พ.ศ. 2462
ปี
พุทธศักราช 2462 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1919 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน
(หากเป็นการนับศักราชแบบเดิม พ.ศ. 2462 เริ่มในวันที่ 1 เมษายน)
ผู้นำ
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
- เจ้าประเทศราช:
- เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่: เจ้าแก้วนวรัฐ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2482)
- เจ้าผู้ครองนครลำพูน: เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486)
- เจ้าผู้ครองนครลำปาง: เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต (3 มกราคม พ.ศ. 2441 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465)
- เจ้าผู้ครองนครน่าน: เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 - 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474)
- เจ้าประเทศราช:
เหตุการณ์
แก้- 11 กุมภาพันธ์ – ฟรีดริค เอเบิร์ต ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งรัฐเยอรมันคนแรก ซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐของสาธารณรัฐไวมาร์ (เยอรมนีในสมัยระหว่างสงคราม)
- 23 มีนาคม – เบนิโต มุสโสลินีก่อตั้งลัทธิฟาสซิสต์ในมิลาน อิตาลี
- 10 เมษายน – เอมิเลียโน ซาปาตา ผู้นำการปฏิวัติเม็กซิโก ถูกยิง
- 13 เมษายน – ทหารบริติชและเกอร์ข่า เปิดฉากยิงกลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านอย่างสันติ ที่เมืองอมฤตสระ รัฐปัญจาบ ในประเทศอินเดีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นชาวซิกข์ ฮินดู และมุสลิม หลายร้อยคน
- 4 พฤษภาคม – การปฏิวัติปัญญาชน : เหตุการณ์ 4 พฤษภาคม การเดินขบวนครั้งใหญ่ของนักศึกษาในกรุงปักกิ่ง คัดค้านการประชุมสันติภาพที่แวร์ซายในฝรั่งเศส ที่ญี่ปุ่นบังคับให้รัฐบาลหยวน ซื่อไข่ ลงนามรับรองคำขาด 21 ซึ่งมีข้อหนึ่งที่จีนต้องยอมรับรองสิทธิเหนือดินแดนมณฑลซานตง
- 29 พฤษภาคม
- การสังเกตการณ์สุริยุปราคาโดยเซอร์ อาร์เทอร์ เอ็ดดิงตัน ยืนยันเนื้อหาบางส่วนในทฤษฎีสัมพัทธภาพของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
- ทีมฟุตบอลทีมชาติบราซิลชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอเมริกาใต้ ครั้งที่ 3 ณ รัฐรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล
- 28 มิถุนายน – สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติหลังการลงนามใน สนธิสัญญาแวร์ซาย
- 19 สิงหาคม – ประเทศอัฟกานิสถานได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร
วันเกิด
แก้- 1 มกราคม - เจ. ดี. ซาลินเจอร์ นักเขียนชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 27 มกราคม พ.ศ. 2553)
- 3 มกราคม - โดโรธี มอร์ริสัน นักแสดงชาวอเมริกา (ถึงแก่กรรม 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
- 7 มกราคม - พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา องคมนตรีและนักการเมืองชาวไทย (อสัญกรรม 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
- 10 มกราคม - หลวงปู่กาหลง เตชวัณโณ (มรณภาพ 13 กันยายน พ.ศ. 2552)
- 24 กุมภาพันธ์ - เจ้าชายกอร์มแห่งเดนมาร์ก (สิ้นพระชนม์ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2534)
- 7 พฤษภาคม - เอวา เปรอง ภริยาฮวน เปรอง ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2495)
- 13 เมษายน - บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ นักการเมืองชาวไทย (ถึงแก่กรรม 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- 14 เมษายน - แสงดา บัณสิทธิ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขา ทัศนศิลป์ (ถึงแก่กรรม 11 มกราคม พ.ศ. 2536)
- 23 กรกฎาคม - เจฟฟรีย์ บาวา สถาปนิกชาวศรีลังกา (ถึงแก่กรรม 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2546)
- 8 สิงหาคม - ดิโน เดอ ลอเรนติส ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอิตาลี (ถึงแก่กรรม 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553)
- 19 สิงหาคม - มาลคอล์ม ฟอร์บ ผู้พิมพ์นิตยสารฟอร์บ (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2533)
- 17 กันยายน - รำไพศรีสอางค์ สนิทวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย 4 เมษายน พ.ศ. 2543)
- 15 ตุลาคม - พระครูธรรมกิจโกศล (นอง ธมฺมภูโต) (มรณภาพ 11 กันยายน พ.ศ. 2542)
- 18 ตุลาคม - พีเอร์ ทรูโด นักการเมืองชาวแคนาดา (ถึงแก่กรรม 28 กันยายน พ.ศ. 2543)
- 10 พฤศจิกายน - มีฮาอิล คาลาชนิคอฟ นักประดิษฐ์ชาวรัสเซีย (ถึงแก่กรรม 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556)
วันถึงแก่กรรม
แก้- 17 กุมภาพันธ์ - หลุยส์ ที. ลีโอโนเวนส์ บุตรชายของ แอนนา ลีโอโนเวนส์ (เกิด พ.ศ. 2399)
- 16 เมษายน - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ (ประสูติ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2400)
- 20 ตุลาคม - สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระราชินีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 1 มกราคม พ.ศ. 2407)
วัฒนธรรมสมัยนิยมที่อ้างอิงถึงปีนี้
แก้ภาพยนตร์
แก้- เดอะแฟนทอมออฟดิโอเปรา (แฟนทั่ม หน้ากากปีศาจ) – มีเนื่อเรื่องบางตอนที่เกิดขึ้นในปีนี้
นวนิยาย
แก้รางวัล
แก้- สาขาเคมี – ไม่มีการมอบรางวัล
- สาขาวรรณกรรม – คาร์ล ฟรีดริช เกออร์ก สปิตเทลเลอร์
- สาขาสันติภาพ – วูดโรว์ วิลสัน
- สาขาฟิสิกส์ – โยฮานัส สตาร์ค
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – ฌูลส์ บอร์เดต์