ภาษามราฐี (มราฐี: मराठी, Marāṭhī, ออกเสียง [məˈɾaːʈʰiː] ( ฟังเสียง)) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่พูดโดยชาวมราฐีในรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย โดยเป็นภาษาทางการในรัฐมหาราษฏระ และภาษาร่วมทางการในรัฐกัวกับดินแดนดาดราและนครหเวลี และดามันและดีอู ภาษามราฐีเป็นหนึ่งใน 22 ภาษากำหนดที่มีผู้พูดใน ค.ศ. 2011 ที่ 83 ล้านคน ภาษามราฐีเป็นภาษาที่มีจำนวนผู้พูดเป็นภาษาแม่มากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก และเป็นภาษาที่มีจำนวนผู้พูดมากเป็นอันดับที่ 3 ในอินเดีย โดยเป็นรองเพียงภาษาฮินดีและภาษาเบงกอล[3] ภาษานี้มีวรรณกรรมบางส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของภาษาในอินเดียสมัยใหม่ทั้งหมด ซึ่งสืบต้นตอถึงประมาณ ค.ศ. 600[4] สำเนียงหลักของภาษามราฐีคือมราฐีมาตรฐานและสำเนียง Varhadi[5]

ภาษามราฐี
Marāṭhī
मराठी, 𑘦𑘨𑘰𑘙𑘲
ออกเสียง[məˈɾaːʈʰiː]
ประเทศที่มีการพูดอินเดีย
ภูมิภาครัฐมหาราษฏระ
ชาติพันธุ์ชาวมราฐี
จำนวนผู้พูด83 ล้านคน  (2011)[1]
ภาษาที่สอง: 12 ล้านคน[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษามหาราษฏรี
  • ภาษามราฐี
ภาษาถิ่น
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
ผู้วางระเบียบMinistry of Marathi Language และสถาบันอื่น ๆ
รหัสภาษา
ISO 639-1mr
ISO 639-2mar
ISO 639-3อย่างใดอย่างหนึ่ง:
mar – มราฐีใหม่
omr – มราฐีเก่า
นักภาษาศาสตร์omr มราฐีเก่า
Linguasphere59-AAF-o
  บริเวณที่ภาษามราฐีเป็นภาษาของชนกลุ่มใหญ่
  บริเวณที่ภาษามราฐีเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อย

ประวัติ

แก้

ภาษามราฐีเป็นภาษาที่สืบทอดลักษณะทางไวยากรณ์และคำศัพท์จากภาษาสันสกฤต โดยผ่านภาษามหาราษฏรี ซึ่งเป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาปรากฤต ในสมัยจักรวรรดิสาตวาหนะ ซึ่งมีราชธานีในเมืองประติษฐาน ในราวพุทธกาล ภาษามราฐีถือเป็นภาษาหลักของภูมิภาคนั้น และนับว่าเป็นภาษาปรากฤตที่แผร่หลายกว้างขวางที่สุดในยุคนั้น และโดดเด่นเหนือกว่าภาษาปรากฤตทั้งหมดที่ใช้ในวรรณคดีประเภทบทละคร (ได้แก่ มหาราษฏรี เสารเสนี และมาคธี) นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษามหาราษฎรีแขนงหนึ่งในการบันทึกคัมภีร์ศาสนาเชน ขณะที่จักรพรรดิสัตตสัยทรงแต่งโศลก 700 บท เป็นชิ้นงานที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาวรรณกรรมภาษามหาราษฎรี ภาษามหาราษฏรีค่อยๆ วิวัฒนาการไปสู่ภาษามราฐี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16

ภาษาปรากฤตหลายภาษารวมทั้งภาษามหาราษฏรีเป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาสันสกฤตพระเวท และต่อมาได้พัฒนาเป็นภาษาสมัยใหม่รวมทั้งภาษามราฐี อย่างไรก็ตาม เชื่อกันว่า ภาษามราฐีได้มีการรวมลักษณะของกลุ่มภาษาดราวิเดียนโบราณในบริเวณนั้นซึ่งใกล้เคียงกับบริเวณของผู้พูดภาษากันนาดาและภาษาเตลูกู และได้รวมลักษณะของภาษามหาราษฏรีและภาษาสันสกฤตเอาไว้ด้วย นอกจากนั้น ในปัจจุบันยังได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับหรือภาษาอูรดูซึ่งทำให้ภาษานี้มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาฮินดี

ภาษามหาราษฏรีใช้เป็นภาษาพูดจนถึงประมาณ พ.ศ. 1418 และเป็นภาษาราชการของจักรวรรดิสาตวาหนะ ซึ่งมีการใช้เขียนวรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่อง ภาษามหาราษฏรีจัดเป็นภาษาปรากฤตที่มีการใช้มากที่สุดทางตะวันตกและทางใต้ของอินเดียโดยใช้ในบริเวณมัลวา และราชปุตนะทางเหนือไปจนถึงกฤษณะและตุงคภัทรทางใต้

ยุคเริ่มต้น – พุทธศตวรรษที่ 16

แก้

เอกสารภาษามราฐีที่พบการเขียนในยุคแรก พบในรัฐกรณาฏกะ อายุราว พ.ศ. 1243 พบจารึกบนแผ่นทองแดงของวิชยทิตย์ในสตระอายุราว พ.ศ. 1282 และยังพบจารึกหินที่พระบาทของสรวนเพลโฆล โฆมาเทศวรร ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1526 และยังพบในเอกสารของศาสนาเชน ในช่วงเวลานั้น ภาษษมราฐีจัดเป็นภาษาเอกเทศที่มีผู้ใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ทางเหนือของรัฐมหาราษฏระไปจนถึงทางใต้ของรัฐกรณาฏกะ พบจารึกที่มีอายุระหว่าง พ.ศ. 1522 – 1813

พุทธศตวรรษที่ 17 – พ.ศ. 2448

แก้

วรรณคดีภาษามราฐีเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการสนับสนุนของราชวงศ์ยทวะแห่งเทพคีรี ภาษามราฐีเป็นภาษาที่ใช้ในศาลและมีการแปลภควัตคีตาจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษามราฐี จักะธรร สวามี แห่งมหนุภาพ เป็นผู้ทำให้ภาษามราฐีแพร่หลายไปในฐานะภาษาที่เป็นสื่อกลางทางศาสนาและวัฒนธรรม

ตั้งแต่พ.ศ. 2173 ภาษามราฐีมีความสำคัญมากขึ้นพร้อมกับการขยายอำนาจของจักรวรรดิมราฐา ซึ่งได้ขยายจักรวรรดิไปทางเหนือจนถึงเดลฮี ทางตะวันออกไปถึงโอริสสาและทางใต้ไปจนถึงทันชวูร์ในทมิฬนาฑู ทำให้มีการแพร่กระจายของภาษามราฐีไปในบริเวณเหล่านี้ หลังพุทธศตวรรษที่ 23 จักรวรรดิมราฐาได้ลดความสำคัญลง

ยุคใหม่

แก้
 
หนังสือพิมพ์ภาษามราฐีในมุมไบ

หลังพ.ศ. 2343 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 25 ในสมัยที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ มีการจัดมาตรฐานของไวยากรณ์ภาษามราฐีโดยมิชชันนารี William Caray ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างสารานุกรมและไวยากรณ์ภาษามราฐี ภาษาในยุคนี้เริ่มได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษโดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับการศึกษา หนังสือภาษามราฐีที่แปลมาจากภาษาอังกฤษตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2360 และหนังสือพิมพ์ภาษามราฐีเริ่มตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2378 หลังจากอินเดียได้รับเอกราช ภาษามราฐีมีสถานะเป็นภาษาที่มีความสำคัญระดับชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 ได้มีการจัดตั้งองค์กรทางด้านภาษามราฐีขึ้นในรัฐมหาราษฏระ และจัดให้มีการประชุมวิชาการทางด้านภาษามราฐีขึ้นทุกปี

การจำแนก

แก้

ภาษามราฐีจัดเป็นภาษาในตระกูลอินเดีย-อารยะ (อินโด-อารยัน) ในตระกูลใหญ่ อินเดีย-ยุโรป อันเป็นตระกูลภาษาที่มีสาขากระจายไปทั่วเอเชียและยุโรป

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

แก้

ภาษามราฐีส่วนใหญ่ใช้พูดในรัฐมหาราษฏระและรัฐใกล้เคียง เช่น รัฐคุชราต มัธยประเทศ กัว รัฐกรณาฏกะ และรัฐอานธรประเทศ ดามันและดีอู ดาดรา-หเวลี และรัฐฉัตตีสครห์ และยังใช้พูดโดยผู้อพยพชาวอินเดียที่ไปจากรัฐมหาราษฏระทั่วโลก เช่นในสหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แอฟริกาใต้ สิงคโปร์ เยอรมัน อังกฤษ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์ และอาจจะมีในอิสราเอลและมอริเชียสด้วย[6]

สถานะการเป็นภาษาราชการ

แก้

ภาษามราฐีเป็นภาษาราชการของรัฐมหาราษฏระและเป็นภาษาราชการร่วมในรัฐกัว ดามัน-ดีอู[2] ดาดรา-นครหเวลี[7] มีการสอนระดับสูงในมหาวิทยาลัยหลายแห่งในอินเดีย[8][9][10]

สำเนียง

แก้

สำเนียงมาตรฐานของภาษามราฐีที่ใช้ในสื่อสอิ่งพิมพ์ได้รับอิทธิพลจากบริเวณปูเน มหาราษฏระ สหิตย บริษัทเป็นหน่วยงานที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ภาษามราฐี ภาษามราฐีมีสำเนียงที่แตกต่างกันถึง 42 สำเนียง โดยแต่ละสำเนียงจะได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นที่อยู่ข้างเคียงทำให้แตกต่างไปจากภาษามราฐีมาตรฐาน แต่แต่ละสำเนียงยังคงเข้าใจกันได้ การแบ่งสำเนียงหลักๆของภาษามราฐี ได้แก่

  • สำเนียงขัณเทศี ขัณเทศเป็นตำบลเดิมในบอมเบย์โดยแบ่งเป็นด้านตะวันตกกับตะวันออก ปัจจุบันขัณเทศตะวันออกคือชัลโกลและขัณเทศตะวันตกคือธูเล สำเนียงภาษามราฐีที่พูดโดยชาวอาหิรที่อาศัยในขัณเทศ เรียกสำเนียงอาหิรานี แต่เดิมผู้พูดสำเนียงอาหิเรนีได้เข้ามาเลี้ยงสัตว์ในเขตทุ่งหญ้าของขัณเทศ ลได้รับอิทธิพลจากภาษาและสำเนียงอื่นๆในบริเวณนี้ ทำให้แตกต่างไปจากสำเนียงอาหิเรนีเดิม สำเนียงนี้มีสระ 6 เสียง พยัญชนะ 34 เสียง โดยเป็นเสียงก้อง 14 เสียง มีการผันเป็น 3 เพศ และมี 8 การก
  • สำเนียงอาหิเรนี เป็นสำเนียงที่ใช้พูดในขัณเทศตะวันตก ทางเหนือของรัฐมหาราษฏระ สำเนียงนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาฮินดีและภาษาคุชราต มีการสร้างคำขึ้นใช้เอง สำเนียงนี้เคยเขียนด้วยอักษรโมดี
  • สำเนียงวรรหาที เป็นสำเนียงที่พูดในบริเวณวิทรรภของรัฐมหาราษฏระ ต่างจากสำเนียงอื่นที่มีเสียง y (IPA: [j])
  • สำเนียงกงกัณ เป็นสำเนียงที่พูดในเขตกอนกาน แต่เป็นคนละภาษากับภาษากอนกานีในกัว มีสำเนียงย่อยอีกหลายสำเนียง ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างภาษามราฐีกับภาษากอนกานี
  • สำเนียงวัดวาลี เป็นสำเนียงที่พูดโดยชาววัดวัล ซึ่งเป็นเกษตรกรในบริเวณตั้งแต่ไนกวน วาไซ ไปจนถึงทาหานุ ภาษานี้ถูกอนุรักษ์โดยการเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในบริเวณนี้ ผู้พูดสำเนียงนี้ที่นับถือศาสนาฮินดูจะได้รับอิทธิพลจากภายนอกมากกว่า มีเพลงพื้นบ้านเป็นจำนวนมาก นิยมใช้เสียง ล และ น แทนเสียง ฬ และ ณ
  • สำเนียงอาเร เป็นสำเนียงที่ใช้พูดมากในอันธรประเทศ
  • สำเนียงทันชวูร์และนามเทพ ใช้พูดทางภาคใต้ของอินเดีย ได้แก่ทมิฬนาฑู อันธรประเทศ และกรณาฏกะ
  • สำเนียงสมเวที ใช้พูดในเขตนล โสประ และวิรรร ทางเหนือของมุมไบ ผู้พูดภาษานี้สืบเชื้อสายมาจากพราหมณ์สมเวท ใกล้เคียงกับสำเนียงวัดวาลี มีคำยืมจากภาษาโปรตุเกสมาก เพราะได้รับอิทธิพลโดยตรงเมื่อเป็นอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2282
  • สำเนียงอื่นๆ เช่น สำเนียงถกริ สำเนียงทังคี พบบริเวณรอยต่อระหว่างรัฐมหาราษฏระกับรัฐคุชราต ภาษามราฐีของชาวยิว พูดโดยชาวยิว สำเนียงกาโทที ใช้พูดในบริเวณใกล้กับวาไซ

ภาษาที่ได้รับอิทธิพลจากภาษามราฐี

แก้

ไวยากรณ์

แก้

ไวยากรณ์ภาษามราฐีใกล้เคยงกับภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปรียนอื่นๆ เช่น ภาษาฮินดี ภาษาคุชราตและภาษาปัญจาบ หนังสือไวยากรณ์สมัยใหม่ของภาษามราฐีเล่มแรกพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2348 เขียนโดย 'William Kerry'[11] ไวยากรณืของภาษามราฐีได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตด้วย

เพศ

แก้

มี 3 เพศได้แก่

  • เพศชาย — पुल्लिंग (ปุลลินคะ)
  • เพศหญิง — स्त्रीलिंग (สตรีลินคะ)
  • เพศไม่ปรากฏ — नपुंसकलिंग (นปุสกลินคะ)

คำนามเพศชายลงท้ายด้วยอะหรืออุ คำนามเพศหญิงลงท้ายด้วย อา อี หรืออู

การกระทำ

แก้

รูปแบบประโยคมี 3 แบบ คือ

  • กัรตารี ประโยค กริยาเปลี่ยนรูปตามประธาน ตัวอย่างเช่น Raam mhanato "รามพูด", Raam aambaa khaato "รามกินมะม่วง"
  • กัรมนี ประโยค คือประโยคที่กริยาเปลี่ยนรูปตามกรรม เช่น Raamaane aambaa khallaa "มะม่วงถูกรามกิน", Raamaane saangitale "มันถูกกล่าวโดยราม"
  • ภาเว ประโยค เป็นประโยคที่กริยาไม่เปลี่ยนรูปตามประธานหรือกรรม ใช้ในประโยคขอร้องหรือบังคับ เช่น Maajha nirop tyaala jaaun saang "ส่งข้อความของฉันให้เขา"

สรรพนาม

แก้

มี 3 บุรุษคือ

  • ประถัม ปุรุษ สรรพนามบุรุษที่ 1 ได้แก่ mi "ฉัน" aamhi "เรา (ไม่รวมผู้ฟัง)" aapan "เรา" (รวมผู้ฟัง)
  • ทวิติยะ ปุรุษ สรรพนามบุรุษที่ 2 ได้แก่ tuu "คุณ" tumhi "คุณ (พหูพจน์หรือเป็นทางการ)" aapan (เป็นทางการมาก)
  • ตรุติยะ ปุรุษ สรรพนามบุรุษที่ 3 ได้แก่ to "เขา (ชาย)" tii "เขา(หญิง)" te "มัน" te "พวกเขา (ชายหรือใช้เป็นรูปเอกพจน์ที่เป็นทางการ)" tyaa "พวกเขา (หญิง)" tii "พวกเขา (ไม่ระบุเพศ)" (neuter)

ชนิดของคำ

แก้

มี 7 ชนิดคือ นามะ (สามานยนาม) วิเศศนามะ (วิสามานยนาม) สารวะนามะ (สรรพนาม) วิเศษะณะ (คุณศัพท์) กริยาวิเศษะณะ (กริยาวิเศษณ์) กริยาปะทะ (กริยา) อับยายะ

โครงสร้างประโยค

แก้

เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ลำดับของคำเปลี่ยนไปได้บ้างแต่ไม่ทำให้ความหมายเปลี่ยนไป

การผันคำนาม

แก้

ภาษามราฐีเป็นภาษาที่มีการผันคำมาก เช่นเดียวกับภาษากลุ่ม อินโด-ยุโรเปียนโบราณ เช่นภาษาสันสกฤต ซึ่งใช้การผันคำแทนการใช้คำบุพบท แบ่งคำนามออกได้ 8 การก

เสียง

แก้

ลักษณะทางสัทวิทยาของภาษามราฐีเป็นเช่นเดียวกับกลุ่มภาษาอินโด-อารยันอื่นๆ เสียงสระในภาษามราฐีมีมากกว่าภาษาฮินดีคือมีเสียงสระแอ (अँ) และสระออ (आँ) ซึ่งพบในคำยืมจากภาษาอังกฤษ

การเขียน

แก้
 
อักษรโมดี

การเขียนภาษามราฐีพบครั้งแรกในพุทธศตวรรษที่ 16 ในศิลาจรึกและแผ่นทองแดง ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 -25 ภาษามราฐีเขียนด้วยอักษรโมดี และเปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรเทวนาครีเมื่อ พ.ศ. 2493[12] อักษรเทวนาครีสำหรับภาษามราฐีมีความแตกต่างจากอักษรที่ใช้เขียนภาษาฮินดีเล็กน้อย และเรียกว่าอักษรพัลโพธ (बाळबोध)

อักษรโมดีเป็นอักษรที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้ง เอกสารงานเขียนในจักรวรรดิมารธาใช้อักษรชนิดนี้ แต่ก็มีการใช้อักษรอาหรับแบบเปอร์เซียด้วย เมื่อมีการพิมพ์พบว่าอักษรโมดีมีปัญหาในการจัดตัวพิมพ์ในสมัยนั้น ทำให้ใช้น้อยลง แม้ว่าในปัจจุบันจะสร้างฟอนต์สำหรับอักษรโมดีได้แล้วก็ตาม อักษรนี้ไม่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนรุ่นใหม่และกำลังสูญหายไป

คำศัพท์

แก้

คำจากภาษาอื่น

แก้

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผู้พูดภาษามราฐีได้มีการพบปะกับผู้พูดภาษาอื่นมากมาย ภาษาสำคัญที่มีอิทธิพลต่อผู้พูดภาษามราฐีคือภาษาปรากฤต ภาษามหาราษฏรี และภาษาสันสกฤต ในปัจจุบัน ภาษามราฐีมีคำศัพท์จำนวนมากที่มาจากภาษาสันสกฤต และภาษาพี่น้องอื่นๆ เช่น ภาษาฮินดี นอกจากนั้นยังมีคำศัพท์และลักษณะทางไวยากรณ์ที่ได้มาจากกลุ่มภาษาดราวิเดียนในอินเดีย และภาษาจากภายนอกอื่นๆเช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษและภาษาโปรตุเกส เนื่องจากบริเวณที่ใช้ภาษามราฐีเคยเป็นสถานีการค้าที่สำคัญมาก่อน

การแลกเปลี่ยนคำศัพท์กับภาษาอื่นๆ

แก้

ประมาณ 50% ของคำในภาษามราฐีมาจากภาษาสันสกฤต ส่วนคำที่ยืมมาจากภาษาอื่นๆส่วนใหญ่มาจากภาษากันนาดา ภาษาฮินดี ภาษาอูรดู ภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย และภาษาโปรตุเกส ตัวอย่างเช่น

  • Khurchii "เก้าอี้ " มาจากภาษาอาหรับkursi
  • Jaahiraat "การโฆษณา" มาจากภาษาเปอร์เซีย zaahiraat
  • Shiphaaras "การแนะนำ" มาจากภาษาเปอร์เซีย sifarish
  • Marjii "ต้องการ" มาจากภาษาเปอร์เซีย "marzi"
  • Batataa "มันฝรั่ง", มาจากภาษาโปรตุเกส
  • Ananas "สับปะรด", มาจากภาษาโปรตุเกส
  • Niga "มองไปข้างหลัง" มาจากภาษาเปอร์เซียnîgâh "วิสัยทัศน์"

คำยืมภาษาอังกฤษจำนวนมากใช้ในบทสนทนาโดยทั่วไป เช่น "pen" (ภาษามราฐีlekhaṇii), "shirt" (sadaraa).

การสร้างคำประสม

แก้

มีกฎในการเชื่อมคำคล้ายกับภาษาสันสกฤตและภาษาเยอรมัน คือการสนธิคำและการสมาส

ระบบการนับ

แก้

ภามราฐีมีการกำหนดชื่อตัวเลขตั้งแต่ 1-20 แลละทวีคูณของ 10 มีชื่อเฉพาะของ ¼, ½, และ ¾. คือ ปาวะ, อัรธา, และ ปะอูนะ ตามลำดับ เมื่อจำนวนเหล่านี้มากกว่า 1 จะใช้อุปสรรค สัพวา-, ซาเฑ-, ปาวะเณ- ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของเลขยกกำลังของ 10

  • 100: shambhar
  • 1,000: hazaar
  • 100,000: laakh
  • 10,000,000: koti
  • 1,000,000,000: abja
  • 10,000,000,000: kharva
  • 100,000,000,000: nikharva
  • 100,000,000,000,000,000: parardha

ตัวอย่างวลี

แก้
Words/phrases Transliteration Meaning
नमस्कार Namaskār. สวัสดี.
तुम्ही कसे आहात? Tumhī kase āhāt? คุณทำอย่างไร?
तू कसा आहेस? Tū kasā āhes? คุณเป็นอย่างไรบ้าง? (ใช้กับผู้ชาย)
तू कशी आहेस? Tū kaśī āhes? คุณเป็นอย่างไรบ้าง? (ใช้กับผู้หญิง)
आपण कसे आहात? Āpaṇ kase āhāt? คุณเป็นอย่างไรบ้าง? (เป็นทางการ)
तुम्हाला भेटून आनंद झाला Tumhālā bheṭūn ānaṃd jhālā. ดีใจที่ได้พบคุณ.
पुन्हा भेटू Punhā bheṭū. ลาก่อน. (ตรงตัว "เราจะพบกันอีก")
धन्यवाद Dhanyavād. ขอบคุณ
हो Ho. ใช่
नाही Nāhī. ไม่
नको Nako. ไม่, ขอบคุณ
किती? Kitī? มากเท่าไหร่?
कुठे? Kuṭhe? ที่ไหน?
कसे? Kase? อย่างไร?
केव्हा? Kevhā? เมื่อใด?
कोण? Koṇ? ใคร?
काय? Kāy? อะไร?
शुभ रात्री। Śubh rātrī. ราตรีสวัสดิ์

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 มราฐีใหม่ ที่ Ethnologue (22nd ed., 2019)
    มราฐีเก่า ที่ Ethnologue (22nd ed., 2019)
  2. 2.0 2.1 2.2 The Goa, Daman and Diu Official Language Act, 1987 makes Konkani the sole official language, but provides that Marathi may also be used for "for all or any of the official purposes". The Government also has a policy of replying in Marathi to correspondence received in Marathi. Commissioner Linguistic Minorities, 42nd report: July 2003 - June 2004 เก็บถาวร 2007-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, pp. para 11.3
  3. "Abstract of Language Strength in India: 2011 Census" (PDF). Censusindia.gov.in.
  4. "arts, South Asian". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica 2007 Ultimate Reference Suite.
  5. Dhoṅgaḍe, Rameśa; Wali, Kashi (2009). "Marathi". London Oriental and African Language Library. John Benjamins Publishing Company. 13: 101, 139. ISBN 9789027238139.
  6. Ethnologue report of Marathi language
  7. Marathi is an official language of Dadra and Nagar Haveli Administration's profile เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  8. "Dept. of Marathi, M.S. University of Baroda". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-04. สืบค้นเมื่อ 2012-02-03.
  9. Dept. of Marathi, Osmania University, Hyderabad
  10. "Dept. of Marathi, Gulbarga University". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-21. สืบค้นเมื่อ 2012-02-03.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-12. สืบค้นเมื่อ 2007-05-23.
  12. Marathi language, alphabet and pronunciation

บรรณานุกรม

แก้
  • Bloch, J (1970). Formation of the Marathi Language. Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-2322-8.
  • Dhongde, Ramesh Vaman; Wali, Kashi (2009). Marathi. Amsterdam: John Benjamins Pub. Co. ISBN 978-90-272-38139.
  • A Survey of Marathi Dialects. VIII. Gāwḍi, A. M. Ghatage & P. P. Karapurkar. The State Board for Literature and Culture, Bombay. 1972.
  • Marathi: The Language and its Linguistic Traditions - Prabhakar Machwe, Indian and Foreign Review, 15 March 1985.
  • 'Atyavashyak Marathi Vyakaran' (Essential Marathi Grammar) - Dr. V. L. Vardhe
  • 'Marathi Vyakaran' (Marathi Grammar) - Moreshvar Sakharam More.
  • 'Marathi Vishwakosh, Khand 12 (Marathi World Encyclopedia, Volume 12), Maharashtra Rajya Vishwakosh Nirmiti Mandal, Mumbai
  • 'Marathyancha Itihaas' by Dr. Kolarkar, Shrimangesh Publishers, Nagpur
  • 'History of Medieval Hindu India from 600 CE to 1200 CE, by C. V. Vaidya
  • Marathi Sahitya (Review of the Marathi Literature up to I960) by Kusumavati Deshpande, Maharashtra Information Centre, New Delhi
  • Christian Lee Novetzke (2016). The Quotidian Revolution: Vernacularization, Religion, and the Premodern Public Sphere in India. Columbia University Press. ISBN 978-0-231-54241-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้