ประเทศสิงคโปร์

สาธารณรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(เปลี่ยนทางจาก สิงคโปร์)

สิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และเป็นประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 1 องศา หรือประมาณ 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะโฮร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน

สาธารณรัฐสิงคโปร์

Republic of Singapore (อังกฤษ)
Republik Singapura (มลายู)
新加坡共和国 (จีน)
சிங்கப்பூர் குடியரசு (ทมิฬ)
คำขวัญมาจูละฮ์ซีงาปูรา (มลายู)
("สิงคโปร์จงเจริญ")
เพลงชาติมาจูละฮ์ซีงาปูรา
("สิงคโปร์จงเจริญ")
ที่ตั้งของสิงคโปร์
ภาษาราชการ
ภาษาประจำชาติมลายู
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2020)[1]
ศาสนา
(ค.ศ. 2020)[1]
เดมะนิมชาวสิงคโปร์
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบพรรคเด่น ระบบรัฐสภา สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ
ตรรมัน จัณมุกรัตตินัม
ลอว์เรนซ์ หว่อง
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เป็นเอกราช 
3 มิถุนายน ค.ศ. 1959
16 กันยายน ค.ศ. 1963
9 สิงหาคม ค.ศ. 1965
8 สิงหาคม ค.ศ. 1967
พื้นที่
• รวม
724.2 ตารางกิโลเมตร (279.6 ตารางไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 2022 ประมาณ
ลดลงเป็นกลาง 5,637,000[a] (อันดับที่ 115)
7,804 ต่อตารางกิโลเมตร (20,212.3 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 3)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2023 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 757.726 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] (อันดับที่ 38)
เพิ่มขึ้น 133,894 ดอลลาร์สหรัฐ[3] (อันดับที่ 3)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2023 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 515.548 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] (อันดับที่ 30)
เพิ่มขึ้น 91,100 ดอลลาร์สหรัฐ[3] (อันดับที่ 5)
จีนี (ค.ศ. 2017)Steady 45.9[4]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)เพิ่มขึ้น 0.939[5]
สูงมาก · อันดับที่ 12
สกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ (S$) (SGD)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานสิงคโปร์)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ไฟบ้าน230 โวลต์–50 เฮิร์ซ
ขับรถด้านซ้าย
รหัสโทรศัพท์+65
รหัส ISO 3166SG
โดเมนบนสุด.sg

สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงเป็นอันดับสองของโลก แม้จะเต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียวตามการจัดระบบผังเมือง และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูง อันเป็นผลมาจากอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศ มีภาษาราชการสี่ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ, ภาษามลายู, ภาษาจีนกลาง และ ภาษาทมิฬ โดยภาษาอังกฤษมีบทบาทหลักเป็นภาษากลางที่ใช้สื่อสารทั่วไป โดยเฉพาะในการบริการสาธารณะ และนับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ แนวคิดพหุนิยมทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมมักมีอิทธิพลอย่างสูงจนถึงปัจจุบัน โดยได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและมีบทบาทในการกำหนดนโยบายการศึกษา การเมือง และคุณภาพชีวิตประชากร

หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1819 โดยเซอร์สแตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ (Stamford Raffles) เป็นสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกโดยการอนุญาตจากรัฐสุลต่านยะโฮร์ อังกฤษได้อธิปไตยเหนือเกาะใน ค.ศ. 1824 และสิงคโปร์กลายเป็นหนึ่งในนิคมช่องแคบอังกฤษใน ค.ศ. 1826 หลังถูกญี่ปุ่นยึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1963 และเข้าร่วมกับอดีตดินแดนของอังกฤษอื่นเพื่อตั้งประเทศมาเลเซีย แต่สองปีต่อมากลับถูกขับออกผ่านพระราชบัญญัติโดยเอกฉันท์ นับแต่นั้น ประเทศสิงคโปร์พัฒนาอย่างรวดเร็ว จนได้รับการรับรองว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย

ประเทศสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางพาณิชย์สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง โดยเป็นศูนย์กลางการเงินใหญ่สุดเป็นอันดับสี่และเป็นหนึ่งในห้าท่าที่วุ่นวายที่สุด เศรษฐกิจซึ่งเป็นโลกาภิวัฒน์และมีความหลากหลายอาศัยการค้าเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิต ซึ่งคิดเป็นประมาณ 30% ของจีดีพีของสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2556 ในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ ประเทศสิงคโปร์มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับสามของโลกแต่มีความเหลื่อมล้ำของรายได้รุนแรงที่สุดในหมู่ประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศสิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับสูงในแง่การศึกษา สาธารณสุขและความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 มีประชากรอาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์เกือบ 5.5 ล้านคน ซึ่งกว่า 2 ล้านคนมีสัญชาติต่างชาติ แม้สิงคโปร์จะมีความหลากหลาย แต่เชื้อชาติเอเชียมีมากที่สุด 75% ของประชากรเป็นชาวจีน โดยมีชนกลุ่มน้อยที่สำคัญ เช่น ชาวมลายู ชาวอินเดียและชาวยูเรเชีย มีภาษาราชการสี่ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนกลาง และภาษาทมิฬ และประเทศสนับสนุนพหุวัฒนธรรมนิยมผ่านนโยบายทางการต่าง ๆ อีกด้วย

ประเทศสิงคโปร์เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา รัฐเดี่ยว และใช้ระบบหลายพรรคการเมือง โดยมีการปกครองสภาเดี่ยวระบบเวสต์มินสเตอร์ พรรคกิจประชาชนชนะการเลือกตั้งทุกครั้งนับแต่เริ่มการปกครองตนเองในปี พ.ศ. 2502 ภาวะครอบงำของพรรคกิจประชาชน ประกอบกับระดับเสรีภาพสื่อต่ำและการปราบปรามเสรีภาพพลเมืองและสิทธิการเมืองนำให้ประเทศสิงคโปร์ถูกจัดเป็นประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์ (flawed democracy) ประเทศสิงคโปร์เป็นหนึ่งในห้าสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ยังเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) และสมาชิกการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและเครือจักรภพแห่งประชาชาติ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของประเทศสิงคโปร์นำให้มันมีอิทธิพลอย่างสำคัญในกิจการโลก นำให้นักวิเคราะห์บางส่วนระบุว่าเป็นอำนาจปานกลาง (middle power)

ประวัติศาสตร์

แก้

ช่วงต้น

แก้

ประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ก่อนศตวรรษที่ 14 มิได้ถูกบันทึกอย่างชัดเจนและแน่นอนนัก ในช่วงศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรมัชปาหิตแห่งชวา ต่อมาในต้นศตวรรษที่ 15 ก็อยู่ภายใต้การยึดครองของราชอาณาจักรสยาม จนถูกประมุขแห่งมะละกาเข้ามาแย่งชิงไป และเมื่อโปรตุเกสเข้ายึดครองมะละกา สิงคโปร์ก็กลายเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกสในราวปี ค.ศ. 1498 และต่อมาอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอลันดาในช่วงศตวรรษที่ 17

สิงคโปร์เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ปลายสุดของแหลมมาลายู เป็นสถานที่พักสินค้าของพ่อค้าทั่วโลก เดิมชื่อว่า เทมาเส็ก (ทูมาสิค) มีกษัตริย์ปกครอง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้มีเจ้าผู้ครองนครปาเล็มบังเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือ สิงโต พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อเทมาเส็กเสียใหม่ว่า สิงหปุระ ต่อมาสิงหปุระก็ได้ตกเป็นของสุลต่านแห่งมะละกา

ยุคแห่งการล่าอาณานิคม

แก้

ประเทศแรกที่มายึดสิงคโปร์ไว้ได้คือโปรตุเกส เมื่อปี ค.ศ. 1511 แล้วก็ถูกชาวดัตช์มายึดครองไป เมื่ออังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณแหลมมลายูในกลางศตวรรษที่ 18 ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1817 อังกฤษได้แข่งขันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษได้ส่งเซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ ตอนนั้นสิงคโปร์ยังมีสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ปกครองอยู่ แรฟเฟิลส์ได้ตกลงกับสุลต่านฮุสเซียน ชาห์ว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้และก่อตั้งประเทศในปี ค.ศ. 1819 โดยอังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากจักรวรรดิ์ยะโฮร์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ในปี ค.ศ. 1824 อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา ต่อมาในปี ค.ศ. 1826 สิงคโปร์ถูกปกครองภายใต้ระบบสเตรตส์เซตเทิลเมนต์ (Straits Settlement) ซึ่งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษควบคุมดูแลสิงคโปร์ รวมทั้งปีนังและมะละกาด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1857 รัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาดูแลระบบนี้เอง ในปี ค.ศ. 1867 สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคม (Crown Colony) อย่างสมบูรณ์จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นจึงได้ขับไล่อังกฤษออกจากสิงคโปร์และเข้าไปยึดครองแทน

อาณานิคมแบบเอกเทศ

แก้

ค.ศ. 1946 จึงได้รับการยกฐานะให้เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศ (Separate Crown colony) เมื่ออังกฤษกลับมาควบคุมสิงคโปร์อีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่สิงคโปร์อยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1942-1946)

การรวมชาติเข้ากับมาเลเซีย

แก้

เมื่อสิงคโปร์เห็นมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ สิงคโปร์จึงขอรวมชาติเข้ากับมลายูกลายเป็นสหภาพมลายาทันที เพื่อจะได้ไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีก แต่สิงคโปร์ก็ไม่พอใจกับมาเลเซียมากนักเพราะมีการเหยียดชนชาติ ทำให้พรรคกิจประชาชนของสิงคโปร์ประกาศให้สิงคโปร์เป็นเอกราชตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965 ตั้งแต่บัดนั้นมาในชื่อ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อแยกตัวออกมาแล้วพรรคกิจประชาชนก็ครองประเทศมาตลอดจนถึงทุกวันนี้

ภูมิศาสตร์

แก้

ภาคกลางและภาคตะวันตกเป็นเนินเขา ซึ่งเนินเขาทางภาคกลางเป็นเนินเขาที่สูงที่สุดของประเทศ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของสิงคโปร์ และภาคตะวันออกเป็นที่ราบต่ำ ชายฝั่งทะเลมักจะต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ต้องมีการถมทะเล

 
แผนที่แสดงภูมิภาคของสิงคโปร์

ภูมิอากาศ

แก้

ประเทศสิงคโปร์มีภูมิอากาศ แบบร้อนชื้นเส้นศูนย์สูตร ซึ่งสภาพอากาศของประเทศสิงคโปร์ ก็จะคล้ายคลึงกับสภาพอากาศทางภาคใต้ของประเทศไทย กล่าวคือ อากาศจะร้อนและเปียกชื้นทั้งปี และจะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นระหว่างอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31 องศาเซลเซียส และต่ำสุด 23 องศาเซลเซียส

ประเทศสิงค์โปรมี 2 ฤดูได้แก่

  • ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วง เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนตุลาคม
  • ฤดูฝน จะอยู่ในช่วง เดือนพฤศจิกายน - เดือนมกราคม

ประเทศสิงคโปร์มีสภาพภูมิอากาศคงที่ มีอุณหภูมิสม่ำเสมอและมีฝนตกชุก สิงคโปร์ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสภาพภูมิอากาศแบบป่าเขตร้อน ไม่มีการแบ่งฤดูเหมือนประเทศอื่น ๆ ที่มีการแบ่งเป็น ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูใบไม้ร่วง หรือ ฤดูหนาว ด้วยความที่สิงคโปร์มีภูมิอากาศที่คงที่

การเมืองการปกครอง

แก้

ในฐานะที่เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศนั้น สิงคโปร์มีอำนาจปกครองกิจการภายในของตนเองแต่ไม่มีอำนาจดูแลกิจการทหารและการต่างประเทศ และยังมีผู้ว่าราชการจากส่วนกลางมาปกครองอยู่ ในสภานิติบัญญัติ (Legislative Council) นั้น อังกฤษเริ่มเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกบางส่วน (6 คน จาก 22 คน) ได้ ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาบางส่วนนี้ในปี 1948 พรรคก้าวหน้า (Progressive Party) ของสิงคโปร์ได้ที่นั่งมากที่สุด ต่อมาในปี ค.ศ. 1951 สมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งถูกเพิ่มเป็น 9 คน ในจำนวน 25 คน และในปี ค.ศ. 1955 ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรกสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งมีจำนวน 25 คน ในจำนวน 32 คน

ต่อมาอังกฤษให้ชาวสิงคโปร์มีอำนาจและมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากขึ้นในช่วง 10 ปี ก่อนที่สิงคโปร์จะประกาศเป็นสาธารณรัฐนั้น สิงคโปร์จึงอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาล 3 ชุด คือ (1) รัฐบาลของนายเดวิด มาร์แชล (David Marshall) จากปี 1955-1956 (2) รัฐบาลของนายลิม ยิว ฮ๊อค (Lim Yew Hock) จากปี ค.ศ. 1956-1959 และ (3) รัฐบาลของนาย ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) ซึ่งภายใต้รัฐบาลนี้สิงคโปร์มีอำนาจในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์แล้ว และนายลี กวน ยูได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ต่อมาในช่วงปี 1963-1965 รัฐบาลชุดนี้ก็ได้ตัดสินใจเข้าไปรวมอยู่ในสหพันธรัฐมาลายา และอยู่ได้เพียง 2 ปี

นับจากปี ค.ศ. 1965 เมืองสิงคโปร์ประกาศตนเป็นประเทศเอกราช มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง โดยปกครองในรูปของสาธารณรัฐ หลังจากนั้นสิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวเป็นเวลาถึง 25 ปี ซึ่งก็คือ นาย ลี กวน ยู ทั้งนี้เป็นเพราะพรรคกิจประชา (PAP: People’ Action Party) ซึ่งนาย ลี เป็นผู้ก่อตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 นั้นมีชัยชนะในการเลือกตั้งเกือบทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งทั่วไป หรือการเลือกตั้งซ่อม

ทศวรรษ 1990 เป็นจุดเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนการปกครองสิงคโปร์จากผู้นำกลุ่มเก่า (Old Guards) เป็นผู้นำรุ่นใหม่ (New Guards) นายโก๊ะ จ๊กตง (Goh Chok Tong) ได้รับการคัดเลือกจากพรรคกิจประชาและคณะรัฐมนตรี ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองของสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 1990 นาย ลี กวน ยู ยังดำรงตำแหน่งอยู่ในรัฐบาลชุดใหม่โดยเป็นรัฐมนตรีอาวุโส และในปี ค.ศ. 1993 สิงคโปร์เริ่มใช้ระบบประธานาธิบดีแบบใหม่ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน

ปัจจุบันปี ค.ศ. 2006 ประเทศสิงคโปร์ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อเลือกผู้นำคนใหม่และทีม เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศต่อไป แต่อย่างไรก็ดี พรรคกิจประชาก็ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นเหมือนอย่างเดิม โดยพรรค PAP ได้รับที่นั่งในฝ่ายรัฐบาล 82 ที่นั่งจาก 84 ที่นั่ง ซึ่งเท่ากับสมัยนายโก๊ะ จ๊กตงได้รับในปี พ.ศ. 2544 แต่ได้คะแนนเสียงลดลงจากสมัยแรกที่ได้ 75.3 เป็น66.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งรัฐบาลนี้ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของนาย ลี เซียน ลุง สมัยที่สองซึ่งรัฐบาลจะมีนโยบายผลักดันในเรื่องปัญหาคนยากไร้ ผู้สูงอายุและคนว่างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่นาย ลี เซียน ลุงจะได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้นั้น เขาได้เน้นโยบายแบ่งปันรายได้ผนวกกับความอ่อนแอและแตกแยกของพรรคฝ่ายค้าน ทำให้พรรค PAP ได้ครองอำนาจสืบทอดมาเป็นเวลา 4 ทศวรรษ

บริหาร

แก้

ระบอบการปกครองของสิงคโปร์ คือ ระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นางฮาลิมาห์ ยาคอบ[9] เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560 ส่วนนายกรัฐมนตรีคือ นายลี เซียน ลุง ซึ่งรับตำแหน่งต่อจากนายโก๊ะ จ๊กตง และนายลี กวน ยูซึ่งมีฐานะเป็นบิดาของนาย ลี เซียน ลุง สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซียเมื่อปี พ.ศ. 2508 มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขทางพิธีการ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขทางด้านบริหาร สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมืองมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก เพราะนับแต่ตั้งประเทศเป็นต้นมา มีรัฐบาลที่มาจากพรรคเดียวและเป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก และมีการควบคุมสิทธิเสรีภาพของสื่อสารมวลชนและประชาชนในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างค่อนข้างเข้มงวด

นิติบัญญัติ

แก้

รัฐสภาทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐบาล พรรคกิจประชาชนได้เสียงข้างมากในการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา

ตุลาการ

แก้

สถาบันตุลาการของสิงคโปร์อยู่ภายใต้ระบบสาธารณรัฐ อำนาจตุลาการนั้นเป็นอิสระมาก ปราศจากการควบคุมและแทรกแซงจากฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมีการแบ่งศาลเป็น 2 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น กับศาลสูงสุด

ระบบกฎหมายของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ใช้แบบคอมมอนลอว์เนื่องจากอาณานิคมของ สหราชอาณาจักรมากก่อนจึงได้รับอิทธิพลด้านกฎหมายมาด้วย

สิทธิมนุษยชน

แก้

สิทธิมนุษยชนในสิงคโปร์ถูกจำกัดอย่างมาก ทั้งในการควบคุมสื่อและกฎหมายที่เข้มงวด

กองทัพ

แก้

กองทัพอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม โดยกองทัพสิงคโปร์นั้น ประกอบไปด้วยสามเหล่าทัพ คือ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ซึ่งมีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของอำนาจอธิปไตย และบูรณภาพดินแดนของสิงคโปร์จากภัยคุกคามภายนอก

เศรษฐกิจ

แก้

กิจกรรมที่สร้างรายได้ทางเศรษฐกิจในสิงคโปร์

  1. การเพาะปลูก ปลูกยางพารา มะพร้าว ผัก ผลไม้ แต่พื้นที่มีจำกัด
  2. อาศัยวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน มีอุตสาหกรรมเบา เช่น ผลิตยางพารา ขนมปัง เครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมหนัก เช่น อู่ต่อเรือ ทำเหล็กกล้า ยางรถยนต์ มีกิจการกลั่นน้ำมันซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐ และเป็นผู้สร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันรายใหญ่ด้วย
  3. การค้าขาย เป็นท่าเรือปลอดภาษี ประเทศต่าง ๆ ส่งสินค้าต่าง ๆ มายังสิงคโปร์เพื่อส่งออก และสิงคโปร์ยังรับสินค้าจากยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เพื่อส่งไปขายต่อยังประเทศเพื่อนบ้าน มีท่าเรือน้ำลึก เหมาะในการจอดเรือส่งสินค้า

สถานการณ์เศรษฐกิจ

แก้

สิงคโปร์เป็นประเทศที่เล็กที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมากเหมือนประเทศอื่น แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี เพราะสิงคโปร์พัฒนาเศรษฐกิจด้านการค้า โดยเป็นประเทศพ่อค้าคนกลางในการขายสินค้าเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าปลอดภาษี ทำให้สินค้าที่ผ่านทางสิงคโปร์มีราคาถูก ปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และยังได้เข้าไปลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชาและพม่า สิงคโปร์มีประชากรน้อยจึงต้องพึงพาแรงงานจากต่างชาติในทุกระดับ สิงค์โปร์เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีฐานะทางเศรษฐกิจและการเงินที่มั่งคั่งที่สุดประเทศนึงในโลก

การท่องเที่ยว

แก้
 
ภาพเมืองสิงคโปร์
 
แบบจำลองเมืองสิงคโปร์ บริเวณ Marina Bay ปากแม่น้ำสิงคโปร์

ในปี 2017 สิงคโปร์มีนักท่องเที่ยวที่มาเยือน 17,422,826 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน, อินโดนีเซีย, อินเดีย, มาเลเซีย และออสเตรเลีย ตามลำดับ

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้

หากแบ่งตามภูมิศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยวภายในประเทศสิงคโปร์ มีดังนี้

  • ภาคตะวันออก - Katong, Pasir Ris, Changi/Pulau Ubin
  • ภาคตะวันตก - Kent Ridge, Mount Faber, Bukit Timah
  • ภาคเหนือ - Thomson, Lim Chu Kang/Tengah
  • ภาคกลาง - Balestier, Chinatown, แม่น้ำสิงคโปร์

สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมักอยู่ในตอนกลาง ได้แก่ พื้นที่บริเวณ Marina Bay, ปากแม่น้ำสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมอร์ไลออน (Merlion) , อาคารโรงละคร Esplanade ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่, สถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำ บริเวณพื้นที่ริมน้ำ ได้แก่ Clarke Quay, Boat Quay, ย่านไชน่าทาวน์ (China Town) , ย่าน Little India, ย่านชอปปิ้ง บนถนน Orchard

ส่วนบริเวณเมืองรอบนอกนั้นมีแหล่งท่องเที่ยวกระจายอยู่โดยรอบ สามารถเข้าถึงได้โดยรถไฟ MRT และ รถประจำทาง ได้แก่ เกาะเซนโตซา (Sentosa Island) บริเวณ Harbour Front, สวนสัตว์กลางคืน (Night Safari), สวนนกจูร่ง (Jurong Birdpark) เป็นต้น

โครงสร้างพื้นฐาน

แก้

การคมนาคม

แก้

ที่ตั้งของสิงคโปร์เป็นเส้นทางระหว่างทวีปยุโรป และเอเซียตะวันตก กับภาคพื้นตะวันออกไกล รวมทั้งภาคพื้นแปซิฟิค ทำให้สิงคโปร์เป็นชุมทางของเส้นทางเดินเรือ และสายการบินระหว่างประเทศ และเป็นแหล่งชุมนุมการค้าขาย ปัจจุบันสิงคโปร์ มีท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเซีย รองจากโยโกฮามาของญี่ปุ่น และเป็นท่าเรือที่มีการขนส่งสินค้ามาก เป็นอันดับสามของโลก

 
รถไฟในสิงคโปร์

การขนส่งทางบก สิงคโปร์มีพื้นที่ไม่มาก ประมาณ 900 ตารางกิโลเมตร แต่ถนนที่จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ประมาณ 1,300 กิโลเมตร นอกจากถนนแล้ว ยังมีทางรถไฟอยู่สองสาย มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร ได้มีการสร้างทางรถไฟสายสิงคโปร์ - กรันจิ เมื่อปี พ.ศ. 2446 สมัยรัฐบาลสเตรตส์เซตเทิลเมนต์โดยมีการเดินรถจากสถานีแทงค์โรค ไปยังวู๊ดแลนด์ และมีบริการแพขนานยนต์ ข้ามฟากไปเชื่อมต่อกับทางรถไฟจากแผ่นดินใหญ่ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 การรถไฟแห่งสหพันธ์มลายู ได้รับซื้อกิจการนี้แล้วปรับปรุง ให้เริ่มจากสถานีบูกิตบันยัง ถึงสถานีตันหยงปาการ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 ได้มีการเริ่มสร้างถนนข้ามช่องยะโฮร์ เพื่อให้ทางรถไฟติดต่อถึงกัน ทางรถไฟสายหลัก ข้ามถนนข้ามช่องยะโฮร์มาเลเซีย ตัดกลางประเทศ ลงสู่ใต้ถึงสถานีปลายทาง ที่ใกล้ท่าเรือเคปเปล โดยมีทางแยกเลยเข้าไปในท่าเรือเคปเปลด้วย ทางรถไฟอีกสายหนึ่ง แยกจากสายแรกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ รถไฟสายนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาลมาเลเซีย การเดินทางไปในสถานีรถไฟ เพื่อโดยสารถือว่าเป็นการเดินทางผ่านประเทศ ต้องมีการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือเอกสารอย่างอื่นทำนองเดียวกัน

 
ท่าเรือสิงคโปร์

การขนส่งทางน้ำ มีการขนส่งทางน้ำภายในประเทศ ทางน้ำชายฝั่งและทางน้ำระหว่างประเทศ ทางน้ำภายในประเทศ มีใช้อยู่ในวงจำกัด และไม่ค่อยสะดวก เพราะสิงคโปร์เป็นเกาะเล็ก ๆ และมีแนวชายฝั่งสั้น ภายในเกาะเองก็มีแม่น้ำสายสั้น ๆ และไม่ติดต่อถึงกัน รวมทั้งยังตื้นเขินมาก จึงต้องจำกัดเวลา ในการใช้คือ ในช่วงเวลาน้ำขึ้นเท่านั้น ทางน้ำชายฝั่ง เป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งทางน้ำระหว่างประเทศ แต่มีลักษณะเฉพาะของตนเองคือ ใช้เรือเล็ก ท่าเรือเล็ก ๆ ที่มีจำนวนมากมาย เส้นทางเดินเรือสั้น การให้บริการไม่เป็นประจำ เรือที่เดินตามบริเวณชายฝั่ง มีหลายบริษัท และมีบริษัทที่ให้บริการเป็นประจำไปยังท่าเรืออินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออก และตะวันตก และไทย ทางน้ำระหว่างประเทศ รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานจดทะเบียนเรือของสิงคโปร์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2509 และได้มีการตราพระราชบัญญัติอนุญาตให้มีการจดทะเบียนเรือ ซึ่งเจ้าของอยู่ในต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยมีความมุ่งหมายจะชักจูงเรือสินค้าต่างชาติ ที่ไปจดทะเบียนเป็นเรือสัญชาติไซบีเรีย และปานามา ให้สนใจโอนสัญชาติเป็นเรือสิงคโปร์ได้ ท่าเรือแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2507 ได้มีการปรัปปรุงท่าเรือสิงคโปร์ ให้สามารถรับเรือคอนเทนเนอร์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ และสามารถอำนวยความสะดวก ให้กับเรือบรรทุกน้ำมันขนาดสองแสนตัน หรือมากกว่า ท่าเรือ แต่เดิมใช้ท่าเรือเคปเปล ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสิงคโปร์ และมีเกาะเซนโตซา กับเกาะบรานี เป็นที่กำบังลม ต่อมาบริเวณของการท่าเรือ ได้ขยายออกไปจนเกินอาณาบริเวณ ทั้งพื้นที่บนฝั่ง และในทะเลรวม 538 ตารางกิโลเมตร ท่าเรือสิงคโปร์ มีทั้งท่าเรือน้ำลึกตรงที่ท่าเรือเคปเปล มาจนถึงตันจงปาการ์ ท่าเรือสิงคโปร์เริ่มตั้งแต่ฝั่งตะวันตกของเกาะ เลียมริมฝั่งตะวันตก เรื่อยไปจนถึงฝั่งตะวันออกของเกาะทีซันไจ มาตา อิกาน บีคอน เขตการค้าเสรี ทางการสิงคโปร์ ได้ประกาศเขตการค้าเสรี เมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามบริเวณท่าเรือ ตั้งแต่เตล๊อก อาเยอร์เบซิน จนถึงจาร์ดินสเตปส์ กับจูร่ง ในบริเวณนี้ทางการได้จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ สายการเดินเรือแห่งชาติ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 บริษัทนี้เป็นสมาชิกของชมรมเดินเรือแห่งตะวันออกไกล เมื่อปี พ.ศ. 2512

 
สิงคโปร์แอร์ไลน์

การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ เริ่มมีสายการบินทำการค้าสายแรก เมื่อปี พ.ศ. 2473 เป็นของบริษัทดัทช์อิสท์อินเดีย และในปี พ.ศ. 2478 สายการบินแควนตัส ได้เปิดการบินระหว่างสิงคโปร์ กับออสเตรเลีย ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ท่าอากาศยานสากล เดิมอยู่ที่ปายาเลบาร์ อยู่ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางวิ่งยาวประมาณ 4,000 เมตร สามารถรับเครื่องบินพาณิชย์ได้ทุกขนาดและทุกแบบ ปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าอากาศยานนานานชาติ ที่จัดส่งทันสมัยมากคือ ท่าอากาศยานนานาชาติจางี มีขีดความสามารถในการรับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ และการให้บริการพร้อม ๆ กันถึง 45 เครื่อง มีการสร้างทางวิ่งที่สองบนพื้นที่ ที่ได้จากการถมทะเล สายการบินแห่งชาติ เดิมสิงคโปร์ มีสายการบินร่วมกับมาเลเซียใช้ชื่อว่า มาเลเซีย - สิงคโปร์ แอร์ไลนส์ (Malasia - Singapore Airlines) ต่อมาเมื่อได้แยกประเทศกันแล้ว ก็ได้แยกสายการบินออกจากกันด้วย เมื่อปี พ.ศ. 2515 สายการบินของสิงคโปร์ใช้ชื่อว่า สิงคโปร์แอร์ไลน์ (Singapore Airlines SIA)

การศึกษา

แก้

ระบบการศึกษาของสิงคโปร์ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า นักเรียนแต่ละคนนั้นมีความถนัดและความสนใจแตกต่างกันไป ดังนั้นสิงคโปร์จึงมีการจัดระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นเพื่อให้นักเรียนแต่ละคนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่

การศึกษาก่อนวัยเรียน

แก้

การศึกษาก่อนวัยเรียน ได้แก่ การศึกษาในชั้นอนุบาลและการดูแลเด็กโดยศูนย์ดูแลเด็กเล็ก โดยจะรับนักเรียนอายุ 3-6 ปี โรงเรียนอนุบาลในสิงคโปร์จะมีกระทรวงศึกษาธิการควบคุม และมีมูลนิธิของชุมชน หน่วยงานทางศาสนา และองค์กรทางธุรกิจและสังคมทำหน้าที่บริหาร

โรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่จะทำการเรียนการสอน 5 วันต่อสัปดาห์ และแบ่งการเรียนเป็นสองช่วงในแต่ละวัน ช่วงหนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งถึง 4 ชั่วโมง โดยทั่วไปจะสอนโดยใช้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาที่สอง ยกเว้นในโรงเรียนนานาชาติและโรงเรียนของชาวต่างชาติที่เข้ามาเปิดสอนในสิงคโปร์ การรับสมัครเรียนโรงเรียนอนุบาลและศูนย์ดูแลเด็กเล็กในสิงคโปร์แต่ละแห่งจะมีระยะเวลาต่างกันไปไม่แน่นอน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเปิดรับสมัครนักเรียนตลอดทั้งปี ผู้ปกครองจึงควรติดต่อทางโรงเรียนโดยตรงเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับ การรับสมัคร หลักสูตรการเรียนการสอน และเรื่องอื่น ๆ

ประถมศึกษา

แก้

เด็กทุกคนในสิงคโปร์จะต้องใช้เวลาเรียน 6 ปีในระดับประถมศึกษา ประกอบด้วยการเรียนชั้นประถมต้น (foundation stage) 4 ปี ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 และชั้นประถมปลาย (orientation stage) อีก 2 ปี ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6

ในหลักสูตรขั้นพื้นฐาน วิชาหลักที่ได้เรียนคือ วิชาภาษาอังกฤษ ภาษาท้องถิ่น (Mother Tongue อันได้แก่ ภาษาจีน มลายู หรือทมิฬ ตามเชื้อชาติของตนเอง) คณิตศาสตร์ และวิชาเสริม อันได้แก่ ดนตรี ศิลปะหัตถกรรม สุขศึกษา และสังคมศึกษา ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์จะเริ่มเรียนกันตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นต้นไป และเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในตัวนักเรียนและทดสอบความถนัดของนักเรียนให้ตรงกับแผนการเรียนในระดับมัธยม ทุกคนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะต้องทำข้อสอบ Primary School Leaving Examination (PSLE) ให้ผ่านเพื่อจบการศึกษาระดับประถม หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาของสิงคโปร์ได้รับการยอมรับและนำไปเป็นตัวอย่างการเรียนการสอนจากนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาคณิตศาสตร์ การรับนักเรียนต่างชาตินั้นขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งว่างในแต่ละโรงเรียน

มัธยมศึกษา

แก้

โรงเรียนมัธยมศึกษาในสิงคโปร์มีหลายรูปแบบ ทั้งที่ให้ทุนทั้งหมดโดยรัฐบาล หรือเพียงส่วนเดียว หรือนักเรียนเป็นคนออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด นักเรียนในแผนการเรียนพิเศษ (Special และ Express) จะใช้เวลาเรียนเพียง 4 ปี ขณะที่นักเรียนในแผนการเรียนปกติ (Normal) จะใช้เวลาเรียน 5 ปี โดยนักเรียนในแผนการเรียนพิเศษจะสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education ‘Ordinary’ (GCE ‘O’ Level) เมื่อเรียนครบ 4 ปี ส่วนนักเรียนหลักสูตรปกติที่ใช้เวลาเรียน 5 ปีนั้น จะสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education ‘Normal’ (GCE ‘N’ Level) เมื่อถึงปีที่ 4 ก่อน แล้วจึงจะสามารถสอบ GCE ‘O’ Level เมื่อเรียนจบปีที่ 5

หลักสูตรวิชาในระดับชั้นมัธยมศึกษาจะประกอบด้วย วิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ภาษาแม่ (จีน มลายู หรือทมิฬ) วิทยาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนทางสายศิลป์ วิทยาศาสตร์ ธุรกิจการค้าหรือสายวิชาชีพ หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาในสิงคโปร์ได้รับการยอมรับในระดับโลกว่า ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์และมีความคิดสร้างสรรค์ การรับนักเรียนต่างชาตินั้นขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งว่างในแต่ละโรงเรียน

จูเนียร์ คอลเลจ / เตรียมอุดมศึกษา (Junior College)

แก้

เมื่อนักเรียนสอบ GCE ‘O’ Level ได้สำเร็จแล้ว นักเรียนสามารถเลือกสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับจูเนียร์ คอลเลจเป็นเวลา 2 ปี หรือศึกษาที่สถาบันกลางการศึกษา (centralised institute) เป็นเวลา 3 ปี เพื่อเตรียมศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย จูเนียร์ คอลเลจและสถาบันกลางการศึกษาจะสอนทุกอย่างเพื่อเตรียมตัวให้นักเรียนเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้ หลักสูตรหลักแบ่งเป็น 2 หลักสูตร คือ วิชาความรู้ทั่วไป (General Paper) และภาษาแม่ เมื่อเรียนจบจูเนียร์ คอลเลจ นักเรียนจะต้องสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education ‘Advanced’ (GCE ‘A’ Level) โดยเลือกวิชาสอบสูงสุดได้ 4 วิชา จากวิชาในหมวดศิลปะ วิทยาศาสตร์และธุรกิจการค้า

การรับนักเรียนต่างชาติก็ขึ้นอยู่กับที่นั่งว่างในโรงเรียนเช่นกัน

โพลีเทคนิค (Polytechnic)

แก้

หลักสูตรโพลีเทคนิคสร้างขึ้นเพื่ออบรมหลักสูตรที่หลากหลายให้แก่นักศึกษาที่ต้องการฝึกฝีมือในระดับประกาศนียบัตรและอนุปริญญา ในขณะนี้ สิงคโปร์มีสถาบันโพลีเทคนิค 5 แห่ง ได้แก่ Nanyang Polytechnic, Ngee Ann Polytechnic, Republic Polytechnic, Singapore Polytechnic, Temasek Polytechnic

สถาบันเหล่านี้มีหลักสูตรการสอนมากมายที่มุ่งเน้นให้สามารถไปประกอบอาชีพในอนาคต เช่น วิศวกรรม บริหารธุรกิจ การสื่อสารมวลชน การออกแบบดีไซน์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักสูตรเฉพาะทางอย่างเช่น การวัดสายตา วิศวกรรมทางทะเล การศึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือ พยาบาล การเลี้ยงดูเด็กอ่อน และการทำภาพยนตร์ นักเรียนที่จบการศึกษาในจากโพลีเทคนิคเป็นที่นิยมของบริษัทต่าง ๆ เพราะได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ที่พร้อมจะเข้าสู่โลกแห่งเศรษฐกิจใหม่

สถาบันเทคนิคศึกษา สถาบันเทคนิคการศึกษา (Institute of Technical Education – ITE) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของนักเรียนที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาและต้องการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและความรู้ทางอุตสาหกรรมแขนงต่าง ๆ นอกจากโปรแกรมฝึกอบรมเต็มเวลาสำหรับนักเรียนที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาแล้ว และยังมีโปรแกรมสำหรับผู้ใหญ่ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ของตนด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอีกด้วย

มหาวิทยาลัย (Universities)

แก้

ในสิงคโปร์มีมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ได้แก่

  • มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS)
  • Nanyang Technological University (NTU)
  • Singapore Management University (SMU)
  • Singapore University of Technology and Design (SUTD)

มหาวิทยาลัยทั้งสามแห่งได้ผลิตนักศึกษาปริญญาที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับมากมาย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยทั้งหมดยังให้โอกาสแก่นักศึกษาที่มีความรู้แต่ขาดทุนทรัพย์ โดยการให้ทุนเพื่อศึกษาและการวิจัยในระดับปริญญาโท

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ก่อตั้งในปีค.ศ. 1905 เปิดสอนหลักสูตรต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงมานาน เช่น วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี กฎหมาย ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ และแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (NTU) ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1981 เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการสอนและการวิจัยด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี ต่อมาได้ร่วมกับวิทยาลัยครู (National Institute Education – NIE) เพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาการบัญชี บริหารธุรกิจและสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (SMU) ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 โดยเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแต่บริหารจัดการแบบเอกชน เน้นการเรียนการสอนด้านธุรกิจการจัดการ

Singapore University of Technology and Design (SUTD) ก่อตั้งขึ้นในปี 2011

มหาวิทยาลัยนานาชาติในสิงคโปร์
แก้

นอกจากมหาวิทยาลัยของสิงคโปร์เองแล้ว สิงคโปร์ยังมีมหาวิทยาลัยนานาชาติระดับโลกมาเปิดสาขาหลายสถาบัน อาทิ มหาวิทยาลัย INSEAD ซึ่งติด 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยดีเด่นของโลก และได้ลงทุนเป็นจำนวนเงินถึง 60 ล้านเหรียญสหรัฐในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในบริเวณศูนย์วิทยาศาสตร์ นับเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยทางด้านธุรกิจนานาชาติมาตั้งวิทยาเขตเต็มรูปแบบในเอเชีย และในปี ค.ศ. 2000 University of Chicago Graduate School of Business ได้มาเปิดคณะธุรกิจและเลือกสิงคโปร์เป็นวิทยาเขตถาวรแห่งแรกในเอเชียเช่นกัน

สถาบันการศึกษาเอกชน ในสิงคโปร์คุณสามารถเลือกได้ว่าอยากเรียนสถาบันการศึกษาเอกชนแบบไหน เนื่องจากมีสถาบันการศึกษาเอกชนมากมายที่เปิดสอนหลักสูตรต่าง ๆ กันไปมากกว่า 300 สถาบัน ตั้งแต่ ธุรกิจ เทคโนโลยี ศิลปะ จนถึงโรงเรียนสอนภาษา เพื่อตอบสนองความต้องการของคนสิงคโปร์เองและนักเรียนจากต่างชาติ นักเรียนสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนหลักสูตรระดับใดได้ในสถาบันการศึกษาเอกชน ตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตร อนุปริญญา จนถึงปริญญาระดับต่าง ๆ โดยที่สถาบันการศึกษาเอกชนในสิงคโปร์มีมหาวิทยาลัยพันธมิตรมากมายจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย จึงทำให้นักเรียนได้สัมผัสกับบรรยากาศและสิ่งอำนวยความสะดวกที่พรั่งพร้อม อย่างไรก็ดี เนื่องจากแต่ละสถาบันจัดรับสมัครและการสอบขึ้นเอง นักเรียนจึงต้องติดต่อกับแต่ละโรงเรียนโดยตรงหากสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมและเมื่อสนใจในสถาบันการศึกษาเอกชนใด คุณต้องมั่นใจก่อนเลือกเรียนว่าหลักสูตรนั้น ๆ ครอบคลุมทุกอย่างที่คุณต้องการไม่ว่าจะเป็น

หลักสูตรวิชา :

ประกาศนียบัตรที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป สิ่งอำนวยความสะดวกในโรงเรียน เช่น ห้องเรียน ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น บริการสำหรับนักเรียนต่างชาติ เช่น การอำนวยความสะดวกในการทำวีซ่า การปฐมนิเทศและอาจารย์–ที่ปรึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติ เป็นต้น โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนที่สอนหลักสูตรต่างประเทศหรือโรงเรียนนานาชาติได้เปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้ศึกษาหาความรู้ในแบบเดียวกับประเทศต้นกำเนิดของโรงเรียน โรงเรียนเหล่านี้จดทะเบียนถูกต้องกับกระทรวงศึกษาธิการของประเทศสิงคโปร์ และมีการวางแนวทางหลักสูตรการศึกษาเหมือนกับโรงเรียนในประเทศนั้น โดยปกติโรงเรียนนานาชาติที่เข้ามาเปิดในสิงคโปร์จะมีทั้งนักเรียนจากต่างประเทศและชาวต่างชาติจากชาตินั้น ๆ ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในสิงคโปร์เป็นการชั่วคราว บางโรงเรียนจะกำหนดคุณสมบัติขั้นต้นของนักเรียนที่มาสมัครเช่น สัญชาติ หรือความสามารถทางด้านภาษา ค่าเล่าเรียนในแต่ละปีจะแตกต่างกันไปตามแต่ละโรงเรียน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4,600-14,000 เหรียญสิงคโปร์ต่อปี สำหรับชั้นเรียนเด็กเล็ก และ 6,000-18,000 เหรียญสิงคโปร์ต่อปี สำหรับชั้นเรียนเด็กโต ทั้งนี้ การจัดสอบและการปิดเทอมก็แตกต่างกันไปในแต่ละโรงเรียนด้วยเช่นกัน

โรงเรียนชั้นนำสองแห่งของสิงคโปร์ นั่นคือ Anglo-Chinese School (ACS) และ Hwa Chong Institution ได้ก่อตั้งเป็นโรงเรียนเอกชนขึ้นโดยเริ่มรับนักเรียนเข้าศึกษาครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548

โรงเรียนทั้งสองแห่งที่จัดตั้งขึ้นนั้น ได้เปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับมัธยมศึกษาและระดับหลังจบระดับมัธยมศึกษาACS Internationalจะมีหลักสูตร GCSE นานาชาติและหลักสูตรอนุปริญญาสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายนานาชาติ (International Baccalaureate Diploma Programme) ขณะที่ Hwa Chong Internationalจะมีหลักสูตรระดับมัธยมศึกษา และก่อนมหาวิทยาลัยซึ่งจะได้รับ ประกาศนียบัตร GCE A Level ในขั้นสูงสุด

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

แก้

ประเทศสิงคโปร์มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของเอเชีย มีการพัฒนาอยู่เสมอ มีการสร้างเสริมพัฒนารการให้กับเยาวชน อีกทั้งแห่งให้ความรู้ที่ดีเยี่ยม ทั้ง ศูนย์วิทยาศาสตร์สิงคโปร์ (Singapore Science Centre) ที่มีชื่อเสียง ห้องสมุดดิจิตอล ศูนย์เรียนรู้ไอที และยังมี Funan IT Mall ศูนย์จำหน่ายอุปกรณ์ไอทีที่ทันสมัยที่อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า City Hall

ในการปฏิรูปการศึกษา สิงคโปร์ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับยุทธศาสตร์การดำเนินงาน เพื่อผลักดันการปฏิรูปการศึกษาให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินงานและการสนับสนุนอย่างจริงจัง จนเป็นผลให้การปฏิรูปการศึกษาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

ในระยะแรกผู้นำสิงคโปร์ได้ใช้การศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการสร้างชาติ สร้างความสามัคคีของคนในชาติ สร้างกำลังคนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจแล้ว ในระยะต่อมาเมื่อประเทศมีความมั่นคงและมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ จึงได้ใช้การปฏิรูปการศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศในระดับที่สูงขึ้น โดยกำหนดแนวนโยบาย เป้าหมายและมาตรการต่าง ๆ ที่นำไปสู่การปฏิบัติ

ในปัจจุบันและอนาคต สิงคโปร์ได้มุ่งสู่การปฏิรูปการศึกษาที่ท้าทายมากขึ้นและมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยใช้ยุทธศาสตร์ที่มีพลัง มีการกำหนดวิสัยทัศน์แผนยุทธศาสตร์ แผน โครงการ และมาตรการต่าง ๆ โดยเฉพาะการจัดตั้งองค์กรเพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษา

สาธารณสุข

แก้

สวัสดิการสังคม

แก้

ประชากร

แก้

เชื้อชาติ

แก้

สิงค์โปร์เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในภูมิภาค และเป็นประเทศเล็กที่สุดในภูมิภาค เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 2 ของโลก มีจำนวนประชากรประมาณ 5,543,494 (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2013) ประกอบด้วยชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน-อังกฤษ-ดัตซ์-โปรตุเกส (76.5%) ชาวมลายู (13.8%) ชาวอินเดีย (8.1%) และอื่น ๆ (1.6%)

ศาสนา

แก้
ศาสนาในประเทศสิงคโปร์
ศาสนา ร้อยละ
พุทธ
  
33%
คริสต์
  
18.3%
ไม่มีศาสนา
  
17%
อิสลาม
  
14.7%
เต๋า
  
10.9%
ฮินดู
  
5.1%
อื่น ๆ
  
0.7%

ในปี ค.ศ. 2010[10] ประเทศสิงคโปร์มีผู้นับถือศาสนา แบ่งได้ดังนี้ ศาสนาพุทธ 33% ศาสนาคริสต์ 18.3% ศาสนาอิสลาม 14.7% ลัทธิเต๋า 10.9% ศาสนาฮินดู 5.1% ศาสนาอื่น ๆ 0.7% และไม่มีศาสนา 17%

ภาษา

แก้

สิงคโปร์มีภาษาราชการถึง 4 ภาษา คือ อังกฤษ จีนกลาง มลายู และทมิฬ ศิลปวัฒนธรรมก็เป็นลักษณะผสมระหว่างจีน มาเลเซีย และอินเดีย ภาษาประจำชาติ: คือภาษามลายู

วัฒนธรรม

แก้

อาหาร

แก้

อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่สิงคโปร์ได้รับหลังจากการก่อตั้งประเทศขึ้นคือวัฒนธรรมของจีน อาหารก็เป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมนี้ด้วยเช่น หมูสะเต๊ะ ข้าวมันไก่ ขนมจีบ เป็นต้น

ลักซา (Laksa) อาหารขึ้นชื่อของประเทศสิงคโปร์ ลักซามีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวต้มยำใส่กะทิ ทำให้รสชาติเข้มข้น คล้ายคลึงกับข้าวซอยของไทย โดยลักซาจะมีส่วนผสมของ กุ้งแห้ง พริก กุ้งต้ม และหอยแครง เหมาะสำหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารทะเลเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ลักซามีทั้งแบบที่ใส่กะทิ และไม่ใส่กะทิ ทว่า แบบที่ใส่กะทิจะเป็นที่นิยมมากกว่า

ดนตรี

แก้

สื่อสารมวลชน

แก้

วันหยุด

แก้

กีฬา

แก้

ฟุตบอล

แก้

ฟุตบอลสิงคโปร์สามารถเข้าถึงรอบ 20 ทีม สุดท้ายได้ แต่ต้องตกรอบเหมือนกับทีมในอาเซียนเหมือนกันคือ ไทย อินโดนีเซีย ในสมัยนี้ประเทศสิงคโปร์ได้พัฒนาเร็วมาก

หมายเหตุ

แก้
  1. Singapore Citizen (SC) population is 3,553,700, Permanent Resident (PR) population is 519,500, Non-Resident population is 1,563,800.[2]

อ้างอิง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Census 2020" (PDF). Singapore Department of Statistics. สืบค้นเมื่อ 16 June 2021.
  2. "Population and Population Structure". Department of Statistics Singapore. สืบค้นเมื่อ 8 October 2022.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "World Economic Outlook Database, April 2023 Edition". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 6 May 2023.
  4. "DISTRIBUTION OF FAMILY INCOME – GINI INDEX". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-30. สืบค้นเมื่อ 25 January 2019.
  5. "Human Development Report 2021/2022 Page 284" (PDF). United Nations Development Programme. สืบค้นเมื่อ 13 November 2024.
  6. "Records of Climate Station Means (Climatological Reference Period: 1991-2020)". National Environment Agency (Singapore). สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "Historical Extremes". National Environment Agency (Singapore). สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "Singapore/Changi Climate Normals 1961–1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 1 December 2014.
  9. "สิงคโปร์ประกาศชื่อประธานาธิบดีหญิงคนแรกแล้ว". โพสต์ทูเดย์. 2017-09-13. สืบค้นเมื่อ 2018-08-28.
  10. [1] Religion in Singapore
การระบุแหล่งที่มา

บรรณานุกรม

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Abshire, Jean. The History of Singapore (ABC-CLIO, 2011).
  • Barr, Michael D. Singapore: A Modern History (2019)
  • Corfield, Justin J. Historical dictionary of Singapore (2011) online
  • Ghesquière, Henri C. Singapore's success: engineering economic growth (2007)
  • Heng, Chye Kiang. 50 Years of Urban Planning in Singapore (2016)
  • Hill, Michael (1995). Kwen Fee Lian (บ.ก.). The Politics of Nation Building and Citizenship in Singapore. Routledge. ISBN 978-0-415-12025-8.
  • Huff, W. G. The Economic Growth of Singapore: Trade and Development in the Twentieth Century (1995)
  • King, Rodney (2008). The Singapore Miracle, Myth and Reality. Insight Press. ISBN 978-0-9775567-0-0.
  • Mauzy, Diane K.; Milne, R.S. (2002). Singapore Politics: Under the People's Action Party. Routledge. ISBN 978-0-415-24653-8.
  • Mun, Chia Wai. Singapore and Asia in a Globalized World: Contemporary Economic Issues and Policies (2008)
  • Perry, John Curtis. Singapore: Unlikely Power (Oxford University Press, 2017).
  • Singh, Bilveer. Understanding Singapore Politics (2017)
  • Tan, Kenneth Paul (2007). Renaissance Singapore? Economy, Culture, and Politics. NUS Press. ISBN 978-9971-69-377-0.
  • Worthington, Ross (2002). Governance in Singapore. Routledge/Curzon. ISBN 978-0-7007-1474-2.
  • Yew, Lee Kuan. From Third World To First: The Singapore Story: 1965–2000. New York: HarperCollins, 2000. ISBN 0-06-019776-5.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้