สำราญ นวลมา
พลตำรวจโท สำราญ นวลมา ป.ช. ป.ม. ร.จ.ม. (เกิด 14 มิถุนายน พ.ศ. 2516) ชื่อเล่น ราญ เป็นข้าราชการตำรวจชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และเป็นกรรมการกลางสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สำราญ นวลมา | |
---|---|
สำราญ ในปี พ.ศ. 2565 | |
ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | |
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจโท ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา |
ถัดไป | พลตำรวจโท ธิติ แสงสว่าง |
กรรมการกลางสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2516 อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย |
คู่สมรส | ศิริเพ็ญ ตั้งทวีสุโข นวลมา |
ศิษย์เก่า |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ยศ | พลตำรวจโท |
บังคับบัญชา | กองบัญชาการตำรวจนครบาล |
ประวัติ
แก้พลตำรวจโท สำราญ นวลมา เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2516 ที่ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 34 (รุ่นเดียวกับพลตรี วันชนะ สวัสดี และร้อยเอก รชฏ พิสิษฐบรรณกร), นักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 50 มีหลานชายรับราชการ พลตำรวจโท สำเริง นวลมา เริ่มรับราชการครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2540 ในตำแหน่ง พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลพระโขนง จนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจโท ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เขาเป็นหนึ่งในตำรวจที่ลงพื้นที่ร่วมกับพลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ และ พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล เพื่อตรวจสอบเหตุกราดยิงที่จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2565
การรับราชการตำรวจ
แก้- พ.ศ.2565 – ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- พ.ศ.2564 – ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
- พ.ศ.2563 – รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
- พ.ศ.2561 – ผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
- พ.ศ.2559 – รองผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
- พ.ศ.2557 – ผู้กำกับการสายตรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
- พ.ศ.2555 – ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง
- พ.ศ.2554 – รองผู้กำกับการสายตรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
- พ.ศ.2552 – รองผู้กำกับการสืบสวน 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล
- พ.ศ.2550 – สารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลบางนา
- พ.ศ.2548 – สารวัตรงานสายตรวจ 2 กองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ
- พ.ศ.2547 – สารวัตรงานสายตรวจ 2 กองกำกับการสายตรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
- พ.ศ.2546 – รองสารวัตรสืบสวน สถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ
- พ.ศ.2540 – รองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลพระโขนง
เกียรติยศ
แก้- พ.ศ.2563 – ได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่บุคคลที่มีผลงานยอดเยี่ยมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำปี 2563 จากสำนักงาน ป.ป.ส.
- พ.ศ.2560 – ได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่บุคคลที่มีผลงานดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำปี 2560 จากสำนักงาน ป.ป.ส.
- พ.ศ.2558 – ได้รับคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช 2558
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[2]
- พ.ศ. 2563 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓๐๗, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๘๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๑๖, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔