กรมส่งเสริมสหกรณ์
กรมส่งเสริมสหกรณ์ (อังกฤษ: Cooperative Promotion Department) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาการสหกรณ์ภายในประเทศ
Cooperative Promotion Department | |
ตราสัญลักษณ์ของกรม | |
ภาพรวมกรม | |
---|---|
ก่อตั้ง | 1 กันยายน พ.ศ. 2458 |
กรมก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 |
บุคลากร | 5,027 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 2,798,363,500 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารกรม |
|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกรม |
ประวัติ
แก้แรกเริ่มหน่วยราชการที่รับผิดชอบด้านสหกรณ์เริ่มจากเป็นแผนกหนึ่งในกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2458 ต่อมากรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงพาณิชย์ ใน พ.ศ. 2463 แผนกสหกรณ์จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น กรมสหกรณ์
พ.ศ. 2495 ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ยกฐานะกรมสหกรณ์เป็นกระทรวงการสหกรณ์[3] จนถึงปี พ.ศ. 2506 จึงได้ถูกยุบกระทรวงการสหกรณ์ลง และโอนงานทั้งหมดไปเป็นของกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติที่ตั้งขึ้นใหม่ โดยให้แยกส่วนราชการสหกรณ์ออกมาโดยจัดให้มีกรมสหกรณ์ที่ดิน กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2515 ได้มีการยกเลิกกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติลง และได้ตั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขึ้นจึงได้โอนอำนาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการสหกรณ์ กรมสหกรณ์ที่ดิน กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ เป็นกรมส่งเสริมสหกรณ์ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี พันเอกสุรินทร์ ชลประเสริฐ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์และนายทะเบียนสหกรณ์เป็นคนแรก[4]
วันสหกรณ์แห่งชาติ
แก้วันสหกรณ์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สืบเนื่องมาจากสหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าส่งผลดีในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2458 นโยบายแห่งรัฐ เห็นสมควรนำวิธีการสหกรณ์ เข้ามาช่วยพัฒนาประเทศให้ประชาชนได้หลุดพ้นจากความยากจน โดยเฉพาะเกษตรกร พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ได้ทรงส่งเสริมให้ก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกคือ สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ ณ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก และทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์ (พระองค์แรก) รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แห่งแรก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 ตามรูปแบบสหกรณ์ เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน ที่ได้รับความสำเร็จ มาแล้วใน อินเดีย และพม่า ซึ่งทั้งสองประเทศได้ส่งคนไปศึกษาจากประเทศเยอรมนี และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคมพ.ศ. 2527 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันสหกรณ์แห่งชาติ "
การแบ่งส่วนราชการ
แก้กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2557 ให้แบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ ดังต่อไปนี้[5]
- สำนักงานเลขานุการกรม
- กองการเจ้าหน้าที่
- กองคลัง
- กองแผนงาน
- กองพัฒนาระบบสนับสนุนการสหกรณ์
- กองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงินและร้านค้า
- กองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1
- สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2
- สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์
หน่วยงานในภูมิภาค
แก้กรมส่งเสริมสหกรณ์ มีหน่วยงานส่วนภูมิภาคตั้งอยู่ในทุกจังหวัด คือ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด มีหน้าที่เป็นผู้แทนของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ประกอบด้วย 18 เขต ดังนี้[6]
ประเภทของสหกรณ์
แก้ในประเทศไทย มีสหกรณ์ 7 ประเภท ได้แก่[7]
- สหกรณ์การเกษตร
- สหกรณ์ประมง
- สหกรณ์นิคม
- สหกรณ์ร้านค้า
- สหกรณ์บริการ
- สหกรณ์ออมทรัพย์
- สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. พ.อ. สุรินทร์ ชลประเสริฐ | 2515-2520 |
2. นาย อดุลย์ นิยมวิภาต | 2520-2522 |
1. พ.อ. สุรินทร์ ชลประเสริฐ | 2522-2526 |
3. นาย เชิญ บำรุงวงศ์ | 2526-2530 |
4. นาย ทรงยศ นาคชำนาญ | 2530-2532 |
5. นาย เสงี่ยม มาหมื่นไวย | 2532-2536 |
6. นาย อวยผล กนกวิจิตร | 2536-2538 |
7. นางสาว พีรรัตน์ อังกุรรัต | 2538-2540 |
8. นาย วัลลภ วิทยประพัฒน์ | 2540-2541 |
9. นาย บุญมี จันทรวงศ์ | 2541-2544 |
10. นาย ชวาลวุฑฒ ไชยนุวัติ | 2544-2545 |
9. นาย บุญมี จันทรวงศ์ | 2545-2549 |
11. นางสาว สุพัตรา ธนเสนีวัฒน์ | 2549-2552 |
12. นาย ศุภชัย บานพับทอง | 2552 |
13. นาย ฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ | 2552-2553 |
14. นาย สมชัย ชาญณรงค์กุล | 2553-2556 |
15. ดร. จุมพล สงวนสิน | 2556-2557 |
16. นาย โอภาส กลั่นบุศย์ | 2557-2558 |
17. ดร. วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข | 2558-2560 |
18. นาย พิเชษฐ์ วิริยะพาหะ | 2560-2563 |
19. นาย คมสัน จำรูญพงษ์ | 2563-2564 |
20. นาย วิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ | 2564-ปัจจุบัน |
อ้างอิง
แก้- ↑ รายงานประจำปี 2566 กรมส่งเสริมสหกรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๔๘, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 31) ตอนที่ 56 เล่ม 69 วันที่ 16 กันยายน 2495 (soc.go.th)
- ↑ "ประวัติกรมส่งเสริมสหกรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2010-09-29.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/088/84.PDF
- ↑ สหกรณ์จังหวัด
- ↑ "ประเภทของสหกรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-18. สืบค้นเมื่อ 2013-10-29.
- ↑ https://www.cpd.go.th/cpdth2560/index.php/about-cpd/person-cpd/history-director เก็บถาวร 2020-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ทำเนียบอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์