คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นหน่วยงานระดับคณะ ในสังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2517 ในชื่อ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ปัจจุบัน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มีการเรียนการสอนตั้งแต่ในระดับปริญญาตรี โท และเอก ตามลำดับ

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Faculty of Industrial Education and Technology
King Mongkut's University of Technology Thonburi : FIET
สถาปนาพ.ศ. 2508
คณะฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง

พ.ศ. 2517
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2533
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

พ.ศ. 2547
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
คณบดีรศ.ดร.ธเนศ ธนิตย์ธีรพันธ์
ที่อยู่
126 ถ.ประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร
เว็บไซต์http://www.fiet.kmutt.ac.th

ประวัติ

แก้

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

พ.ศ. 2508 ก่อตั้งในชื่อ "คณะวิชาฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี

พ.ศ. 2513 เปลี่ยนชื่อเป็น ภาควิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี

พ.ศ. 2517 ได้ยกฐานะเป็น คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี

พ.ศ. 2533 ได้ปรับชื่อเป็น คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

พ.ศ. 2547 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

โดย เรียงลำดับการจัดตั้ง ภาควิชา ดังนี้

พ.ศ. 2517 - 2526 มีภาควิชาเดียว คิอ ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์

  1. พ.ศ. 2526 ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2517)
  2. พ.ศ. 2526 ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2517)
  3. พ.ศ. 2526 ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการ เดิมคือ ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2517)
  4. พ.ศ. 2533 ภาควิชาครุศาสตร์โยธา เดิมคือ ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2517)
  5. พ.ศ. 2533 ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เดิมคือ ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2534)
  6. พ.ศ. 2538 ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ เดิมคือ ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2538)
  7. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2539 ก่อตั้งหลักสูตร ค.อ.ม. (คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ) พ.ศ. 2540 ก่อตั้งหลักสูตร วท.บ.(หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-มัลติมีเดีย)

หลักสูตร

แก้

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นคณะที่จัดการศึกษาด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรมในประเทศไทย [1] เปิดสอนนักศึกษาหลักสูตรระดับ ปริญญาตรี 8 หลักสูตร ปริญญาโท 7 หลักสูตร และ ปริญญาเอก 1 หลักสูตร รวม 16 หลักสูตร

ระดับปริญญาตรี

แก้

หลักสูตร 4 ปี

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและสารสนเทศ
  • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน
  • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
    • สาขาวิชาเอก เทคโนโลยีไฟฟ้า
    • สาขาวิชาเอก เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
    • สาขาวิชาเอก เทคโนโลยีเครื่องกล
    • สาขาวิชาเอก เทคโนโลยีอุตสาหการ
    • สาขาวิชาเอก เทคโนโลยีโยธา
    • สาขาวิชาเอก เทคโนโลยีการจัดการ

หลักสูตร 5 ปี (ขอใบรับรอง กค ได้)

  • หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
    • สาขาวิชาเอก วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    • สาขาวิชาเอก วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
    • สาขาวิชาเอก วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
  • หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

ระดับปริญญาโท

แก้

หลักสูตร 2 ปี (เรียนเสาร์/อาทิตย์ และภาคค่ำ)

  • หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
    • สาขาวิชาเอก วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    • สาขาวิชาเอก วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
    • สาขาวิชาเอก วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
  • หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน
  • หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

ระดับปริญญาเอก

แก้

หลักสูตร 3 ปี (หลักสูตรปกติ)

  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี


เปิดสอน

แก้

เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม (ค.อ.บ.) หลักสูตร 5 ปี

ใน 4 สาขาวิชา (รับนศ.ปวช. และ ม.6) ดังนี้

  • สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ในหลักสูตรนี้แบ่งวิชาเอกออกเป็น 3 วิชาเอก คือ
    • วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
    • วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
    • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ

เปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ทล.บ.) หลักสูตร 4 ปี

เปิดทำการศึกษาในปีการศึกษา2553 เป็นรุ่นแรกโดยจุดประสงค์เพื่อผลิตช่างเทคนิคชั้นสูงเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมตามคำเรียกร้องของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เปิดรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปวช.และม.6 แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา

  • เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (วิชาชีพอุตสาหการ)
  • เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (วิชาชีพก่อสร้าง)
  • เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (วิชาชีพไฟฟ้า)
  • เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (วิชาชีพเครื่องกล)

ความแตกต่างระหว่างหลักสูตรเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม คือเวลาในการศึกษาตามหลักสูตร และรายวิชาที่ศึกษา คอ.บ. รายวิชาจะเน้นไปที่การสอน แต่ ทล.บ.จะไม่มีวิชาที่เกี่ยวกับการสอน แต่จะเน้นหนักไปทางวิชาชีพ

  • ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา รับนักศึกษาปี 2552 เป็นปีสุดท้ายที่รับนักศึกษาเข้ามาศึกษาจากการสอบตรงของ นศ.ที่จบปวส.ปี 2

โดยปัจจุบันภาควิชาฯ กำลังจะมีอายุครบ 30 ปี (ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563) และได้เปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) หลักสูตร 4 ปี

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน เป็นสาขาวิชาที่ได้ถูกปรับเปลี่ยนมาจาก หลักสูตร ครุศาสตร์เทคโนโลยี ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความครอบคลุมทางด้านของสื่อสารมวลชน,เทคโนโลยีการศึกษาและการสื่อใหม่ (NewMedia) มากยิ่งขึ้น โดยเน้นให้นักศึกษาปฏิบัติควบคู่กับด้านทฤษฎี เป็นหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) ซึ่งมาจากการสอบตรงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ ปวช.ปี3 ปัจจุบันมีหลักสูตรปริญญาโทหลักสูตรเทคโนโลยีการเรียนรู้ และสื่อสารมวลชน รับผู้จบปริญญาตรีทุกสาขา

เปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี

ใน 2 สาขาวิชา ดังนี้

  • สาขาวิชาเทคนิคการพิมพ์ โดย ภาควิชาการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี ดังนี้

  • สาขาเทคโนโลยีการพิมพ์ เป็นหลักสูตรที่รองรับการขยายตัวทางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมการพิมพ์ และการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ ควรมีความถนัดในสาขา วิชาเคมี และฟิสิกส์ เพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านวัสดุ และอุปกรณ์ทางการพิมพ์ บัณฑิตที่ สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ จะมีความรู้ความสามารถด้านการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์เป็นอย่างดี
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-มัลติมีเดีย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ - มัลติมีเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรในสาขาวิชาดังกล่าวให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต และปัจจุบัน สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ - มัลติมีเดีย เปิดสอนเฉพาะในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี

นอกจากนี้ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยียังได้จัดทำ

  • โครงการร่วมบริหารหลักสูตรเทคโนโลยีมีเดียและมีเดียอาตส์

เปิดสอนหลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) หลักสูตร 4 ปีใน 1 สาขาวิชา ดังนี้

  • สาขาวิชามีเดียอาตส์ :เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความสามารถทางปัญญาแห่งศาสตร์ทางศิลปะและการออกแบบที่เน้นทางด้าน แอนิเมชัน ด้านเทคนิคภาพเพื่อการผลิตภาพยนตร์ และด้านการถ่ายภาพถ่าย ดิจิทัลและการออกแบบกราฟิก ตลอดจนปลูกฝังให้มีการนำเอาคุณธรรม และ จริยธรรมของสังคมและบุคคลมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตผลงาน
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย

โครงการปริญญาเอกร่วม หลักสูตรนวัตกรรมการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี ชื่อปริญญา: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นวัตกรรมการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี) ปร.ด. (นวัตกรรมการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี) โดยเป็นหลักสูตรของคณะฯ โดยภาควิชาต่างๆ ร่วมกัน โดยมี รศ.จริยา เหนียนเฉลย เป็นประธานหลักสูตรคนปัจจุบัน

ดูเพิ่ม

แก้


อ้างอิง

แก้