เหลย์ ก๊าเส่ง

(เปลี่ยนทางจาก ลี กาชิง)

เหลย์ ก๊าเส่ง (ภาษากวางตุ้ง[3][4]) หรือ หลี เกียเซ้ง (ภาษาแต้จิ๋ว, เพ็งอิม: Li2 Gia1-sêng5[5][6][7]) หรือ หลี่ เจียเฉิง (ภาษาจีนกลาง[8][9]) (เกิดวันที่ 29 กรกฎาคม 2471 ณ เมืองแต้จิ๋ว, ประเทศจีน)[10][11] เป็นนักธุรกิจใหญ่ชาวฮ่องกง นักลงทุน และนักการกุศล ตามนิตยสารฟอบส์ โดยเดือนพฤศจิกายน 2558 เขาเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในเอเชีย โดยมีประเมินทรัพย์สินสุทธิที่ 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,190,167 ล้านบาท)[12] เขาเป็นประธานกรรมการของบริษัท CK Hutchison Holdings โดยปี 2558 ซึ่งเป็นบริษัทที่บริหารจัดการสถานีคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และร้านขายผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางที่ใหญ่ที่สุดในโลก[13] นิตยสาร เอเชียวีก จัดเขาว่าเป็น "คนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชีย" ในปี 2544[ต้องการอ้างอิง]

The Honourable Sir

เหลย์ก๊าเส่ง
李嘉誠

Grand Bauhinia Medal, Order of the British Empire, Justice of the Peace
李嘉誠
เหลย์ ก๊าเส่งในเดือนกันยายน 2553
เกิด (1928-07-29) 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1928 (96 ปี)
เมืองแต้จิ๋ว, สาธารณรัฐจีน
พลเมือง สาธารณรัฐประชาชนจีนฮ่องกง
 แคนาดา
การศึกษาลาออกจากโรงเรียน[1]
อาชีพประธานบริษัท CK Hutchison Holdings, Cheung Kong Property Holdings, และประธานมูลนิธิ Li Ka Shing Foundation
คู่สมรสจวาง เยวี่ยหมิง (莊月明, เสียชีวิตแล้ว)
บุตรหลี่ เจ๋อจวี้ (李澤鉅, Victor Li Tzar Kuoi)
หลี่ เจ๋อไข่ (李澤楷, Richard Li Tzar Kai)
รางวัลJustice of the Peace (1981)
Doctor of law (1986)
Doctor of Social Science (1995)
เหลย์ ก๊าเส่ง
อักษรจีนตัวเต็ม李嘉誠
อักษรจีนตัวย่อ李嘉诚

กลุ่มบริษัทของเขาประเมินว่ามีค่าถึง 15% ของตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง[14] นิตยสาร ฟอบส์ และตระกูลฟอบส์ให้รางวัล Malcolm S. Forbes Lifetime Achievement Award แก่เขาเป็นคนแรกในปี 2549 ในประเทศสิงคโปร์[15] แม้ว่าจะร่ำรวยมาก แต่เขากลับมีชื่อเสียงในการใช้ชีวิตอย่างสมถะ โดยมักจะใส่รองเท้าสีดำธรรมดาและนาฬิกาไซโก้ที่มีราคาไม่แพงมาก แต่เขาก็มีบ้านอยู่ในเขตที่แพงที่สุดที่หนึ่งในเกาะฮ่องกง และเป็นนักการกุศลที่ใจกว้างที่สุดคนหนึ่งในเอเชีย คือได้บริจาคทรัพย์เกินกว่า 2,180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 77,843 ล้านบาท)

เนื่องจากว่าบิดาของเขาเสียชีวิตตั้งแต่อายุน้อย ๆ ทำให้เขาต้องออกจากโรงเรียนก่อนอายุ 15 ปี แล้วทำงานในบริษัทขายพลาสติกซึ่งเขาต้องทำงานกว่า 16 ชม.ต่อวัน ต่อมาในปี 2493 (อายุ 22 ปี) เขาจึงตั้งบริษัทของตนเองชื่อว่าโรงงานพลาสติกเฉิ่งก๊อง (長江塑膠廠, cháng jiāng sù liào chǎng, Cheung Kong Industries)[16] เริ่มต้นจากการผลิตพลาสติกโดยเฉพาะดอกไม้ประดิษฐ์ ต่อมาเขาได้ทำธุรกิจหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ท่าเรือ โรงแรม อสังหาริมทรัพย์ ประกันชีวิต โทรศัพท์มือถือ และเหลย์ได้สร้างบริษัทของเขาให้เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในฮ่องกงแล้วเริ่มขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2515[17][18]

รางวัลและเกียรติยศ

แก้

การกุศล

แก้
 
อาคารเหลย์ก๊าเส่งในฮ่องกง
  • การบริจาคในปี 2524 ของเขามีผลเป็นการจัดตั้งมหาวิทยาลัยซัวเถา (汕头大学, 汕頭大學) ใกล้บ้านเกิดของเขาในเมืองแต้จิ๋ว
  • เติ้ง เสี่ยวผิงได้เชิญให้เขาเป็นคณะกรรมการของ China International Trust and Investment Corporation เพื่อสนับสนุนการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของจีน CITIC เป็นเครือบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในนประเทศจีนโดยมีรัฐบาลจีนถือหุ้น 42% เป็นองค์การการลงทุนหลักของรัฐบาลและมีสถานะเป็นกระทรวงในการปกครองของจีน แต่ว่า เหลย์ทำงานเป็นกรรมการเพียงแค่ปีเดียวก่อนที่จะลาออก เขายังเป็นกรรมการบริษัทไม่ใช่ผู้บริหารของฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่นตั้งแต่ปี 2523 และกลายเป็นรองประธานในปี 2528 นอกจากนี้เขายังเป็นรองประธานของ HSBC Holdings ในปี 2534-2535 อีกด้วย
  • ในเดือนกันยายน 2544 มีอาคารใหม่ที่มหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคฮ่องกงที่ตั้งชื่อตามเขา หลังจากที่มหาวิทยาลัยได้รับบริจาคทุนทรัพย์ 100 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 568 ล้านบาท)[20]
  • มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เปิดศูนย์เหลย์ก๊าเส่งซึ่งส่วนหนึ่งใช้เพื่องานวิจัยโรคมะเร็ง (Cancer Research UK) หลังจากที่ได้รับบริจาคทุนทรัพย์เป็นจำนวน 5.3 ล้านปอนด์ (ประมาณ 332 ล้านบาท)[21] และมูลนิธิเหลย์ก๊าเส่งตั้งทุนเป็นจำนวน 2 ล้านปอนด์ (ประมาณ 130 ล้านบาท) เพื่อตำแหน่งศาสตราจารย์วิทยามะเร็งที่มหาวิทยาลัยในปี 2550[22]
  • ในเดือนพฤศจิกายน 2545 มีการจัดตั้งวิทยาลัยธุรกิจเฉิ่งก๊อง (长江商学院, Cheung Kong Graduate School of Business) ในประเทศจีนโดยอาศัยทุนบริจาคขนาดใหญ่จากมูลนิธิเหลย์ก๊าเส่ง[23]
  • มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (新加坡管理大學, Singapore Management University) จัดตั้งห้องสมุดเหลย์ก๊าเส่ง เพื่อยกย่องการบริจาคทรัพย์เป็นจำนวน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 474 ล้านบาท) ให้แก่มหาวิทยาลัย[24]
  • เพื่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เขาได้บริจาคทรัพย์เป็นจำนวน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 121 ล้านบาท)
  • ในปี 2548 เขาประกาศบริจาคทรัพย์จำนวน 1,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 5,183 ล้านบาท) ให้แก่คณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยฮ่องกง ซึ่งเปลี่ยนชื่อของคณะเป็นคณะแพทย์เหลย์ก๊าเส่ง ซึ่งสร้างข้อโต้เถียงกับศิษย์เก่าของคณะที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ
  • ในปี 2548 เขาได้บริจาคทรัพย์ 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ โดยอ้างว่าเขารู้สึกประทับใจกับความสำเร็จของมหาวิทยาลัยในด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มหาวิทยาลัยจึงได้ตั้งชื่ออาคารใหม่ที่เปิดใช้เมื่อปี 2554 ว่า ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชีวภาพและสุขภาพเหลย์ก๊าเส่ง (Li Ka Shing Center for Biomedical and Health Sciences)[25]
  • โดยเป็นผู้สนับสนุนของ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดมานานแล้วตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เขาได้เป็นผู้บริจาคหลักมีมูลค่า 90 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,875 ล้านบาท) เพื่อสร้างศูนย์การศึกษาและความรู้เหลย์ก๊าเส่ง ซึ่งปัจจุบันเป็นสำนักงานใหญ่ของคณะแพทยศาสตร์[26]
  • วันที่ 9 มีนาคม 2550 เขาได้บริจาคทรัพย์เป็นจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,261 ล้านบาท) ให้กับ Lee Kuan Yew School of Public Policy (คณะนโยบายรัฐ) ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และดังนั้น เพื่อจะยกย่องการสนับสนุนและความใจกว้างของเขา มหาวิทยาลัยจึงตั้งชื่ออาคารหนึ่งให้เป็นชื่อเขา[27]
  • เขาได้บริจาคทรัพย์เป็นจำนวน 25 ล้านดอลลาร์แคนาดา (ประมาณ 806 ล้านบาท) ให้แก่ ร.พ.เซนต์ไมเคิลส์ ในเมืองโทรอนโตประเทศแคนาดาเพื่อตั้งสถาบันความรู้เหลย์ก๊าเส่ง (李嘉誠知識研究中心, Li Ka-Shing Knowledge Institute) ซึ่งจะใช้เป็นศูนย์การศึกษาและวิจัยทางการแพทย์ ในปี 2548[28]
  • เขาบริจาคทรัพย์ 25 ล้านดอลลาร์แคนาดา (ประมาณ 804 ล้านบาท) ให้มหาวิทยาลัยแอลเบอร์ตาในประเทศแคนาดาเพื่อตั้ง สถาบันวิทยาไวรัสเหลย์ก๊าเส่ง[29]
  • มูลนิธิเหลย์ก๊าเส่งได้บริจาคทรัพย์ 30 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 125 ล้านบาท) เพื่อช่วยผู้ประสบภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวน พ.ศ. 2551[30]
  • เขาบริจาคทรัพย์ 6.6 ล้านดอลลาร์แคนาดา (ประมาณ 203 ล้านบาท) ให้แก่มหาวิทยาลัยแมคกิลล์ในปี 2556 เพื่อตั้งโปรแกรมการศึกษาระหว่างประเทศโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยซัวเถา[31]
  • ในปี 2556 เขาบริจาคทรัพย์มูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 59 ล้านบาท) ให้แก่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก เพื่อสนับสนุนโครงการการให้ยาที่แม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อใช้สร้างเครือข่ายแพทย์และนักวิจัยทั่วโลก เริ่มโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างมหาวิทยาลัยและประเทศจีน และสร้างโปรแกรมเภสัชวิทยาที่จะพัฒนาการให้ยาอย่างแม่นยำยิ่งขึ้น[32]

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. "Li Ka-shing". Nndb.com. สืบค้นเมื่อ 2011-05-11.
  2. http://www.celebritynetworth.com/richest-businessmen/richest-billionaires/li-ka-shing-net-worth/
  3. "pronouncekiwi - How To Pronounce 李嘉誠". pronouncekiwi. Chinese (Hong Kong) Pronunciation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2016-04-23.
  4. "How to pronounce 李嘉誠". Forvo. 李嘉誠 pronunciation in Cantonese. สืบค้นเมื่อ 2016-04-23.
  5. "李". Teochew Mogher. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-25. สืบค้นเมื่อ 2016-04-26.
  6. "嘉". Teochew Mogher. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-25. สืบค้นเมื่อ 2016-04-26.
  7. "誠". Teochew Mogher. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-25. สืบค้นเมื่อ 2016-04-26.
  8. "pronouncekiwi - How To Pronounce 李嘉誠". pronouncekiwi. Chinese (China) Pronunciation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2016-04-23.
  9. "How to pronounce 李嘉誠". Forvo. 李嘉誠 pronunciation in Mandarin Chinese. สืบค้นเมื่อ 2016-04-23.
  10. "Silobreaker: Biography for Li Ka-Shing". Silobreaker. 2006-09-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-06. สืบค้นเมื่อ 2008-06-12.
  11. "Li Ka-shing". Encyclopædia Britannica. Chicago, Illinois: Encyclopædia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ 2008-06-12.
  12. "Li Ka-shing Net Worth". Cerebrity Net Worth. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 2015-09-28.
  13. "The World's Billionaires No. 11 Li Ka-shing". Forbes. 2008-03-05. สืบค้นเมื่อ 2008-12-01.
  14. Schuman, Michael (2010-02-24). "The Miracle of Asia's Richest Man". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2012-02-28.
  15. "Li Ka Shing Foundation :: Li Ka-shing Receives First Malcolm S. Forbes Lifetime Achievement Award". PR Newswire. 2006-09-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-27. สืบค้นเมื่อ 2016-05-24.
  16. "CK Hutchison Holdings Limited - About Us > Milestones". ckh.com.hk.
  17. "李嘉誠替唐英年解畫5分鐘 – 新浪網 – 新聞". Sina Corp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-28. สืบค้นเมื่อ 2011-08-05.
  18. "Profile - Ka-shing Li". Forbes.
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ KBE
  20. "PolyU names new tower after Li Ka-shing". Hutchison Whampoa Limited (HWL). 2001-09-19. สืบค้นเมื่อ 2012-10-10.
  21. "State-of-the-Art Cancer Research Centre Opens in Cambridge Supported by a £5.3 million donation from Hutchison Whampoa". Lksf.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2012-02-28.
  22. "Li Ka-shing endows new oncology professorship at Cambridge". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-16. สืบค้นเมื่อ 2016-05-24.
  23. "About CKGSB". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-09.
  24. "Donation to go towards Endowment in Support of the Library and SMU Scholarships". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-09. สืบค้นเมื่อ 2016-05-24.
  25. Sanders, Robert (2005-06-23). "$40 million gift from Li Ka Shing Foundation boosts health science research". UC Berkeley Media Relations. สืบค้นเมื่อ 2009-05-12.
  26. "Stanford medical school building to promote high-tech learning - with comfort". Inside Stanford Medicine. 2010-05-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-12. สืบค้นเมื่อ 2013-12-08.
  27. "LKY School of Public Policy receives $100 million from business leader". National University of Singapore. 2007-03-12.
  28. "The St. Michael's Story - Milestone". St. Michael's Hospital. 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-04-30.
  29. "Li Ka-shing donates C$28 million to the University of Alberta". 2010-04-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-07.
  30. "Hong Kong makes voluntary donations for Sichuan earthquake". Xinhua News Agency. 2008-05-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-02-28.
  31. "Building bridges across the Pacific". McGill University. 2013-09-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-17.
  32. "Li Ka Shing Gift Supports UCSF Quest for Precision Medicine". UCSF. 2013-03-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-05. สืบค้นเมื่อ 2013-12-08.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้