15 เมษายน
วันที่สร้างสรรค์
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันที่ 15 เมษายน (วันที่ 106 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 260 วันในปีนั้น
เหตุการณ์
แก้- พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) - ซามูเอล จอห์นสัน เผยแพร่ A Dictionary of the English Language ฉบับพิมพ์ครั้งแรก
- พ.ศ. 2408 (ค.ศ. 1865) - ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ถึงแก่อสัญกรรมหลังจากถูกลอบสังหารโดยนักแสดง จอห์น วิลค์ส บูธ เมื่อเย็นวันก่อน[1] 3 ชั่วโมงต่อมา รองประธานาธิบดีแอนดรูว์ จอห์นสัน สาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดี[2]
- พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) - ก่อตั้งบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก[3]
- พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) - พิธีปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ[4]
- พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) - เรือเดินสมุทร ไททานิก อับปางลงในมหาสมุทรแอตแลนติก หลังจากชนกับภูเขาน้ำแข็งเป็นเวลา 2 ชั่วโมง 40 นาที ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,500 คน
- พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) - วันกระทำพิธีปล่อยเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช (ลำปัจจุบัน) ลงน้ำ เป็นเรือพระที่นั่งสร้างใหม่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แทนลำเดิมซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) - จัดงานวันแม่ครั้งแรกในประเทศไทย
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - สหรัฐอเมริกาเริ่มปฏิบัติการเอลโดราโดแคนยอน (Operation El Dorado Canyon) ในประเทศลิเบีย
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - เกิดโศกนาฏกรรมฮิลส์โบโร หนึ่งในโศกนาฏกรรมที่ร้ายแรงที่สุดในวงการฟุตบอลยุโรป
- พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) - เกิดเหตุระเบิดระหว่างการแข่งขันมาราธอน 2 ครั้ง ในเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บอย่างน้อย 176 คน
- พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) - เกิดเหตุอัคคีภัยไหม้อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส
วันเกิด
แก้- พ.ศ. 1995 (ค.ศ. 1452) - เลโอนาร์โด ดา วินชี ศิลปินชาวอิตาลี (ถึงแก่กรรม 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2062)
- พ.ศ. 2227 (ค.ศ. 1684) - จักรพรรดินีนาถเยกาเจรีนาที่ 1 แห่งรัสเซีย (สวรรคต 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2270)
- พ.ศ. 2250 (ค.ศ. 1707) - เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวสวิส (ถึงแก่กรรม 18 กันยายน พ.ศ. 2326)
- พ.ศ. 2386 (ค.ศ. 1843) - เฮนรี เจมส์ นักประพันธ์ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458)
- พ.ศ. 2416 (ค.ศ. 1873) - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ (สิ้นพระชนม์ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448)
- พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) - นีกีตา ครุชชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียตคนที่ 4 (ถึงแก่กรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2514)
- พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1905) - พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (สิ้นพระชนม์ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2528)
- พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) - คิม อิล-ซ็อง อดีตนายกรัฐมนตรีและผู้นำสูงสุดคนแรกแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (ถึงแก่กรรม 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537)
- พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) - แปน โสวัณ นายกรัฐมนตรีกัมพูชาคนที่ 32 (ถึงแก่กรรม 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) - คุนิชิเงะ คะมะโมะโตะ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - ไกรสร แสงอนันต์ นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) -
- โทมัส เอฟ. วิลสัน นักแสดงชาวอเมริกัน
- เอ็มมา ทอมสัน นักแสดงชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม
- พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - มรกต มณีฉาย นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - ลุค อีแวนส์ นักแสดงและนักร้องชาวเวลส์
- พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - ซารีฟ สายนุ้ย นักฟุตบอลชาวไทย
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - สุรัตนาวี ภัทรานุกุล นักร้อง, นักแสดง, พิธีกร และดีเจไทย
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - บงกช คงมาลัย นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) -
- โคเฮ ยามาโมโตะ (นักฟุตบอล) นักฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น
- ทอม ฮีตัน นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - คาร์ลอส ซาลอม นักฟุตบอลอาชีพชาวปาเลสไตน์
- พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) -
- เซยะ ซูงิชิตะ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - เอ็มมา วอตสัน นักแสดงชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - เรโม ฟร็อยเลอร์ นักฟุตบอลชาวสวิส
- พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - เฟลีปี อังเดร์ซง นักฟุตบอลชาวบราซิล
- พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - กิตติศักดิ์ ปฐมบูรณา นักแสดงชายชาวไทย
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) -
- โคเซ อาร์นาอิซ นักฟุตบอลอาชีพชาวสเปน
- โคดี คริสเตียน นักแสดงชาวอเมริกัน
- เลอันเดอร์ แด็นโดงเกอร์ นักฟุตบอลชาวเบลเยียม
- พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - คาสึมิ เฮียวโด นักแสดงและนายแบบชาวญี่ปุ่นลูกครึ่งไต้หวัน
วันถึงแก่กรรม
แก้- พ.ศ. 2408 (ค.ศ. 1865) - อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 16 (เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2351)
- พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) - เอ็ดเวิร์ด จอห์น สมิธ กัปตันเรือไททานิค (เกิด 27 มกราคม พ.ศ. 2393)
- พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) - กัสตง เลอรู นักหนังสือพิมพ์และนักเขียนชาวฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - ฌอง ปอล ซาร์ต นักปรัชญาและนักเขียนชาวฝรั่งเศส (เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2448)
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - เกรทา การ์โบ นักแสดงชาวสวีเดน (เกิด 18 กันยายน พ.ศ. 2448)
- พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - พล พต ผู้นำเขมรแดง (เกิด 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2468)
- พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) - สุวัฒน์ วรดิลก หรือ "รพีพร" ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2534 สาขาวรรณศิลป์ (เกิด 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2466)
- พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) - รัชนี ศรีไพรวรรณ นักเขียนชาวไทย (เกิด 11 มีนาคม พ.ศ. 2473)
- พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) - เนื่อง แฝงสีคำ ช่างทองจากเพชรบุรี และศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ประจำปี 2555 (เกิด 8 กันยายน พ.ศ. 2457)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
แก้- วันสงกรานต์ (วันเถลิงศก) ตามหลักการคำนวณทางโหราศาสตร์ (พ.ศ. 2549, พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2552, ...)
- วันสุวัทนา เพื่อสำนึกในพระกรุณาธิคุณ (สิ้นพระชนม์ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2528)
อ้างอิง
แก้- ↑ Steers, Edward J. Jr. (2014). Lincoln's Assassination. Carbondale, Ill.: Southern Illinois University Press. pp. 72–74. ISBN 9780809333493.
- ↑ Donhardt, Gary L. (2006). In the Shadow of the Great Rebellion: The Life of Andrew Johnson, Seventeenth President of the United States (1808-1875). New York: Nova Science. p. 63. ISBN 9781600210860.
- ↑ Davtyan, Lusine (2019). "General Electric". ใน Welch, Rosanne; Lamphier, Peg A. (บ.ก.). Technical Innovation in American History: An Encyclopedia of Science and Technology. Volume 2: Reconstruction Through World War II. Santa Barbara, Calif.: ABC-CLIO. p. 74. ISBN 9781610690935.
- ↑ Hanold, Maylon (2012). World Sports: A Reference Handbook. Santa Barbara, Calif.: ABC-CLIO. p. 149. ISBN 9781598847789.