สถาบันการเงิน หมายถึง หน่วยงานธุรกิจในระบบการเงิน ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้า โดยการระดมทุนไปใช้ในการปล่อยกู้ หรือลงทุน และมีภาระต้องคืนเงินตามเงื่อนไขที่กำหนด รวมทั้งรับการชำระเงินและทำธุรกรรมทางการเงินประเภทต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว สถาบันการเงิน[1]มี 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

  1. บริษัทรับฝากเงิน – ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน กองทุนรวมประเภทตลาดเงิน
  2. บริษัทไม่รับฝากเงิน – กองทุนรวมบริษัทประกันภัย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์บริษัทประกันภัย บริษัทลิสซิ่ง บริษัทบัตรเครดิต บริษัทสินเชื่อบุคคล นาโนไฟแนนซ์ พิโกไฟแนนซ์ สหกรณ์ โรงรับจำนำ

หน่วยงานที่กำกับสถาบันการเงินในประเทศไทย

แก้
หน่วยงานกำกับ สถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย[2]
  • ธนาคารพาณิชย์
  • ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
  • ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ
  • สาขาของธนาคารต่างประเทศ
  • บริษัทเงินทุน
  • บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
  • สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
  • สำนักงานผู้แทนธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
  • บริษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.)
  • ผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
  • ผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับ (นาโนไฟแนนซ์)
  • ผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)
  • ผู้ให้บริการด้านการแลกเปลี่ยนเงินหรือโอนเงินตราต่างประเทศ
  • บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ
กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย)[3]
ก.ล.ต.[4]
  • บริษัทหลักทรัพย์
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
คปภ.[5]
กรมส่งเสริมสหกรณ์
  • สหกรณ์[6]

อ้างอิง

แก้
  1. "Thailand's Financial Institutions". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-08. สืบค้นเมื่อ 2022-11-08.
  2. "ธุรกิจการเงินที่ ธปท.กำกับดูแล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-10. สืบค้นเมื่อ 2022-11-10.
  3. พระราชบัญญัติทั้งหมดที่สำนักเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังกำกับ
  4. พระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕
  5. การกำกับเงินกองทุนตามระดับความเสียง (RBC)
  6. "อำนาจหน้าที่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-16. สืบค้นเมื่อ 16 February 2023.