ผู้ใช้:Thaipolice/ทดลองเขียน
พลตำรวจโท ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา
แก้พลตำรวจโท ภัคพงษ์เภตรา | |
---|---|
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2562 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจโท สุทธิพงศ์ วงปิ่น |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 จังหวัดสุราษฏร์ธานี ประเทศไทย |
คู่สมรส | พิมพ์กลม อุดมศิลป์ |
บุตร | 1 |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 22 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 38 |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ยศ | พลตำรวจโท |
พลตำรวจโท ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา (ชื่อเล่น: อูต, เกิด 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2504) เป็นนายตำรวจชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เคยตำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนคนที่ 2 ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 9 และรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ก่อนที่จะขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาลคนที่ 50 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562[1]
ประวัติ
แก้ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี เกิดในครอบครัวพ่อแม่ทำธุรกิจสวนปาล์ม โรงโม่ และเหมืองแร่ เป็นลูกชายคนที่ 4 ของตระกูล ศึกษาชั้นประถมอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาก่อนที่จะเข้าสู่รั้วเตรียมทหารรุ่น 22 และก้าวเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 38[2]
หลักสูตรอื่นๆ
แก้จบหลักสูตรพิเศษ อาทิ หลักสูตรรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ กองบัญชาการศึกษา, หลักสูตร Tractical Operations Seminar จาก Virginia Public Safety Academy, Fairfax Virginia, หลักสูตรผู้กำกับการ รุ่นที่ 39, หลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 37, หลักสูตรนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย (นธป.) ของศาลรัฐธรรมนูญ รุ่นที่ 4 และ หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 59[1]
การรับราชการตำรวจ
แก้เริ่มต้นรับราชการที่บ้านเกิดในตำแหน่งรองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองสุราษฎร์ธานี ก่อนย้ายเป็นผู้ช่วยนายเวร พล.ต.อ.ชุมพล อรรถศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธร 3 คุมพื้นที่ภาคเหนือ ระหว่างดำรงตำแหน่งได้มีโอกาศเรียนรู้งานกิจการพิเศษในแผนกรกฏ จึงทำให้มีความเชี่ยวชาญและความรู้เรื่องยุทธวิธีการคุมชุมนุมประท้วงและแนวทางการปฏิบัติกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ ตั้งแต่ไฟไหม้ น้ำท่วม ไปจนถึงการจี้ตัวประกัน หรือเหตุวินาศกรรม
หลังจากที่ผู้เป็นนายเกษียณอายุ เขาย้ายลงเป็นรองผู้กำกับการ 5 กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 2 ขึ้นผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ 1 กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 6 เป็นผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ 1 กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 5 และผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ 1 กองบังคับการอำนวยตำรวจภูธรภาค 1 ล้วนรับผิดชอบงานด้านกำลังพลของหน่วยก่อนขึ้นรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท
จากนั้นคืนถิ่นเกิดเป็นรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมไขคดีสังหารโหดคนงานชาวพม่า 4 ศพ ในพื้นที่หมู่ 7 ตำบลปากหมาก อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี วันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2551 ใช้เวลาตามรอยอยู่ไม่นานสามารถจับกุมแก๊งคนร้ายเป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ทั้งหมด 6 คน พฤติกรรมโหดเหี้ยมจับคนงานพม่าทั้งชายและหญิงมัดมือไพล่หลังด้วยสายไฟลากขึ้นรถไปยิงทิ้งอย่างเลือดเย็น[3]
ต่อมาเขาก็ตำแหน่งรองผู้บังคับการหัวหน้าศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 8 คลายปมคดีสำคัญในพื้นที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะคดีมือปืนยิงนายปรีชา เพชรประเสริฐ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน บริเวณบนถนนพูลศิริ ในเขตเทศบาลเมืองนาสาร ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2551 รวบตัวนายประสาท หรือสุรชัย หรือไข่ วิชัยดิษฐ์ คนลั่นไกนำไปสู่ตัวผู้บงการและทีมสังหารยกแก๊ง
ผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน
แก้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปี 2552 ได้รับคำสั่งจาก พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลในขณะนั้น ให้มาร่วมทำงานสังกัดทัพเมืองหลวงครั้งแรกในตำแหน่งผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนคนที่ 2 ของหน่วยต่อจาก พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง ท่ามกลางสถานการณ์ร้อนของผู้ชุมนุมทางการเมืองที่ระอุแตกกันเป็นสองฝ่าย แบ่งออกเป็นสองสี ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์จากรัฐบาลเข้าควบคุมสถานการณ์การชุมนุมที่ปิดถนนยาวนานต่อเนื่องหลายเดือน ก่อนจะมีประกาศพระราชบัญญัติความมั่นคง และพระราชบัญญัติฉุกเฉิน มีการตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หลังสถานการณ์บานปลายและรุนแรงขึ้น
ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 9
แก้หลังจากสถานการณ์สงบลง พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ย้ายมาเป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาลและได้มีคำสั่งให้ พล.ต.ต.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา (ยศขณะนั้น) ไปนั่งเป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาล 9 ซึ่งเป็นจังหวะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่พอดี เขาได้คุมพื้นที่ของดินแดนชายขอบฝั่งธนบุรีและต้องใช้แผนกรกฎมาใช้ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังมานาน 2 เดือน ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนแปลงเก้าอี้อีกครั้งเมื่ออำนาจรัฐบาลสลับขั้ว เขาถูกย้ายเป็นผู้บังคับการประจำกองบัญชาการตำรวจนครบาล แล้วโยกพ้นหน่วยเป็นผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 1[4]
รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
แก้หลังจากที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลในช่วงปี 1 ต.ค. 57 – 29 ต.ค. 58 และรองผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดีในปี 30 ต .ค. 58- 30 ก.ย. 59 เขาก็ได้ถูกย้ายกลับมาขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในยุคของพล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุลเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2559[5] ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์งานคดีความมั่นคงเพิ่มมากขึ้น อยู่ในคณะทำงานสืบสวนสอบสอบสวนคดีระเบิดศาลพระพรหม แยกราชประสงค์ และอีกหลายเรื่องในภารกิจพิเศษ เช่น ได้รับมอบหมายให้เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก ( โดรน ) กองบัญชาการตำรวจนครบาล
"ผมมีวันนี้ได้ ก็เพราะผู้ใต้บังคับบัญชา ถึงผมรับผิดชอบด้านความมั่นคง ถ้าผมไปสั่งเขาแล้วเขาไม่ทำ ผมจะสำเร็จไหม สิ่งที่ผมได้มาก็จากผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งนั้น ผมถึงต้องรักพวกเขา"[3] |
—พล.ต.ท. ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา |
ทั้งนี้ ความภาคภูมิใจที่สุดคือการที่ได้รับมอบหมายในภารกิจสำคัญสุดเหนือชีวิต คือการที่ได้เป็นรองผู้อำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อย พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นคณะทำงานด้านการถวายความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกด้านการจราจร บุคคลสำคัญจากต่างประเทศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และได้รับมอบหมายให้เป็นคณะทำงานหัวหน้าจุดคัดกรองในงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานอุ่นไอรักคลายความหนาว งานสวดมนต์ในพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล และเป็นรองผู้บัญชาการโซนช่วยเหลือกำกับการดูแลการปฏิบัติในพื้นที่รับผิดชอบในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย เฉลิมพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรีอย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี[3]
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
แก้เขาได้รับแต่งตั้งให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 แทน พล.ต.ท สุทธิพงศ์ วงปิ่น และได้เป็น ผบช.น. คนที่ 50[6]
การรับราชการ
แก้- 1 ต.ค. 52 - ผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน
- 23 ก.พ. 55 - ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 9
- 1 ต.ค. 57 - ผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 1
- 1 ต.ค. 57 - รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
- 30 ต.ค. 58 - รองผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี
- 1 ต.ค 62 - ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "ส่องเกียรติประวัติ "ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา" น.1 ชาวใต้ตรงๆ ไม่อ้อมค้อม-ใจนักเลง". mgronline.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "บุคคลสำคัญ". thonburi-home.com.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 กองบรรณาธิการ (2020-11-10). ""ผมมีวันนี้ได้ ก็เพราะผู้ใต้บังคับบัญชา"". COP'S Magazine.
- ↑ "ฝุ่นตลบ!ปรับโผตร. 'อภิชาติ' เสียบ 'ผบช.น.' โยก 'ภัคพงศ์' ไปภาค 6". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ". www.dsdw2016.dsdw.go.th.
- ↑ "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ". www.royalthaipolice.go.th.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,[1]