ปฏิทินพม่า (พม่า: မြန်မာသက္ကရာဇ်, ออกเสียง: [mjəmà θɛʔkəɹɪʔ] "มรันมาศักราช"; หรือ ကောဇာသက္ကရာဇ်, [kɔ́zà θɛʔkəɹɪʔ] "โกชาศักราช"), ศักราชพม่า หรือ ศักราชเมียนมา เป็นปฏิทินจันทรคติที่นับเดือนตามวิถีการโคจรของดวงจันทร์ ส่วนปีนับตามปีดาราคติ ปฏิทินพม่าส่วนใหญ่อิงกับปฏิทินฮินดูแบบเก่าซึ่งไม่เหมือนกับระบบของอินเดีย ปฏิทินพม่ามีการนำเอาวัฏจักรเมตอนมาร่วมใช้ในการคำนวณปฏิทิน และมีการทดปฏิทินเพื่อชดเชยความคลาดเคลื่อนของวันและเดือน

ปฏิทินพม่าถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องในอาณาจักรต่าง ๆ ของพม่านับตั้งแต่ถูกประดิษฐ์ขึ้น โดยสันนิษฐานว่ามีการประดิษฐ์ขึ้นในคริสต์ศักราชที่ 640 ในอาณาจักรศรีเกษตร ช่วงยุคปยู[1] ปฏิทินพม่าได้แพร่หลายและถูกใช้เป็นทางการในอาณาจักรอื่น ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในชื่อปฏิทินจุลศักราช เช่น ยะไข่ ล้านนา สิบสองปันนา ล้านช้าง สยาม กัมพูชา จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19[2][3]

ปัจจุบันในพม่ามีการใช้เป็นปฏิทินพลเรือนแบบดั้งเดิมควบคู่ไปกับการใช้พุทธศักราช ยังมีการใช้เพื่อแสดงวันหยุดตามประเพณี เช่น ปีใหม่พม่า เทศกาลประเพณีอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธในประเทศพม่า

วัน

แก้

มีเจ็ดวันในหนึ่งสัปดาห์ นอกจากนี้ตามธรรมเนียมมักแสดงวันของสัปดาห์ด้วยค่าตัวเลขที่กำหนดไว้ล่วงหน้าคือเลขศูนย์ถึงหก ชื่อ ตะนีนกะนเว (วันอาทิตย์) และ ตะนีนลา (วันจันทร์) มาจากภาษาพม่าโบราณ ส่วนที่เหลือมาจากภาษาสันสกฤต[4]

ลำดับ ชื่อ สัทอักษรสากล คำอธิบาย
0 ซะเน
စနေ
[sənè] วันเสาร์
1 ตะนีนกะนเว
တနင်္ဂနွေ
[tənɪ́ɰ̃ɡənwè] วันอาทิตย์
2 ตะนีนลา
တနင်္လာ
[tənɪ́ɰ̃là] วันจันทร์
3 อีนกา
အင်္ဂါ
[ɪ̀ɰ̃ɡà] วันอังคาร
4 โบะดะฮู่
ဗုဒ္ဓဟူး
[boʊ̯ʔdəhú] วันพุธ
5 จาตะบะเด้
ကြာသပတေး
[t͡ɕàðəbədé] วันพฤหัสบดี
6 เตาะจา
သောကြာ
[θaʊ̯ʔt͡ɕà] วันศุกร์

เดือน

แก้

ในปีอธิกสุรทิน เดือน นะโยน จะมีวันอธิกวารเพิ่มที่เรียกว่า แยะลูน (ရက်လွန်) หรือ แยะงีน (ရက်ငင်) รวมมี 30 วัน[5] ในปฏิทินยะไข่ เดือน ดะกู้ จะเพิ่มวันอธิกวารขึ้นในปีอธิกสุรทิน[6]

ตามข้อมูลที่ปรากฏในตารางนี้ จะเห็นได้ว่า ชื่อเดือนในภาษามอญนั้นมีเค้าว่ายืมคำมาจากภาษาบาลีอยู่ไม่น้อย ส่วนชื่อเดือนในภาษาพม่านั้นเป็นชื่อภาษาพม่าแท้

พม่า มอญ เทียบชื่อเดือนภาษาบาลี จำนวนวัน
(ไม่ใช่ปีอธิกสุรทิน)
ดะกู้
တန်ခူး
Ce
စဲ, /coa/
จิตฺต 29
กะโซน
ကဆုန်
Pas
ပသာ်, /pəsaik/
วิสาข 30
นะโยน
နယုန်
Hje
ဇှ်ေ, /cèh/
เชฏฺฐ 29
วาโซ
ဝါဆို
Daguin
ဓဂိုန်, /həkɜ̀n/
อาสาฬฺห 30
วากอง
ဝါခေါင်
Sresi
သ္ဍဲသဳ, /hədoa sɔe/
สาวน 29
ตอตะลี่น
တော်သလင်း
Bhat
ဘတ်, /phòt/
ภทฺทปท, โปฏฺฐป 30
ตะดี้นจุ
သီတင်းကျွတ်
Hva
ဝှ်, /wòh/
อสฺสยุช 29
ดะซองโม่น
တန်ဆောင်မုန်း
Gahtuin
ဂထိုန်, /kəthɒn/
กตฺติก 30
นะดอ
နတ်တော်
Mreggatui
မြေဂ္ဂသဵု, /pəròikkəsɒ/
มิคสิร 29
ปยาโต
ပြာသို
Puh
ပုဟ်, /paoh/
ปุสฺส 30
ดะโบ่-ดแว
တပို့တွဲ
Ma
မာ်, /màik/
มาฆ 29
ดะบ้อง
တပေါင်း
Phawraguin
ဖဝ်ရဂိုန်, /phɔrəkɜ̀n/
ผคฺคุณ 30

อ้างอิง

แก้
  1. Hmannan Vol. 1 2003: 216
  2. Htin Aung 1959: 38–39
  3. Oriental 1900: 375–376
  4. Luce Vol. 2 1970: 327
  5. Clancy 1906: 56–57
  6. Irwin 1909: 2–3

บรรณานุกรม

แก้
  • Aung-Thwin, Michael (2005). The mists of Rāmañña: The Legend that was Lower Burma (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 9780824828868.
  • Chatterjee, S.K. (1998). "Traditional Calendar of Myanmar (Burma)". Indian Journal of History of Science. 33 (2): 143–160.
  • Clancy, J.C. (January 1906). T. Lewis; H.P. Hollis (บ.ก.). "The Burmese Calendar: A Monthly Review of Astronomy". The Observatory. XXIX (366).
  • Eade, J.C. (1989). Southeast Asian Ephemeris: Solar and Planetary Positions, A.D. 638–2000. Ithaca: Cornell University. ISBN 978-0-87727-704-0.
  • Eade, J.C. (1995). The Calendrical Systems of Mainland South-East Asia (illustrated ed.). Brill. ISBN 9789004104372.
  • Hall, D.G.E. (1960). Burma (3rd ed.). Hutchinson University Library. ISBN 978-1-4067-3503-1.
  • Htin Aung, Maung (1959). Folk Elements in Burmese Buddhism. Rangoon: Department of Religious Affairs.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Htin Aung, Maung (1970). Burmese History before 1287: A Defence of the Chronicles. Oxford: The Asoka Society.
  • Irwin, Sir Alfred Macdonald Bulteel (1909). The Burmese and Arakanese calendars. Rangoon: Hanthawaddy Printing Works.
  • Kala, U (1724). Maha Yazawin Gyi (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2006, 4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
  • Luce, G.H. (1970). Old Burma: Early Pagan. Vol. 2. Locust Valley, NY: Artibus Asiae and New York University.
  • Ohashi, Yukio (2001). Alan K. L. Chan; Gregory K. Clancey; Hui-Chieh Loy (บ.ก.). Historical Perspectives on East Asian Science, Technology, and Medicine (illustrated ed.). World Scientific. ISBN 9789971692599.
  • Ohashi, Yukio (2007). "Astronomy in Mainland Southeast Asia". ใน H. Selin (บ.ก.). Encyclopaedia of the History of Science, Technology, and Medicine in Non-Western Cultures (2, illustrated ed.). Springer. ISBN 9781402045592.
  • Oriental Institute; East India Association (1900). The Imperial and Asiatic Quarterly Review and Oriental and Colonial Record. London and Working, England: Oriental Institute.
  • Parise, Frank (2002). The Book of Calendars. Gorgias Press.
  • Rong, Syamananda (1986). A History of Thailand (5 ed.). Chulalongkorn University.
  • Simms, Peter; Sanda Simms (2001). The Kingdoms of Laos: Six Hundred Years of History (illustrated ed.). Psychology Press. ISBN 9780700715312.
  • Smith, Ronald Bishop (1966). Siam; Or, the History of the Thais: From 1569 A.D. to 1824 A.D. Vol. 2. Decatur Press.