คุชราต (คุชราต: ગુજરાત) เป็นรัฐบนชายฝั่งตะวันตกของประเทศอินเดีย มีชายฝั่งความยาว 1,600 km (990 mi) ส่วนใหญ่อยู่บนคาบสมุทรกาเฐียวาร รัฐคุชราตมีประชากร 60.4 ล้านคน หรืออันดับที่เก้าของประเทศอินเดีย และมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของประเทศ พรมแดนรัฐคุชราตติดต่อกับรัฐราชสถานทางตะวันออกเฉียงเหนือ, ดาดราและนครหเวลี และดามันและดีอูทางทิศใต้, รัฐมหาราษฏระทางตะวันออกเฉียงใต้, รัฐมัธยประเทศทางตะวันออก และทางตะวันตกติดกับแคว้นสินธ์ของประเทศปากีสถานและทะเลอาหรับ เมืองหลวงของรัฐคุชราตคือคานธีนคร ส่วนเมืองใหญ่สุดคืออะห์มดาบาด[9] ประชากรส่วนใหญ่สื่อสารด้วยภาษาคุชราต และมีเศรษฐกิจคิดเป็นจีดีพีอันดับที่สามของประเทศอยู่ที่ ₹15.02 ล้านล้าน[1]

รัฐคุชราต
ตราอย่างเป็นทางการของรัฐคุชราต
ตรา
เพลง: ชัย ชัย ครวี คุชราต (Jai Jai Garavi Gujarat)
ชัยชนะแก่คุชราตอันภาคภูมิ
ที่ตั้งของคุชราตในประเทศอินเดีย
ที่ตั้งของคุชราตในประเทศอินเดีย
พิกัด (คานธีนคร): 23°13′N 72°41′E / 23.217°N 72.683°E / 23.217; 72.683
ประเทศ อินเดีย
ก่อตั้ง1 พฤษภาคม 1960
เมืองหลวงคานธีนคร
เมืองใหญ่สุดอะห์มดาบาด
เขต33 เขต
การปกครอง
 • ราชยปาลอาจารยะ เทว วรัต (Acharya Dev Vrat)
 • มุขมนตรีวิชัย รูปนี (Vijay Rupani)
(พรรค BJP)
 • นิติบัญญัติระบบสภาเดี่ยว (182 ที่นั่ง)
 • รัฐสภาอินเดียราชยสภา 11
โลกสภา 26
 • ศาลสูงศาลสูงคุชราต
พื้นที่
 • ทั้งหมด196,024 ตร.กม. (75,685 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 5
ประชากร
 (2011)
 • ทั้งหมด60,439,692 คน
 • อันดับที่ 9 (ตามสำมะโนครัวปี 2011 อยู่ที่ 10th)
 • ความหนาแน่น308 คน/ตร.กม. (800 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมชาวคุชราต (Gujarati)
GSDP (2018–19)[1]
 • รวม₹15.02 ล้านล้าน
 • ต่อประชากร₹197,447
ภาษา
 • ภาษาราชการภาษาคุชราต[2]
 • ภาษาราชการเพิ่มเติมภาษาฮินดี[3]
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
รหัส ISO 3166IN-GJ
ทะเบียนพาหนะGJ
เอชดีไอ (2017)เพิ่มขึ้น 0.667[4]
ปานกลาง · ที่ 21
การรู้หนังสือ (2011)78.03%[5]
อัตราส่วนเพศ (2011)919 ู้หญิง|♀/1000 [5]
เว็บไซต์gujaratindia.gov.in
รัฐบอมเบย์ได้แบ่งออกเป็นสองรัฐคือมหาราษฏระและคุชราต
สัญลักษณ์ของรัฐคุชราต[6]
ภาษาภาษาคุชราต[2]
เพลง"ชัย ชัย กรวี คุชราต" by Narmad[7]
สัตว์สิงโตอินเดีย[6]
สัตว์ปีกGreater flamingo[6]
ดอกไม้ดาวเรือง[6]
ผลไม้มะม่วง[8]
ต้นไม้ต้นบันยัน[6]

รัฐคุชราตเป็นที่ตั้งของโบราณสถานจากอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เช่น โลฐาล (Lothal), โธลวีระ (Dholavira) และ โกลา โธโร (Gola Dhoro) เมืองชายฝั่งในสมัยรัฐสุลต่านคุชราต ทั้งภรุจ (Bharuch) และ ขัมภัต (Khambhat) เป็นเมืองท่าสำคัญของอาณาจักรเมารยะ และอาณาจักรคุปตะ คุชราตเป็นหนึ่งในสามรัฐ (อีกสองรัฐคือรัฐพิหาร และนาคาแลนด์) ที่มีกฎหมายห้ามจำหน่ายสุรา รัฐคุชราตเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติป่าคีร์ (Gir Forest National Park) ซึ่งเป็นที่อยู่แห่งเดียวของประชากรธรรมชาติของสิงโตเอเชียในโลก

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "MOSPI Gross State Domestic Product – Current Prices". Ministry of Statistics and Programme Implementation, Government of India. 28 February 2020. สืบค้นเมื่อ 24 April 2020.
  2. 2.0 2.1 "50th Report of the Commissioner for Linguistic Minorities in India" (PDF). 16 July 2014. p. 118. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 July 2016. สืบค้นเมื่อ 6 November 2016.
  3. Benedikter, Thomas (2009). Language Policy and Linguistic Minorities in India: An Appraisal of the Linguistic Rights of Minorities in India. LIT Verlag Münster. p. 89. ISBN 978-3-643-10231-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2016. สืบค้นเมื่อ 13 June 2018.
  4. "Sub-national HDI – Area Database". Global Data Lab. Institute for Management Research, Radboud University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
  5. 5.0 5.1 "Census 2011 (Final Data) – Demographic details, Literate Population (Total, Rural & Urban)" (PDF). planningcommission.gov.in. Planning Commission, Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 January 2018. สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 "Gujarat forgets state bird, tree and flower". The Times of India. 14 มกราคม 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2017.
  7. "Newest version of Jay Jay Garvi Gujarat song launched(Video)". DeshGujarat. 7 พฤษภาคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2016. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2016.
  8. "Which is State Fruit of Gujarat India – Mango (Keri)". Nri Gujarati News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2017.
  9. "Gujarat Population 2018". worldpopulationreview.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2018. สืบค้นเมื่อ 24 January 2018.