ชาติชาย เชี่ยวน้อย
ชาติชาย เชี่ยวน้อย หรือเป็นที่รู้จักว่า ชาติชาย แหลมฟ้าผ่า หรือชื่อจริง นริศ เชี่ยวน้อย (10 ตุลาคม พ.ศ. 2485 – 21 มกราคม พ.ศ. 2561) เป็นนักมวยสากลอาชีพชาวไทย แชมป์โลก WBCและแชมป์โลก WBAในรุ่นฟลายเวท เขาคว้าแชมป์ WBC (แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท) สองครั้งติดต่อกัน และ WBA แชมป์เปี้ยนชีพ หนึ่งครั้งก่อนที่จะสละสิทธิ์ในที่สุด
ชาติชาย เชี่ยวน้อย | |
---|---|
เกิด | นริศ เชี่ยวน้อย 10 ตุลาคม พ.ศ. 2485 อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 21 มกราคม พ.ศ. 2561 (75 ปี) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ปอดบวม |
ชื่ออื่น | มาร์ซีอาโนน้อยแห่งเอเชีย มารีซีอาโนแห่งตะวันออก |
สัญชาติ | ไทย |
ส่วนสูง | 1.65 เมตร |
น้ำหนัก | 51 กิโลกรัม |
ช่วงระยะ | 166 เซนติเมตร |
ท่ายืน | ออร์โทด็อกซ์ |
มาจาก | จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย |
ผู้ฝึกสอน | บุญธรรม เชาว์สนิท |
ช่วงปี | พ.ศ. 2502–2518 |
สถิติมวยสากล | |
คะแนนรวม | 82 |
ชนะ | 61 |
โดยการน็อก | 36 |
แพ้ | 18 |
โดยการน็อก | 5 |
เสมอ | 3 |
ข้อมูลอื่น | |
คู่สมรส | สิรินทร เชี่ยวน้อย |
สถิติมวยสากล จากบ็อกเรค |
ในปีต่อมา เขาสนับสนุนการเปิดตัวระดับอาชีพของ มาซาโอะ โอบะ หลานชายของเขาเมื่ออายุ 36 ปี นักมวยชาวญี่ปุ่นและแชมป์ชาวไทยในเวลาต่อมา,Soh Ohba
วัยเด็ก
แก้ชาติชายมีชื่อจริงว่า นริศ เชี่ยวน้อย เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2485 ที่ย่านหัวลำโพง อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนที่ 3 ของ ร้อยตำรวจตรี สุจิต และนางรักสอาด เชี่ยวน้อย ในจำนวนพี่น้อง 9 คน ฐานะครอบครัวของชาติชายนับว่ายากจน หลังจบ ป.4 จากโรงเรียนวัดเครือวัลย์แล้ว ชาติชายต้องออกมาช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน โดยชาติชายชกมวยครั้งแรกเมื่ออายุได้ 14 ปี ที่ค่ายมวย "ลูกวังเดิม" หลังวัดใหม่พิเรนทร์ อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี โดยการชกครั้งแรกของชาติชายชนะน็อกยก 2 ได้เงินรางวัล 50 บาท โดยใช้ชื่อว่า "ธนูน้อย ลูกวังเดิม"[1]
เริ่มชกมวย
แก้จากนั้นจึงได้ย้ายค่ายมาอยู่กับ หม่อมหลวงสุทัศน์ สุประดิษฐ์ เจ้าของค่าย "แหลมฟ้าผ่า" จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ชาติชาย แหลมฟ้าผ่า" โดยชื่อชาติชายนั้น มาจากชื่อของ "ชาติชาย รัตนสิทธิ์" อดีตนักมวยไทยชื่อดัง และจากชื่อนี้เองที่ได้สร้างประสบการณ์และชื่อเสียงให้กับชาติชาย ก่อนจะเปลี่ยนเป็น "ชาติชาย เชี่ยวน้อย" ตามนามสกุลตัวเอง ในเวลาต่อมา โดยได้ตระเวนชกไปทั่วทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 50 ไฟท์ รวมทั้งเอาชนะคะแนน ซันวาตอเร่ เบอรูนนี่ แชมป์โลกชาวอิตาลี ผู้ได้แชมป์จากโผน กิ่งเพชร ในการชกนอกรอบด้วย สร้างความมั่นใจอย่างมาก จากนั้นจึงได้ขึ้นชิงแชมป์โลกกับ วอลเตอร์ แม็คโกแวน นักมวยชาวอังกฤษ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2509 ที่อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก โดยชาติชายสามารถชนะทีเคโอไปได้ในยกที่ 9
แชมป์โลกคนที่สอง
แก้ชาติชาย นับได้ว่าเป็นแชมป์โลกคนหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของแฟนมวยและบุคคลร่วมสมัยตลอดกาลไม่แพ้ โผน กิ่งเพชร แชมป์โลกคนแรก หรือแชมป์โลกคนอื่น ๆ เลย โดยชาติชายเป็นแชมป์ถึง 3 สมัย ครองแชมป์ทั้งสถาบันสภามวยโลก (WBC) และสมาคมมวยโลก (WBA) รวมถึงเดอะริง (The Ring) มีไฟท์ในความทรงจำหลายไฟท์ เช่น การป้องกันตำแหน่งกับ พันธุ์ทิพย์ แก้วสุริยะ เจ้าของฉายา เสือหมัดซ้าย นักมวยชาวไทยด้วยกันเอง ที่เรียกว่าเป็น ศึกสายเลือด ครั้งแรกของวงการมวยไทย การผลัดแพ้ - ชนะ แอฟเฟรน ทอร์เรส นักมวยชาวเม็กซิกัน ที่แฟนมวยชาวไทยตั้งฉายาให้ว่า ไอ้แมงป่อง หรือการชกกับ มาซาโอะ โอบะ นักมวยอันตรายชาวญี่ปุ่น รวมถึงการชกกับ เบิกฤกษ์ ชาติวันชัย นักมวยชาวไทยระดับแชมป์โลกอีกคน โดยชาติชายได้มีโอกาสชกต่อหน้าพระพักตร์ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หลายต่อหลายครั้ง และมีพระกรุณาต่อชาติชายอย่างหาที่สุดมิได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังคงตรึงอยู่ในความทรงจำของชาติชายตราบจนปัจจุบัน
ชีวิตส่วนตัว
แก้ชาติชาย เชี่ยวน้อย เป็นนักมวยรูปร่างเล็ก แต่มีจิตใจที่กล้าหาญ ไม่กลัวใคร เป็นมวยในสไตล์ไฟเตอร์ เดินหน้าไม่มีหยุด ชกสนุก เดินทางไปชกทั่วโลก มีสถิติการชกมากมาย จนนับได้ว่าเป็นแชมป์โลกที่มีสถิติการชกมากที่สุดของไทยตราบจนปัจจุบัน จนได้รับฉายาจากแน็ต แฟลชเชอร์ บรรณาธิการนิตยสารเดอะริง ว่า มาร์ซีอาโนน้อยแห่งเอเชีย (มาจาก รอคกี มาร์ซีอาโน แชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทผิวขาว ชาวอเมริกันร่วมสมัย) ที่ขากางเกงของชาติชายเมื่อขึ้นชก จะปักอักษรคำว่า BOY ไว้เสมอ โดยเป็นชื่อเล่นของลูกชายคนแรกคือ จรัลโรจน์ เชี่ยวน้อย รวมถึงคำว่า BLE ด้วย ซึ่งเป็นชื่อเล่นของลูกชายคนที่สอง คือ สัญชัย เชี่ยวน้อย แต่กางเกงแบบหลังนี้ไม่ค่อยเป็นที่คุ้นเคยเหมือนแบบแรก
ชาติชาย เป็นนักมวยที่ตระเวนชกไปทั่วโลก ไปในหลายประเทศ ทั้งที่กัมพูชา, ญี่ปุ่น หรือนิคารากัว จึงมีสถิติการชกที่มากมาย และทำให้เป็นนักมวยที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี เนื่องด้วยเป็นคนที่ชื่นชอบเสวนาและคบหากับชาวต่างชาติ ชาติชายโดยปกติแล้ว เป็นนักมวยที่ประสบปัญหาการลดน้ำหนักตัวเป็นอย่างมากในการชกแต่ละครั้ง ในบางครั้งเคยลดเกือบถึง 20 กิโลกรัม จนหลายครั้งเจ้าตัวเกิดความเครียด จนทำร้ายตัวเองด้วยการใช้ศีรษะโขกกับฝาผนังบ้าน หรือแม้กระทั่งกระโดดจากเฟอร์นิเจอร์แล้วทิ้งศีรษะลงฟาดกับพื้นก็มี เหล่านี้แม้กระทั่งครอบครัวก็ไม่อาจจะช่วยอะไรได้[1]
หลังแขวนนวม ชาติชาย มีชีวิตความเป็นอยู่สุขสบายตามอัตภาพ ชาติชายมีภรรยา คือ นางสิรินทร (ชื่อเล่น: อู๊ด) ที่สมรสอยู่กินกันก่อนที่ชาติชายจะได้แชมป์โลก ทั้งคู่มีลูกและหลานด้วยกันหลายคน มีฐานะมั่นคงจากหยาดเหยื่อแรงกายเมื่อครั้งสมัยรุ่งโรจน์ มีที่ดินหลายไร่และบ้านหลายหลัง ทั้งที่จังหวัดปทุมธานี, นครนายก และเชียงใหม่ ที่เจ้าตัวซื้อไว้สมัยที่ยังเป็นแชมป์โลก ปัจจุบัน ชาติชายได้ล้มป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้จากโรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นผลมาจากการชกมวย โดยป่วยมานานก่อนจะทรุดหนักลงตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2555 โดยเข้า ๆ ออก ๆ รักษาตัวในโรงพยาบาลทั้งที่เชียงใหม่และกรุงเทพฯหลายครั้ง ที่สุด ชาติชายต้องย้ายมาอยู่ที่บ้านที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยบ้านที่เชียงใหม่ต้องประกาศขายเนื่องจากต้องการเงินมาเป็นค่ารักษาในแต่ละเดือนซึ่งต้องใช้จ่ายกว่า 50,000 บาท โดยมีภรรยาและอนุตรา (ชื่อเล่น: บี) ลูกสาว พร้อมกับลูกเขย ผู้เป็นสามีของอนุตราเป็นผู้ดูแล[2]
ชาติชายเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561 ที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร ด้วยภาวะปอดติดเชื้อ สิริอายุได้ 76 ปี [3]
Soh Ohba,นักมวยชาวญี่ปุ่น Soh ได้รับการสนับสนุนมากมายเมื่อเขาเปิดตัวอาชีพในประเทศไทยเมื่ออายุ 36 ปี
เกียรติประวัติ
แก้- แชมป์ OPBF รุ่นฟลายเวท (2505 - 2506)
- ชิง, 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 ชนะคะแนน ฟรีโม ฟามีโร่ ( ฟิลิปปินส์) ที่ สมาร์ท อาราเนตาคอลิเซียม เกซอนซิตี
- เสียแชมป์,7 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 แพ้คะแนน สึโยชิ นากามูระ ( ญี่ปุ่น) ที่ โอซากะ
- แชมป์โลก WBC รุ่นฟลายเวท (รวมถึงเดอะริง; 2510 - 2512)
- ชิง 30 ธันวาคม พ.ศ. 2509 ชนะน็อก ยก 9 วอลเตอร์ แม็คโกแวน ( สหราชอาณาจักร) ที่ สนามกีฬากิตติขจร
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 ชนะน็อก ยก 3 พันธุ์ทิพย์ แก้วสุริยะ ที่ สนามกีฬากิตติขจร
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 19 กันยายน พ.ศ. 2510 ชนะน็อก ยก 7 วอลเตอร์ แม็คโกแวน (อังกฤษ) ที่ เอ็มไพร์พูล สนามกีฬาเวมบลีย์(1923) กรุงลอนดอน [remark 1]
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 28 มกราคม พ.ศ. 2511 ชนะน็อก ยก 13 เอเฟรน ตอร์เรส ( เม็กซิโก) ที่ ปลาซา เด โตโรส กรุงเม็กซิโก ซิตี
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 ชนะคะแนน เบอร์นาเบ้ วิลลาแคมโป (ฟิลิปปินส์) ที่ สนามกีฬาจารุเสถียร
- เสียแชมป์ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 แพ้น็อก ยก 8 เอเฟรน ตอร์เรส (เม็กซิโก) ที่ ปลาซา เด โตโรส กรุงเม็กซิโก ซิตี[4]
- แชมป์โลก WBC รุ่นฟลายเวท สมัยที่ 2 (2513)
- ชิง 20 มีนาคม พ.ศ. 2513 ชนะคะแนน เอเฟรน ตอร์เรส (เม็กซิโก) ที่ สนามกีฬากิตติขจร
- เสียแชมป์ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2513 แพ้น็อก ยก 2 เออร์บิโต้ ซาลาวาเรีย (ฟิลิปปินส์) ที่ สนามกีฬากิตติขจร
- แชมป์โลก WBA รุ่นฟลายเวท (2516 - 2517)
- ชิงแชมป์, 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ชนะน็อก ยก 5 ฟริต เซอร์เวต ( สวิตเซอร์แลนด์) ที่ สนามกีฬากิตติขจร
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 27 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ชนะคะแนน ซูซูมุ ฮานากาตะ (ญี่ปุ่น) ที่ สนามกีฬากิตติขจร
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 27 เมษายน พ.ศ. 2517 ชนะคะแนน ฟริต เซอร์เวต (สวิตเซอร์แลนด์) ที่ ฮาเลินสตาดีออน ซือริช
- เสียแชมป์ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2517 แพ้น็อก ยก 6 ซูซูมุ ฮานากาตะ (ญี่ปุ่น) ที่ โยโกฮามะ คัลเจอรัล ยิมเนเซียม โยโกฮามะ จังหวัดคานางาวะ (ชาติชายถูกปลดก่อนหน้านี้เพราะทำน้ำหนักไม่ผ่าน)
- เคยชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่สำเร็จ
- ชิงแชมป์โลก WBA รุ่นฟลายเวท , 2 มกราคม พ.ศ. 2516 แพ้ทีเคโอ ยก 12 มาซาโอะ โอบะ (ญี่ปุ่น) ที่ หอประชุมมหาวิทยาลัยนิฮน
- รางวัลเกียรติยศ (Hall of Fame) นักกีฬาทรงคุณค่าในอดีต: สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 3, 6 มีนาคม พ.ศ. 2552 ที่ โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์[1]
สถิติการชก (เฉพาะที่ไปชกต่างประเทศ)
แก้ชาติชายเป็นนักมวยสากลชาวไทยที่ออกไปชกต่างแดนหลายครั้งทั้งชกป้องกันแชมป์และชกนอกรอบ เท่าที่บันทึกได้มีดังต่อไปนี้[5]
- พ.ศ. 2502 เสมอ สละกัมพุช ( กัมพูชา) ที่ กรุงพนมเปญ
- พ.ศ. 2502 ชนะน็อค ยก 2 ยู่ สำอาง (กัมพูชา) ที่ พนมเปญ
- พ.ศ. 2502 ชนะคะแนน วันโพธิ์ (กัมพูชา) ที่ พนมเปญ
- 2 กันยายน พ.ศ. 2503 ชนะน็อค มาซาโนบุ กันบายาชิ (ญี่ปุ่น) ยก 8 ที่ โตเกียว
- 29 กันยายน พ.ศ. 2503 ชนะน็อค อัตสึโยชิ ฟูกูโมโตะ (ญี่ปุ่น) ยก 2 ที่ โตเกียว
- 19 ตุลาคม พ.ศ. 2503 ชนะคะแนน โยชิคัตสึ ฟูจิกาวา (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
- 4 ธันวาคม พ.ศ. 2503 ชนะคะแนน มาซาโอะ โอกาวา (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
- 4 มกราคม พ.ศ. 2504 แพ้คะแนน มิตสุโนริ เซกิ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
- 19 เมษายน พ.ศ. 2504 ชนะน็อค คัตสึโยชิ อมาด้า (ญี่ปุ่น) ยก 6 ที่ โตเกียว
- 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ชนะน็อค อีด้า บาชิโอะ (ญี่ปุ่น) ยก 2 ที่ โตเกียว
- 8 มิถุนายน พ.ศ. 2504 แพ้คะแนน อกิร่า โอกูจิ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
- 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ชนะน็อค มาซาคัตสึ กูโรกิ (ญี่ปุ่น) ยก 7 ที่ โอซาก้า
- 17 สิงหาคม พ.ศ. 2504 แพ้คะแนน ฮารูโกะ สกาโมโต้ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
- 7 กันยายน พ.ศ. 2504 ชนะน็อค ฮิโรยูกิ โอกาวา (ญี่ปุ่น) ยก 2 ที่ โตเกียว
- 4 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ชนะน็อค เบบี้ เอสปิโนซ่า (ฟิลิปปินส์) ยก 6 ที่ เซบู
- 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 ชนะคะแนน ฟรีโม ฟามีโร่ (ฟิลิปปินส์) ที่ กรุงมะนิลา (ชิงแชมป์ภาคฯรุ่นฟลายเวท)
- 31 ธันวาคม พ.ศ. 2505 แพ้คะแนน ฮิโรยูกิ เอบิฮาร่า (ญี่ปุ่น) ที่ กรุงโตเกียว
- 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 ชนะน็อค เซซากิ ไซโต้ (ญี่ปุ่น) ยก 8 ที่ โตเกียว
- 7 มิถุนายน พ.ศ. 2506 แพ้คะแนน ทาเคชิ นากามูร่า (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
- 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 แพ้คะแนน ทาเคชิ นากามูร่า (ญี่ปุ่น) ที่ โอซาก้า (ป้องกันแชมป์ภาคฯรุ่นฟลายเวท)
- 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ชนะคะแนน ทาดาโอะ กาวามูระ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
- 28 สิงหาคม พ.ศ. 2506 เสมอ คัตสุมิ ยามากามิ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ชนะคะแนน ยูจิ อิชิยาม่า (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
- 7 มกราคม พ.ศ. 2507 ชนะน็อค แพ็ต กอนซาเลซ (ฟิลิปปินส์) ยก 7 ที่ เซบู
- 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ชนะคะแนน รูดี้ วิลลากอนซ่า (ฟิลิปปินส์) ที่ มะนิลา
- 10 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ชนะน็อค ลิตเติล พาราเมา (ฟิลิปปินส์) ยก 2 ที่ มะนิลา
- 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 แพ้คะแนน เบอร์นาโด้ คาราบัลโล่ (ฟิลิปปินส์)
- 24 เมษายน พ.ศ. 2508 ชนะน็อค รูดี้ วิลลากอนซ่า (ฟิลิปปินส์) ยก 4 ที่ เกซอน ซิตี้
- 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 ชนะน็อค รูดี้ วิลลากอนซ่า (ฟิลิปปินส์) ยก 3 ที่ มะนิลา
- 10 มิถุนายน พ.ศ. 2508 ชนะน็อค เชอร์รี่ มอนตาโน (ฟิลิปปินส์) ยก 2 ที่ มะนิลา
- 22 สิงหาคม พ.ศ. 2508 แพ้คะแนน ฮาจิเม ทาโรอูระ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
- 19 กันยายน พ.ศ. 2510 ชนะน็อค ยก 7 วอลเตอร์ แม็คโกแวน (สหราชอาณาจักร) ที่ กรุงลอนดอน อังกฤษ บางแห่งว่าชนะคะแนน ? (ป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC)
- 28 มกราคม พ.ศ. 2511 ชนะน็อค แอฟเฟรน ทอร์เรส (เม็กซิโก) ยก 13 ที่ กรุงเม็กซิโก ซิตี้ (ป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC)
- 3 มิถุนายน พ.ศ. 2511 แพ้คะแนน ราตอง โมจิก้า ( นิการากัว) ที่ กรุงมานากัว
- 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 แพ้น็อค แอฟเฟรน ทอร์เรส (เม็กซิโก) ยก 8 ที่ กรุงเม็กซิโก ซิตี้ (ป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC)
- 2 มกราคม พ.ศ. 2516 แพ้น็อค ยก 12 มาซาโอะ โอบะ (ญี่ปุ่น) ที่ กรุงโตเกียว (ชิงแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA)
- 29 มกราคม พ.ศ. 2517 แพ้คะแนน เฟอร์นันโด คาบาเนลล่า (ฟิลิปปินส์) ที่ ฮาวาย
- 27 เมษายน พ.ศ. 2517 ชนะคะแนน ฟริต เซอร์วิต (สวิตเซอร์แลนด์) ที่ ซูริก, สวิตฯ (ป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA)
- 18 ตุลาคม พ.ศ. 2517 แพ้น็อค ซูซูมุ ฮานากาต้า (ญี่ปุ่น) ยก 6 ที่ โยโกฮาม่า (ป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA)
- 24 สิงหาคม พ.ศ. 2518 แพ้น็อค ยก 6 โรดอลโฟ ฟรานซิส ( ปานามา) ที่ กรุงปานามา ซิตี้
เชิงอรรถ
แก้- ↑ บางแห่งว่าชนะคะแนน ?
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 วีรบุรุษยอดนักชก มาซีอาโนแห่งเอเชีย ชาติชาย เชี่ยวน้อย, "มวยสยาม EXTRA" (มีนาคม 2556) โดย สยามสปอร์ต
- ↑ หน้า 18 ต่อข่าวกีฬาหน้า 17, ญาติวอนช่วย ชาติชาย นอนป่วยนาน 3 ปี ประกาศขายบ้าน !. คมชัดลึกกีฬาปีที่ 15 ฉบับที่ 5354: วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559
- ↑ สิ้นลม”ชาติชาย เชี่ยวน้อย”ตำนานแชมป์โลกคนที่2ชาวไทย !!, ข่าวสดออนไลน์
- ↑ เทปการชกของ ชาติชาย เชี่ยวน้อย กับ แอฟเฟรน ทอร์เรส.
- ↑ เกี่ยรติตระกูล ใจไทย. ชาติชาย เชี่ยวน้อย แชมป์โลกเจ้าน้ำตาหมัดภูผาหิน.กทม.ดอกหญ้า.2545