กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย)
กระทรวงการคลัง (อังกฤษ: Ministry of Finance) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน การภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ดินราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่เพียงผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือสัตยาบัน รวมทั้งการค้ำประกันหนี้ของส่วนราชการและองค์การรัฐ สถาบันการเงินและรัฐวิสาหกิจ
Ministry of Finance | |
ตราปักษาวายุภักษ์ | |
ที่ทำการกระทรวงการคลัง | |
หน้ากระทรวงการคลัง | |
ภาพรวมกระทรวง | |
---|---|
ก่อตั้ง | 14 เมษายน พ.ศ. 2418 |
กระทรวงก่อนหน้า |
|
ประเภท | กระทรวง |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | ซอยพระรามที่ 6 ซอย 30 (อารีย์สัมพันธ์) ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 |
บุคลากร | 29,391 คน (พ.ศ. 2557)[1] |
งบประมาณต่อปี | 389,659,676,100 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
รัฐมนตรี | |
รัฐมนตรีช่วย | |
ฝ่ายบริหารกระทรวง |
|
ต้นสังกัดกระทรวง | รัฐบาลไทย |
ลูกสังกัดกระทรวง | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกระทรวง |
ประวัติ
กระทรวงการคลังได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตราพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติ และจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ กรมพระคลังมหาสมบัติมีฐานะเป็นกระทรวงเพราะใช้คำภาษาอังกฤษเพื่อเรียกอธิบดีว่า มินิสเตอร์ ออฟ ฟิแนนซ์
- ดูที่ ประวัติกระทรวงการคลังไทย
หน่วยงานในสังกัด
ส่วนราชการ
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
- กรมสรรพากร
- กรมธนารักษ์
- กรมสรรพสามิต
- กรมศุลกากร
- กรมบัญชีกลาง
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
- สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
รัฐวิสาหกิจ
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
- ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
- ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
องค์กรรัฐวิสาหกิจ
- สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
- การยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.)
- องค์การสุรา (สังกัดกรมสรรพสามิต)
- โรงงานไพ่ (สังกัดกรมสรรพสามิต)
- บริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (สังกัดกรมธนารักษ์)
อดีตรัฐวิสาหกิจที่กำกับดูแล
- บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด
- องค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (ยุบเลิก)[3]
- บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (ยุบเลิก)
- บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (ยุบเลิก)
- บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) (เปลี่ยนเป็นหน่วยงานในกำกับ)
- ธนาคารกรุงไทย (เปลี่ยนเป็นธนาคารพาณิชย์ของภาครัฐ)[4]
หน่วยงานในกำกับ / หน่วยงานอิสระ
- สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
- สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
- กองทุนการออมแห่งชาติ
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
- กองทุนเงินให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา
- บริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
- สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)
- ธนาคารกรุงไทย (ธนาคารพาณิชย์ของภาครัฐ)
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
รายชื่อเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
รายชื่อปลัดกระทรวงการคลัง
อ้างอิง
- ↑ จำนวนบุคลากร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๑๑, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ พระราชกฤษฎีกายุบเลิกองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2543
- ↑ หนังสือพิมพ์ออนไลน์เดอะสแตนดาร์ด 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563