มีนาคม
มกราคม · | กุมภาพันธ์ · | มีนาคม · | เมษายน · | พฤษภาคม · | มิถุนายน · | กรกฎาคม · | สิงหาคม · | กันยายน · | ตุลาคม · | พฤศจิกายน · | ธันวาคม |
<< | มีนาคม | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 | ||||||
พ.ศ. 2567 |
มีนาคม เป็นเดือนสามของปี ในทั้งปฏิทินกริกอเรียนและปฏิทินจูเลียน เป็นหนึ่งใน 7 เดือนที่มี 31 วัน
เดือนมีนาคมในซีกโลกเหนือมีฤดูกาลเทียบเท่ากับเดือนกันยายนในซีกโลกใต้
ในซีกโลกเหนือ วันที่ 1 มีนาคมเป็นวันเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิทางอุตุนิยมวิทยา ส่วนในซีกโลกใต้ วันเดียวกันเป็นการเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงทางอุตุนิยมวิทยา
เดือนมีนาคมมีวันในสัปดาห์เริ่มต้นตรงกับเดือนพฤศจิกายนทุกปี และเดือนกุมภาพันธ์เฉพาะปีปกติสุรทิน เดือนมีนาคมสิ้นสุดวันในสัปดาห์เดียวกับเดือนมิถุนายนทุกปี ในปีอธิกสุรทิน เดือนมีนาคมเริ่มต้นในวันเดียวกับเดือนกันยายนและธันวาคมของปีก่อนหน้า ในปีปกติสุรทิน เดือนมีนาคมเริ่มต้นในวันเดียวกับเดือนมิถุนายนปีก่อนหน้า
คำว่า "March" ในภาษาอังกฤษ มาจากโรมโบราณ เมื่อเดือนมีนาคมเป็นเดือนแรกของปี และได้ชื่อภาษาละตินว่า "มาร์ติอุส" (Martius) ตามมาร์ส หรือแอรีส เทพแห่งสงครามของกรีก ในโรม ซึ่งมีลักษณะอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน เดือนมีนาคมเป็นเดือนแรกของฤดูใบไม้ผลิ จุดเริ่มต้นปีตามหลักเหตุผล และการเริ่มต้นฤดูกาลศึกสงคราม เดือนมกราคมเป็นเดือนแรกของปีปฏิทินในรัชสมัยกษัตริย์นูมา ปอมปิเลียส (ประมาณ 713 ปีก่อน ค.ศ.) หรือในรัชสมัยกษัตริย์เดเซมวีร์ราว 450 ก่อน ค.ศ. ปีที่มีตัวเลขเริ่มในวันที่ 1 มีนาคมในรัสเซีย กระทั่งสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 15 ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่กำหนดให้วันปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 มกราคม ใน ค.ศ. 1564 บริเตนใหญ่และอาณานิคมยังใช้ 25 มีนาคมเป็นวันขึ้นปีใหม่กระทั่ง ค.ศ. 1752 เมื่อเปลี่ยนไปใช้ปฏิทินเกรโกเรียน อีกหลายวัฒนธรรมและศาสนายังเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ในเดือนมนาคม
ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนมีนาคมใน พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน
ตามโหราศาสตร์ เดือนมีนาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีมีน และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีเมษ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนมีนาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวปลา
วันสำคัญ
แก้- 5 มีนาคม - วันนักข่าวในประเทศไทย
- 8 มีนาคม - วันสตรีสากล
- 13 มีนาคม - วันช้างไทย
- 14 มีนาคม - ไวต์เดย์
- 14 มีนาคม - วันพาย
- 14 มีนาคม - วันคณิตศาสตร์โลก[1]
- 17 มีนาคม - วันนักบุญแพทริก
- 19 มีนาคม - วันนักบุญโยเซฟ
- 20 มีนาคม - วันความสุขสากล
- 21 มีนาคม - วันกวีนิพนธ์สากล
- ดวงอาทิตย์ผ่านตำแหน่งวสันตวิษุวัตในราววันที่ 21 มีนาคม ทำให้ช่วงเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน (ในทางทฤษฎี)
- 22 มีนาคม - วันน้ำของโลก
- 23 มีนาคม - วันปากีสถาน
- 25 มีนาคม - แม่พระรับสาร
- 26 มีนาคม - วันเอกราชของบังกลาเทศ (ค.ศ. 1971)
- 27 มีนาคม - วันกองทัพอากาศในประเทศไทย
- 31 มีนาคม - วันมหาเจษฎาบดินดร์ในประเทศไทย
- วันอีสเตอร์ตรงกับวันอาทิตย์ที่อยู่ระหว่าง 22 มีนาคม ถึง 25 เมษายน (ไม่ตรงกันทุกปี)
- วันไตโลก ตรงกับวันพฤหัสบดีที่สองของเดือน
- วันนอนหลับโลก ตรงกับวันศุกร์ที่สองของเดือน[2]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ↑ [ข้อมูล วันคณิตศาสตร์โลก วันพาย โอกาสก่อเกิดวันคณิตศาสตร์ไทย [14 มีนาคม] - See more at: http://www.anantasook.com/pi-day-world-math-day/#sthash.VrP70Kpr.dpuf]
- ↑ วันนอนหลับโลก (World Sleep Day)