พระยาน้อยอินท์
เจ้าหลวงน้อยอินทร์ (ไทยถิ่นเหนือ: ) หรือ "พระยาน้อยอินท์" เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 8 และเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 3[2] เป็นราชบุตรของพระยาคำโสม องค์ที่ 3 เป็นพระอนุชาพระยาขัติยะ
พระยาน้อยอินทร์ | |
---|---|
พระยาลำพูนไชย | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2370 - 2381 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าลำพูนไชย |
ถัดไป | พระยาคำตัน |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระยานครลำปาง | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2381 - 2391[1] |
ก่อนหน้า | พระยาขัติยะ |
ถัดไป | เจ้าวรญาณรังษี |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ประสูติ | พ.ศ. 2321 |
พิราลัย | พ.ศ. 2391 (70 ปี) |
พระบุตร | 12 องค์ |
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร |
ราชสกุล | ณ ลำปาง |
พระบิดา | พระยาคำโสม |
ศาสนา | เถรวาท |
พระประวัติ
แก้เจ้าน้อยอินท์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าหลวงนครลำพูน เมื่อปี พ.ศ. 2370 สืบแทนพระเจ้านครลำพูนบุญมา ซึ่งถึงแก่พิราลัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2381 เจ้าหลวงขัติยะ เจ้าผู้ครองนครลำปาง ถึงแก่พิราลัย รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหลวงน้อยอินทร์ ไปเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางในปีเดียวกัน
ในปี พ.ศ. 2391 เจ้ามหาวงศ์ (ภายหลังคือ พระยามโหตรประเทศ) และเจ้าไชยลังกา (ภายหลังคือ เจ้าหลวงไชยลังกาพิศาล) พร้อมกันมีใบบอกกล่าวโทษพระยานครลำปางน้อยอินท์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาน้อยอินท์ เดินทางมาเข้าเฝ้าที่กรุงเทพมหานคร[3]
ครั้นเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ยังมิทันได้ชำระความ เจ้าหลวงน้อยอินทร์ ถึงแก่พิราลัยเมื่อเดือน 2 ศักราช 1210 ปีวอก ตรงกับ พ.ศ. 2391 รวมพระชนมายุ 70 พรรษา รวมเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน 11 ปี และครองนครลำปาง 10 ปี[4]
พระโอรส
แก้พระยาน้อยอินท์ มีราชโอรสและราชธิดา 12 พระองค์ อาจจะมีราชเทวีและหม่อมหลายพระองค์ตามธรรมเนียมของเจ้าผู้ครองนคร
- เจ้าหนานปัญญา เจ้าราชวงศ์เมืองงาว
ราชตระกูล
แก้พงศาวลีของพระยาน้อยอินท์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ↑ "รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และ เชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2012-09-23.
- ↑ มงคล ถูกนึก. ไทยวน คนเมือง แห่งลุ่มแม่น้ำวัง. ลำปาง : ลำปางบรรณกิจ. 2555
- ↑ วรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช. เจ้าหลวงลำพูน. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้ง. 2552
ก่อนหน้า | พระยาน้อยอินท์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าหลวงขัติยะ | เจ้าผู้ครองนครลำปาง (พ.ศ. 2381 - พ.ศ. 2391) |
พระเจ้าวรญาณรังสี | ||
พระเจ้าบุญมาเมือง | เจ้าผู้ครองนครลำพูน (พ.ศ. 2370 - พ.ศ. 2381) |
เจ้าหลวงคำตัน |