยราชดำเนินได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศจึงได้ชื่อเรียกเล่น ๆ จากแฟนมวยว่า "วิกแอร์" และปรับปรุงสภาพใหม่ ในการดูแลของบริษัท เวทีราชดำเนิน จำกัด โดยเช่าช่วงต่อจากสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มีนายเฉลิมพงษ์ เชี่ยวสกุล เป็นนายสนาม โดยมีการจัดการแข่งขันชิงแชมป์ของเวทีทั้งมวยไทยและมวยสากล ตั้งแต่รุ่นมินิฟลายเวต (105 ปอนด์) จนถึงรุ่นมิดเดิลเวต (160 ปอนด์) โดยผู้ที่ได้แชมป์ของสนามมวยราชดำเนินนี้ก็เหมือนกับได้แชมป์ประเทศไทย
สนามมวยราชดำเนิน จัดให้มีการชกทุกวันจันทร์, พุธ และพฤหัสบดี เวลา 18.00-21.00 น. วันอาทิตย์ เวลา 17.00-21.00 น. เว้นวันสำคัญทางศาสนา
ข้อมูลในการแข่งขัน
แก้พ.ศ. 2563
- วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม ถึงวันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 งดการแข่งขันโดยผลพวงจากสนามมวยเวทีลุมพินีเป็นแหล่งซูเปอร์สเปรดเดอร์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย จากการแข่งขันศึกลุมพินีแชมเปียนเกียรติเพชรเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563
- เริ่มการแข่งขันตั้งแต่วันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป ทุกวันพุธและวันพฤหัสบดี เวลา 19.00-22. 00 น. ส่วนวันอาทิตย์และวันจันทร์ งดการแข่งขันชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยเป็นการแข่งขันระบบปิด, ผู้ชมงดเข้าชมในสนาม, เข้าได้เฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย ตามมติของ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.
รายการมวยที่ถ่ายทอดสด
แก้- ปัจจุบัน
- ศึกมวยไทยพลังใหม่ ทุกวันพุธ เวลา18.00-20.00น.ทางช่องทรูโฟร์ยู (10 มกราคม 2567–ปัจจุบัน)
- ศึกเพชรยินดี ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 18.00–20.00 น. ทางช่องทรูโฟร์ยู (3 กุมภาพันธ์ 2565–ปัจจุบัน)
- ราชดำเนิน เวิลด์ ซีรีส์ ทุกวันเสาร์ เวลา 21.15–23.15 น. ทางช่องเวิร์คพอยท์ และดะโซน (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน)[7]
- ท่อน้ำไทย เกียรติเพชร ทีเคโอ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00–20.00 น. ทางช่อง 5 (3 ธันวาคม 2566–ปัจจุบัน)
- อดีต
- อมรินทร์ซูเปอร์ไฟต์ ศึกช้างมวยไทยเกียรติเพชร ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00-19.00 น. ทางช่อง อมรินทร์ทีวี (เริ่มวันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2564 - 25 ธันวาคม 2565) (ย้ายเวทีไปยัง เวทีมวยเวิลด์สยาม ตะวันนาบางกะปิ)
- ศึกราชดำเนิน สเตเดี้ยม ไลฟ์ ทุกวันพุธและวันพฤหัสบดี เวลา 19.00-22.00 น. ทางช่อง Fanpag:Rajadamnern, Youtube:Rajadamnern Channel, มวยสด.com, กลุ่มพลังใหม่.com (เริ่มวันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2563) (พิธีกรรายการ พลอยมณี ซีอุสมวยไทย (พิมพ์ สิทธิจันทร์ดา), โชคธนพัฒน์ พัฒนภัคดี (อู๋ ราชดำเนิน), เชื้อชาย นิลกาญจน์ (นก ปัตตานี), ประสิทธิ์ ดิษฐ์อำไพ (แจ็ค ธรรมราช)) (เป็นการแข่งขันระบบปิด, ผู้ชมงดเข้าชมในสนาม, เข้าได้เฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย ตามมติของ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.)
- ศึกอัศวินดำ [8] ไตเติ้ล ศึกอัศวินดำก่อเกียรติ (2552-2554) [9] อัศวินดำ - วงคาราบาว (Official Audio) (2547-2554) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น. - 24.00 น. ทางช่อง 9 (สนามมวยราชดำเนิน 4 เมษายน พ.ศ. 2534 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2540) ย้ายไปเวทีมวยอิมพีเรียลลาดพร้าว (5 มกราคม พ.ศ. 2541-26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558) ทางช่อง 9 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.00 น. - 13.30 น. และย้ายไปอยู่ช่องสปริงนิวส์ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00 น. - 13.00 น. ณ เวทีมวยอิมพีเรียลลาดพร้าว (20 กันยายน - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558) (ยุติการออกอากาศแล้ว)
- ศึกพลังหนุ่ม เมื่อวันพุธที่ 30 มีนาคม 2537 ถ่ายทอดทางช่อง 7 เวลา 18.00-20.00 น. (เป็นรายการนัดใหญ่)
- ศึกวันทรงชัยไอทีวี ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 16.00 น. - 18.00 น. ทางช่อง ITV (พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2546) (ยุติการออกอากาศแล้ว)
- ศึกราชดำเนิน ซูเปอร์ไฟท์ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.20 น. - 20.20 น. เดิมเวลา 15.00 น. - 17.00 น. ทางช่องพีพีทีวี (เริ่มวันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 - 29 มกราคม พ.ศ. 2560) (ยุติการออกอากาศแล้ว)
- ศึกเงินล้าน เวทีราชดำเนิน ทุกวันพฤหัสบดีแรกของเดือน เวลา 18.20 - 19.45 น. ทางช่องวัน 31 (เริ่มวันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์, 2 มีนาคม, 6 เมษายน พ.ศ. 2560) (ยุติการออกอากาศแล้ว)
- ศึกมวยไทยราชดำเนิน ทุกวันพฤหัสบดีเวลา 20.30 น. - 22.30 น. ทางช่อง 3 เอสดี (เริ่มวันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2562) (ยุติการออกอากาศแล้ว)
แชมป์ปัจจุบัน
แก้พิกัด | แชมป์ | วันที่ได้แชมป์ |
---|---|---|
มินิมั่มเวต | ฉลามชล สามารถพยัคฆ์อรุณยิม | 23 พฤศจิกายน 2567 |
ไลต์ฟลายเวต | โดมทอง ลูกเจ้าพ่อโรงต้ม | 3 กุมภาพันธ์ 2567 |
ฟลายเวต | จิ๊กซอว์ ออโต้อาร์วัน | 15 สิงหาคม 2567 |
ซูเปอร์ฟลายเวต | นาดากะ โยชินาริ | 12 กุมภาพันธ์ 2567 |
แบนตั้มเวต | ขุนศึกเล็ก บูมเด็กเซียน | 21 กันยายน 2567 |
ซุเปอร์แบนตั้มเวต | เพชรสมาน ส.สมานการ์เม้นท์ | 18 พฤษภาคม 2567 |
เฟเธอร์เวต | โยธิน เอฟ.เอ.กรุ๊ป | 27 เมษายน 2567 |
ซุเปอร์เฟเธอร์เวต | ฉลาม พรัญชัย | 8 มิถุนายน 2567 |
ไลต์เวต | สมิงเดช น.อนุวัฒน์ยิมส์ | 23 มีนาคม 2567 |
ซูเปอร์ไลต์เวท | ดามพ์ พรัญชัย | 2 มีนาคม 2567 |
เวลเตอร์เวต | ตะเภาแก้ว สิงห์มาวิน | 4 พฤษภาคม 2567 |
ซูเปอร์เวลเตอร์เวต | แดเนียล โรดริเกวซ | 1 มิถุนายน 2565 |
มิดเดิลเวต | โจ ไรอัน | 16 ธันวาคม 2566 |
แบนตั้มเวตหญิง | โสมรัสมี มานพยิม | 23 ธันวาคม 2566 |
อ้างอิง
แก้- ↑ "Rajadamnern Boxing Stadium". foreverbreak.com. สืบค้นเมื่อ 19 February 2022.
- ↑ ""ผมอยากทำให้เวทีราชดำเนินเป็นเมดิสันสแควร์การ์เดน" คุยกับ 'แบงค์' เธียรชัย พิสิฐวุฒินันท์ ผู้ที่กำลังนำพาเวทีมวยราชดำเนินเข้าสู่ยุคใหม่". THE STANDARD. 2022-07-29.
- ↑ matichon (2020-03-23). "ภาพเก่าเล่าตำนาน : สิ่งสวยงามนี้...ชาวอิตาลีออกแบบ : โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก". มติชนออนไลน์.
- ↑ PopWansong (2022-05-16). "สนามมวยเวทีราชดำเนิน ก่อสร้างหลังคาเป็นโครงสร้างคอนกรีต ทันสมัยที่สุดในยุค ปี พ.ศ. 2490". TACE.
- ↑ Presentation แนะนำรายการ "ศึกมวยไทยราชดำเนิน", คำอธิบายเพิ่มเติม.
- ↑ "Stadiums". Muaythai2000.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-20. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "เปิดเวทีราชดำเนินโฉมใหม่ ประเดิมศึก ราชดำเนินเวิลด์ซีรีส์ วันแรกชิงแชมป์โลก 5 รุ่น ปรับกติกา ยกระดับไปสู่สากล". THE STANDARD. 2022-07-23.
- ↑ เพลงและไตเติ้ล อัศวินดำ ไตเติ้ล ศึกอัศวินดำ (version2)
- ↑ ศึกอัศวินดำก่อเกียรติ (2552-2554)