มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์
พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ หรือ พระเวชยันตรังสฤษฏ์ (นามเดิม: มุนี มหาสันทนะ; 29 มีนาคม พ.ศ. 2436 - 10 กันยายน พ.ศ. 2527) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[1] ผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรกของกองทัพอากาศไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการสำนักนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2496 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2498 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ |
ถัดไป | จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี จอมพลเรือ ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2484 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พระยาฤทธิอัคเนย์ |
ถัดไป | หลวงเดชสหกรณ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | พลเรือตรี ผัน นาวาวิจิต |
ดำรงตำแหน่ง 12 มิถุนายน พ.ศ. 2495 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2496 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | สุกิจ นิมมานเหมินท์ |
ถัดไป | พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา |
ดำรงตำแหน่ง 22 สิงหาคม พ.ศ. 2507 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2512 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | บุณย์ เจริญไชย |
ถัดไป | พลโท พงษ์ ปุณณกันต์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มกราคม พ.ศ. 2489 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ |
ถัดไป | หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ |
ดำรงตำแหน่ง 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 – 8 เมษายน พ.ศ. 2491 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ |
ถัดไป | พระยามไหสวรรย์ |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พลตรี เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ |
ถัดไป | พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | พระยาประกิตกลศาสตร์ |
ถัดไป | หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2498 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี |
ถัดไป | พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พลเอก มังกร พรหมโยธี |
ถัดไป | หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 เมษายน พ.ศ. 2480 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2484 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | พลอากาศโท หลวงอธึกเทวเดช |
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 17 สิงหาคม พ.ศ. 2493 – 6 กันยายน พ.ศ. 2504 (11 ปี 20 วัน) | |
ก่อนหน้า | ศ.หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล |
ถัดไป | จอมพล ประภาส จารุเสถียร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 มีนาคม พ.ศ. 2436 อำเภอบางพลัด จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 10 กันยายน พ.ศ. 2527 (91 ปี) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคเสรีมนังคศิลา |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิง ดาระกา เวชยันตรังสฤษฏ์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ยศ | พลอากาศโท |
ประวัติ
แก้พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ มีนามเดิมว่า มุนี มหาสันทนะ ศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัย สมัยสายสวลี จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2454 จากนั้นไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมที่มหาวิทยาลัยวิคตอเรีย ประเทศอังกฤษ [2] หลังจากจบการศึกษาแล้วเริ่มรับราชการกองทัพบกไทย พร้อมกับรับพระราชทานยศร้อยตรีเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2462[3] สังกัดกรมอากาศยานทหารบก
รับราชการ
แก้วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ร้อยเอก มุนี มหาสันทนะ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเวชยันต์รังสฤต ถือศักดินา 800[4]
ในปี พ.ศ. 2472 ขณะดำรงตำแหน่ง พันโท หลวงเวชยันต์รังสฤษฏ์ รั้งตำแหน่งผู้บังคับฝูงกองโรงงาน กรมอากาศยาน ท่านเป็นผู้ออกแบบเครื่องบินทิ้งระเบิด ปีก 2 ชั้น 2 ที่นั่งลำแรกของไทย ใช้ชื่อว่า "เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ 2" หรือ "เครื่องบินบริพัตร" ใช้ประจำการในกองทัพตั้งแต่ พ.ศ. 2472 - 2483 [5]
ต่อมากำลังทางอากาศของไทยเติบโตขึ้น และได้รับการยกฐานะเป็น "กองทัพอากาศ" เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480 ขณะนั้นท่านมียศเป็น นาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฏ์ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรกเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2480 [6] ดำรงตำแหน่งนี้จนถึงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2484 ก่อนจะย้ายไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาการป้องกันพระราชอาณาจักร โดยมีนายนาวาอากาศเอก หลวงอธึกเทวเดช ดำรงตำแหน่งแทน [7] และได้รับยศทางทหารสูงสุดเป็น พลอากาศโท เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 [8]
ยศ
แก้- 20 พฤษภาคม 2462 – โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงกลาโหมส่งสัญญาบัตรยศไปพระราชทาน[9]
บทบาททางการเมือง
แก้ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย พระเวชยันตรังสฤษฏ์ในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยเลือกใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล และนามสกุลเดิมเป็นชื่อรองว่า มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์[10]
ท่านดำรงตำแหน่งในรัฐบาล ตั้งแต่ พ.ศ. 2480 ตำแหน่งรัฐมนตรี ในรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ (พ.ศ. 2481-2484) ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2489[11], 2491, 2494[12]) กระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2490) ในรัฐบาลควง อภัยวงศ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2494[13]
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2500) ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม[14] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2507-2513) ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร [15] นอกจากนี้แล้วยังได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดพระนคร สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ด้วย[16]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[17]
- พ.ศ. 2495 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[18]
- พ.ศ. 2486 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[19]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[20]
- พ.ศ. 2470 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[21]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[22]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[23]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[24]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[25]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- ↑ "ประวัติผู้บัญชาการทหารอากาศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-12-14. สืบค้นเมื่อ 2007-11-28.
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ (หน้า ๗๙๖), เล่ม 40, ตอน ง, 17 มิถุนายน 2466, หน้า 796
- ↑ "ประวัติกองทัพอากาศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-03. สืบค้นเมื่อ 2007-11-28.
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งนายทหารในกองทัพอากาศ
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้ย้ายและตั้งนายทหารดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการป้องกันพระราชอาณาจักรและผู้บัญชาการทหารอากาศ
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร แต่งตั้งนายทหารพิเศษ และราชองครักษ์พิเศษ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2019-10-31.
- ↑ ส่งสัญญาบัตรยศทหารบกไปพระราชทาน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ เก็บถาวร 2014-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
- ↑ ประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว (รัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการสำนักนายกรัฐมนตรี (พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษดิ์)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ "ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย จาก สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2007-11-28.
- ↑ หนังสือนายควง อภัยวงศ์ กับพรรคประชาธิปัตย์ โดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม พ.ศ. 2522
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๑๘๓๐, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๕๖๕๕, ๙ ธันวาคม ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๒๙๒๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๘๙, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๖๘, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน[ลิงก์เสีย], เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๗, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๒๕๘๙, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ ส่งเหรียญจักรมาลาไปพระราชทาน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๔๓, ๒ ธันวาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๒๕๒๒, ๗ กรกฎาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๒๑๒๙, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๙๘
ก่อนหน้า | มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (31 มกราคม 2489 – 24 มีนาคม 2489) |
หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ | ||
หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (21 กุมภาพันธ์ 2491 – 8 เมษายน 2491) |
พระยามไหสวรรย์ (กวย สมบัติศิริ) | ||
เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (29 พฤศจิกายน 2494 – 6 ธันวาคม 2494) |
หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) | ||
- | ผู้บัญชาการทหารอากาศ (พ.ศ. 2480 - พ.ศ. 2484) |
พลอากาศโท หลวงอธึกเทวเดช | ||
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า รัชฎาภิเศก โสณกุล |
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (17 สิงหาคม พ.ศ. 2493 - 6 กันยายน พ.ศ. 2504) |
จอมพล ประภาส จารุเสถียร |