พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต)
พลตำรวจเอก พระพินิจชนคดี มีชื่อจริงว่า พินิจ อินทรทูต (ชื่อเดิม: เซ่ง อินทรทูต) เป็นตำรวจชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมตำรวจ[3] ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[4]อดีตจเรตำรวจ[5] และรักษาการผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง [6] เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ เมื่อ พ.ศ. 2487 ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการของธนาคารคนที่2 ต่อจากพลโท หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร เมื่อปี พ.ศ. 2492 [7] และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เสริมสุข จำกัด โดยมีตำแหน่งเป็นประธานบริษัท ซึ่งนำเข้าเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมโคล่ายี่ห้อ เป๊ปซี่ เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2496[8] และประธานกรรมการสอบสวนการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 ซึ่งสุดท้ายศาลมีคำพิพากษาประหารชีวิตทหารมหาดเล็ก 3 คน
พินิจ อินทรทูต | |
---|---|
เกิด | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2434[1][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ] เมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2513[2][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ] |
อาชีพ | ตำรวจ |
คู่สมรส | ม.ล.อรุณ ม.ร.ว.บุญรับ ปราโมช |
บิดามารดา |
|
พระพินิจชนคดี เกิดที่บ้านเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เกิดมาในตระกูลคหบดี ปู่ท่านเป็นนายอากร ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระรัษฏานุกุลภักดี บิดานามว่านายสุวรรณ มาดรามีนามว่านางใย นาม้ดิมที่บิดาตั้งให้ คือนายยกเซ่ง ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น พินิจ อินทรทูต
พระพินิจชนคดีสมรสกับหม่อมหลวงอรุณ สนิทวงศ์ [7] เป็นต้นสกุล"อินทรทูต"ซึ่งเป็นตระกูลชาวไทยเชื้อสายจีน ภายหลังเมื่อหม่อมหลวงอรุณ ถึงแก่อนิจกรรมแล้วจึงได้มาสมรสกับ หม่อมราชวงศ์บุญรับ ปราโมช พี่สาวของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช [9]
ตำแหน่ง ยศ และบรรดาศักดิ์
แก้- - ร้อยตำรวจตรี
- 21 สิงหาคม พ.ศ. 2460 - ร้อยตำรวจโท[10]
- 20 ธันวาคม พ.ศ. 2460 - ขุนพินิจชนคดี ถือศักดินา ๔๐๐[11]
- 20 ธันวาคม พ.ศ. 2462 - ร้อยตำรวจเอก[12]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2466 - หลวงพินิจชนคดี ถือศักดินา ๖๐๐[13]
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 - พันตำรวจตรี[14]
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 - พันตำรวจโท[15]
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 - พระพินิจชนคดี ถือศักดินา ๘๐๐[16]
- 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 - ผู้บังคับการตำรวจนครบาลธนบุรี[17]
- 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 - ผู้บังคับการตำรวจนครบาลเหนือ[18]
- 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 - พันตำรวจเอก[19]
- 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 - พลตำรวจตรี[20]
- 23 ธันวาคม พ.ศ. 2493 - จเรตำรวจ
- 22 มกราคม พ.ศ. 2494 - ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
- 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 - รองอธิบดีกรมตำรวจ
- 9 ตุลาคม พ.ศ. 2494 - พลตำรวจโท[21]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2498 - พลตำรวจเอก[22]
- 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 - รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
กรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8
แก้หลังรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 รัฐบาลใหม่ได้เรียกเอาพระพินิจชนคดี ซึ่งขณะนั้นเป็นนายตำรวจนอกราชการแล้วกลับมารับราชการ ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการสอบสวนการสวรรคตของรัชกาลที่ 8[23] เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้จ้างพยานเท็จเพื่อปรักปรำปรีดี พนมยงค์[24]
- นายตี๋ ศรีสุวรรณ ขณะที่นายตี๋อายุ 102ปี ในปี พ.ศ. 2522 เขียนจดหมายไปขอขมานายปรีดีฯที่พำนักอยู่ที่ กรุงปารีส โดยสารภาพว่า พระพินิจเกลี้ยกล่อมว่า ถ้าให้การว่านายปรีดีฯกับพวกไปวางแผนร่วมที่บ้านพล.ร.ต.กระแสฯ เพื่อปลงพระชนม์ร.๘ จะให้เงินเลี้ยงนายตี๋จนตาย แต่เมื่อเสร็จคดีแล้วพระพินิจก็ไม่จ่ายให้อีกตามที่รับปากไว้ เวลานี้นายตี๋รู้สึกเสียใจมากจึงได้เขียนจดหมายมาขอขมาต่อนายปรีดีฯ[25]
- พล.ร.ต.กระแส ได้เขียนพินัยกรรมไว้ เล่าถึงการถูกข่มขู่คุกคามโดยพระพินิจชนคดี ว่าถ้าไม่ยอมทำตามจะต้องถูกจับติดคุก และถ้ายอมทำตามจะให้จอมพลฯช่วยหางานให้ทำอีกด้วย[26] และข้อพิสูจน์หักล้างพยานเท็จ[27] ต่อมาได้นำบันทึกนี้ไปเป็นเอกสารประกอบคำฟ้องในศาล[28] เมื่อนายปรีดีทำการฟ้องหมิ่นประมาทผู้กล่าวร้ายปรีดี
งานเขียน
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[31]
- พ.ศ. 2495 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[32]
- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[33]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[34]
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[35]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[36]
- พ.ศ. 2473 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[37]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 3 (อ.ป.ร.3)[38]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[39]
อ้างอิง
แก้- ↑ จากหนังสืองานศพ นิทานตำรวจ ฉบับสมบูรณ์
- ↑ จากหนังสืองานศพ นิทานตำรวจ ฉบับสมบูรณ์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ (หน้า ๒๘๐๖)
- ↑ เรื่องแต่งตั้งข้าราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งจเรตำรวจ (หน้า ๒)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
- ↑ 7.0 7.1 สืบสาย "อินทรทูต" ใน 48 ปีแบงก์บีบีซี"[ลิงก์เสีย] นิตยสารผู้จัดการ,มกราคม 2536
- ↑ หน้า 55, เป๊ปซี่ "เปิดศึก" กับโค้ก. "กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554" (2554) โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ดร. ISBN 978-974-228-070-3
- ↑ เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อวสาน "อินทรทูต"[ลิงก์เสีย] ภัทราวรรณ พูลทวีเกียรติ, นิตยสารผู้จัดการ, เมษายน 2539
- ↑ พระราชทานยศนายตำรวจภูธรแลนายตำรวจพระนครบาล (หน้า ๑๕๔๑)
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๐๐๖)
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๒๙๓๘)
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๒๗๗)
- ↑ พระราชทานยศพลเรือน (หน้า ๒๔๕๒)
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๒๙๕๐)
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๐๒๐)
- ↑ ประกาศ ปลดตั้งและย้ายนายตำรวจ (หน้า ๔๙๖)
- ↑ แจ้งความ บรรจุนายตำรวจ (หน้า ๓๓๓๓)
- ↑ ประกาศ เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ หนังสือ นายปรีดี พนมยงค์ กับ แผนลอบปลงพระชนม์ร.8 โดย อนันต์ อมรรตัย ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่2 พ.ศ. 2526 สำนักพิมพ์ จิรวรรณนุสรณ์ หน้าที่3 นับจากคำนำ
- ↑ ดูหนังสือ นายปรีดี พนมยงค์ กับแผนการลอบปลงพระชนม์ของ พล.ต.อ.พระพินิจชนคดี โดยสุพจน์ ด่านตระกูล ตีพิมพ์ครั้งที่3 กันยายน 2543
- ↑ ดูหนังสือ ข็อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ฉบับสมบูรณ์ โดยสุพจน์ ด่านตระกูล หน้าที่ 289-292 ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่3 สิงหาคม 2544
- ↑ ดูหนังสือ ข็อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ฉบับสมบูรณ์ โดยสุพจน์ ด่านตระกูล หน้าที่ 235 239 243 และ 249 ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่3 สิงหาคม 2544
- ↑ หนังสือ ข็อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ฉบับสมบูรณ์ โดยสุพจน์ ด่านตระกูล หน้าที่ 250-254 ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่3 สิงหาคม 2544
- ↑ ดูหนังสือ คำตัดสินใหม่กรณีสวรรคต ร.๘ โดย คณะกรรมการดำเนินงานฉลอง ๑๐๐ปี ชาตกาลนายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ภาคเอกชน หน้า 128-129 ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2543
- ↑ พิมพ์เนื่องในงานทำบุญอายุครบ 5 รอบ มรว.บุญรับ พินิจชนคดี และหนังสือ The Devil's Discus ก็ได้กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ไว้ในหน้า 193
- ↑ ฉบับสมบูรณ์ หนังสืออนุสรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๔๖๕๒, ๙ ธันวาคม ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙๐, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๙, ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๒๗๘๘, ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๔, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๐๙, ๒๓ มกราคม ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๒๐๕๑, ๒๓ สิงหาคม ๒๔๙๘