ตระกูลเจ้าเจ็ดตน

ราชวงศ์ที่ปกครองล้านนาในเขตนครลำปาง นครเชียงใหม่ และนครลำพูน สถาปนาและสิ้นสุดใน พ.ศ. 2275-2486
(เปลี่ยนทางจาก ราชวงศ์ทิพย์จักร)

ราชวงศ์ทิพย์จักร, ทิพย์จักราธิวงศ์ หรือตระกูลเจ้าเจ็ดตน[1] เป็นราชวงศ์ที่ปกครองนครเชียงใหม่ นครลำปาง และนครลำพูน

ทิพย์จักราธิวงศ์
พระราชอิสริยยศ
ปกครอง
เชื้อชาติไทยวน
สาขา
  • ราชสกุล ณ เชียงใหม่
  • ราชสกุล ณ ลำปาง
  • ราชสกุล ณ ลำพูน
จำนวนพระมหากษัตริย์35 พระองค์
ประมุขพระองค์แรกพระยาไชยสงคราม
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบัน
ประมุขพระองค์สุดท้าย
ช่วงระยะเวลา
  • นครลำปาง : พ.ศ. 2275–2468
  • นครเชียงใหม่ : พ.ศ. 2325–2482
  • นครลำพูน : พ.ศ. 2357–2486
  • นครพะเยา : พ.ศ. 2387–2456
สถาปนาพ.ศ. 2275
ล่มสลาย5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486
วงศ์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
– ตำแหน่งในนาม –
ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่


วงศ์เจ้าผู้ครองนครลำปาง
– ตำแหน่งในนาม –
ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์
พระราชลัญจกรประจำเจ้าหลวงนครลำปาง

เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง


เจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง

วงศ์เจ้าผู้ครองนครลำพูน
– ตำแหน่งในนาม –
ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์

พลอากาศตรี เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน


การสถาปนา

แก้

ทิพย์จักราธิวงศ์[2][3][4][5] หรือ ราชวงศ์ทิพย์จักร[6] หรือ ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน[7] ได้รับการสถาปนาขึ้นในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระแห่งอาณาจักรอยุธยา โดย "หนานทิพย์ช้าง" ควาญช้างและพรานป่าผู้มีความสามารถ ได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองนครลำปาง มีพระนามว่า พระญาสุลวะฦๅไชย ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามจากราชสำนักกรุงอังวะเป็นพระยาไชยสงคราม ถือเป็นนครรัฐอิสระในปี พ.ศ. 2275

เมื่อถึงแก่พิราลัย เจ้าชายแก้วพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ได้ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าฟ้าชายแก้ว ซึ่งในช่วงดังกล่าวนครลำปางมีฐานะเป็นประเทศราชของพม่า โดยพระเจ้ากรุงอังวะได้โปรดฯ เฉลิมพระนามให้เป็นเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว

เจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครลำปาง พระโอรสพระองค์ใหญ่ของเจ้าฟ้าชายแก้ว ได้ร่วมกับพระอนุชาทั้ง 6 พระองค์ และ พระยาจ่าบ้านผู้ครองนครเชียงใหม่ กอบกู้ล้านนาภายใต้การสนับสนุนจากทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในปี พ.ศ. 2317 ซึ่งในครั้งนั้นได้โปรดฯ ให้เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ยกกองทัพไปช่วยปราบพม่า เมื่อยึดนครเชียงใหม่และนครลำปางได้แล้ว จึงโปรดฯ ให้พระยาจ่าบ้านเป็นพระยาวิเชียรปราการครองนครเชียงใหม่ และเจ้ากาวิละเป็นพระยานครลำปาง ในการรบครั้งนั้น เจ้าพระยาสุรสีห์ได้พบรักกับเจ้าศรีอโนชา พระขนิษฐาของพระยากาวิละ และได้ทูลขอจากเจ้าฟ้าชายแก้ว ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงศรีอโนชาได้สร้างวีรกรรมสำคัญยิ่งในการปกป้องพระนครจากพระยาสรรค์ ซึ่งก่อการกบฏต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งขณะนั้นเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ พระสวามีติดการสงครามที่เขมร หลังจากปกป้องพระนครเสร็จ ได้เชิญเจ้าพระยาจักรีกลับพระนครและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในคราเดียวกันนั้นได้โปรดฯ สถาปนา "เจ้าพระยาสุรสีห์" พระอนุชาขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท โปรดฯให้ พระยากาวิละขึ้นครองนครเชียงใหม่ (ซึ่งขณะนั้นได้กลายเป็นเมืองร้าง เนื่องจากพม่าได้เข้ามารุกรานจนพระยาจ่าบ้านต้องพาประชาชนอพยพหนี) โปรดฯ ให้พระยาคำโสม พระอนุชาพระองค์ที่ 2 ขึ้นครองนครลำปาง และโปรดฯ ให้เจ้าคำฝั้น พระอนุชาพระองค์ที่สามขึ้นครองนครลำพูน ตลอดต้นรัชสมัยที่ครองนคร เจ้ากาวิละได้ร่วมกับพระอนุชาทั้ง 6 พระองค์ กระทำการสงครามเพื่อขยายขอบเขตขัณฑสีมาออกไปอย่างขจรขจาย ได้กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินจากหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาสร้างบ้านแปงเมือง รวมทั้งได้ทรงรื้อฟื้นโบราณราชประเพณีทุกอย่างให้กลับมายิ่งใหญ่เหมือนสมัยราชวงศ์มังรายครองอาณาจักรล้านนา ด้วยพระปรีชาสามารถและความจงรักภักดีต่อพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดฯ เฉลิมพระอิสริยยศพระยากาวิละขึ้นเป็นพระบรมราชาธิบดี พระเจ้านครเชียงใหม่ เป็นใหญ่ในล้านนาไท 57 เมือง

ชื่อราชวงศ์

แก้

คำว่า "ทิพย์จักราธิวงศ์" เกิดจากการสถาปนาของพระเจ้ากาวิละ โดยเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน[8] ซึ่งภายหลังได้มีพระประสงค์ของ เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ซึ่งเป็นองค์ประธานของการจัดสายสืบสกุล โดยพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์[9]มอบหมายให้บรรดาเจ้านายในราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ในราชสกุล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง ช่วยกันสืบเสาะทายาทและผู้สืบสายโลหิตจาก พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม และมอบหมายให้ เจ้าราชภาคินัย (เมืองชื่น ณ เชียงใหม่) เป็นผู้จารึกลำดับลงในสมุดข่อยโบราณภายใต้ "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์" โดยจารึกเป็นอักษรล้านนาซึ่งภายหลังได้ถ่ายทอดมาเป็นอักษรไทยกลางและคงไว้ซึ่งอักษรล้านนาบ้างในฐานะที่ท่านเป็นเลขานุการของการจัดสายสืบสกุล[10] ภายหลังบางตำรามักนิยมเรียกโดยย่อว่าราชวงศ์ทิพย์จักร[6] อันหมายถึงชื่อราชวงศ์อย่างย่อจากพระนามเต็มของ พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม ผู้เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์

ความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์อื่น

แก้

ราชวงศ์ทิพย์จักรถือเป็นราชวงศ์ล้านนาที่เชื่อมความสัมพันธ์กับพระราชวงศ์ล้านนาอันเก่าแก่เดิม อันได้แก่ ราชวงศ์มังราย อันมีพญามังรายมหาราชเป็นองค์ปฐมวงศ์ และราชวงศ์พะเยา พญางำเมือง ด้วยระบบความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ[ต้องการอ้างอิง]

นอกจากนั้น เจ้านายในราชวงศ์ทิพย์จักรยังได้อภิเษกสมรสกับพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์จักรีหลายพระองค์ พระองค์ที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ เจ้าศรีอโนชา พระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท, เจ้าจอมบัวคำ ในรัชกาลที่ 3, เจ้าจอมคำเมา ในรัชกาลที่ 3, เจ้าดารารัศมี พระราชชายา และเจ้าจอมมารดาทิพเกษร ในรัชกาลที่ 5 ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสองพระราชวงศ์ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พระราชอาณาจักรล้านนาเดิมได้เข้ารวมกับสยามประเทศอย่างสมบูรณ์

การที่ไทยในสยามประเทศสามารถรวมกันได้ เพราะอาศรัยพระบรมเดชานุภาพของพระบาทสมเด็จฯพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทราชอนุชาเปนต้นเค้า ก็เปนความจริง แต่สมควรจะยกย่องผู้เปนหัวหน้าของชาวมณฑลพายัพในสมัยนั้นด้วย คือเจ้าเจ็ดตนอันเปนต้นตระกูลวงศ์ของเจ้านายเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปางและเมืองลำพูน กับทั้งเจ้าเมืองน่านที่ได้เปนบรรพบุรุษของเจ้านายในเมืองนั้น ที่ได้สามิภักดิ์แล้วช่วยรบพุ่งข้าศึกเปนกำลังอย่างสำคัญ...จึงทรงพระกรุณาโปรดยกย่องวงศ์สกุลเจ้าเจ็ดตนและสกุลเจ้าเมืองน่านให้มียศเปนเจ้าสืบกันมา ด้วยเปนสกุลคู่พระบารมีของพระบรมราชจักรีวงศ์มาตั้งแต่ปฐมกาล[11]

— พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมณฑลพายัพ พ.ศ. 2469

ลำดับสกุลวงศ์

แก้

ชั้น 1 องค์ปฐมวงศ์

แก้

ชั้น 2 พระราชบุตรในพระยาไชยสงคราม

แก้
  • เจ้าชายอ้าย
  • เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว เจ้านครเขลางค์ (ลำปาง) ประเทศราชของพม่า (2302 - 2317), เป็นพระราชบิดาใน"พระเจ้ากาวิละ" ด้วยพระราชโอรสทั้ง 7 พระองค์ ทรงมีบทบาทสำคัญในการกอบกู้ราชอาณาจักรล้านนาจากพม่า และต่อมาเจ้านายบุตรหลานได้ปกครองหัวเมืองเหนือ จึงเป็นที่มาของราชสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน" หรือ "เจ้าเจ็ดองค์"
  • เจ้าหญิงคำทิพ
  • เจ้าหญิงคำปา
  • เจ้าชายพ่อเรือน บิดาในพระยาพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 4
  • เจ้าหญิงกม (กมลา)

เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (2325 - 2482)

แก้
ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์
1 พระเจ้ากาวิละ 2325 - 2358 (33 ปี) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
2 พระยาธรรมลังกา 2359 - 2365 (6 ปี)
3 พระยาคำฟั่น 2366 - 2368 (2 ปี)
4 พระยาพุทธวงศ์ 2369 - 2389 (20 ปี)
5 พระเจ้ามโหตรประเทศ 2390 - 2397 (7 ปี)
6 พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ 2399 - 2413 (14 ปี)
7 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ 2416 - 2440 (24 ปี)
8 เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ 2444 - 2452 (8 ปี)
9 เจ้าแก้วนวรัฐ 2454 - 2482 (28 ปี)

แผนผังเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่

แก้
 
 
 
 
 
 
 
 
พระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง)
เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว
เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
พ่อเจ้าเรือน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (1)
พระเจ้ากาวิละ
  (2)
พระยาธรรมลังกา
  (3)
พระยาคำฟั่น
  (4)
พระยาพุทธวงศ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (6)
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
  (5)
พระเจ้ามโหตรประเทศ
 
พระยาราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (7)
พระเจ้าอินทวิชยานนท์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (8)
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (9)
เจ้าแก้วนวรัฐ

เจ้าผู้ครองนครลำปาง (2275 - 2465)

แก้
ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์
1 พระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) 2275 - 2306 (31 ปี) สมัยกรุงศรีอยุธยา
2 เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว 2306 - 2317 (11 ปี) สมัยกรุงศรีอยุธยา
3 พระเจ้ากาวิละ 2317 - 2325 (8 ปี) สมัยกรุงธนบุรี
4 พระยาคำโสม 2325 - 2337 (12 ปี) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
5 พระเจ้าดวงทิพย์ 2337 - 2369
6 พระยาไชยวงศ์ 2369 - 2380
7 พระยาขัติยะ 2380 - 2380
8 พระยาน้อยอินท์ 2381 - 2391
9 เจ้าวรญาณรังษี 2399 - 2414
10 เจ้าพรหมาภิพงษธาดา 2416 - 2436
11 เจ้านรนันทไชยชวลิต 2436 - 2439
12 เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต 2441 - 2465
13 เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) 2465 - 2468 (3 ปี) ผู้รั้งตำแหน่งเจ้านครลำปาง

แผนผังเจ้าผู้ครองนครลำปาง

แก้
 
 
 
 
 
 
 
 
  (1)
พระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (2)
เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (3)
พระเจ้ากาวิละ
  (4)
พระยาคำโสม
  (5)
พระเจ้าดวงทิพย์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (6)
พระยาไชยวงศ์
  (7)
พระยาขัติยะ
  (8)
พระยาน้อยอินท์
  (9)
เจ้าวรญาณรังษี
  (10)
เจ้าพรหมาภิพงษธาดา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (11)
เจ้านรนันทไชยชวลิต
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (12)
เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  เจ้าราชบุตร
แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง

(รักษาการตำแหน่งเจ้าหลวงลำปาง)

เจ้าผู้ครองนครลำพูน (2348 - 2486)

แก้
ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์
1 พระยาคำฟั่น 2348 - 2358 (10 ปี) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
2 พระเจ้าลำพูนไชย 2358 - 2370 (12 ปี)
3 พระยาน้อยอินท์ 2370 - 2380 (10 ปี)
4 พระยาคำตัน 2381 - 2384 (3 ปี)
5 พระยาน้อยลังกา 2384 - 2386 (2 ปี)
6 เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ 2386 - 2414 (23 ปี)
7 เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ 2414 - 2431 (17 ปี)
8 เจ้าเหมพินธุไพจิตร 2431 - 2439 (8 ปี)
9 เจ้าอินทยงยศโชติ 2441 - 2454 (13 ปี)
10 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ 2454 - 2486 (32 ปี)

แผนผังเจ้าผู้ครองนครลำพูน

แก้
 
 
 
 
 
 
พระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง)
เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว
เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (1)
พระยาคำฟั่น
  (2)
พระเจ้าลำพูนไชย
  (3)
พระยาน้อยอินท์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (6)
เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ
  (4)
พระยาคำตัน
  (5)
พระยาน้อยลังกา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (7)
เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์
  (8)
เจ้าเหมพินธุไพจิตร
 
 
 
  (9)
เจ้าอินทยงยศโชติ
 
 
 
  (10)
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย เล่ม ๒ อักษร ช-จ. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2545. 420 หน้า. หน้า 323. ISBN 974-8123-83-9
  2. หนานอินแปง. (2546). พระราชชายาเจ้าดารารัศมี. กรุงเทพฯ: บางกอกบุ๊ค.
  3. กัลยา เกื้อตระกูล. (2552). ต้นตระกูลเจ้าเมือง สายสกุล ณ ในสยาม. กรุงเทพฯ: ยิปวี กรุ๊ป. หน้า 192.
  4. ทศ คณนาพร. (2549). 9 ตระกูลดังแห่งล้านนา. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์. หน้า 17.
  5. ภาสกร วงศ์ตาวัน. (2009). ประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป. หน้า 111.
  6. 6.0 6.1 ฮันส์ เพนธ์, ประวัติศาสตร์ล้านนาฉบับย่อ, เชียงใหม่ : หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่, 2547, หน้า 201
  7. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 336
  8. สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2008). ล้านนา: ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมือง. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า 26
  9. ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. (2507). เพ็ชรลานนา เล่ม 2. ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ. หน้า 6.
  10. ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. (1980). ผู้บุกเบิกแห่งเชียงใหม่. เรืองศิลป์. หน้า 86-87.
  11. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๓ น่า ๔๐๗๓ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๙

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้