สถาปัตยกรรมศาสตร์

สำหรับความหมายอื่นดูที่ สถาปัตยกรรม และ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

สถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นการศึกษาสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานเทคนิควิทยาการทั้งทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม เข้าด้วยกัน เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่อาศัย วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่นั้น สนองตอบในเชิงจิตวิทยา ซึ่งผู้ออกแบบต้องเข้าใจความต้องการในการใช้พื้นที่นั้น ๆ อย่างลึกซึ้งอันมีผลกับการออกแบบที่ดี และไม่ดี หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปวิทยาการ ในการออกแบบอาคารและสิ่งเกี่ยวเนื่อง เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เหมาะสมในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ระดับมหัพภาค ถึงจุลภาค เช่น การวางผังชุมชน การออกแบบชุมชน ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปแบบศิลปะ เรื่องของชุมชน เรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ และเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ถือเป็นศาสตร์ที่มีศาสตร์อื่นมาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก จนยากที่จะสรุปลงไปได้ว่ามี ศาสตร์สาขาใดมาเกี่ยวข้องบ้าง

สาขาวิชาของสถาปัตยกรรมศาสตร์

แก้

โดยสากลแล้ว แบ่งออกได้เป็น 4 สาขาคือ

วิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศไทย

แก้

สถาปนิกเป็น วิชาชีพที่มีการควบคุมภายใต้พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 โดยมีสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (Association of Siamese Architects) สถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 เป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมวิชาชีพด้านสถาปัตยกรรมและติดต่อประสานงานระหว่างสถาปนิกด้วยกัน ส่วนสภาสถาปนิก (Council of Architects) มีหน้าที่ออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม (ก.ส.) รับรองคุณวุฒิ รวมทั้งควบคุมจรรยาบรรณวิชาชีพของสถาปนิก

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์

แก้

สถาปัตยกรรมศาสตร์ กับ ฮวงจุ้ย

แก้

สถาปัตยกรรมศาสตร์ในบางส่วนจะมีการใกล้เคียง กับการศึกษาฮวงจุ้ยศาสตร์ของชาวจีนในการวางตำแหน่งอาคารโดยที่เน้นศึกษา ลม(ฮวง) และน้ำ(จุ้ย) ในการออกงานในทางสถาปัตยกรรม มีการศึกษาทิศทางของลม ทิศทางของแสงแดด แนวทางของน้ำ และสถาพแวดล้อมอื่นๆ เพื่อให้การดำรงอาศัยของมนุษย์อยู่ใน สภาวะอยู่สบาย ตัวอย่างการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ได้แก่ การวางตัวของอาคารเพื่อให้มีการหมุนเวียนของลม เพื่อป้องกันการสะสมของอากาศเก่า จะทำให้ผู้อยู่อาศัยป่วยเป็นโรค หรือการวางตัวของอาคารในทิศทางที่ไม่ปะทะ กับลมหรือแสงแดด โดยตรง เพื่อให้ระบบสภาวะอากาศภายใน ไม่หนาวหรือร้อนเกินไปทำให้ผู้อยู่อาศัยเกิดความไม่สบายเช่นกัน

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้